Sunday, 16 June 2024
nidapoll

‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจประชาชน เรื่อง ‘รัฐบาลสลายขั้ว’ ชี้!! ไม่เชื่อมั่นว่าจะแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองได้ง่ายๆ

(27 ส.ค. 66) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘ความขัดแย้งทางการเมือง สลายหรือยัง?’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23-25 ส.ค.จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมือง

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มต่างๆ ของประชาชน พบว่า ร้อยละ 87.63 ระบุว่า ไม่เคยไปร่วมชุมนุมใดๆ กับกลุ่มทางการเมืองเหล่านี้ ร้อยละ 4.35 ระบุว่า เคยร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.-กลุ่มเสื้อแดง)

ร้อยละ 3.13 ระบุว่า เคยร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.-กลุ่มเสื้อเหลือง) ร้อยละ 3.05 ระบุว่า เคยร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และร้อยละ 2.82 ระบุว่า เคยร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มสามนิ้ว (กลุ่มเสื้อส้ม)

ด้านกลุ่มทางการเมืองที่ประชาชนมองว่าตนเองอยู่ในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 69.47 ระบุว่า ไม่อยู่ในกลุ่มทางการเมืองใดๆ ร้อยละ 19.85 ระบุว่า กลุ่มสามนิ้ว (กลุ่มเสื้อส้ม) ร้อยละ 6.64 ระบุว่า กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.-กลุ่มเสื้อแดง)

ร้อยละ 2.59 ระบุว่า กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.-กลุ่มเสื้อเหลือง) และร้อยละ 1.45 ระบุว่า กลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)

ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดตั้งรัฐบาลพิเศษ ‘สลายขั้ว’ ของพรรคเพื่อไทย โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี จะทำให้มีการสลายความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มเสื้อเหลือง เสื้อแดง กปปส. พบว่า ร้อยละ 36.72 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 20.61 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 20.53 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 19.85 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 2.29 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการกลับประเทศไทยของนายทักษิณ ชินวัตร เพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม จะทำให้มีการสลายความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มเสื้อเหลือง เสื้อแดง กปปส. พบว่า ร้อยละ 30.76 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 27.02 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 22.29 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 18.25 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.68 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทางการเมืองในอนาคต พบว่า ร้อยละ 39.39 ระบุว่า กลุ่มเสื้อส้ม กับ ทุกกลุ่ม (เสื้อเหลือง เสื้อแดง กปปส.) ร้อยละ 24.89 ระบุว่า ไม่มีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มอีกต่อไป ร้อยละ 16.56 ระบุว่า กลุ่มเสื้อแดง กับ กลุ่มเสื้อส้ม ร้อยละ 6.72 ระบุว่า กลุ่มเสื้อเหลือง กับ กลุ่มเสื้อแดง

ร้อยละ 2.44 ระบุว่า กลุ่มเสื้อแดง กับ กลุ่ม กปปส. ร้อยละ 2.29 ระบุว่า กลุ่มเสื้อเหลือง กับ กลุ่มเสื้อส้ม ร้อยละ 1.45 ระบุว่า กลุ่ม กปปส. กับ กลุ่มเสื้อส้ม ร้อยละ 0.53 ระบุว่า กลุ่มเสื้อเหลือง กับ กลุ่ม กปปส. และร้อยละ 10.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

‘นิด้าโพล’ เปิดผลสำรวจประชาชน ต่อนโยบาย ‘ปิดสถานบันเทิงตี 4’ พบ ร้อยละ 41.76 ไม่เห็นด้วย ชี้!! ปิดตี 2 เหมือนเดิมเหมาะสมแล้ว

(22 ต.ค. 66) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘นโยบาย ปิดผับตี 4 มาอีกแล้ว!’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17-19 ตุลาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับแนวคิดการขยายเวลาปิดสถานบันเทิงในยามค่ำคืน จากเวลา 02.00 น. ออกไปเป็นเวลา 04.00 น. การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการเที่ยวสถานบันเทิงยามค่ำคืนของประชาชน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 55.65 ระบุว่า ไม่เคยไปเที่ยว ขณะที่ร้อยละ 44.35 ระบุว่า เคยไปเที่ยว

เมื่อถามผู้ที่เคยไปเที่ยว (จำนวน 581 หน่วยตัวอย่าง) ถึงความถี่ในการเที่ยวสถานบันเทิงยามค่ำคืน ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.66 ระบุว่า ไม่เคยไปเลย รองลงมา ร้อยละ 33.22 ระบุว่า มีบ้างแล้วแต่โอกาส/เทศกาล ร้อยละ 4.13 ระบุว่า เดือนละครั้ง ร้อยละ 2.58 ระบุว่า อาทิตย์ละวัน ร้อยละ 2.07 ระบุว่า เกือบทุกวัน (3-5 วัน/สัปดาห์) และร้อยละ 0.34 ระบุว่า ทุกวัน (7 วัน/สัปดาห์)

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดที่จะขยายเวลาปิดสถานบันเทิง จากเวลา 02.00 น. ออกไปเป็นเวลา 04.00 น. โดยภาพรวม พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 41.76 ระบุว่า ปิดสถานบันเทิง เวลา 02.00 น. เหมาะสมดีอยู่แล้ว เพราะเป็นเวลาที่ไม่ดึกมากจนเกินไป ไม่เป็นการรบกวนเวลาพักผ่อนของผู้ที่พักอาศัยอยู่ใกล้กับสถานบันเทิง

รองลงมา ร้อยละ 23.66 ระบุว่า ควรอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ เพราะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับประเทศ ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย

ร้อยละ 17.56 ระบุว่า ควรจะอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เหมือนกันทั่วประเทศ เพราะควรเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ เป็นการเพิ่มช่วงเวลาในการหารายได้ให้กับผู้ประกอบกิจการสถานบันเทิง และกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้อง

ร้อยละ 8.32 ระบุว่า ควรปิดสถานบันเทิง ก่อนเวลา 02.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างดึกแล้ว อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและปัญหาอาชญากรรมได้ ร้อยละ 4.35 ระบุว่า ไม่ควรอนุญาตให้มีสถานบันเทิงยามค่ำคืนในประเทศไทย เพราะไม่เป็นการส่งเสียงดังรบกวนการพักผ่อนของผู้พักอาศัยในบริเวณใกล้เคียง

ร้อยละ 4.27 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

และร้อยละ 0.08 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ควรปิดสถานบันเทิง เวลา 03.00 น.

เมื่อพิจารณาเฉพาะความคิดเห็นของผู้ที่เคยไปเที่ยวสถานบันเทิง (จำนวน 581 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับแนวคิดที่จะขยายเวลาปิดสถานบันเทิง พบว่า ร้อยละ 36.49 ระบุว่า ปิดสถานบันเทิง เวลา 02.00 น. เหมาะสมดีอยู่แล้ว

รองลงมา ร้อยละ 30.29 ระบุว่า ควรอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ

ร้อยละ 25.13 ระบุว่า ควรจะอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เหมือนกันทั่วประเทศ

ร้อยละ 6.37 ระบุว่า ควรปิดสถานบันเทิง ก่อนเวลา 02.00 น.

ร้อยละ 0.52 ระบุว่า ไม่ควรอนุญาตให้มีสถานบันเทิงยามค่ำคืนในประเทศไทย

ร้อยละ 1.03 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

และร้อยละ 0.17 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ควรปิดสถานบันเทิง เวลา 03.00 น.

ส่วนความคิดเห็นของผู้ที่ไม่เคยไปเที่ยวสถานบันเทิง (จำนวน 729 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ร้อยละ 45.95 ระบุว่า ปิดสถานบันเทิง เวลา 02.00 น. เหมาะสมดีอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 18.38 ระบุว่า ควรอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ ร้อยละ 11.52 ระบุว่า ควรจะอนุญาตปิดสถานบันเทิง เวลา 04.00 น. เหมือนกันทั่วประเทศ ร้อยละ 9.88 ระบุว่า ควรปิดสถานบันเทิง ก่อนเวลา 02.00 น. ร้อยละ 7.41 ระบุว่า ไม่ควรอนุญาตให้มีสถานบันเทิงยามค่ำคืนในประเทศไทย และร้อยละ 6.86 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

เมื่อถามถึงความมั่นใจของประชาชนต่อการขยายเวลาปิดสถานบันเทิงจะช่วยสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว

โดยภาพรวม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 27.71 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ และไม่ค่อยมั่นใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน รองลงมา ร้อยละ 26.72 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 16.56 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 1.30 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาเฉพาะความคิดเห็นของผู้ที่เคยไปเที่ยวสถานบันเทิง (จำนวน 581 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความมั่นใจต่อการขยายเวลาปิด

สถานบันเทิงจะช่วยสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว พบว่า ร้อยละ 33.73 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 27.20 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 19.45 ระบุว่า มั่นใจมาก ร้อยละ 18.93 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย และร้อยละ 0.69 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ส่วนความคิดเห็นของผู้ที่ไม่เคยไปเที่ยวสถานบันเทิง (จำนวน 729 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ร้อยละ 32.92 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย รองลงมา ร้อยละ 28.12 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 22.91 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 14.27 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 1.78 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/
ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจเมาแล้วขับ โดยภาพรวม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.41 ระบุว่า จำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับปัจจุบันเหมาะสมดีแล้ว รองลงมา ร้อยละ 38.02 ระบุว่า ควรเพิ่มจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ ร้อยละ 8.17 ระบุว่า ควรยกเลิกด่านตรวจเมาแล้วขับทั้งหมด ร้อยละ 5.80 ระบุว่า ควรลดจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ และร้อยละ 1.60 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาเฉพาะความคิดเห็นของผู้ที่เคยไปเที่ยวสถานบันเทิง (จำนวน 581 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจเมาแล้วขับ พบว่า ร้อยละ 48.54 ระบุว่า จำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับปัจจุบันเหมาะสมดีแล้ว รองลงมา ร้อยละ 34.60 ระบุว่า ควรเพิ่มจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ ร้อยละ 8.43 ระบุว่า ควรยกเลิกด่านตรวจเมาแล้วขับทั้งหมด ร้อยละ 7.57 ระบุว่า ควรลดจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ และร้อยละ 0.86 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ส่วนความคิดเห็นของผู้ที่ไม่เคยไปเที่ยวสถานบันเทิง (จำนวน 729 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ร้อยละ 44.72 ระบุว่า จำนวน ด่านตรวจเมาแล้วขับปัจจุบันเหมาะสมดีแล้ว รองลงมา ร้อยละ 40.74 ระบุว่า ควรเพิ่มจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ ร้อยละ 7.96 ระบุว่า ควรยกเลิกด่านตรวจเมาแล้วขับทั้งหมด ร้อยละ 4.39 ระบุว่า ควรลดจำนวนด่านตรวจเมาแล้วขับ และร้อยละ 2.19 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

‘นายกฯ’ รับฟัง ‘นิด้าโพล’ หลัง ปชช.ให้คะแนนอยู่ยาวตลอดปี ชี้!! ไม่ว่าผลจะเป็นยังไงก็ยังตื่นเช้ามาทำงาน-ทำทุกอย่างเป็นปกติ

(7 ม.ค.67) ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมคณะ ประกอบด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เดินทางจาก บน.6 ดอนเมือง กรุงเทพฯ ไปยังท่าอากาศยานร้อยเอ็ด ตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี เป็นประธานกิจกรรม Kick off ‘30 บาท รักษาทุกที่’ ที่ลานสาเกตนคร หน้าหอโหวด 101 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด นำร่องใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ในโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการ โดยจะคิดออฟพร้อมกันในจังหวัดนำร่อง ร้อยเอ็ด, แพร่, เพชรบุรี และนราธิวาส

ผู้สื่อข่าวสอบถามกรณีที่ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจประชาชน เรื่อง ‘การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตในปี 2567’ เชื่อว่าปีหน้าเศษรฐกิจจะดีและรัฐบาลนายเศรษฐาจะอยู่ยาวตลอดปี แต่จะมีเหตุวุ่นวายทางการเมืองอยู่บ้างว่า ก็รับฟัง และพรุ่งนี้เช้าก็ยังตื่นไปทำงานเหมือนปกติ

เมื่อถามว่า โพลสะท้อนว่าประชาชนเชื่อว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น ทำให้มีกำลังใจทำงานมากขึ้นหรือไม่ นายเศรษฐากล่าวย้ำว่า ถึงอย่างไรก็ต้องตื่นเช้าทำงานเหมือนเดิม ทุกอย่างยังเป็นปกติ ทำงานเหมือนเดิม


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top