Tuesday, 3 December 2024
University

🔎ส่อง 5 อันดับ ‘มหาวิทยาลัยไทย’ เรียนจบไป ไม่ต้องกลัวตกงาน

‘QS World University Rankings’ เผย 5 อันดับมหาวิทยาลัยที่ได้คะแนนความยอมรับจากผู้จ้าง ที่มากที่สุดในประเทศไทย

โดยประเมินจาก...

- คุณภาพการสอน (Academic Reputation) ดูจากการประเมินของนักวิชาการทั่วโลกว่ามหาวิทยาลัยนั้นๆ มีชื่อเสียงในด้านการสอนมากน้อยแค่ไหน

- งานวิจัย (Employer Reputation) ประเมินจากนายจ้างว่า นักศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัยนั้นมีคุณภาพและมีความพร้อมในการทำงานเพียงใด

- อัตราการจ้างงาน (Faculty/Student Ratio) เปรียบเทียบจำนวนอาจารย์กับจำนวนนักศึกษา เพื่อดูว่ามหาวิทยาลัยมีการให้ความสำคัญกับนักศึกษาอย่างไร

- จำนวนการอ้างอิงงานวิจัย (Citations per Faculty) วัดจากจำนวนการอ้างอิงงานวิจัยของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย เพื่อดูความมีอิทธิพลทางวิชาการ 

- จำนวนนักศึกษาต่างชาติ (International Faculty and Students) ดูจำนวนอาจารย์และนักศึกษาต่างชาติในมหาวิทยาลัย เพื่อดูความเป็นนานาชาติและการเปิดรับจากทั่วโลก

3 ใน 4 มหาวิทยาลัยอังกฤษวิกฤต เหตุค่าเทอมแพง นศ.ต่างชาติแห่ไปเรียนที่อื่น

(15 พ.ย. 67) หน่วยงานกำกับดูแลการศึกษาระดับสูงเตือนให้มหาวิทยาลัยต้อง ‘เร่งดำเนินการ’ และพิจารณาการควบรวมกิจการหรือแบ่งปันต้นทุนเพื่อความอยู่รอดของสถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัยในอังกฤษกำลังเผชิญวิกฤติทางการเงิน โดยเกือบ3 ใน 4 คาดว่าจะประสบปัญหาขาดทุนในปีหน้า จากการคาดการณ์ของสำนักงานกำกับดูแลการศึกษาระดับสูง (OfS)

ข้อมูลจากสำนักงาน OfS ระบุว่า ในภาคการศึกษาหน้าหลายสถาบันจำเป็นต้องดำเนินการอย่าง 'กล้าหาญและเปลี่ยนแปลง' เพื่อชดเชยรายได้ที่คาดว่าจะลดลงถึง 3.4 พันล้านปอนด์ในปี 2025-26 ซึ่งมหาวิทยาลัยอาจต้องพิจารณาการควบรวมกิจการหรือการแบ่งปันต้นทุนระหว่างกัน

เซอร์เดวิด เบฮาน ประธาน OfS กล่าวว่า มหาวิทยาลัยควรทำงานร่วมกันให้มากขึ้น เช่น ไม่จำเป็นต้องมีการเปิดสอนหลักสูตรซ้ำซ้อนกันในมหาวิทยาลัยที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน "การที่มหาวิทยาลัยในเมืองเดียวกัน หรือภูมิภาคเดียวกัน แข่งขันกันในด้านหลักสูตรที่เปิดสอนนั้นไม่เหมาะสม" 

การตัดสินใจของรัฐบาลที่จะเพิ่มค่าเล่าเรียนสำหรับนักศึกษาภายในประเทศอีก 285 ปอนด์ เป็น 9,535 ปอนด์ต่อปี จะเพิ่มรายได้ 371 ล้านปอนด์ แต่การจ่ายเงินประกันแห่งชาติที่เพิ่มขึ้นก็จะทำให้รายได้ลดลง 430 ล้านปอนด์ ซึ่งนับเป็นการปรับเพิ่มครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 โดยการปรับเพิ่มครั้งนี้เป็นผลพวงมาจากภาวะเงินเฟ้อ

โจ เกรดี้ เลขาธิการสหภาพการศึกษามหาวิทยาลัยและวิทยาลัยกล่าวว่า "การเพิ่มค่าเล่าเรียนที่ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน"

ซูซาน แลพเวิร์ธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OfS กล่าวว่า รายงานความยั่งยืนทางการเงินของมหาวิทยาลัยแสดงให้เห็นถึงความท้าทายที่พวกเขากำลังเผชิญในอนาคต

"ฉันทราบว่ามหาวิทยาลัยรับรู้ถึงความเสี่ยงเหล่านี้และกำลังพยายามหาวิธีแก้ไข การแข่งขันในการรับสมัครนักศึกษาในสหราชอาณาจักรที่เข้มข้นขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยบางแห่งเสียเปรียบ และต้องปรับแผนการรับนักศึกษาเสียใหม่ อีกทั้งการลดลงอย่างรวดเร็วของการสมัครวีซ่านักศึกษาต่างชาติก็ส่งผลกระทบอย่างมากเช่นกัน" แลพเวิร์ธกล่าว

ตัวเลขที่เผยแพร่โดยกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา พบว่าจำนวนวีซ่านักศึกษาต่างชาติของอังกฤษในปีนี้ลดลง 16% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของวปี 2023 ขณะที่ OfS คาดว่านักศึกษาระดับปริญญาตรีในสหราชอาณาจักรจะมีจำนวนต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

รายงานจาก OfS ยังแสดงให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่เน้นการวิจัย เช่น กลุ่มรัสเซล (Russell Group) มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สวนทางขณะที่มหาวิทยาลัยขนาดเล็กหรือมหาวิทยาลัยที่พึ่งพารายได้จากการสอนกำลังประสบปัญหาด้านเงินทุน

การคาดการณ์ของ OfS ชี้ว่า 72% ของสถาบันการศึกษาระดับสูงอาจอยู่ในภาวะขาดทุนภายในปี 2025-26 และ 40% อาจมีเงินสดสำรองไม่ถึง 30 วัน

รายงานของ OfS สอดคล้องกับรายงานข่าวจากเอเอฟพี ที่ระบุว่า ในปี 2020 มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรมีนักศึกษาต่างชาติลงทะเบียนเรียนเกือบ 760,000 คน โดยนักศึกษาส่วนใหญ่มาจากประเทศอินเดีย, จีน และไนจีเรีย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นมา จำนวนวีซ่านักศึกษาได้ลดลงถึง 5% และระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนที่ผ่านมา คำร้องยื่นขอวีซ่านักศึกษาสำหรับสหราชอาณาจักรลดลงถึง 16% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

การลดลงของจำนวนนักศึกษาต่างชาติเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาหลายแห่งเกิดความกังวล เนื่องจากนักศึกษาต่างชาติเป็นกลุ่มที่จ่ายค่าเล่าเรียนสูงกว่านักศึกษาชาวอังกฤษ

องค์กร Universities UK หรือ 'UUK' ซึ่งเป็นตัวแทนของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา 141 แห่งของสหราชอาณาจักร ออกมาเตือนในที่ประชุมเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า เงินทุนต่อนักศึกษาอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2547 โดยทุกมหาวิทยาลัยรู้สึกถึง 'วิกฤติทางการเงิน' อย่างต่อเนื่องตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ในกรุงลอนดอนเริ่มใช้ข้อจำกัดการออกวีซ่านักศึกษาเมื่อปีที่แล้ว

แดนมังกรต้อนรับนศ.ต่างชาติแล้ว 195 ประเทศ เร่งขยายหลักสูตรรองรับ ดึงนร.อเมริกัน 50,000 คน

เมื่อวานนี้ (14 พ.ย.67)  เฉินต้าลี่ เจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการของจีน เปิดเผยว่า การศึกษาของจีนได้รับความสนใจจากนักเรียนนักศึกษาต่างชาติในระดับที่สูงขึ้น

เฉินระบุว่า จีนได้ลงนามข้อตกลงรับรองปริญญาบัตรและประกาศนียบัตรร่วมกับ 60 ประเทศและภูมิภาค และขณะนี้มีนักเรียนนักศึกษาจากกว่า 195 ประเทศและภูมิภาคเดินทางมาศึกษาต่อในจีน

จีนยังได้จัดตั้งหลู่ปาน เวิร์กชอป (Luban Workshop) มากกว่า 30 แห่งในเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา เพื่อจัดฝึกอบรมวิชาชีพให้กับประชาชนกว่า 31,000 คน

ในส่วนของแผนการทางการศึกษา เฉินกล่าวว่า จีนกำลังดำเนินโครงการเชิญชวนวัยรุ่นชาวอเมริกัน 50,000 คน เดินทางมาจีนในช่วงเวลา 5 ปี ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนและการเรียนรู้

นอกจากนี้ จีนยังมีแผนที่จะรับนักเรียนนักศึกษาชาวฝรั่งเศสมากกว่า 10,000 คน ภายในระยะเวลา 3 ปี และเพิ่มจำนวนการแลกเปลี่ยนเยาวชนจากยุโรปไปยังจีนเป็นเท่าตัว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top