Tuesday, 14 May 2024
SanFrancisco

ครบรอบ 85 ปี ‘Golden Gate Bridge’ สะพานแขวนสีส้มแห่งนคร San Francisco

วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt ทำพิธีกดปุ่มทางไกลเปิดใช้สะพาน Gate Bridge ในนคร San Francisco อย่างเป็นทางการจากกรุง Washington D.C. โดยสะพาน Golden Gate ถูกจัดให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางวิศวกรรมของโลกยุคปัจจุบัน ด้วยเคยครองสถิติสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลกมาก่อน (ปัจจุบันสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก คือ สะพาน Akashi-Kaikyo อยู่ที่ญี่ปุ่น) โดยมีระยะทาง 2.7 กิโลเมตร สูง 223.5 เมตร 

สะพาน Golden Gate ทอดข้ามอ่าว San Francisco บริเวณช่องแคบ Golden Gate ทางตอนเหนือของนคร San Francisco กับ เทศมณฑล Marin มลรัฐ California ในตอนก่อนสะพานจะถูกสร้างขึ้น เส้นทางสั้น ๆ ที่ใช้งานได้จริงเพียงเส้นทางเดียวระหว่างนคร San Francisco กับ เทศมณฑล Marin (ในปัจจุบัน) คือ โดยสารเรือ Ferry ข้ามอ่าว San Francisco โดยบริษัท Sausalito Land and Ferry ซึ่งบริษัทนี้เปิดตัวในปี พ.ศ. 2410 ในที่สุดก็กลายเป็นบริษัท Golden Gate Ferry ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัทรถไฟสายแปซิฟิกใต้ เรือ Ferry ข้ามฟากของบริษัทรถไฟสายแปซิฟิกใต้ทำกำไรมหาศาลและมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ โดย เรือ Ferry ที่ข้ามฟากระหว่างท่าเรือ Hyde Street Pier ในนคร San Francisco กับท่าเรือ Sausalito Ferry Terminal ในเทศมณฑล Marin ใช้เวลาราว 20 นาที และราคาค่าบริการอยู่ที่คันละ  1.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ในสมัยนั้น) 

ท่าเรือ Sausalito Ferry Terminal ในเทศมณฑล Marin ก่อนที่จะมีสะพาน Golden Gate

ด้วยเหตุนคร San Francisco เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาที่ยังคงไม่มีการเชื่อมโยงถาวรกับชุมชนรอบอ่าว และต้องใช้บริการโดยสารเรือ ferry ข้ามฟากเป็นหลัก จึงทำให้อัตราการเจริญเติบโตของเมืองต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราการเจริญเติบโตของเมืองใหญ่ในสหรัฐฯ 

แต่ในยุคนั้นบรรดาผู้เชี่ยวชาญหลายคนต่างให้ความเห็นว่า เทคโนโลยีขณะนั้นคงไม่สามารถสร้างสะพานข้ามช่องแคบยาว 6,700 ฟุต (2,000 เมตร) ได้ เพราะมีอ่าว San Francisco มีกระแสน้ำที่หมุนวนอย่างแรง ความลึกของน้ำบริเวณใจกลางช่องแคบอยู่ที่ 372 ฟุต (113 ม.) และลมพัดแรงจัดมากอยู่บ่อย ๆ ครั้ง จึงเป็นเหตุให้ผู้เชี่ยวชาญสรุปว่า ลมที่พัดแรงจัด อีกทั้งหมอกลงหนักจะเป็นอุปสรรคขัดขวางการก่อสร้างและการใช้งานสะพาน 

แม้ว่าแนวคิดของเรื่องสะพานทอดข้ามช่องแคบ Golden Gate จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในที่สุดข้อเสนอก็ถูกตีพิมพ์ใน San Francisco Bulletin ปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) โดยบทความของ James Wilkins วิศวกรของนคร San Francisco ซึ่งได้ทำการประเมินค่าใช้จ่ายในการสร้างไว้ที่ 100 ล้านดอลลาร์ (ราว 2.5 พันล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน) แล้วก็ยังไม่สามารถทำได้ในขณะนั้น 

แต่ Joseph Strauss ซึ่งเป็นวิศวกรและกวี ผู้มีความทะยานอยาก ซึ่งเคยทำวิทยานิพนธ์เรื่องการออกแบบสะพานรถไฟยาว 55 ไมล์ (89 กม.) ข้ามช่องแคบ Bering และในขณะนั้น Strauss ได้สร้างสะพานแขวนเสร็จสมบูรณ์แล้วราว 400 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสะพานในสหรัฐฯ และไม่มีอะไรที่เขาจะสนใจมากไปกว่าโครงการสร้างสะพานใหม่เพื่อข้ามช่องแคบ Golden Gate ภาพร่างสะพานเริ่มต้นของ Strauss ประกอบด้วยคานแขนขนาดใหญ่ในแต่ละด้านของช่องแคบ ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยส่วนกันสะเทือนกลาง โดย Strauss สัญญาไว้ว่า จะสามารถสร้างได้ด้วยงบประมาณ 17 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่ากับ 423 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน)


Joseph Strauss

หลังจากนั้นด้วยมติในสภานิติบัญญัติแห่งมลรัฐ California อนุมัติให้มีการสร้างสะพานและทางหลวงด้วยงบประมาณ 35 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 530 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน) เพราะมีความมั่นใจว่า Strauss จะมีการปรับเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และยอมรับข้อมูลต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญโครงการที่ปรึกษาหลาย ๆ คนว่า การสร้างสะพานแขวนถือเป็นแนวทางที่น่าจะประสบความสำเร็จและสามารถใช้งานจริงได้มากที่สุด การก่อสร้างต้องใช้เวลามากกว่าหนึ่งทศวรรษเพราะโครงการก่อสร้างสะพานนี้ต้องเผชิญกับการต่อต้าน รวมถึงการฟ้องร้องดำเนินคดีจากผู้ที่คัดค้านและเสียผลประโยชน์มากมาย 

อีกทั้งกระทรวงสงครามของสหรัฐฯ เองก็เกรงว่า สะพานนี้จะกลายเป็นอุปสรรคต่อการสัญจรทางเรือ กองทัพเรือสหรัฐฯ กลัวว่า การชนสะพานของเรือหรือการก่อวินาศกรรมอาจเป็นปิดกั้นทางเข้าท่าเรือหลักแห่งใดแห่งหนึ่ง ส่วนสหภาพแรงงานเรียกร้องให้มีการรับประกันว่า คนงานในท้องถิ่นจะได้เข้าทำงานในการก่อสร้างโครงการนี้

นอกจากนั้น บริษัทรถไฟสายแปซิฟิกใต้ หนึ่งในผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ทรงอิทธิพลที่สุดในมลรัฐ California คัดค้านการสร้างสะพานนี้เพราะจะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจเรือ Ferry ข้ามฟาก และได้ยื่นฟ้องคัดค้านโครงการนี้ ซึ่งนำไปสู่การคว่ำบาตรการใช้บริการเรือข้ามฟาก


 Leon Moisseiff วิศวกรผู้ออกแบบและสร้างสะพาน Manhattan ในมหานคร New York

ในที่สุด Strauss ก็ได้เป็นทั้งหัวหน้าวิศวกรที่รับผิดชอบการออกแบบโดยรวมและการก่อสร้างสะพาน แต่เนื่องจากเขามีความเข้าใจหรือประสบการณ์น้อยในการออกแบบระบบกันสะเทือนด้วยสายเคเบิล ความรับผิดชอบในด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จึงตกอยู่ที่ผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ 

ข้อเสนอจากการออกแบบเบื้องต้นของ Strauss (ช่วงเสาเข็มคู่สองช่วงที่เชื่อมโยงกันด้วยระบบกันสะเทือนส่วนกลาง) ไม่เป็นที่ยอมรับอันเนื่องมาจากมุมมองที่สามารถมองเห็นนั้นดูไม่สวยสง่า ทำให้การออกแบบช่วงล่างที่สวยงามขั้นสุดท้ายเกิดขึ้นโดย Leon Moisseiff วิศวกรผู้ออกแบบและสร้างสะพาน Manhattan ในมหานคร New York 
 

‘คนไทยในต่างแดน’ เผย ยุคเสื่อมโทรมของซานฟรานซิสโก  จากเมืองน่าอยู่สู่แดนสวรรค์ของเหล่า ‘อาชญากรรม-คนไร้บ้าน’

เมื่อไม่นานมานี้ ยูทูบเบอร์ชื่อดัง ‘มัสลา สนศิริ’ หรือที่ในโลกโซเชียลรู้จักกันในชื่อ ‘คุณมอร์ส’ เจ้าของช่องยูทูบ ‘MOSSALA101’ ที่มียอดผู้ติดตามในช่องยูทูบมากกว่า 951,000 คน โดยคอนเทนต์ส่วนใหญ่ที่คุณมอร์สทำนั้น คือการบอกเล่าและตีแผ่เรื่องราวหลากหลายแง่มุมเกี่ยวกับประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งเรื่องอาหาร การใช้ชีวิต แฟชัน รวมถึงอาชีพของคนไทยในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย

ล่าสุด คุณมอร์สได้โพสต์คลิปวิดีโอลงในช่องยูทูบของเธอ เกี่ยวกับการได้พูดคุยกับคนไทยในเมืองซานฟรานซิสโก โดย ‘คุณกอล์ฟ’ 1 ในคนไทยที่ได้มาทำธุรกิจเปิดร้านอาหารอยู่ในซานฟรานซิสโกนั้น ได้เล่าว่า ตนนั้นเป็นพาร์ทเนอร์ของร้าน ‘Farmhouse kitchen thai cuisine’ อาศัยอยู่ในซานฟรานซิสโกมากว่า 17 ปีแล้ว และได้เคยย้ายไปเปิดร้านอาหารอยู่ที่รัฐเท็กซัส 1 ปี แต่สุดท้ายก็ย้ายกลับมาอยู่ที่ซานฟรานซิสโกเหมือนเดิม โดยคุณกอล์ฟได้เล่าว่า…

“เมื่อก่อนนี้ ซานฟรานซิสโกเป็นเมืองที่น่าอยู่ สวยงาม ดูสะอาด และสามารถเดินเที่ยวได้ทุกๆ ที่ แต่ตอนนี้ผมรู้สึกเศร้าใจมาก เพราะ ‘อาชญากรรม’ ที่เกิดขึ้นในซานฟรานซิสโกตอนนี้นั้นมีเยอะมาก เนื่องจากที่นี่เคยออกกฎหมายฉบับหนึ่งว่า หากราคามูลค่าของค่าเสียหายนั้น ไม่เกิน 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตำรวจจะไม่สนใจหรือทำอะไรทั้งนั้น”

ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้อาชญากรรมในซานฟรานซิสโกนั้นพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง จนเมืองที่เคยสวยงาม มีสภาพที่เสื่อมโทรมลงเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังไร้ความระเบียบ และเป็นอันตรายต่อชีวิต รวมถึงทรัพย์ของผู้อยู่อาศัย ตลอดจนชีวิตนักท่องเที่ยวเองด้วยเช่นกัน

เมื่อถามว่า ทางร้านอาหารของคุณกอล์ฟเคยเจอเหตุการณ์แย่ๆ หรือไม่? คุณกอล์ฟตอบว่า “ร้านโดนทุบปีละ 4 ครั้ง มีคนเข้ามาขโมยของในร้าน หรือบางครั้งก็มีลูกค้าที่กินแล้วไม่จ่ายเงิน และเหตุการณ์ล่าสุดคือ ไปซื้อของแล้วถูกปล้น ซึ่งในตอนนั้นเรื่องเกิดขึ้นหลังจากซื้อของเสร็จแล้ว ในขณะที่กำลังจะขับรถออกไป ก็มีคนมาเปิดประตูรถออก เพราะเราไม่ได้ล็อกรถ และเขาก็กระชากขโมยเอากระเป๋าไป โดยที่พวกเรายังไม่ทันได้ตั้งตัว” 

เมื่อถามว่า เมืองซานฟรานซิสโกยังน่าอยู่หรือไม่? คุณกอล์ฟตอบว่า “เอาตรงๆ เลยนะ ต้องขอโทษด้วยจริงๆ ในตัวเมืองของซานฟรานซิสโกนั้น ไม่น่าอยู่เหมือนแต่ก่อนแล้ว ด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ แต่คิดว่าร้านค้า การขายสินค้า รวมถึงกิจการต่างๆ อาจจะกลับมาฟื้นขึ้นได้ แต่คงจะต้องตกต่ำจนจมดิ่งให้สุดก่อน ถึงจะกลับมาดีขึ้น ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลามากถึง 10-20 ปีเลยก็ได้” 

นอกจากนี้ คุณกอล์ฟ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงผลกระทบ จากความเสื่อมโทรมของตัวเมืองซานฟรานซิสโก ซึ่งทำให้กิจการร้านอาหารของเขานั้นต้องเผชิญวิกฤตอย่างหนัก เพราะยอดขายอาหารตกต่ำลงอย่างมาก เนื่องจากการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยว และผู้อยู่อาศัยเดิมที่เริ่มย้ายออกจากตัวเมืองกันมากยิ่งขึ้น เพราะทนกับความเสื่อมโทรม และอาชญากรรมที่พุ่งสูงไม่ไหวอีกต่อไป

“โดยปกติแล้ว ยอดขายอาหารของร้านเราในเมืองซานฟรานซิสโกนั้นไม่เคยแพ้ใคร เรามีร้านอาหารอยู่ทั้งหมด 2 ร้าน คือ ‘Farmhouse kitchen thai cuisine’ กับ ‘Son & Garden San Francisco’ ซึ่งปกติแล้วยอดขายของเราจะสูงที่สุดตลอด ถึงแม้จะว่าร้านอาหารของเราจะเป็นร้านเล็กๆ แต่ยอดขายก็ยังคงถือว่าสูงอยู่ดี แต่ตอนนี้ยอดขายของเรานั้นดิ่งพสุธามาก” 

คุณกอล์ฟ ยังเล่าต่อว่า ตนนั้นมีธุรกิจร้านอาหารอยู่ในเมืองซานฟรานซิสโกก็จริง แต่บ้านที่อาศัยอยู่จริงๆ นั้น ได้ย้ายมาอยู่ที่ ‘เมืองปาซิฟิกา’ (Pacifica) ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ห่างออกมาจากซานฟรานซิสโก และเมืองปาซิฟิกานั้นยังเป็นเมืองที่กำจัด ‘กลุ่มคนไร้บ้าน’ (Homeless) อีกด้วย หากพบเจอที่ไหน กลุ่มคนเหล่านั้นจะถูกนำชื่อออกจากระบบของเมืองทันที ในขณะที่เมืองซานฟรานซิสโกไม่มีมาตรการเหล่านี้

“บางครั้งเราก็รู้สึกว่า เราไม่ได้โหดร้ายนะ แต่ว่ามันไม่เหมาะสมจริงๆ อย่างเช่น ปล่อยปะละเลย หรืออ้าแขนรับสำหรับเรื่องพวกนี้มากจนเกินไป มันจะทำให้คนเป็นง่อย ไม่รู้จักทำมาหากิน ขอโทษจริงๆ ที่ต้องพูดอย่างนี้ ในขณะที่พวกเราเป็นคนต่างเชื้อชาติที่ต้องจากบ้านจากเมืองมา ต้องมาทำงานสู้ฟัดกันฟัน ทำตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ ล้างจาน หั่นผัก ทำทุกอย่าง หรือต้องส่งเสียตัวเองเรียน ทุกสิ่งทุกอย่างเราสู้จนสุดใจ แต่คนพวกนี้ดันไม่ทำอะไรเลย และยังได้รับเงินช่วยเหลือ หรือช่วยในเรื่องของความเป็นอยู่อย่างดีจากรัฐบาล แต่ก็ยังก่ออาชญากรรม ซึ่งเมื่อถูกจับได้ไม่นานก็ได้รับการปล่อยตัว เพื่ออะไร? สิ่งนี้คือสิ่งที่ทำให้ชีวิตของพวกเราลำบากมากจริงๆ” คุณกอล์ฟ กล่าวทิ้งท้าย

‘หนุ่มมะกัน’ ซ่า!! ขับรถพุ่งชนสถานกงสุลจีน ในซานฟรานซิสโก พร้อมขู่ฆ่าเจ้าหน้าที่จีน สุดท้ายถูกตำรวจยิงสกัดเหตุจนดับสลด

เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 66 เกิดเหตุที่เกือบจะเป็นการก่อการร้ายอีกครั้งในสหรัฐอเมริกา หลังจากที่ได้มีชายชาวอเมริกันคนหนึ่ง ขับรถยนต์ฮอนด้า ซีดาน สีน้ำเงิน พุ่งเข้าไปในสำนักงานสถานกงสุลจีน ในนครซานฟรานซิสโก ของสหรัฐอเมริกา พร้อมตะโกนขู่ฆ่าเจ้าหน้าที่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน จนโกลาหลในทั้งสถานกงสุล แต่สุดท้ายไม่รอด คนร้ายถูกตำรวจสหรัฐฯ ยิงสกัด และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลในเวลาต่อมา

โดยยังไม่มีการเปิดเผยชื่อของคนร้ายรายนี้ ระบุเพียงว่าเป็นชายคนหนึ่ง ‘แคทริน วินเทอร์ส’ โฆษกสำนักงานตำรวจนครซานฟรานซิสโก ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อว่า คนร้ายมีอาวุธเป็นมีด และธนูหน้าไม้เตรียมไว้ในรถ และได้ขับรถยนต์พุ่งเข้าชนประตูหน้าของสำนักงานสถานกงสุลจีน จนเข้ามาถึงในโถงล็อบบี้ เมื่อช่วงเวลาประมาณบ่าย 3 โมง ซึ่งในขณะนั้นมีผู้คนมารอคิวยื่นวีซ่าอยู่เป็นจำนวนมาก

หลังจากนั้น คนร้ายลงจากรถพร้อมอาวุธมีด ตะโกนขู่ฆ่าเจ้าหน้าที่จีน จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมาถึง จึงตัดสินใจยิงสวน และพาตัวคนร้ายส่งโรงพยาบาล แต่สุดท้ายก็เสียชีวิตเมื่อเวลา 18.30 น. ในวันเดียวกัน

‘เซอร์กี โมลชานอฟ’ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เป็นหนึ่งในพยานที่อยู่ในเหตุการณ์ได้เล่าว่า เขากำลังรอคิวเพื่อยื่นวีซ่าจีน มองเวลาอยู่ที่ 15.05 น. ก็มีรถยนต์คันหนึ่งพุ่งชนเข้ามาห่างจากจุดที่เขายืนรออยู่เพียง 2 เมตร จากนั้นคนร้ายก็ลงมาจากรถ และตะโกนหาเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่เขาไม่เห็นคนร้ายถืออาวุธ แต่เห็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยถือมีดในมือ ตอนนั้นทุกคนกลัวว่าคนร้ายจะมีปืน จึงรีบหลบหนีออกจากสำนักงานกงสุล ก่อนที่ตำรวจจะเข้ามาและมีเสียงปืนดังภายในอาคาร 2 นัด

สื่อท้องถิ่นของซานฟรานซิสโก รายงานว่า มีตำรวจอย่างน้อย 11 นาย เข้าไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ พร้อมหน่วยกู้ระเบิด และสุนัขตำรวจ เพราะเกรงว่าจะมีก่อวินาศกรรมคาร์บอมบ์ในสถานกงสุล แต่ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจซานฟรานซิสโก ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลน้อยมาก เพราะเป็นคดีที่มีความซับซ้อน และอ่อนไหวสูง

ด้านกงสุลจีนได้ออกแถลงการณ์ประณามการก่อเหตุโจมตีสถานที่ราชการจีน อีกทั้งยังข่มขู่ หมายเอาชีวิตเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจีน บุกรุก และทำลายทรัพย์สินเสียหาย

‘หวัง เหวินปิน’ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน ได้ออกมาเรียกร้องให้ทางการสหรัฐฯ เร่งสอบสวนคดีการโจมตีสถานกงสุลจีนโดยเร็วที่สุด อีกทั้งขอให้เพิ่มมาตรการป้องกัน รักษาความปลอดภัยแก่สถานที่ราชการ และบุคลากรของรัฐบาลจีนในสหรัฐฯ

จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้สถานกงสุลจีนในนครซานฟรานซิสโก ต้องปิดให้บริการชั่วคราวอย่างไม่มีกำหนด ซึ่งสถานที่ราชการจีนในสหรัฐฯ เริ่มกลายเป็นเป้าหมายในการก่อกวน และโจมตีหลายครั้ง ตั้งแต่เกิดวิกฤติการณ์ระบาด Covid-19 และการกล่าวโทษของรัฐบาลสหรัฐฯ ในช่วงเวลานั้น ได้สร้างกระแสความเกลียดชังชาวจีนในสังคมคนอเมริกัน ซึ่งสถานกงสุลแห่งนี้ มักมีกลุ่มคนมาเขียนข้อความแสดงความเกลียดชังบนกำแพงอยู่เป็นประจำ และเคยมีกลุ่มผู้ประท้วงกว่า 100 รายมาชุมนุมประท้วงนโยบายปลอด Covid-19 ของรัฐบาลปักกิ่ง

ทั้งนี้ หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า การโจมตีสถานกงสุลจีนครั้งนี้ อาจเกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ที่ผู้นำสหรัฐฯ อย่าง ‘โจ ไบเดน’ จะมาพบกับ ‘สี จิ้นผิง’ ผู้นำของจีน แบบตัวต่อตัว ในงานประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ ‘เอเปก’ ที่จะจัดขึ้นในซานฟรานซิสโก ระหว่างวันที่ 11-17 พฤศจิกาคม ที่จะถึงนี้ แต่ทว่า กำหนดการเดินทางไปสหรัฐอเมริกาของผู้นำจีน ก็ยังคงไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลปักกิ่ง และอาจไม่เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุครั้งนี้แต่อย่างใด

อยู่ไม่ไหว!! ‘คุณตาชาวจีน’ ตัดสินใจย้ายกลับเมืองจีนบ้านเกิด หลังถูกเหยียดเชื้อชาติ-ทำร้ายร่างกาย ใน ‘ซานฟรานซิสโก’

(3 ก.พ. 67) ชายสูงวัยชาวจีนในนครซานฟรานซิสโกซึ่งถูกพวกอันธพาลทำร้ายร่างกายหลายครั้ง รวมถึงในช่วงที่โควิด-19 ระบาดใหม่ๆ ตัดสินใจย้ายกลับไปอยู่ประเทศจีน โดยให้เหตุผลว่าเมืองแห่งนี้ ‘ไม่ปลอดภัย’ สำหรับคนเอเชียอย่างเขาอีกต่อไป

สื่อ Sing Tao Daily รายงานว่า ‘หรงซิน เหลียว’ (Rongxin Liao) วัย 87 ปี เคยถูกคนร้ายทุบตีจนหมดสติที่เขตเทนเดอร์ลอยน์ (Tenderloin) ในซานฟรานซิสโกเมื่อ 7 ปีก่อน และต่อมายังโดนทำร้ายอีกครั้งเมื่อเดือน ก.พ. ปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่โควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดไปทั่วโลก โดยคุณตาซึ่งต้องใช้เครื่องช่วยพยุงเดินคนนี้ถูกเตะจนล้มระหว่างที่กำลังรอรถประจำทาง

ล่าสุด เหลียว ตกเป็นเหยื่อกระแสเกลียดชังคนเอเชียอีกรอบที่หน้าร้านขายยาแห่งหนึ่งใกล้ถนน Market Street เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ปีที่แล้ว โดยถูกชายคนหนึ่งบุกเข้ามาชกที่ศีรษะขณะกำลังเข็นวีลแชร์ ทว่ารายงานข่าวที่ออกมาในตอนนั้นไม่ได้ระบุชื่อ ‘เหลียว’ ว่าเป็นผู้ถูกทำร้าย

เหลียว ต้องไปขึ้นศาลหลายครั้งจากเหตุการณ์เมื่อปี 2020 และแม้ว่าเขาจะพยายามร้องขอให้ศาลลงโทษสถานหนักต่อ ‘อีริค รามอส-เฮอร์นันเดซ’ (Eric Ramos-Hernandez) ซึ่งเป็นผู้ที่ทำร้ายเขา แต่สุดท้ายชายอันธพาลกลับได้รับโทษจำคุกเพียง 7 เดือน ก่อนจะถูกส่งไปโรงพยาบาลจิตเวช และได้รับการปล่อยตัวกลับบ้านในที่สุด

สำหรับเหตุการณ์เมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว ผู้ที่ลงมือทำร้าย เหลียว คือ ‘เอฟฟริม เบเกอร์’ (Effrim Baker) วัย 60 ปี ซึ่งยังถูกตั้งข้อหาอีก 14 กระทงจากเหตุไล่แทงที่เจ้าตัวก่อขึ้นในวันเดียวกัน

‘จิง เหลียว’ (Jing Liao) บุตรชายของคุณตา ยืนยันกับสื่อ San Francisco Standard ว่า พ่อของเขาซื้อตั๋วเครื่องบินแบบเที่ยวเดียวกลับไปยังนครกว่างโจว โดยมีกำหนดออกเดินทางในวันอาทิตย์นี้ (4 ก.พ.)

จิง บอกว่า สาเหตุที่เขาตัดสินใจส่งพ่อกลับไปอยู่บ้านเกิดที่จีน ก็เพราะความปลอดภัยสาธารณะในซานฟรานซิสโก ‘ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ’

“ผมไม่อยากสร้างปัญหาให้ลูกชายซึ่งอยู่ที่นี่ ไม่อยากให้เขาต้องเป็นห่วงผมตลอดเวลา” เหลียว ให้สัมภาษณ์กับ Sing Tao Daily พร้อมยืนยันว่ายินดีสละสัญชาติอเมริกัน และกลับไปใช้สัญชาติจีนทันทีที่กลับไปถึงแดนมังกร

แม้รัฐแคลิฟอร์เนียและอีกหลายเมืองทั่วอเมริกา จะมีสถิติอาชญากรรมความเกลียดชังเพิ่มขึ้น แต่รายงานของ Axios อ้างว่า ซานฟรานซิสโกเกิดคดีลักษณะนี้ลดลงจาก 114 คดีในปี 2021 เหลือเพียง 36 คดีในปี 2022 และเหตุทำร้ายร่างกายซึ่งเกิดจากความเกลียดชังคนเอเชีย ก็ลดลงจาก 60 เหลือเพียง 6 คดีในช่วงเวลาเดียวกัน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top