Wednesday, 15 January 2025
MarkZuckerberg

'พี่มาร์ก' โชว์ล้ำ!! สร้างโลก Metaverse ด้วยเสียงผ่าน Ai เสกวัตถุ-องค์ประกอบต่างๆ ได้ตามสั่ง

Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้งบริษัท Meta ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับตัวโครงการพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI โดยอธิบายว่าจะเป็น "กุญแจสำคัญในการปลดล็อก Metaverse"

โดยในวิดีโอไลฟ์สตรีม "Inside the Lab" ของเขา เขาได้สาธิตการสร้างโลกเสมือนจริงขั้นพื้นฐานขึ้นมา ประกอบด้วยการสร้างเกาะ ต้นไม้ และชายหาด ด้วยการใช้ฟีเจอร์ที่มีชื่อว่า "AI Builder Bot" ใช้คำสั่งเสียงในการสร้างสภาพแวดล้อมในโลกเสมือนจริง และนอกจากนี้เขายังได้พูดถึงแผนการสร้างเครื่องแปลภาษา ที่จะช่วยแปลภาษาได้อย่างสากลอีกด้วย โดยระบุว่ามันจะช่วยให้ผู้คนมีอำนาจในการสื่อสารกันมากขึ้น

สำหรับ Builder Bot เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ CAIRaoke ของ Meta ที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยพัฒนาระบบ AI assistants โดยเป็นการทำให้ "AI มองเห็นโลกจากประสบการณ์ และมุมมองของเรา" ขณะที่ผู้คนเข้าสู่ Virtual Reality ผ่านชุดหูฟังหรือแว่นตา ซึ่งในการไลฟ์สตรีมครั้งนี้ก็ได้มีการสาธิตเป็นตัวอย่างวิดีโอของครอบครัวหนึ่งที่กำลังปรุงอาหารอยู่ และมีระบบผู้ช่วย AI ร้องเตือนว่าได้ใส่เกลือลงไปแล้ว รวมถึงตรวจจับได้ด้วยว่าเกลือกำลังจะหมด และช่วยกดสั่งให้ทันที

Tim Cook ฟาด Mark Zuckerberg อย่ามโนว่าทุกคนจะอินกับโลกในจินตนาการ

กลายเป็นกระแสเขม่น จุดชนวนความขัดแย้งเป็นระเบิดขนาดย่อม ๆ ระหว่างผู้บริหาร Apple ที่ออกมาเผยมุมมองที่มีต่อธุรกิจของ meta ภายใต้ความพยายามผลักดันของ Mark Zuckerberg ที่จะนำทุกคนเข้าสู่โลกของ metaverse ซึ่ง Tim Cook CEO ของ Apple ถึงกับออกมาโต้แย้งแนวคิดดังกล่าวนั้นว่าใช่ว่าทุกคนจะอินกับโลกเสมือนที่อยู่ในจินตนาการซึ่งจับต้องไม่ได้

จากการเปิดเผยของ businessinsider สื่อเจาะลึกการลงทุนระดับโลก ได้เปิดเผยมุมมองของ Tim Cook CEO ของ Apple ซึ่งได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ Bright Media สื่อจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ว่าทำไม Apple ถึงมีความลังเลใจในการเข้าร่วม metaverse ซึ่งเป็นอีกหนึ่งด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเป็นความตั้งใจอย่างมากในการผลักดันของ meta

“ผมคิดเสมอว่ามันสำคัญที่ผู้คนจะเข้าใจว่าบางสิ่งคืออะไร ขณะเดียวกันผมไม่แน่ใจจริง ๆ ว่าคนทั่วไปสามารถบอกคุณได้ว่า metaverse คืออะไร” Cook กล่าวกับทาง Bright Media

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าทาง Apple จะไม่ให้ความสำคัญใด ๆ กับทาง meta โดยดูจากสถิติย้อนหลังในการพยายามเข้าร่วมกับ meta โดยคำว่า 'metaverse' ที่ถูกกล่าวถึงโดยฝั่ง Apple นั้นมีเพียงครั้งเดียว ในการโทรหารายได้ของ Apple จนถึงปีนี้ เมื่อเทียบกับ 36 การกล่าวถึงการแสวงหารายได้ของ Meta แม้จะมีการใช้คำศัพท์ที่แพร่หลายทั่วทั้งอุตสาหกรรม ผู้บริหารก็ถูกแบ่งแยกว่า metaverse แสดงถึงผลิตภัณฑ์จริงหรือไม่ เช่น Virtual Reality หรือเป็นเพียงแนวคิดสำหรับโลกเสมือนจริงที่อาจไม่เคยมีอยู่จริง

ขณะที่ทางฝั่งของ Mark Zuckerberg ได้แถลงนโยบายเชิงรุกในการผลักดัน metaverse เพื่อการเข้าถึงและมีส่วนร่วมเชิงสาธารณะ โดยบอกพนักงานในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า Meta เรากำลังอยู่ในสงครามธุรกิจที่ต้องต่อสู้กับคู่แข่งอย่าง Apple เพื่อสร้าง metaverse

ทั้งนี้หากย้อนกลับไปในช่วงไตรมาส 4/2564 หลังจากการเปลี่ยนชื่อและการประกาศของ Facebook โดยได้ทุ่มงบลงทุนไปกว่า 10 พันล้านดอลลาร์เพื่อสร้าง metaverse เพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดในความเป็นจริงเข้าสู่โลกเสมือน เพื่อหวังกอบกู้รายได้จากธุรกิจโซเชียลมีเดีย และช่วงชิงส่วนแบ่งรายได้ในอุตสาหกรรมใหม่ หรือนัยยะหนึ่งเพื่อต้องการทวงความเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการและมูลค่าบริษัทสูงที่สุดในโลก หลังจากที่ Apple นั่งแท่นครองอันดับบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมากที่สุดในโลก และการปรับโครงสร้างความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อุปกรณ์ไอทีในกลุ่มสินค้าของ Apple เช่น iPhone ที่เน้นย้ำความสำคัญของสิทธิส่วนบุคคลและข้อมูลส่วนตัว ซึ่งปิดกั้นการเก็บข้อมูลทางการตลาดที่จะเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการที่พึ่งพิงธุรกิจจากทางฝั่งของ Facebook และ Google ทำให้ Mark Zuckerberg เจ็บแค้นอย่างมากเนื่องจากนโยบายดังกล่าวของ Apple เพราะทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ได้ ซึ่งกระทบรายได้โดยตรงต่อธุรกิจโฆษณาของ Facebook สูญเสียรายได้หลายพันล้านดอลล่าร์จากที่เคยได้ ที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่สื่อสารการตลาดโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดีย และท้ายที่สุดผู้ประกอบการเหล่านั้นต้องทยอยยกเลิกการซื้อสื่อโฆษณากับทาง Facebook ไป เพราะสูญเงินเปล่า โฆษณาไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ ขณะที่การออกมาปฏิเสธที่จะเข้าร่วมโลกเสมือน metaverse ของ Mark Zuckerberg กลายเป็นการตอกย้ำรอยแผลที่ร้าวบาดลึกของทั้ง 2 ธุรกิจที่มีต่อกัน แม้ว่าทาง Apple จะเน้นการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่โดยเฉพาะกับ Augmented Reality ก็ตาม

เจ้าของ TikTok รวยแซงหน้า 'มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก' ด้วยมูลค่าทรัพย์สินกว่า 49,500 ล้านดอลลาร์

Zhang Yiming นักธุรกิจชาวจีน ผู้ก่อตั้งและเจ้าของ TikTok รวยแซงหน้า Mark Zuckerberg ซีอีโอ และผู้ถือหุ้นใหญ่ Meta แล้ว หลังจาก Meta เจอมรสมระลอกใหญ่ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาหุ้นร่วงหนัก ขณะที่ Elon Musk ยังครองแชมป์รวยที่สุด ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 219,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

หลังจากตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา บริษัท Meta บริษัทแม่ของ Facebook และ Instagram โดนปัญหาเศรษฐกิจและพิษสงครามรุมเร้า จนทำให้ต้องประกาศลดพนักงาน และปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ ส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ความมั่งคั่งของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ซีอีโอ และผู้ถือหุ้นใหญ่ Meta ลดลงตามไปด้วย

ขณะที่มาร์ก ชักเคอร์เบิร์ก กำลังประสบปัญหา ในทางตรงกันข้าม Zhang Yiming นักธุรกิจชาวจีน ผู้ก่อตั้งและเจ้าของ ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok กลับมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยก้าวขึ้นเป็นคนที่ร่ำรวยในอันดับที่ 22 ของโลก ด้วยมูลค่าทรัพย์สินกว่า 49,500 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก อันดับตกลงอยู่ที่ 24 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 48,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ส่วนบุคคลที่ร่ำรวยอันดับ 1 คือ Elon Musk ผู้ก่อตั้ง 'เทสลา' และ 'สเปซเอ็กซ์' มูลค่าทรัพย์สิน 219,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วย Bernard Arnault & family มูลค่าทรัพย์สิน 142,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอันดับ 3 Jeff Bezos ซีอีโอ แอมะซอน (Amazon) มูลค่าทรัพย์สิน 138,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ข้อมูลอ้างอิงจาก Forbes


ที่มา : https://mgronline.com/stockmarket/detail/9650000097279

'ซัคเคอร์เบิร์ก' ยอมรับ Meta ไล่พนักงาน 10,000 ราย เพราะบริหารงานพลาด เหตุนำเงินไปจมอยู่กับ Metaverse

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 บริษัท Meta ได้ประกาศไล่พนักงาน 10,000 คนออกจากบริษัท ซึ่งคิดเป็น 13% ของพนักงานทั้งหมด และถือเป็นการลดพนักงานครั้งใหญ่ที่สุดในปีนี้ 

โดยที่ปัญหาใหญ่เกิดจากการนำงบประมาณไปทุ่มให้กับ Metaverse ท่ามกลางสถานการณ์ตลาดโฆษณาที่อ่อนตัวลงจนทำให้กำไรของบริษัทหดหายไปกว่าครึ่งหนึ่ง

ขณะที่ซัคเคอร์เบิร์ค CEO ของ Meta ได้อธิบายว่า "ไม่เพียงแต่ตลาดการค้าออนไลน์กำลังปรับตัวสู่แนวโน้มก่อนหน้านี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการที่เศรษฐกิจมหภาคมีการถดถอย การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้รายได้จากโฆษณาของเราต่ำกว่าที่ผมคาดการณ์ไว้"

"เรื่องนี้ผมผิดเอง และผมขอรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น"

อย่างไรก็ตาม Meta จะได้ทำการชดเชยให้พนักงาน เป็นเงินเดือน 4 เดือน รวมโบนัสตลอดระยะเวลาที่พนักงานร่วมทำงานกับบริษัท ปีละ 2 สัปดาห์ และสวัสดิการอื่นเช่น ประกันสุขภาพให้อีก 6 เดือน

‘อีลอน’ โคตรรวย!! ขึ้นแท่นมหาเศรษฐีเบอร์ 1 ครึ่งแรกปี 66 แซงหน้าเจ้าพ่อ META ‘มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก’ กระจุย

(4 ก.ค. 66) ‘Bloomberg Billionaires Index’ จัดอันดับให้นายอีลอน มัสก์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเทสลา เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในครึ่งแรกของปี 2566 ด้วยทรัพย์สินสุทธิมูลค่า 9.66 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่นายมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเมตา แพลตฟอร์ม รวยเป็นอันดับ 2 ด้วยทรัพย์สินสุทธิ 5.89 หมื่นล้านดอลลาร์

ข้อมูลของ Bloomberg Billionaires Index ซึ่งจัดทำโดยสำนักข่าวบลูมเบิร์กระบุว่า บุคคลที่ร่ำรวยที่สุด 500 อันดับแรกในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ มีทรัพย์สินรวมกันเพิ่มขึ้น 8.52 แสนล้านดอลลาร์ โดยแต่ละบุคคลที่ได้รับการจัดอันดับครั้งนี้ สามารถสร้างมูลค่าทรัพย์สินโดยเฉลี่ย 14 ล้านดอลลาร์/วัน ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นสถิติรอบครึ่งปีที่ดีที่สุด นับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

มูลค่าของทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นได้แรงหนุนจากตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นเป็นวงกว้าง เนื่องจากนักลงทุนมองข้ามผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง รวมทั้งสงครามที่ยืดเยื้อในยูเครน และวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับธนาคารระดับภูมิภาค โดยดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้น 16% ขณะที่ดัชนี Nasdaq ทะยานขึ้น 39% ซึ่งทำสถิติรอบครึ่งปีแรกที่ดีที่สุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากนักลงทุนพากันเข้าซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI)

ขณะเดียวกันความมั่งคั่งสุทธิของนายโกตัม อดานี เจ้าของบริษัทอดานี กรุ๊ป ลดลง 6.02 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการปรับตัวลงรุนแรงที่สุดในรอบ 6 เดือน นอกจากนี้ นายอดานียังเป็นบุคคลที่ความมั่งคั่งรายวันลดลงมากที่สุด โดยเมื่อวันที่ 27 ม.ค.ปีนี้ ความมั่งคั่งของนายอดานีลดฮวบลง 2.08 หมื่นล้านดอลลาร์ หลังจากฮินเดนเบิร์ก รีเสิร์ช ซึ่งเป็นบริษัทด้านการลงทุนจากสหรัฐออกรายงานกล่าวหาว่า นายอดานีได้ทำการฉ้อโกงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์แวดวงธุรกิจโลก แม้ว่านายอดานีได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวก็ตาม

สำหรับนายอีลอน มัสก์นั้น ความมั่งคั่งของเขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือน ก.ค. โดยราคาหุ้นเทสลาทะยานขึ้น 6.9% ในการซื้อขายที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กในวันจันทร์ (3 ก.ค.) ซึ่งทำให้ความมั่งคั่งของนายมัสก์เพิ่มขึ้น 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์

ทั้งนี้ ราคาหุ้นเทสลาได้รับแรงหนุนหลังจากบริษัทเปิดเผยยอดการส่งมอบรถยนต์ในไตรมาส 2 จำนวน 466,140 คัน เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส และพุ่งขึ้น 83% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยได้อานิสงส์จากการปรับลดราคาและการลดหย่อนภาษีของรัฐบาลสหรัฐฯ

‘Twitter’ ขู่ฟ้อง ‘Meta’ อ้าง Threads ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ด้าน Elon บอก “การแข่งขันเป็นเรื่องปกติ แต่การโกงไม่ใช่”

(7 ก.ค. 66) หลังสร้างความฮือฮาด้วยยอดผู้ลงทะเบียนเข้าใช้งานวันแรกหลังเปิดตัวกว่า 30 ล้านคน Threads ของ Meta ก็ต้องเผชิญกับการตอบโต้จาก Twitter ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มคู่แข่งในโซเชียลมีเดีย หลังทนายยืนขู่ฟ้องฐานละเมิดความลับทางการค้า

‘Alex Spiro’ ทนายความของ Twitter เปิดเผยว่า ได้ยื่นหนังสือไปยัง ‘Mark Zuckerberg’ ซีอีโอของ Meta Platforms ว่าจะฟ้องร้องเกี่ยวกับแพลตฟอร์ม Threads หากไมยุติการละเมิดความลับทางการค้า

Meta ซึ่งเปิดตัว Threads ในวันพุธและมีผู้ลงชื่อสมัครใช้มากกว่า 30 ล้านคน ดูเหมือนจะสร้างความสั่นสะเทือนให้กับ Twitter ของ Elon Musk โดยใช้ประโยชน์จากผู้ใช้หลายพันล้านคนของ Instagram

ในจดหมายของเขา Spiro กล่าวหาว่า Meta ว่าจ้างอดีตพนักงาน Twitter ที่ “มีและยังคงเข้าถึงความลับทางการค้าของ Twitter และข้อมูลลับสูงอื่นๆ” เว็บไซต์ข่าว Semafor รายงานเป็นครั้งแรก

“Twitter ตั้งใจที่จะบังคับใช้สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเคร่งครัด และเรียกร้องให้ Meta ดำเนินการทันทีเพื่อหยุดใช้ความลับทางการค้าของ Twitter หรือข้อมูลที่เป็นความลับสูงอื่นๆ” Spiro เขียนในจดหมาย

เริ่มแล้ว Twitter ขู่ฟ้อง Meta ฐาน Threads ใช้ความลับทางการค้า

‘Andy Stone’ โฆษกของ Meta กล่าวว่า “ไม่มีใครในทีมวิศวกรของ Threads ที่เป็นอดีตพนักงานของ Twitter และนั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ”

ด้านอดีตพนักงานอาวุโสของ Twitter บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่าพวกเขาไม่ทราบว่ามีอดีตพนักงานที่ทำงานใน Threads หรือบุคลากรอาวุโสคนใดที่เข้าทำงานที่ Meta เลย

ในขณะเดียวกัน Musk เจ้าของ Twitter กล่าวว่า “การแข่งขันเป็นเรื่องปกติ แต่การโกงไม่ใช่” เพื่อตอบกลับทวีตที่อ้างถึงข่าวดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญารวมถึง Mark Lemley ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายของ Stanford กล่าวว่าหากจะมีการฟ้องร้อง Twitter ต้องมีหลักฐานและข้อเท็จจริงมากกว่าที่ระบุมา

“การว่าจ้างอดีตพนักงานของ Twitter (ซึ่ง Twitter ปลดออกหรือถูกไล่ออก) และข้อเท็จจริงที่ว่า Facebook สร้างเว็บไซต์ที่ค่อนข้างคล้ายกันนั้นไม่น่าจะสนับสนุนการอ้างสิทธิ์ในความลับทางการค้า” เขากล่าว

ด้าน Jeanne Fromer ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก กล่าวว่า บริษัทที่กล่าวหาว่าขโมยความลับทางการค้าต้องแสดงให้เห็นว่าพวกเขาใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลในการปกป้องความลับของบริษัท กรณีต่างๆ มักจะวนเวียนอยู่กับระบบรักษาความปลอดภัยที่ถูกหลีกเลี่ยงไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

'มาร์ก' แฉ!! 'รัฐบาลไบเดน' สั่งปิดกั้นข้อมูลโควิดช่วงปี 2021 บนเฟซบุ๊ก เพื่อช่วยรักษาคะแนนให้พวกเขาชนะการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีก่อน

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ออกมาแฉว่า 'รัฐบาลไบเดน กดดันให้ Facebook/Meta ปิดข้อมูลข่าวสารหลายอย่างมาก เพื่อช่วยรักษาคะแนนให้ชนะการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีก่อน และตัวเขาเองเสียใจมากที่ไม่ได้ออกมาบอกความจริงให้เร็วกว่านี้

(28 ส.ค.67) Business Tomorrow เปิดเผยว่า มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta ผู้เป็นเบื้องหลังของแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook และ Instagram ได้ออกมาแสดงความเสียใจเมื่อคืนก่อน (26)

เขาอ้างว่า ตนไม่เคยเปิดเผยถึงแรงกดดันจากรัฐบาลสหรัฐฯ ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิดที่ผ่านมา โดยในจดหมายถึงคณะกรรมการตุลาการของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันจันทร์ (26) ซักเคอร์เบิร์ก เปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลไบเดนได้ 'กดดัน' ให้ Meta เซ็นเซอร์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับไวรัสระบาดในปี 2021

ซักเคอร์เบิร์ก ยอมรับว่า แรงกดดันนี้เป็นสิ่งที่ผิด และเขารู้สึกเสียใจที่ไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นอย่างหนักแน่นเพื่อต่อต้านแรงกดดันจากรัฐบาลในขณะนั้น 

"ผมเชื่อว่าแรงกดดันจากรัฐบาลเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม และผมเสียใจที่เราไม่ได้ออกมาต่อต้านอย่างแข็งขันมากกว่านี้" 

มาร์กกล่าวในจดหมายถึง จิม จอร์แดน ประธานคณะกรรมการตุลาการจากรัฐโอไฮโอ

นอกจากนี้ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ยังเน้นย้ำว่า Meta ไม่ควรยอมเปลี่ยนแปลงมาตรฐานเนื้อหาของตนเพียงเพราะแรงกดดันจากรัฐบาลในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง และบริษัทพร้อมที่จะต่อสู้กลับหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก

ในจดหมายฉบับเดียวกัน ซักเคอร์เบิร์กยังกล่าวถึงกรณีที่ Meta ตัดสินใจปรับลดการเผยแพร่เนื้อหาของ New York Post ที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาทุจริตของครอบครัวประธานาธิบดีไบเดนก่อนการเลือกตั้งปี 2020 โดยเขายอมรับว่าบริษัท 'ไม่ควร' ลดระดับเนื้อหาดังกล่าวในขณะที่รอการตรวจสอบข้อเท็จจริง และ Meta ได้ปรับปรุงนโยบายใหม่ โดยไม่ลดระดับเนื้อหาในสหรัฐฯ ระหว่างรอการตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกต่อไป

อีกประเด็นที่น่าสนใจในจดหมายนี้คือ ซักเคอร์เบิร์กประกาศว่า เขาไม่มีแผนที่จะบริจาคเงินสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานการเลือกตั้งในท้องถิ่นเหมือนที่เคยทำในช่วงการเลือกตั้งปี 2020 การบริจาคที่เขาตั้งใจให้เป็นกลางนี้กลับถูกวิจารณ์ว่าไม่เป็นธรรมและถูกตั้งชื่อเล่นว่า 'Zuckerbucks' โดยกลุ่มพรรครีพับลิกัน

เรื่องราวนี้ไม่เพียงแค่สะท้อนถึงความซับซ้อนในการจัดการเนื้อหาบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ แต่ยังเปิดเผยถึงความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ในยุคของข้อมูลข่าวสารในวันนี้ 

ซักเคอร์เบิร์กรอดคดี!! ฐานทำเยาวชนเสพติดโซเชียลมีเดีย จ่อเอาผิดบริษัท Facebook-Instagram แทน

(11 พ.ย.67) ผู้พิพากษาของรัฐบาลกลางได้ปฏิเสธคำร้องอีกครั้งที่พยายามให้มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กต้องรับผิดชอบเป็นรายบุคคลในคดีความกว่า 20 คดี ซึ่งกล่าวหา Meta Platforms Inc. และบริษัทโซเชียลมีเดียอื่น ๆ ว่ามีส่วนในการเสพติดสื่อของเด็กและเยาวชน

ผู้พิพากษาอีวอนน์ กอนซาเลซ โรเจอร์ส แห่งศาลแขวงสหรัฐ ซึ่งดูแลคดีนี้ได้ตัดสินให้ซีอีโอของ Meta อยู่ในข้างเดียว โดยเห็นว่าคำร้องที่แก้ไขยังไม่เพียงพอที่จะดำเนินคดีต่อไป โดยคำตัดสินนี้ยกเลิกการฟ้องร้องซักเคอร์เบิร์กในฐานะจำเลยโดยไม่กระทบต่อข้อกล่าวหาต่อ Meta ในฐานะบริษัท

คดีความที่ยื่นในนามของเยาวชนกล่าวหาว่า พนักงานของ Meta เคยเตือนซักเคอร์เบิร์กหลายครั้งว่า Instagram และ Facebook ไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก แต่เขาเพิกเฉยต่อคำเตือนดังกล่าวและเลือกที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ

การถือให้ซีอีโอของบริษัทขนาดใหญ่รับผิดชอบในทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากกฎหมายขององค์กรมีการคุ้มครองผู้บริหารจากความรับผิดชอบโดยตรง

"แม้ว่าในอนาคตการสืบพยานอาจเผยให้เห็นการมีส่วนร่วมและการสั่งการของซักเคอร์เบิร์กในเรื่องการปิดบังข้อมูลที่เป็นการหลอกลวงของ Meta แต่ข้อกล่าวหาที่มีอยู่ในขณะนี้ยังไม่เพียงพอต่อมาตรฐานการรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่บริษัท" โรเจอร์สกล่าวในคำสั่งของเธอ

คดีที่ระบุชื่อซักเคอร์เบิร์กเป็นเพียงส่วนน้อยในคดีฟ้องร้องกว่า 1,000 คดีในศาลรัฐบาลกลางและศาลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยครอบครัวและเขตการศึกษาได้ยื่นฟ้อง Meta และบริษัทอื่นๆ เช่น Google ของ Alphabet, TikTok ของ ByteDance และ Snap เจ้าของแพลตฟอร์ม Snapchat โดยโรเจอร์สและผู้พิพากษาแห่งรัฐลอสแอนเจลิสได้อนุญาตให้บางข้อกล่าวหาดำเนินการได้ ขณะที่ปฏิเสธบางข้อกล่าวหาไป

"iPhone ถือเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ แต่หลังจากนั้น Apple ดูเหมือนไม่มีนวัตกรรมใหม่ออกมาเลย สตีฟ จ็อบส์สร้าง iPhone ไว้ แล้ว 20 ปีผ่านไปก็ยังคงเหมือนเดิม"

(13 ม.ค. 68) มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก วิจารณ์แอปเปิล iPhone ขาดนวัตกรรม - ระบบปิดจำกัดการเติบโตของตลาด

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta ได้ร่วมพูดคุยในรายการพอดคาสต์ Joe Rogan Experience โดยหัวข้อสนทนาครอบคลุมหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเนื้อหาบนแพลตฟอร์ม การพบปะกับอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ รวมถึงประเด็นร้อนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทแอปเปิล  

ระหว่างการสนทนา โจ โรแกนเล่าว่าเขาเปลี่ยนจากการใช้ iPhone ไปเป็น Android เนื่องจากไม่อยากผูกติดกับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง และยังแสดงความไม่พอใจกับนโยบายการเก็บค่าธรรมเนียม App Store ของแอปเปิล  

ซักเคอร์เบิร์กได้เสริมมุมมองว่า แม้ iPhone จะเคยเป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนโลก แต่หลังจากนั้น แอปเปิลกลับไม่มีสิ่งใหม่ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงอีกเลย เขาเปรียบว่า สตีฟ จ็อบส์ได้สร้าง iPhone ไว้แล้ว แต่หลังจากผ่านมา 20 ปี ทุกอย่างยังคงเดิม ทำให้เขาตั้งคำถามว่าแอปเปิลยังคงขาย iPhone ได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ หรือไม่ เพราะโทรศัพท์มือถือมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา แต่คนสร้างอัปเกรดอุปกรณ์ช้าลงเรื่อย ๆ ซักเคอร์เบิร์กยังมองว่าการเก็บค่าธรรมเนียม 30% เป็นวิธีที่แอปเปิลใช้รักษารายได้ให้เพิ่มขึ้นทุกปี  

นอกจากนี้ ซักเคอร์เบิร์กยังวิจารณ์แอปเปิลในเรื่องระบบปิด โดยยกตัวอย่าง AirPods ที่แม้จะเป็นสินค้าคุณภาพสูง แต่ถ้าหูฟังยี่ห้ออื่นสามารถใช้โปรโตคอลเชื่อมต่อกับ iPhone ได้แบบเดียวกัน ผู้บริโภคอาจมีทางเลือกที่หลากหลายและดียิ่งกว่าเดิม เขาเชื่อว่า ถ้าแว่นตา Ray-Ban Meta Glasses สามารถเชื่อมต่อในลักษณะเดียวกันได้ สินค้าจะมีความสะดวกและน่าสนใจสำหรับผู้ใช้งานมากขึ้น  

เขายังทำนายว่าแนวทางของแอปเปิลในปัจจุบันอาจทำให้บริษัทต้องเจอกับความท้าทายจากคู่แข่งในเร็ววัน เพราะขาดการพัฒนานวัตกรรมใหม่มาเป็นเวลานาน  

ซักเคอร์เบิร์กยังกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลในหลายแง่มุม เช่น iMessage ที่มีการแบ่งแยกผู้ใช้ผ่านกล่องข้อความสีน้ำเงิน และวิจารณ์ว่า Apple Vision Pro ที่มีราคาสูงนั้นไม่ได้มอบประสบการณ์ที่คุ้มค่าเทียบเท่ากับ Quest ของ Meta  

ความขัดแย้งระหว่าง Meta และแอปเปิลไม่ใช่เรื่องใหม่ ก่อนหน้านี้ Facebook เคยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากนโยบายใน iOS 14 ที่จำกัดการติดตามโฆษณา จนถึงขั้นซื้อโฆษณาประชดในหนังสือพิมพ์ และเมื่อปีที่ผ่านมา Meta ก็ได้ประกาศขึ้นราคาการบูสต์โพสต์บน iOS หลังจากที่แอปเปิลเริ่มคิดค่าธรรมเนียม 30% ในส่วนนี้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top