Saturday, 15 March 2025
SocialMedia

พระเอกขี่ม้าขาว? ยูเครนร้องจีนช่วยยุติสงคราม ด้านจีนตอบรับพร้อมเป็น 'คนกลาง' | NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช EP.42

✨ พระเอกขี่ม้าขาว? ยูเครนร้องจีนช่วยยุติสงคราม ด้านจีนตอบรับพร้อมเป็น 'คนกลาง'
✨ จีนได้ประโยชน์เต็มๆ !! หลังยุโรปแบนธนาคารรัสเซีย ออกจากระบบการโอนเงินข้ามชาติ
✨ 'เราเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับโควิด' นายกรัฐมนตรีอังกฤษประกาศนโยบาย ยกเลิกการกักตัวและการแจกชุดตรวจ
✨ Social Media กระอัก หลัง Android อัปเดตใหม่ ลดการติดตามข้ามแอปพลิเคชัน กระทบรายได้โฆษณานับแสนล้าน
✨ ญี่ปุ่นเตรียมออกกฎหมาย ห้ามคนเคยทำผิดคดีทางเพศ เข้ามาทำอาชีพครูและพี่เลี้ยงเด็ก

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เทรนด์ใหม่มาแรง กำลังฮิตในหมู่กลุ่มวัยรุ่นชาวญี่ปุ่น ที่นิยม ‘ลบเพื่อน-ลบแอ็กเคานต์โซเชียล’ ทิ้งจนเกลี้ยง!!

เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 67 ได้มีผู้ใช้งานติ๊กต็อกท่านหนึ่ง ชื่อ ‘pharmaota’ หรือ ‘เภสัชโอตะ’ โพสต์คลิปวิดีโอเล่าถึงกรณี ‘เทรนด์รีเซ็ตความสัมพันธ์’ ซึ่งเทรนด์ใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่นญี่ปุ่นขณะนี้ โดยระบุว่า…

เทรนด์ใหม่ของวัยรุ่นญี่ปุ่น!! ลบเพื่อนในโซเชียลเกลี้ยง ซึ่งเทรนด์ใหม่ในหมู่วัยรุ่นญี่ปุ่นที่กำลังได้รับความนิยมนี้ เรียกว่า ‘เทรนด์รีเซ็ตความสัมพันธ์’ โดยวัยรุ่นญี่ปุ่นจะทําการลบแอ็กเคานต์โซเชียล และลบเพื่อนของเขาทุกคนในโซเชียลออกทั้งหมด!!

เมื่อลองไปถามเด็กวัยรุ่นคนหนึ่ง เขาได้ตอบว่า เขาลบเพื่อนของเขาในโซเชียลเกลี้ยงเลย โดยเขาได้ให้เหตุผลว่า “เพื่อนๆ ในโซเชียลของเขานั้นไม่ได้ทําการติดต่อกันเลย ไม่รู้ว่าจะเก็บไว้ทําไม”

ส่วนวัยรุ่นอีกคนได้เล่าให้ฟังว่า “อยู่ดีๆ ก็โดนเพื่อนที่คบกันมาอย่างยาวนานลบแอ็กเคานต์ทิ้งหมดเลย พอถามว่าลบทําไม เขาก็บอกว่า แค่อยากลบเฉยๆ”

ด้านวัยรุ่นสาวอีกคนบอกว่า “เธอจะทําการลบแอ็กเคานต์โซเชียลทิ้งทุกๆ 3 เดือน เพราะว่าเพื่อนที่มีในตอนนี้ไม่ได้ทําการติดต่อกัน ไม่ได้พบเจอกัน ก็เลยลบซะดีกว่า”

คนสุดท้ายได้บอกว่า “อยากสร้างสังคมใหม่ๆ บ้าง ก็เลยลบแอ็กเคานต์เดิมออกหมด” ซึ่งเธอก็ได้ทําการสร้างแอ็กเคานต์ใหม่และหาเพื่อนใหม่ๆ ซึ่งพอขอดูเพื่อนในโทรศัพท์ของเธอนั้น ก็ต้องตกใจ เพราะว่ามีเพื่อนอยู่เพียงแค่ 7 คนเท่านั้น!!

เมื่อลองถามว่า “รู้สึกเบื่อไหม? กับการสร้างความสัมพันธ์ใหม่ๆ ตลอด” น้องเขาก็ตอบออกมาตรงๆ ว่า “เบื่อค่ะ”

และจากการสํารวจก็พบว่าวัยรุ่นในปัจจุบันนี้ นิยมลบเพื่อน ลบแอ็กเคานต์บนโซเชียล มากถึง 40% เลยทีเดียว!!

‘ชาว Gen Z’ เริ่มเบื่อหน่ายโลกโซเชียลมีเดีย หันไป ‘อ่านหนังสือ-กลับเข้าห้องสมุด’ มากขึ้น

เมื่อไม่นานนี้ สำนักข่าวต่างประเทศ ได้รายงานว่า ‘ชาวเจน Z’ เริ่มหันกลับมา ‘อ่านหนังสือ’ เข้าห้องสมุดมากขึ้น หลังจากเบื่อ ‘โซเชียลมีเดีย’ โดยเลือกอ่านหนังสือหลากหลายประเภท และมีเนื้อหน้าเชิงลึก ไม่ใช่แค่นิยายประโลมโลก

หมดยุคใช้เวลาไปกับ ‘โลกออนไลน์’ แล้ว ในตอนนี้ ‘เจน Z’ คนที่เกิดระหว่างปี 1997-2012 แทนที่จะใช้นิ้วไถหน้าฟีด มาใช้นิ้วพลิกหน้าหนังสือแทน เปลี่ยนความคิดอ่านหนังสือเป็นเรื่องน่าเบื่อ และมีแต่พวกเด็กเนิร์ดทำกัน

‘ไกอา เกอร์เบอร์’ นางแบบวัย 22 ปี ผู้รักการอ่านเป็นชีวิตจิตใจ เพิ่งเปิดตัวชมรมหนังสือออนไลน์ของตัวเองชื่อ ‘Library Science Gerber’ เพื่อเป็นเวทีสำหรับการแบ่งปันหนังสือของเหล่านักเขียนหน้าใหม่ ให้ผู้อ่านได้พบปะนักเขียน และทำหน้าที่สร้างชุมชนของคนที่รักการอ่านแบบที่เธอเป็น

“หนังสือเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ที่ฉันมีมาตลอดชีวิต การอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่เซ็กซี่สำหรับฉันมาก” เกอร์เบอร์กล่าวกับ The Guardian

เกอร์เบอร์ไม่ใช่คนเดียวที่รักการอ่าน ในปี 2023 สหราชอาณาจักรมีการขายหนังสือได้ 669 ล้านเล่ม ซึ่งเป็นยอดสูงสุดที่เคยบันทึกไว้ ขณะที่รายงานจาก Nielsen BookData เน้นย้ำว่า คนเจน Z ชอบซื้อหนังสือแบบเล่ม โดยชาวเจน Z เป็นลูกค้ารายใหญ่ของอุตสาหกรรมหนังสือ เพราะ 80% ของยอดขายหนังสือตั้งแต่ พ.ย. 2021-พ.ย.2022 มาจากคนรุ่นใหม่

อีกทั้งชาวเจน Z ยังเข้าห้องสมุดเพิ่มขึ้นถึง 71% เพราะพวกเขาชอบอ่านหนังสือในที่เงียบๆ มากกว่าไปอ่านตามร้านกาแฟที่มีคนพลุกพล่านตลอดเวลา

BookTok แหล่งแนะนำหนังสือของชาวเจน Z
‘BookTok’ ถือเป็นชุมชนสำหรับหนอนหนังสือบน TikTok ไว้สำหรับแลกเปลี่ยนความเห็น รีวิวหนังสือ แนะนำหนังสือสำหรับนักอ่านหน้าใหม่ ตลอดจนเป็นพื้นที่ให้นักอ่านและผู้เขียนได้พูดคุยกันเกี่ยวกับผลงานการเขียนของพวกเขา

ปรากฏการณ์ BookTok เริ่มขึ้นในช่วงปี 2020 ที่ทุกคนต้องล็อกดาวน์อยู่บ้าน ผู้คนว่างไม่มีอะไรทำ จึงอยากจะหาหนังสือมาอ่าน และ BookTok นี้เองก็ทำให้หนังสือหลายเล่มเป็นที่รู้จักและติดอันดับหนังสือขายดี ถือเป็นช่องทางที่ทำให้คนได้ค้นพบงานอดิเรกใหม่ และได้รับความรู้ ความเพลิดเพลินไปในตัว

อย่างไรก็ตาม ‘เกรตา แพตเตอร์สัน’ นักวิจารณ์กล่าวว่า BookTok ทำให้การอ่านกลายเป็น ‘สินค้า’ เหล่าติ๊กต็อกเกอร์สามารถทำให้หนังสือบางเล่มกลายเป็นหนังสือขายดี หรือวิจารณ์งานเขียนบางเล่มให้กลายเป็นหนังสือไม่ดีเพียงชั่วข้ามคืน

“เทคโนโลยีทำให้หนังสือกลายเป็นฟาสต์แฟชั่น อินฟลูเอนเซอร์มีอิทธิพลกับการบริโภคของผู้คนในทุกด้าน ไม่เว้นแม้แต่การอ่านหนังสือ” แพตเตอร์สันกล่าว

วัฒนธรรมการอ่านของคนเจน Z
‘ฮาลี บราวน์’ ผู้ร่วมก่อตั้ง Books on the Bedside วัย 28 ปี บัญชี TikTok เกี่ยวกับการอ่านหนังสือของชาวเจน Z กล่าวว่า คนรุนใหม่อ่านหนังสือหลากหลายประเภทอย่างไม่น่าเชื่อ พวกเขาชอบอ่านวรรณกรรม บันทึกความทรงจำ นิยายแปล และชอบอ่านวรรณกรรมคลาสสิกมากๆ

นอกจากนี้ มีวัฒนธรรมย่อยในโลกของชาวเจน Z ที่รักการอ่าน เช่น Hot Girl Books ซึ่งเป็นหนังสือที่เหล่าคนดังอ่าน และ Sad Girl Books หนังสือแนวโศกนาฏกรรม ซึ่งบราวน์ระบุว่าทั้ง 2 เทรนด์ล้วนเกี่ยวข้องกับความเป็นหญิงหรือผู้หญิงไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

‘เคนดัลล์ เจนเนอร์’ นางแบบชื่อดัง กลายเป็นตัวแทนของเทรนด์ Hot Girl Books หลังจากที่มีภาพถ่ายของเธออ่านหนังสือ ‘Tonight I'm Someone Else’ ของ เชลซี ฮอดสัน บนเยือยอร์ชในปี 2019 และอีกครั้งในฝรั่งเศสขณะที่เธอกำลังอ่าน ‘Literally Show Me a Healthy Person’ ของ ดาร์ซี ไวล์เดอร์ ซึ่งทำให้หนังสือทั้ง 2 เล่มขายหมดในเว็บไซต์ Amazon ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากภาพถ่ายถูกเผยแพร่ลงอินเทอร์เน็ต

ส่วนแนว Sad Girl Books ก็ไม่ได้จำกัดแค่ผู้อ่านที่เป็นผู้หญิงเท่านั้น เพราะทั้งแฮร์รี่ สไตล์ส นักร้องชื่อก้องโลก ก็อ่านหนังสือเรื่อง Didion ส่วนทิโมธี ชาลาเมต์ นักแสดงชื่อดังก็ยอมรับว่า ‘Fyodor Dostoevsky's Crime and Punishment’ เป็นหนึ่งใน หนังสือเล่มโปรดของเขา และเจคอบ เอลอร์ด นักแสดงดาวรุ่งก็ชอบอ่านหนังสือเรื่อง Prima Facie นวนิยายเกี่ยวกับการรล่วงละเมิดทางเพศและระบบกฎหมาย

‘เอบิเกล เบิร์กสตอร์ม’ นักเขียนและตัวแทนลิขสิทธิ์วรรณกรรม กล่าวว่า ด้วยความอิ่มตัวของโซเชียลมีเดีย รวมความน่ารำคาญและน่าเบื่อของผู้คนในโลกโซเชียล ทำให้คนเจน Z หลีกหนีไปหาหนังสือ โดยที่หนังสือเหล่านั้นจะต้องเป็นหนังสือที่สนุก หรือเลือกอ่านหนังสือจากนักเขียนเก่งเฉพาะทางหรือมีชื่อเสียง

เปิดปาร์ตี้อ่านหนังสือ
บางคนชอบที่จะอ่านหนังสือตามลำพัง เพื่อจะได้มีสมาธิในการอ่าน แต่หลายคนก็ชอบที่อ่านหนังสือกับเพื่อน เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนความเห็นไปในตัว ตามรูฟท็อป บาร์ หรือสวนสาธารณะในนิวยอร์กมักจะมีการจัด ‘ปาร์ตี้การอ่าน’ อยู่เสมอ

‘มอลลี ยัง’ ผู้จัดปาร์ตี้รักการอ่านกล่าวว่า นี่เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการใช้เวลาร่วมกับผู้คนโดยไม่มีสมาร์ทโฟนมารบกวนสมาธิ และได้แลกเปลี่ยนความคิดที่มีต่อนสิ่งที่เพิ่งอ่านไป

“ผมอ่านทั้งอ่านหนังสือ และได้ใช้เวลากับเพื่อนๆ ของผม และผมอยากจะทำมันอีก” ยังกล่าว

หลังจากที่รูปถ่ายของเจนเนอร์และเอลอร์ดดีถูกเผยแพร่ คนในโลกโซเชียลตั้งคำถามว่า ในตอนนี้คนเจน Z หันมาอ่านหนังสือที่ยากขึ้น แม้จะยังอยู่ในแนวนวนิยาย แต่ก็เป็นเนื้อหาเชิงลึกลงไปถึงโครงสร้างทางสังคม ซึ่งแสดงว่ากระตือรือร้นที่จะสำรวจโลกแห่งการอ่าน แน่นอนว่าทำให้หนังสือขายดีขึ้นอย่างมาก

‘เจมส์ ดันท์’ กรรมการผู้จัดการของ Waterstones บริษัทจัดจำหน่ายหนังสือในอังกฤษ และซีอีโอของ Barnes & Noble ผู้จัดจำหน่ายหนังสือที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงและเทรนด์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ช่วยพลิกฟื้นธุรกิจหนังสือที่ตกต่ำมาเป็นสิบปี

“ถ้าคุณกำลังสงสัยว่าตอนนี้เทรนด์คนหนุ่มสาวกำลังทำอะไร บอกได้เลยว่าพวกเขากำลังหาหนังสือดีๆ สักเล่มอ่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมมาก”

GMM ยันไม่เกี่ยวข้องกรณี 'ซิงซิง' หลังถูกแอบอ้างพัวพันดาราจีนหายตัว

(7 ม.ค. 68) จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ยันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหลอกลวง ซิงซิง นักแสดงจีน แจงกระบวนการคัดเลือกศิลปินโปร่งใส ขอ ปชช.อย่าเชื่อข่าวปลอม

จากกรณีหญิงรายหนึ่งระบุใน weibo ของจีน ว่าแฟนหนุ่มของเธอคือ ซิงซิง หรือ หวังซิง นักแสดงจีน หายตัวไปที่ชายแดนไทย-เมียนมา เมื่อวันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา หลังจากเดินทางมาเพื่อถ่ายทำงานในประเทศไทย โดยมีการกล่าวอ้างถึงค่ายศิลปินยักษ์ใหญ่

ทางด้านบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GMM Grammy ออกแถลงการณ์ผ่าน Weibo ปฏิเสธไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับกรณีนักแสดงชาวจีนหายตัวที่แม่สอด

" บริษัทขอย้ำว่ากระบวนการคัดเลือกศิลปินและนักแสดงของเรามีความโปร่งใส และปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เราจะไม่ติดต่อบุคคลใดๆ ผ่านช่องทาง ส่วนตัว และจะไม่ขอให้ผู้สมัครรายใดจ่ายค่าธรรมเนียมใดๆ

บริษัทขอแนะนำให้ประชาชนไม่เชื่อในข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และตรวจสอบข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารอย่างเป็นทางการของบริษัทเท่านั้น"

Instagram เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่คล้าย TikTok เพิ่มความยาว Reels เป็น 3 นาที พร้อมแอป Edits

(20 ม.ค. 68) อินสตาแกรม (Instagram) ก้าวสู่การพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ที่ดูเหมือนจะได้รับแรงบันดาลใจจากคู่แข่งอย่างติ๊กต๊อก (TikTok) โดยเพิ่มความยาวของวิดีโอ Reels เป็น 3 นาที พร้อมทั้งเปิดตัวแอปพลิเคชันตัดต่อวิดีโอใหม่ชื่อ Edits ที่มีลักษณะคล้ายกับแอปยอดนิยมอย่าง CapCut ซึ่งเป็นของบริษัทแม่ติ๊กต๊อก ไบต์แดนซ์ (ByteDance) การเคลื่อนไหวครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงที่อนาคตของติ๊กต๊อกในสหรัฐฯ ยังคงคลุมเครือ

อดัม มอสเซอรี ผู้บริหารสูงสุดของอินสตาแกรม เปิดเผยเมื่อวันที่ 17 มกราคมว่า ทางบริษัทกำลังปรับการแสดงผลของรูปโปรไฟล์จากแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งคล้ายกับรูปโปรไฟล์ในติ๊กต๊อก โดยสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า การเปลี่ยนแปลงนี้อาจช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับแพลตฟอร์ม

นอกจากนี้ มอสเซอรียังได้โพสต์ผ่านอินสตาแกรมในวันที่ 18 มกราคม ว่าการเพิ่มความยาววิดีโอ Reels จาก 90 วินาทีเป็น 3 นาที เป็นผลมาจากคำขอของผู้ใช้งานที่ต้องการพื้นที่ในการเล่าเรื่องราวมากขึ้น “เดิมทีเราจำกัดความยาวของ Reels ไว้ที่ 90 วินาที เพื่อเน้นวิดีโอสั้น แต่เราได้รับฟีดแบ็กจากผู้ใช้ว่าความยาวดังกล่าวไม่เพียงพอสำหรับการเล่าเรื่องที่มีรายละเอียดมากขึ้น” มอสเซอรีกล่าว

ในวันที่ 19 มกราคม มอสเซอรีได้กล่าวถึงแอปพลิเคชัน Edits ในวิดีโอบนอินสตาแกรมว่า “เราต้องการสร้างเครื่องมือที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนที่ทำวิดีโอ ไม่ใช่แค่เพื่ออินสตาแกรมเท่านั้น แต่รวมถึงแพลตฟอร์มอื่น ๆ ด้วย” โดยแอปนี้สามารถดาวน์โหลดได้แล้วในแอปสโตร์ แต่จะเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์

การเปลี่ยนแปลงของอินสตาแกรมเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ติ๊กต๊อกกำลังเผชิญกับวิกฤตสำคัญ เมื่อคืนวันที่ 20 มกราคม ติ๊กต๊อกและ CapCut ถูกปิดการเข้าถึงในสหรัฐฯ ชั่วคราว ก่อนที่กฎหมายเตรียมแบนแอปจะมีผลบังคับใช้ในอีกไม่กี่ชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม แม้ติ๊กต๊อกจะถูกแบนเป็นระยะเวลานาน ผู้ใช้งานก็ไม่ได้เปลี่ยนมาใช้อินสตาแกรมแทนในทันที ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้าที่ติ๊กต๊อกจะปิดตัว แอปพลิเคชันทางเลือก เช่น เรดโน้ต (RedNote) และ เสี่ยวหงชู (Xiaohongshu) ซึ่งเป็นแอปจากจีน กลับได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ยอดดาวน์โหลดของอินสตาแกรมเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top