Tuesday, 12 November 2024
Info

🔍ชวนส่อง คาดการณ์ 10 ประเทศ ที่จะมี GDP สูงที่สุดในปี 2050

เศรษฐกิจแข็งแกร่ง!! คาดการณ์ 10 ประเทศ ที่จะมี GDP สูงที่สุดในปี 2050 ‘ประเทศจีน’ นำโด่ง ติดอันดับ 1 ส่วน ‘อินเดีย’ ตามมาในอันดับ 2 และ ‘สหรัฐอเมริกา’ ติดอันดับ 3 ส่วนประเทศจะอยู่ในอันดับใดบ้างมาดูกัน!!

🔍ส่อง 15 เมืองศูนย์กลางทางการเงินของโลก

เมื่อไม่นานมานี้ ‘Global Financial Centres Index’ รายงานการจัดลำดับ 15 เมืองศูนย์กลางทางการเงินของโลก โดยใช้เกณฑ์การจัดลำดับที่ประกอบไปด้วย 5 เกณฑ์ ได้แก่ เกณฑ์สิ่งแวดล้อมในการประกอบธุรกิจ, เกณฑ์ทุนมนุษย์, เกณฑ์โครงสร้างพื้นฐานของเมือง, เกณฑ์การพัฒนาของภาคการเงินในเมือง และ เกณฑ์ชื่อเสียงและการตัดสินใจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลกลำดับ 1 ได้แก่ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ลำดับ 2 ลอนดอน อังกฤษ ลำดับ 3 สิงคโปร์ ส่วน กรุงเทพฯ ประเทศไทย ติดลำดับที่ 83 ของโลก

✨ชวนรู้จัก Qualcomm และ Intel 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีข่าวควบรวมกิจการ

นับเป็นข่าวที่หลายคนจับตามองมากที่สุดในช่วงนี้ และจะส่งผลกระทบมหาศาลต่อโลกของ ‘เซมิคอนดักเตอร์’ นั่นคือ ข่าวที่บริษัท ‘Qualcomm’ ต้องการจะเข้าซื้อกิจการของบริษัทอย่าง ‘Intel’ ซึ่งถ้าดีลนี้เกิดขึ้นจริงจะทำให้บริษัทผลิตชิปยักษ์ใหญ่อย่าง ‘Nvidia’ เจอคู่ต่อสู้ที่สามารถแข่งขันได้อย่างน่ากลัว แถมดีลนี้จะยิ่งทำให้ตลาดผลิตชิปของสหรัฐฯ แข็งแกร่งมากขึ้นกว่าเดิม และจะสร้างการเปลี่ยนแปลงของทิศทางของเทคโนโลยีทั่วโลกได้

วันนี้ THE SATES TIMES อาสาพาทุกคนมาทำความรู้จัก Qualcomm และ Intel จะเป็นอย่างไร ไปดูกัน!!

🟢สรุปหนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มเดียวอยู่ (ฉบับปรับปรุงใหม่) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (Part 1)

📌หนังสือ 'เศรษฐศาสตร์เล่มเดียวอยู่' จากแบงก์ชาติ อธิบายถึงเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เข้าใจง่าย และใช้ได้จริง เพราะเศรษฐศาสตร์คือเรื่องของการตัดสินใจท่ามกลางทรัพยากรที่มีจำกัดและความต้องการที่ไม่สิ้นสุด การเข้าใจเศรษฐศาสตร์จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้นในทุก ๆ ด้านของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเงิน การลงทุน หรือการเลือกใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

โดยได้อธิบายแนวคิดเศรษฐศาสตร์ที่เราควรรู้ ได้แก่...

>>การตัดสินใจเลือก (Trade-offs) ทุกครั้งที่เราทำการตัดสินใจ เราต้องเลือกสิ่งหนึ่งและเสียอีกสิ่งเสมอ เช่น การเลือกทำงานพิเศษแทนการพักผ่อน

>>ค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) เมื่อเลือกทำบางอย่าง เราเสียโอกาสจากการทำสิ่งอื่น เช่น ถ้าเลือกลงทุนในหุ้นก็เสียโอกาสจากการฝากเงินธนาคาร และค่าเสียโอกาสก็คือเราอาจจะไม่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากที่เราควรจะได้รับนั่นเอง

>>ทรัพยากรมีจำกัด (Scarcity) โลกนี้มีทรัพยากรจำกัด ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพยากรธรรมชาติ หรือเวลา เราจึงต้องใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร 

🟢สรุปหนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มเดียวอยู่ (ฉบับปรับปรุงใหม่) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (Part 2)

📌หนังสือ 'เศรษฐศาสตร์เล่มเดียวอยู่' จากธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) ได้อธิบายปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วย...

>>ผลิตอะไร (What to produce?) ผู้ผลิตต้องเลือกว่าควรใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปผลิตสินค้าหรือบริการใดที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดมากที่สุด

>>ผลิตอย่างไร (How to produce?) ในการผลิตเราต้องคำนึงถึงต้นทุน วิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

>>ผลิตเพื่อใคร (For whom to produce?) ผู้ผลิตจำเป็นต้องมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายว่าผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อใคร เช่น ผลิตอาหารสำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือรายได้สูง

และตัวแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ หรือ ตัวจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจ คือ 

>>กลไกราคา (Market mechanisms) โดยราคาสินค้าจะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ตลาดปรับตัวตามอุปสงค์และอุปทาน เช่น เมื่อราคาสูง ผู้บริโภคซื้อสินค้าน้อยลง

>>อุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) เมื่อความต้องการสินค้า (อุปสงค์) พบกับปริมาณสินค้าที่มีในตลาด (อุปทาน) จะเกิดราคาที่เหมาะสมสำหรับสินค้านั้น เราจะเรียกจุดนั้นว่า ราคาดุลยภาพ และปริมาณดุลยภาพ โดยการเปลี่ยนแปลงราคาและปริมาณดุลยภาพก็เกิดได้จากอีกหลายปัจจัย เช่น อุปสงค์ที่มากขึ้น หรืออุปทานที่น้อยลง

>>>ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน (Elasticity) หมายถึงความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า เช่น ถ้าสินค้าไหนที่ราคาขึ้น เราอาจจะลดการบริโภคสินค้านั้นลงเลย แต่ถ้าเป็นสินค้าที่จำเป็นจะมีอุปสงค์ยืดหยุ่นต่ำ อย่างเช่น ยารักษาโรค ที่ต่อให้ราคาเพิ่งสูงขึ้น เราก็ยังคงบริโภคอยู่ดี

🟢สรุปหนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มเดียวอยู่ (ฉบับปรับปรุงใหม่) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (Part 3)

📌หนังสือ 'เศรษฐศาสตร์เล่มเดียวอยู่' จากธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) ได้อธิบายถึงหลักศรษฐศาสตร์ที่ยังแบ่งออกมาได้เป็น 2 แขนง คือ 

>>เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาปัจจัยเศรษฐกิจระดับประเทศ เช่น การเจริญเติบโตของ GDP อัตราการว่างงาน และนโยบายทางการเงิน

>>เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) จะเน้นศึกษาการตัดสินใจของบุคคลและธุรกิจขนาดเล็กในตลาด เช่น การตั้งราคาสินค้าของร้านค้า

🟢สรุปหนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มเดียวอยู่ (ฉบับปรับปรุงใหม่) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (Part 4)

📌หนังสือ 'เศรษฐศาสตร์เล่มเดียวอยู่' จากธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) ได้อธิบายเรื่องการวัดว่าเศรษฐกิจของเราเติบโตได้ขนาดไหน โดยเราจะวัดจาก...

>>GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product) คือมูลค่าของสินค้าหรือบริการทั้งหมดที่ประเทศหนึ่งผลิตได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วย รายจ่ายเพื่อการบริโภคของประชาชน รายจ่ายเพื่อการลงทุนของภาคเอกชน รายจ่ายของรัฐบาล มูลค่าการส่งออกสุทธิ 
เงินเฟ้อ

>>อัตราเงินเฟ้อ (Inflation) เงินเฟ้อคือสิ่งที่ทำให้มูลค่าของเงินลดลง ส่งผลให้สินค้ามีราคาแพงขึ้นและกำลังซื้อของประชาชนลดลงโดยการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคจะทำไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของเศรษฐกิจโดยรวมที่ตั้งไว้ ซึ่งประกอบไปด้วย 

>>นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) รัฐบาลของแต่ละประเทศจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้จ่ายเงินกับโครงการสาธารณะ หรือเก็บภาษีเพื่อลดเงินหมุนเวียนในระบบ ซึ่งนโยบายต่างๆมักจะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงซบเซา

>>นโยบายการเงิน (Monetary policy) ธนาคารกลางใช้การปรับอัตราดอกเบี้ยหรือปริมาณเงินในระบบเพื่อควบคุมเศรษฐกิจ เช่น ลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการลงทุน ซึ่งสามารถทำได้ทั้งแบบผ่อนคลายในช่วงเศรษฐกิจซบเซา และตึงตัวในช่วงที่เศรษฐกิจร้อนแรงจนเกินไป และยังมีเรื่องเพิ่มเติมที่น่าสนใจ เช่น

>>การค้าระหว่างประเทศ (International Trade) ประเทศต่าง ๆ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการผลิตสินค้าที่แตกต่างกัน เช่น การผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่น หรือการผลิตนาฬิกาในสวิตเซอร์แลนด์ การที่แต่ละประเทศมีข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุนและเทคโนโลยีทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างกัน จะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง 

>>การออมและการลงทุนในเศรษฐกิจ (Savings and Investment in the Economy) การออมเงินและการลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต การออมสามารถสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจในระยะยาว และยังช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินสำหรับอนาคต โดยเฉพาะในสังคมสูงวัยที่การออมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการเตรียมตัวรับมือกับการเกษียณ 

>>เสถียรภาพของระบบการเงิน (Financial Stability) ระบบการเงินที่มีเสถียรภาพเป็นสิ่งจำเป็นต่อการรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การควบคุมหนี้สินและอัตราเงินเฟ้อจะช่วยลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

>>บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ (The Role of Government in the Economy) เมื่อเกิดความล้มเหลวของตลาด รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการเข้ามาช่วยจัดการทรัพยากรและควบคุมราคาสินค้าบริการที่จำเป็น เช่น การผลิตสินค้าและบริการสาธารณะ เพื่อให้เศรษฐกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและเป็นธรรม

>>การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Sustainable Resource Management) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน เช่น การใช้น้ำและพลังงานอย่างประหยัด เป็นการรักษาทรัพยากรเพื่อคนรุ่นหลัง การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดความเสี่ยงของการขาดแคลนในอนาคตและส่งเสริมความยั่งยืนทางเศรษฐกิจได้ 

เพราะเศรษฐศาสตร์ไม่ใช่แค่เรื่องของตัวเลขและการคำนวณ แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคน การเข้าใจหลักการเหล่านี้จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้นในทุก ๆ ด้านค่ะ 

✨เกิดมาเพื่อเป็นดาว ‘หมูเด้ง’ ซูป’ตาร์สาว แห่งสวนสัตว์เปิดเขาเขียว

ความน่ารักของ ‘หมูเด้ง’ ฮิปโปแคระ เพศเมีย วัย 2 เดือน ตัวตึงประจำสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี ยังคงเป็นกระแสต่อเนื่องไม่หยุด แต่ละวันมีนักท่องเที่ยวแห่กันไปชมจนรถติดยาวเหยียด ไม่เว้นแม้แต่วันธรรมดา

ทำให้สวนสัตว์เปิดเขาเขียวมียอดนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดย ‘เพจ ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง’ รายงานยอดนักท่องเที่ยวประจำเดือน ก.ย. 2567 รวม 162,811 คน 

เมื่อย้อนกลับไปดูยอดนักท่องเที่ยวตั้งแต่ช่วงเดือน มิ.ย. 2567 ก่อนที่หมูเด้งจะเกิด มีผู้เข้าชม จำนวน 70,510 คน ต่อมาเดือน ก.ค. 2567 ซึ่งเป็นเดือนที่ หมูเด้ง เกิด มียอดนักท่องเที่ยว จำนวน 84,849 คน เดือน ส.ค. 2567 จำนวน 98,046 คน นับว่ายอดนักท่องเที่ยวได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเกินเท่าตัวจาก เดือน มิ.ย.

ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ย ในประเทศอาเซียน ราคา ณ วันที่ 30 ก.ย. 67

รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน ประจำวันที่ 30 กันยายน 2567 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน
2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่
3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : ราคา ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 อัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 27 กันยายน 2567

*ประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด
สามารถดูราคาย้อนหลังได้ที่ EPPO - Energy Data Visualization
หรือคลิกที่ https://public.tableau.com/.../EPPO.../SUMMARYOILPRICING

'กลุ่ม ปตท.' ชู 3 แนวทาง สู่ Net Zero ตอกย้ำ 'ความยั่งยืนอย่างสมดุล

แนวทาง 3C ของกลุ่ม ปตท. ไม่เพียงช่วยนำสู่เป้าหมาย Net Zero แต่ยังเป็นโอกาสให้เกิดเป็นธุรกิจใหม่ด้านการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และธุรกิจไฮโดรเจน ด้วย 

1. Climate Resilience Business 
ปรับ Portfolio พิจารณาเรื่องการปลดปล่อยคาร์บอน ควบคู่กับการเติบโตทางธุรกิจ 

2. Carbon-Conscious Asset 
-การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ใช้พลังงานสะอาด อาทิ Hydrogen 
-การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิต 
-การนำคาร์บอนไดออกไซด์แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (Carbon Capture and Utilization: CCU) 
 
3. Coalition, Co-Creation, and Collective Efforts for All 
-ประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเป็นแกนหลักของประเทศในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีในการลดก๊าซเรือนกระจก 
-ใช้เทคโนโลยีการดักจับและการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage: CCS) 
-การเพิ่มการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีทางธรรมชาติ ผ่านการปลูกและบำรุงรักษาป่า 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top