Sunday, 19 May 2024
Low_Carbon

ไทยสมายล์ กรุ๊ป ร่วมกับนิคมอุตสาหกรรมบลูเทคซิตี้และบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน ผุดไอเดีย “สถานีตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีชีวิต” แห่งแรกในประเทศไทย เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคม Low Carbon

วันนี้ (28 ต.ค2566) ที่ทุ่งสมุนไพรป่าชายเลนนิคมอุสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ นำคณะผู้บริหาเจ้าหน้าทีพนักงานไทยสมายล์ กรุ๊ปและบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกิจกรรมโครงการ ปลูกต้นไม้ป่าชายเลน

จากการต่อยอด ทุ่งสมุนไพรป่าชายเลนเมื่อปี 2565 สู่การเป็นสถานีตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีชีวิต ในปี 2566 เป็นตัวชี้วัดที่ชาวบ้านสามารถพิสูจน์ด้วยตาเปล่าและจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพและการศึกษานวัตกรรมเทคโนโลยี 

กลิ่นไอความเจริญ เกิดขึ้นแล้ว ณ ฉะเชิงเทรา ในพื้นที่ตะวันออก EEC เมื่อกลุ่มไทยสมายล์ กรุ๊ป ผู้นำรถขนส่งสาธารณะ Low Carbon ร่วมกับ บลูเทคซิตี้ ฉะเชิงเทรา และบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)ผู้นำนวัตกรรมพลังงานบริสุทธิ์ ได้นำพนักงานร่วมกับชาวบ้านบางปะกงกว่า 100 ชีวิต สานพลังบริสุทธิ์ช่วยกันปลูกป่าชายเลน เช่น ต้นถั่วขาวทะเล ต้นฝาดดอกขาว-แดง รวมจำนวน 1,000 ต้น เทียบเท่าการกักเก็บคาร์บอนได้ 100 ตัน ใน 10 ปี และใช้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยเยาว์ สร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่โลก

รวมทั้ง การผุดไอเดียพัฒนา“สถานีตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีชีวิต” โดยมีแนวคิดจัดทำโครงการบ้านปลาธนาคารปู ที่เบื้องต้น ได้ทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ฉะเชิงเทราศึกษาวิจัยเพาะพันธุ์ลูกปูทะเล ที่มีเป้าหมายจะปล่อยลูกปูคืนสู่ธรรมชาติปีละ 1,000,000 ตัว โดยวางแผนปรับปัจจัยแวดล้อมให้ลูกปูสามารถเติบโตเต็มวัย จนประชาชนสามารถจับขายได้ ซึ่งมีราคาโดยเฉลี่ยตัวละ 100 บาท คิดเป็นกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น ได้ไม่น้อยกว่าปีละ 100 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดการประเมิน สถานีตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีชีวิตได้อย่างดี ที่มีทั้งดินดี น้ำดี มีคุณภาพชีวิตดี มีงาน มีอาชีพ มีรายได้ ส่งผลให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างมีความสุขได้อย่างยั่งยืน

ครั้งแรกกับ แฟชั่นโชว์เสื้อผ้า Low Carbon ประธานผู้บริหาร นิคมฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ ร่วมแถลงข่าว นำชีวิตสู่สังคมไร้มลพิษ

วานนี้  20 ธันวาคม 2566  ที่โรงแรมเซ็นทาราซันไรซ่า อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นางสาวฐิติลักษณ์ คำพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราพร ระโหฐาน ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม  วิทยาเขตชลบุรี และ นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา  ประธานผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทคชิตี้  ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน  Dark Sky Fashion Show Low Carbon 2024 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ Sky running track เซ็นทรัล ศรีราชา โดยมีการแสดงแฟชั่นโชว์ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เสื้อผ้าที่ทำจากธรรมชาติ วัสดุ Low Carbon

มหาวิทยาลัย ศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ร่วมกับ นิคมอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทคชิตี้ ร่วมกับภาคีเครือข่าย 25 องค์กร ร่วมจัดงาน Dark Sky Fashion Show Low Carbon 2024 จากโลกร้อน-สู่โลกเดือด หยุดยั้งได้ด้วยสองมือคุณด้วยการ เลือกสวมใส่เสื้อผ้า ที่มาจากเส้นใยธรรมชาติ ย้อมสีธรรมชาติลดน้ำสารเคมี ลดคาร์บอน ลดโลกร้อน ด้วยร่วมกันปลูกต้นไม้ให้กับโลกทุกวันในการใช้สินค้าในชีวิตประจำวันด้วย Low Carbon เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยผู้นำสังคม Low Carbon โดยมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมหาวิทยาลัยได้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง และได้รวมพลังกันรณรงค์และใช้เสื้อผ้า ลดคาร์บอน ลดกิจกรรมปลดปล่อยคาร์บอนและ เเละเป็นการประชาสัมพันธ์ผ้าไทยสู่ระดับนานาชาติ ในการกระตุ้น เศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม BCG และสนับสนุนใช้ผ้าใยธรรมชาติ ผ้าย้อมสีธรรมชาติ  โดยนำผ้า Low Carbon มาเชื่อมกับศิลปะวัฒนธรรมภูมิปัญญานวัตกรรมเทคโนโลยีให้เกิดความสวยงาม ความเป็นเอกลักษณ์ในตัวผลิตภัณฑ์ 

โดยมุ่งเน้นสร้าง 5 เป้าหมายหลักได้แก่ สร้างคน, สร้างความรู้, สร้าง อาชีพ, สร้างรายได้ และสร้างสังคม Low Carbon  คือ 1. การสร้างคน โดยการเพิ่มทักษะ ให้กลุ่มชุมชน เด็กนักเรียนขาดโอกาส และนักศึกษาที่มีความสนใจด้านแฟชั่น  2.การสร้างความรู้ โดย มหาวิทยาลัยศรีปทุมเปิดหลักสูตร นักออกแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมสมัย โดยนักศึกษาลงพื้นที่เรียนรู้ร่วมกับชุมชน ในส่วนของภาคทฤษฎีการออกแบบ ภาคปฏิบัติ ภาคประเมินผลการตลาด  3. การสร้างอาชีพ คือ จากต้นน้ำอาชีพเกษตรกรปลูกวัตถุดิบ มาสู่กระบวนการผลิต ออกแบบตัดเย็บ จนกระทั่งถึงปลายน้ำที่มีตั้งแต่คอสตูม เมกเกอร์ บิวตี้ บล็อคเกอร์ สินค้าแฟชั่นจากภูมิ ปัญญาท้องถิ่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงร้านค้า โรงแรม ภาคบริการ การท่องเที่ยว โรงงาน อุตสาหกรรมล้วนเป็นการต่อยอดตลอดห่วงโซ่อุปทานทั้งสิ้น 4. การสร้างรายได้ จากสินค้าแฟชั่นท้องถิ่น ร่วมสมัยและการติดอาวุธทางปัญญาเพิ่มเติมด้านการตลาดและการวางแผนธุรกิจให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 5. การสร้างสังคม Low carbon คือ การขับเคลื่อนให้เกิด Application ขึ้นมาเพื่อให้ได้ดาวน์โหลดไว้ใช้ ตรวจสอบการลดคาร์บอนในชีวิตประจำวันภายใต้แนวคิด Low Carbon Lifestyle


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top