Friday, 17 May 2024
StateGridCorporationofChina

‘เยียนไถ’ รุกคืบปลูกสมุนไพรใต้แผงโซลาร์เซลล์ หนุนพลังงานสะอาด เดินเครื่องสถานีไฟฟ้าผสานเกษตรฯ สร้างมูลค่า ศก.กว่า 5 แสนหยวน

เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 66 สำนักข่าวซินหัว, ปักกิ่ง รายงานว่า เมื่อไม่นานนี้ จางเจียจวง ศูนย์กลางการขนส่งในเขตฝูซาน เมืองเยียนไถ มณฑลซานตงทางตะวันออกของจีน เริ่มดำเนินงานโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (PV) ระยะที่ 1 โดยผสมผสานการผลิตไฟฟ้ากับการเกษตร

แผงเซลล์แสงอาทิตย์ของสถานีผลิตไฟฟ้าแห่งนี้จะรับแสงแดดได้เต็มที่ ซึ่งจะถูกแปลงเป็นพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมส่งเข้าไปที่บริษัทสเตต กริด เยียนไถ พาวเวอร์ ซัพพลาย คอมพานี (State Grid Yantai Power Supply Company) ก่อนจะจ่ายไปยังบ้านเรือนของประชาชน

โครงการดังกล่าวเป็นโครงการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ดำเนินการสอดประสานกับลักษณะเกษตรกรรมของท้องถิ่น มีจุดมุ่งหมายเพื่อการ ‘ผลิตไฟฟ้าบนแผงเซลล์ ปลูกพืชใต้แผงเซลล์’ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมการบรรเทาความยากจนที่ผสมผสานการเกษตร และการผลิตไฟฟ้าผ่านการปลูกผักอินทรีย์ ผลไม้คุณภาพสูง หรือสมุนไพรจีน ในพื้นที่โครงการผลิตไฟฟ้า

สถานีไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้มีกำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์ และผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยปีละราว 70.22 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง สร้างรายได้สุทธิทางเศรษฐกิจแก่หมู่บ้านกว่า 500,000 หยวน (ราว 2.52 ล้านล้านบาท) และสร้างประโยชน์แก่ผู้คนกว่า 700 คน ขณะเดียวกันลดการใช้ถ่านหินมาตรฐานได้ 21,417.67 ตันในแต่ละปี และลดก๊าซอันตรายและการปล่อยไอเสียได้

ขณะนี้ กำลังการผลิตติดตั้งของการผลิตพลังงานสะอาดในเยียนไถอยู่ที่ 11.74 ล้านกิโลวัตต์ เป็นอันดับหนึ่งในมณฑลซานตง โดยคิดเป็นร้อยละ 54.49 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งทั้งหมดในซานตง

‘จีน’ เดินหน้าใช้งาน ‘สายเคเบิลภาคพื้นดิน’ ครั้งแรก ชี้!! ก่อสร้างง่าย-ต้นทุนต่ำ ช่วยเชื่อมพลังงานระหว่างเกาะ

(6 ม.ค. 67) สำนักข่าวซินหัว, หางโจว รายงานข่าว บริษัท การไฟฟ้าแห่งประเทศจีน จำกัด สาขามณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน ว่า โครงการวางสายเคเบิลภาคพื้นดิน ขนาด 10 กิโลโวลต์ ลอดช่องทางใต้ก้นทะเลในน่านน้ำทางตอนเหนือของเมืองโจวซาน ได้เสร็จสิ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ม.ค. ที่ผ่านมา

รายงานระบุว่า สายเคเบิลภาคพื้นดินความยาว 1 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างเกาะโจวซานและเกาะซ่างหยวนซาน ทำหน้าที่สายแทนเคเบิลใต้น้ำที่มีแนวโน้มเกิดความเสียหายจากการทอดสมอเรือ โดยมีข้อดีด้านต้นทุนต่ำกว่าและการก่อสร้างง่ายกว่า จึงเหมาะกับการส่งพลังงานระยะทางสั้นระหว่างเกาะ

‘หลี่เจิน’ หัวหน้าบริษัทออกแบบประจำโครงการนี้ เผยว่า การจ่ายพลังงานระหว่างเกาะต่างๆ ในจีนพึ่งพาการส่งผ่านสายเคเบิลใต้น้ำเป็นหลัก ส่วนสายเคเบิลภาคพื้นดินถูกฝังไว้ลึกกว่าความลึกของการทอดสมอเรือ ทำให้ลดความเสี่ยงเกิดความเสียหายจากการทอดสมอเรือ

วิธีการวางสายเคเบิลภาคพื้นดินนี้ ซึ่งนับเป็นการใช้งานครั้งแรกในจีน จะถูกประยุกต์ใช้กับการส่งพลังงานระยะทางสั้นและระยะทางปานกลางไม่เกิน 2 กิโลเมตรระหว่างเกาะต่างๆ ส่วนเป้าหมายระยะยาวคือการส่งพลังงานระยะทางปานกลางและระยะไกลระหว่างเกาะต่างๆ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top