Tuesday, 30 April 2024
SMEs

รมว.เฮ้ง สั่งกกจ.ดันโครงการช่วย SMEs หวั่นนายจ้าง สถานประกอบการ SMEs ลงทะเบียนรับสิทธิไม่ทัน

รมว.แรงงาน ย้ำเตือนนายจ้างสถานประกอบการ ลงทะเบียนร่วมโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs เพื่อรับสิทธิภายใน วันที่ 20 พ.ย. 64  มอบกกจ.แจงชัดวิธีลงทะเบียน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เชิญชวนนายจ้าง/สถานประกอบการภาคเอกชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม และมีลูกจ้างรวมทุกสาขาไม่เกิน 200 คน ลงทะเบียนร่วมโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs ผ่านเว็บไซต์ “ส่งเสริมการจ้างงานเอสเอ็มอี.doe.go.th” เพื่อรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ในอัตรา 3,000 บาทต่อลูกจ้างสัญชาติไทย 1 คนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ในเดือนพฤศจิกายน 2564 -มกราคม 2565 โดยเงินจำนวนนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วแต่กรณี ไม่ต้องนำไปคิดเป็นรายได้ หรือคำนวณเป็นรายจ่ายในการหักภาษี ซึ่งการอุดหนุนเงินช่วยนายจ้างในโครงการฯ นี้เป็นสิทธิประโยชน์ของนายจ้าง ที่รัฐบาลโดยการนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน เห็นถึงความสำคัญที่จะต้องเสริมสภาพคล่อง สร้างความแข็งแรงและฟื้นฟูกิจการในธุรกิจ SMEs อย่างไรก็ดีตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค. - 8 พ.ย. 64 มีสถานประกอบการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 98,135 ราย หรือร้อยละ 24.86 ช่วยรักษาระดับการจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทย 1,645,539 คน หรือร้อยละ 40.8 โดยมีนายจ้างจำนวนมากที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนร่วมโครงการ ซึ่งกรมการจัดหางานกำหนดให้ลงทะเบียนได้ถึง วันที่ 20 พ.ย. 64  หรือขณะนี้เหลือเวลาเพียง 12 วันเท่านั้น
“ผมฝากถึงพี่น้องสื่อมวลชน ช่วยเป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs อีกแรง เพื่อให้นายจ้างในกิจการเล็กๆ ที่ยังไม่ทราบข่าวว่าตนมีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐไปฟื้นฟูกิจการ เงื่อนไขของโครงการไม่ยาก หลักฐานที่ต้องยื่นเฉพาะที่จำเป็นเพื่อเป็นยืนยันว่านายจ้างมีตัวตน เป็นสถานประกอบการตัวจริง มีการจ้างงาน และจ่ายประกันสังคมให้พนักงานของท่านจริงเท่านั้น ผมเองได้สั่งการกรมการจัดหางาน เร่งโทรศัพท์หานายจ้างในพื้นที่รับผิดชอบทุกวัน หวังให้นายจ้างไม่เสียสิทธิ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า  

นายจ้างสามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ “ส่งเสริมการจ้างงานเอสเอ็มอี.doe.go.th” เพื่อรับสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ และหากไม่สะดวกดำเนินการผ่านระบบด้วยตนเอง สามารถนำเอกสารซึ่งประกอบด้วย หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ สำเนาหน้าสมุดธนาคาร (กรณีใช้บัญชีกระแสรายวัน ให้ใช้สมุดหน้าเช็คที่มีชื่อนายจ้างและเลขบัญชี) และสำเนาหนังสือรับรองการจะทะเบียนนิติบุคคล หรือสำเนาบัตรประชาชน (นายจ้างบุคคลธรรมดา) โดยลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ ติดต่อที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการให้ หรือหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมให้ติดต่อที่ สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 2 หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694 
สำหรับหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการมีดังนี้ 

‘ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน’ เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการการจ้างงานในประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานระหว่างและหลังการระบาดของโควิด-19

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.30 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการการจ้างงานในประเทศไทย “การเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานระหว่างและหลังการระบาดของ COVID-19” Employment in Thailand Labour Market Transitions during and post the COVID-19 pandemic ณ ห้องประชุมมารีน่า แกรนด์ บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมโนโวเทลมารีน่า ศรีราชา แอนด์ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

โดยกล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อแรงงาน และเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อบริบทด้านแรงงาน ดังนี้

1) แรงงานถูกเลิกจ้าง

2) ชั่วโมงการทำงานลดลง

3) รายได้ของแรงงานลดลง และ

4) ความก้าวหน้าและการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัล

ส่งผลให้แนวโน้มอาชีพและรูปแบบการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไป กระทรวงแรงงานได้มีการดำเนินงานเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลให้เกิดการเลิกจ้าง ว่างงาน และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานและการจ้างงาน เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงบริการจัดหางาน มีอาชีพ มีงานทำ และมีคุณภาพชีวิตอย่างมั่นคงและยั่งยืน จึงได้กำหนดมาตรการการส่งเสริมการจ้างงาน และมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

1.การเตรียมความพร้อมแก่กำลังแรงงานให้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทุกกลุ่มให้ทราบข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน และใช้เป็นแนวทางในการเลือกศึกษา และเลือกประกอบอาชีพ

2.จัดทำมาตรการเพื่อส่งเสริมการจ้างงานและการประกอบอาชีพ โดยมีผลการดำเนินงาน ได้แก่ โครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่

โดยภาครัฐและภาคเอกชน (Co - Payment) ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งวันที่ 1 ตุลาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2564 เป้าหมาย 50,000 คน ผลการดำเนินงานปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564) อนุมัติการจ้างงานแล้ว จำนวน 55,735 คน ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจรวมจำนวน 3,213,122,750 บาท และให้ความช่วยเหลือนายจ้าง/สถานประกอบการในกลุ่มธุรกิจ SMEs เพื่อส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs เพื่อลดปัญหาการว่างงาน ผลการดำเนินงานปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564) มีนายจ้างในธุรกิจ SMEs เข้าร่วมโครงการ จำนวน 223,838 ราย รักษาระดับการจ้างงาน และส่งเสริมการจ้างงานใหม่ลูกจ้างสัญชาติไทย จำนวน 3,068,152 คน เป็นต้น 3.พัฒนาระบบการให้บริการจัดหางาน ซึ่งกระทรวงแรงงานโดยกรมการจัดหางาน ยกระดับการให้บริการจัดหางานและจ้างงานผ่านระบบออนไลน์บนแพลตฟอร์ม “ไทยมีงานทำ” เพื่อให้คนหางานเข้าถึงการจ้างงานที่สะดวกรวดเร็ว จับคู่ตำแหน่งงานว่างและคนหางานที่สอดคล้องกับความต้องการส่งเสริมให้คนไทยมีงานทำตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัลและการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีผู้ได้รับการบรรจุงานแล้ว จำนวน 192,948 คน

อย่างไรก็ดี ยังเห็นว่ามีการดำเนินงานด้านการพัฒนาแรงงานด้านอื่น ๆ และประเด็นท้าทายที่จะส่งผลให้เกิดการจ้างงานและรองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานและสอดคล้องกับแรงงานในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลที่ต้องให้ความสำคัญและมีการวางแผนการดำเนินงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต่อไป เช่น การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสนับสนุนให้มีการจ้างงานกลุ่มเปราะบาง และประชากรเฉพาะกลุ่ม การปรับตัวของแรงงานทั้งในและนอกระบบของไทยให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงโดยการพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะและสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงานในยุคปัจจุบัน หรือ Up-Skill และ Re-Skill ในสาขาที่เป็นที่ต้องการของห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการบริการที่มีความต้องการแรงงานที่มีทักษะ การคุ้มครองแรงงานเพื่อส่งเสริมการทำงานที่มีคุณค่าเพื่อให้แรงงานได้รับโอกาสในการจ้างงานจ้างและมีความมั่นคงในชีวิตตลอดจนมีหลักประกันทางสังคม

นายสุรชัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอบคุณสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยและองค์การแรงงานระหว่างประเทศที่ร่วมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาแรงงานของประเทศ และหวังว่าผลการประชุมจะนำมาซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบายด้านแรงงานด้านการจ้างงานที่มาจากความเห็นของทุกภาคส่วนที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำไปขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาแรงงานของประเทศต่อไป

 

'นายกฯ' จี้ 'ก.แรงงาน' ส่งเสริมการจ้างงาน SMEs ให้สถานประกอบการขนาดเล็ก-กลาง ลงทะเบียนร่วมโครงการช่วย SMEs รอบ 2 ภายใน 20 ธ.ค. นี้ 

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามข้อสั่งการที่ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ในทุกด้านอย่างบูรณาการเพื่อเสริมศักยภาพให้สามารถฟื้นตัวจากผลกระทบโควิด-19 และกลับมาเติบโตได้ในระยะยาว โดยในส่วนของ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้เปิดให้นายจ้าง สถานประกอบการภาคเอกชน ขนาดเล็ก – กลาง ลงทะเบียนร่วมโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs รอบที่ 2 ผ่านเว็บไซต์ “ส่งเสริมการจ้างงานเอสเอ็มอี.doe.go.th” ภายในวันที่  20 ธันวาคม 2564 เพื่อรับเงินอุดหนุนตามโครงการฯ จากรัฐ 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตั้งแต่เปิดให้ลงทะเบียนเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน -16 ธันวาคม 2564 มีสถานประกอบการลงทะเบียนร่วมโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs รอบที่ 2 จำนวน 14,829 แห่ง มีลูกจ้างสัญชาติไทย จำนวน 118,087 คน  ทั้งนี้ สำหรับนายจ้าง สถานประกอบการที่ไม่สามารถลงทะเบียนร่วมโครงการฯผ่านระบบด้วยตนเอง สามารถนำเอกสารซึ่งประกอบด้วย หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร (กรณีใช้บัญชีกระแสรายวัน ให้ใช้สมุดหน้าเช็คที่มีชื่อนายจ้างและเลขบัญชี) และสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (นายจ้างบุคคลธรรมดา)

โดยลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ ติดต่อที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการให้ หลังจากสมัครร่วมโครงการแล้วจะต้องสมัครใช้งานระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม และนำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือน เพื่อมีสิทธิรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในเดือนธันวาคม 2564 และเดือนมกราคม 2565 ในอัตรา 3,000 บาท ต่อลูกจ้างสัญชาติไทย 1 คน โดยมีเงื่อนไขการจ่ายเงินอุดหนุนเช่นเดียวกับนายจ้างที่ลงทะเบียนรอบแรก 

รมว.เฮ้ง เดินหน้าเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ปรับเงื่อนไขโครงการช่วย SMEs หลังสถานประกอบการบางส่วนเสียสิทธิ์รับเงินอุดหนุนเพราะเงื่อนไขโครงการฯ

คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ อนุมัติเงื่อนไข ส่งเงินสมทบผ่าน e - Service 2 ข้อ หากปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุน งวดธันวา 64 และมกรา 65
 
นายสุชาติ ชมกลิ่น  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงแรงงานได้เชิญชวนนายจ้างภาคเอกชนที่มีกิจการขนาดเล็ก – กลางเข้าร่วมโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs เพื่อรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ในอัตรา 3,000 บาท ต่อลูกจ้างสัญชาติไทย 1 คนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ในเดือนพฤศจิกายน 2564 - มกราคม 2565 ด้วยมีเป้าหมายช่วยเหลือนายจ้าง สถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้กลับมาแข็งแรงประสบผลสำเร็จดั่งในอดีตก่อนมีโรคโควิด-19 ตามความตั้งใจของรัฐบาล

ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ที่ห่วงใยธุรกิจในกลุ่ม SMEs ซึ่งผลการลงทะเบียนในทุกรอบมีสถานประกอบการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการถึง 246,099 ราย ช่วยรักษาระดับการจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทย 3,274,018 คน แต่ช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีการร้องทุกข์จากนายจ้าง/สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ผ่านสำนักงานจัดหางานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เนื่องจากไม่ได้รับเงินอุดหนุนในเดือนธันวาคม 2564 เพราะไม่ได้ส่งข้อมูลเงินสมทบฯ ผ่านระบบ e - Service ของสำนักงานประกันสังคมภายในกำหนด เพื่อขอให้ทบทวนเงื่อนไขดังกล่าว ทำให้ได้รับเงินอุดหนุนบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเป็นทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง หากเกิดการระบาดในระลอกใหม่ของสายพันธ์โอมิครอน

“ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เข้าใจความเดือดร้อนของผู้ประกอบการเป็นอย่างดี กิจการเล็กๆ หลายแห่ง ยังมีความไม่เข้าใจเงื่อนไขและขั้นตอนการใช้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ได้มีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขแต่อย่างใด กระทรวงแรงงานจึงได้ปรับเงื่อนไขโครงการเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้พิจารณา ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 มกราคม 65 และจะดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในวันที่ 11 มกราคม 65 เพื่อให้นายจ้าง/สถานประกอบการที่เสียสิทธิ์ไป มีโอกาสได้รับเงินอุดหนุนในเดือนธันวาคม 64 และมกราคม 65 ดังนี้ 1. นายจ้างที่เข้าร่วมโครงการหากเคยนำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม

ภายในปีนี้ ก่อนวันที่ 16 ธันวาคม 64 จะได้รับเงินอุดหนุน จำนวน 2 เดือน (ธ.ค. 64 – ม.ค. 65)  2. นายจ้างที่เข้าร่วมโครงการแต่มีการนำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม หลังวันที่ 15 ธันวาคม 64 ที่ได้นำส่งข้อมูลฯ ภายในวันที่ 17 มกราคม 65 จึงจะได้รับเงินอุดหนุน จำนวน 2 เดือน (ธ.ค. 64 – ม.ค. 65)” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว  
 
ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า การสมัครใช้งาน e - Service และนำส่งข้อมูลเงินสมทบ ผ่านระบบ e - Service ของสำนักงานประกันสังคม เป็นเงื่อนไขสำคัญข้อหนึ่งของโครงการฯ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนหันมาใช้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามเจตนารมณ์ของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลนายจ้างที่ไม่ได้นำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบ e-Service ในงวดเงินสมทบเดือนพฤศจิกายน 2564 พบว่ามีนายจ้างปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว

ก.อุตฯ เดินหน้ากระจายความสุขให้คนไทย 'หนุน SMEs - ส่งเสริมรถยนต์ EV - ลดต้นทุนปุ๋ยแพง'

กระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้ากระจายความสุขสู่ประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการทั่วประเทศ ผ่านแคมเปญเด่น 3 โครงการ ส่งเสริมสนับสนุน SMEs เพิ่มรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งของประชาชนระดับชุมชนและประชาชนทั่วประเทศ ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV หลังความต้องการใช้ของประชาชนเพิ่มขึ้น และช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรด้วยการลดต้นทุนจากสถานการณ์ราคาปุ๋ยแพง ด้วยการเพิ่มศักยภาพ 'แร่โพแทช' นำมาสกัดเป็น 'ปุ๋ยโพแทช'  เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยผ่านรายการ 'คุยเรื่องบ้าน เรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี' ว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานรากและภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานรากซึ่งก็คือการพัฒนาเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติที่สำคัญนำไปสู่การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้คนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถกระจายรายได้อย่างทั่วถึงทุกท้องที่ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบ กระทรวงอุตสาหกรรม จึงมอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำเนินโครงการส่งเสริมการสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในระดับชุมชนและประชาชนทั่วไปครอบคลุมทั่วประเทศ ด้วยการฟื้นฟูผู้ประกอบการ สร้างทักษะจำเป็นให้กับแรงงาน เพื่อให้สามารถกลับมาประกอบธุรกิจและสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวให้ได้อย่างเข้มแข็ง ผ่านการดำเนินโครงการ 'พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม' หรือ 'โครงการอาชีพดีพร้อม' นำร่องในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย, พิจิตร, นครสวรรค์, ชัยนาท, ชลบุรี, สงขลา และยะลา ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีจากพี่น้องประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถบรรเทาปัญหาปากท้องของประชาชนที่ขาดแคลนรายได้จากการว่างงานและยังเพิ่มทักษะอาชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 

โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้นำเสนอผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีให้ได้รับทราบแล้ว เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา และจากความสำเร็จดังกล่าวที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก จึงได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 วงเงินงบประมาณ 1,249 ล้านบาท ให้แก่ทางกระทรวงอุตสาหกรรมในการขยายพื้นที่ดำเนินโครงการดังกล่าวให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยภายใต้ 'โครงการอาชีพดีพร้อม' กระทรวงอุตสาหกรรม ได้นำนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งได้สั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) ดำเนิน 'โครงการอาชีพดีพร้อม' เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ โดยได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงสิ้นปีนี้ โดยมี 4 หลักสูตร ได้แก่...

1.พัฒนาทักษะด้านการผลิต ประกอบด้วย ทักษะอาชีพลดรายจ่าย และทักษะอาชีพเพิ่มรายได้

2.พัฒนาทักษะด้านการบริการ อาทิ กลุ่มอาชีพช่าง หรือกลุ่มอาชีพบริการ

3.พัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ โดยใช้ต้นทุนอัตลักษณ์เดิมในชุมชน ให้ตอบโจทย์ตลาดในยุคปัจจุบัน

และ 4. พัฒนาต่อยอดทักษะจำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ อาทิ การบริหารด้านการเงิน และการสร้างแบรนด์สินค้า 

"โครงการนี้ ผมตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะสร้างอาชีพเสริมที่มั่นคงให้กับพี่น้องประชาชนรวม 700,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ และคาดการณ์ว่าจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นกว่า 12,000 ล้านบาท เชื่อว่าการดำเนิน 'โครงการอาชีพดีพร้อม' ในครั้งนี้ เปรียบเสมือนเป็นการเปิดประตูบานใหม่ ให้พี่น้องประชาชนสามารถที่จะเข้าถึงโอกาส ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสร้างความเข้มแข็งในชุมชน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประโยชน์ทั้งหมด จะกลับคืนสู่พี่น้องประชาชนฐานรากซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย 

"ดังนั้นสิ่งที่ทุกคนจะได้รับคือความรู้และทักษะใหม่ในการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่และภูมิปัญญาของคนในชุมชน สามารถนำไปต่อยอดได้จริง ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ ควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งได้จากภายใน และเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในพื้นที่ รวมถึงผลักดันให้ภาคเศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวกลับมาสู่ภาวะปกติ" นายสุริยะ กล่าว

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ยังผลักดันส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ปัจจุบันมีการใช้ในจำนวนเพิ่มมากขึ้นหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เนื่องจากรถยนต์ EV เป็นเทคโนโลยียานยนต์แห่งอนาคตที่ช่วยแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมหรือปัญหาโลกร้อน ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 และปัญหาความผันผวนของราคาพลังงาน รัฐบาลเล็งเห็นถึงความจำเป็นดังกล่าว จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติขึ้น เพื่อกำหนดทิศทางและเป้าหมายในการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจากการผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมันไปสู่ EV 

โดยคณะกรรมการฯ ได้กำหนดเป้าหมาย 30@30 (30 แอท 30) หรือ การผลิต EV ให้ได้ร้อยละ30 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้ออกนโยบายสนับสนุนในด้านต่างๆ เช่น มาตรการพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือ Charging Station ให้ครอบคลุมการใช้งานมากที่สุด โดยการให้สิทธิประโยชน์ด้านลดอากรนำเข้า ลดภาษีสรรพสามิต และการให้เงินสนับสนุน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ EV ในประเทศมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ตั้งแต่ปลายปี 2564 ปรากฎว่า ได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก จากข้อมูลการจดทะเบียนรถยนต์พบว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีการจดทะเบียน EV เพิ่มขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับปี 2564 ทั้งปี โดยคาดการณ์ว่า ยอดจดทะเบียนรถยนต์นั่ง EV ทั้งปี 2565 อาจสูงถึง 10,000 คัน 

ขณะเดียวกัน กระทรวงอุตสาหกรรม ยังให้ความสำคัญต่อมาตรฐานและความปลอดภัยของรถยนต์ EV โดยได้ก่อสร้างศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติหรือ ATTRIC (แอททริค) และศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ไฟฟ้า ในจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อให้เกิดการยกระดับการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนในด้านผลิตภัณฑ์ มาตรฐาน และนวัตกรรม และต่อยอดอุตสาหกรรมไทยไปสู่อุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าด้วยนวัตกรรม รวมทั้งผลักดันให้มีการกำหนดมาตรฐานรถยนต์ EV และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรฐานการใช้พลังงาน มาตรฐานแบตเตอรี่ มาตรฐานสถานีอัดประจุไฟฟ้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับพี่น้องประชาชนในการใช้ EV ที่ได้คุณภาพ และมีความปลอดภัยตามหลักมาตรฐานสากล 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวต่อไปด้วยว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่พบว่าราคาปุ๋ยเคมีเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์โดยช่วงรอบปีที่ผ่านมาราคาปุ๋ยเคมีเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากหลายปัจจัยรวมกันได้แก่ การขึ้นราคาของแก๊สธรรมชาติ และน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญของการผลิตปุ๋ยเคมี สงครามในยูเครน ประกอบกับการจำกัดการส่งออกของผู้ผลิตปุ๋ยที่สำคัญ เช่น รัสเซีย และจีน ซึ่งราคาปุ๋ยเคมีเริ่มมีราคาสูงขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น การหาทางออกเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรไทย ด้วยการแก้ปัญหาปุ๋ยเคมีระยะยาวคือ โครงการเหมือนแร่โพแทช เป็นหนึ่งในแนวทางแก้ปัญหา โดยการนำแร่โพแทช มาสกัดเป็นปุ๋ยโพแทชซึ่ง เป็น 1 ใน 3 ของธาตุอาหารหลักของพืชใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยในปีนี้ (2565) ราคาปุ๋ยโพแทชภายในประเทศ ปรับขึ้นจากตันละ 9,000 บาท เป็นตันละ 25,600 บาท และมีแนวโน้มจะขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาตลาดโลก

'ธนกร' ขอบคุณนายกฯ สั่งช่วยเหลือกลุ่ม SMEs หลังได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม

'ธนกร' ขอบคุณนายกฯ สั่งการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทุกกลุ่ม ล่าสุด บยส. รับไม้ต่อช่วยทันทีกลุ่ม SMEs ใน 25 จังหวัดพักชำระค่าธรรมเนียม-ค่างวดชำระ-ประนอมหนี้ นานสูงสุด 6 เดือน แนะฝ่ายค้านเพลาการเมืองหยุดสาดโคลนดิสเครดิตรัฐบาล

(16 ต.ค. 65) นายธนกร วังบุญคงชนะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ และอดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอชื่นชมรัฐบาลที่ช่วยเหลือ เยียวยา ประชาชน ผู้ประกอบการ SMEs ที่ประสบภัยน้ำท่วมขณะนี้ในทุกมิติ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการหน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือลูกหนี้สถาบันการเงินภาครัฐ ซึ่งธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนตามนโยบายการดูแลและช่วยเหลือความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วนและทันท่วงทีของรัฐบาลแล้ว 

นอกจากนี้ในส่วนของผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ล่าสุดคณะกรรมการบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. ได้อนุมัติมาตรการพักชำระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อ - ค่าจัดการค้ำประกันสินเชื่อ และ อนุมัติมาตรการช่วยลูกหนี้ ที่เข้าโครงการประนอมหนี้กับ บสย. ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ 25 จังหวัด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกอบการ SMEs  สำหรับลูกค้าและลูกหนี้ค้ำประกันสินเชื่อ บสย. และติดตามให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ได้แก่

'บิ๊กตู่' หนุน SMEs ไทย บุกตลาดสินค้าออนไลน์ไต้หวัน ยก 'PChome-PINKOI' ช่องทางเหมาะต่อผู้ประกอบการไทย

'ทิพานัน' ชวน SMEs บุกตลาดสินค้าออนไลน์ไต้หวัน ผ่านแพลตฟอร์ม PChome และ PINKOI เพิ่มโอกาสสร้างรายได้และต่อยอดส่งออกสินค้า ย้ำ 'พล.อ.ประยุทธ์' สนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงโอกาสของผู้ประกอบการขนาดกลางหรือขนาดย่อม (SMEs) ไทยใช้ช่องทางออนไลน์ขายสินค้าไปยังต่างประเทศว่า ล่าสุดกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ได้ทำการสำรวจโอกาสลู่ทางการส่งออกให้กับสินค้าไทยเข้าสู่ไต้หวันผ่านช่องทางการค้าออนไลน์ที่กำลังเติบโตและได้รับความนิยมในไต้หวันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ขายสามารถใช้แพลตฟอร์มพีซีโฮม (PChome) และพินคอย (PINKOI) ที่มีสาขาสามารถติดต่อในได้ประเทศไทย สะดวกสำหรับผู้ประกอบการต่างชาติในการเปิดร้านและรับจ่ายเงินค่าสินค้า เป็นแพลตฟอร์มที่สินค้าไทยเป็นสินค้าต่างชาติประเทศที่ 2 ที่ได้รับความนิยมรองจากญี่ปุ่น ดังนั้นจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทยที่ต้องการทดลองตลาดก่อนในระยะที่ยังไม่มีผู้นำเข้า

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า สำหรับแพลตฟอร์ม PChome Thai Shopping นั้นเป็นโอกาสที่ดีมาก เพราะกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้ประสานเปิดร้าน TOPTHAI เพื่อเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าไทยไปไต้หวัน และยังมีแผนขยายธุรกิจโดยคัดเลือกสินค้าที่ได้รับความนิยมใน PChome Thai Shopping มาวางจำหน่ายใน PChome 24h  ซึ่งมีฐานลูกค้าที่ใหญ่กว่า โดยร้อยละ 98 ของรายได้ของ PChome มาจาก PChome 24h และได้เริ่มนำสินค้าแบรนด์ไทยเข้ามาวางจำหน่ายแล้ว 

ที่ผ่านมาทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้เปิดร้าน TOPTHAI ขึ้นใน PChome Thai Shopping เพื่อเป็นช่องทางในการจำหน่ายสินค้าจากไทยไปยังไต้หวันได้โดยตรง และทางแพลตฟอร์มก็มีนโยบายที่จะจัดซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการไทยโดยตรงและจะเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคไต้หวันโดยตรงด้วย และหากเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก PChome Thai ก็จะจัดซื้อเป็นล็อตใหญ่มาเก็บไว้ในคลังสินค้าและส่งให้ลูกค้าเมื่อมีการสั่งซื้อ นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์ม PINKOI ที่เน้นงานฝีมือ งานหัตถกรรม ลูกค้าบนแพลตฟอร์มนี้เป็นคนรุ่นใหม่ที่นิยมสินค้ามีดีไซน์ ปัจจุบันมีสินค้าไทยวางขายบน PINKOI กว่า 3,600 รายการแล้ว

'บิ๊กตู่' ขอบคุณ ‘รัฐ - เอกชน’ ทุกภาคส่วน ร่วมช่วยผู้ประกอบการ SMEs รอดพ้นวิกฤติโควิด

นายกฯ ขอบคุณ สมาคมธนาคารไทย-ธปท.-ภาคเอกชน ร่วมมือภาครัฐ หนุน ‘มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว’ ขยายวงเงินกู้สูงสุด 150 ล้านบาท เสริมศักยภาพ SMEs รับธุรกิจโลกยุคใหม่ 

(10 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขอบคุณในความร่วมมือของสมาคมธนาคารไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และภาคเอกชน ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สมาคมธนาคารไทยได้ร่วมมือกับ ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการในระยะสั้น 

โดยสามารถช่วยเหลือ SMEs ได้ถึง 7.7 หมื่นราย วงเงินรวม 1.4 แสนล้านบาท มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ให้ความช่วยเหลือ 5.9 หมื่นราย คิดเป็นยอดอนุมัติสินเชื่อกว่า 2.1 แสนล้านบาท มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ ให้ความช่วยเหลือ 413 ราย คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอนราว 5.8 หมื่นล้านบาท รวมถึงมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน ที่ช่วยเหลือลูกค้าแก้ไขปัญหาหนี้ได้ตรงจุด ทันการณ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ผ่านวิกฤต มีความพร้อมกลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืน 

SMEs โตอย่าง ‘ยั่งยืน’ ได้จริง ง่ายๆ ด้วยหลัก ABC

A = Act
to Reduce Harm
เริ่มที่ไม่สร้างผลกระทบทางลบกับใคร เริ่มง่ายๆ กับพนักงาน

B = Benefit
to Stakeholder
ตามด้วยหาทางสร้างสิ่งดีๆ ให้กับลูกค้า คู่ค้า และทุกคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

C = Contribute
Solution
ขยายผลด้วยการลงมือทำอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี ส่งมอบสู่คนรุ่นต่อไป

ที่มา: ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

‘ไทย’ รุกคว้าโอกาสธุรกิจ หลัง ‘รถไฟจีน-ลาว’ เปิดให้บริการ หวังเพิ่มทางลัดส่งออกสินค้าไทย จากหนองคายสู่ตลาดจีน

(15 เม.ย. 66) สำนักข่าวซินหัว, หนองคาย ประเทศไทย รายงานว่า นายธนภัทร ยุทธเกษมสันต์ ผู้ประกอบการไทยวัย 43 ปี ซึ่งทำธุรกิจเอ็สเอ็มอี (SMEs) ด้านไอทีในจังหวัดหนองคาย บอกเล่าความรู้สึกของการเดินทางด้วยทางรถไฟจีน-ลาวครั้งแรก ซึ่งน่าประทับใจ สะดวกสบาย และสะอาดมาก ยกเว้นเพียงการซื้อบัตรโดยสารที่ค่อนข้างยาก เพราะมีคนอยากซื้อเยอะมากเช่นกัน

ทางรถไฟจีน-ลาว ซึ่งเปิดให้บริการเดือนธันวาคม 2021 ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวไทยที่ต้องการเดินทางด้วยรถไฟสายนี้ในช่วงวันหยุด เช่นเดียวกับนายธนภัทรที่ขึ้นรถไฟไปยังบ่อเต็น จุดเชื่อมต่อข้ามไปยังมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน สวนกระแสชาวไทยจำนวนไม่น้อยที่เลือกนั่งรถไฟไปพักผ่อนหย่อนใจในแขวงหลวงพระบาง

นายธนภัทร ตระหนักถึงโอกาสสำคัญที่เพิ่มขึ้นหลังจากทางรถไฟจีน-ลาว เปิดบริการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดน เมื่อวันพฤหัสบดี (13 เม.ย.) เพราะกลายเป็นช่องทางลัดสู่ตลาดจีนสำหรับผู้ประกอบการในจังหวัดหนองคาย ที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางทางเศรษฐกิจอย่างกรุงเทพมหานคร

นายธนภัทร ชี้ว่า คนหนองคายไม่จำเป็นต้องเดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อขึ้นเครื่องบินไปจีนอีกแล้ว ซึ่งช่วยลดระยะทางระหว่างชุมชนธุรกิจและตลาดจีน โดยเขากำลังจับตามองพื้นที่บางส่วนของอวิ๋นหนาน ที่อาจเป็นตลาดส่งออกชั้นดีสำหรับสินค้าไทยจากหนองคาย เช่น แคว้นปกครองตนเองสิบสองปันนา กลุ่มชาติพันธุ์ไท ซึ่งมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับไทย

เมื่อวันพฤหัสบดี (13 เม.ย.) นายธนภัทร เผยกับสำนักข่าวซินหัวว่า เขาหวังขยายตลาดสำหรับสินค้าไทย เพราะตลาดจีนมีขนาดใหญ่มาก และหวังว่าทางรถไฟสายนี้จะเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะทำให้สามารถส่งออกสินค้าไปยังภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน หรือแม้แต่กรุงปักกิ่ง

นอกจากนี้ การบริการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนของทางรถไฟจีน-ลาว สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนได้มากขึ้น นายธนภัทรจึงหวังว่า บริการนี้จะช่วยเปิดโอกาสสำหรับการร่วมงานกับธุรกิจจีนด้วย โดยเขาหวังว่าผู้ประกอบการจากจีนจะมาที่หนองคาย เพราะตัวเลขผู้ประกอบการที่มีมากขึ้นหมายถึงโอกาสที่เพิ่มมากตามไปด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top