Saturday, 27 April 2024
FTX

Crypto ร่วงแรง!! หลังนักลงทุนหวั่น FTX ล้มละลาย ฉุดราคา 'BTC-ETH' หลุดต่ำสุดใหม่ในรอบปีนี้

ราคา Crypto กำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยสาเหตุหลักมาจากการที่นักลงทุนกังวลต่อการล้มละลายของ FTX และสถานะของเงินทุนของลูกค้า ฉุดให้ราคา BTC และ ETH ร่วงลงอย่างรุนแรง สร้างจุดต่ำสุดใหม่ในรอบปีนี้

จากการเปิดเผยของ cointelegraph ระบุว่าราคา Crypto ลดลงทั่วทุกกระดานเทรดในวันที่ 8 พฤศจิกายน เนื่องจากความกังวลในกระแสข่าวการล่มสลายของ FTX กระดานเทรดคริปโตชื่อดังที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นนักลงทุน โดยเฉพาะประเด็นการโต้เถียงของเหรียญ FTT ซึ่งเป็นเหรียญคู่บุญประจำกระดานของ FTX และการออกมาให้ข้อมูลของ Alameda ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาด crypto ทั้งหมด

ก่อนหน้านี้ในวันนั้น Bitcoin (BTC), Binance coin (BNB), Ethereum (ETH), FTX token (FTT) และ Solana (SOL) กลับขึ้นมารีบาวด์ได้ในช่วงสั้น ๆ หลังจากมีข่าวว่า Binance จะเข้าซื้อกิจการของ FTX แต่การเด้งกลับเกิดขึ้นมานั้นก็ยังคงแกว่งตัวผันผวนต่อเนื่อง

ในขณะที่เขียน FTT ตกลงต่ำกว่าเครื่องหมาย 7 ดอลลาร์ซึ่งขาดทุน 70% ในวันนั้น ขณะที่ราคาโซลานายังอยู่ภายใต้แรงกดดัน โดยต้องเผชิญกับการปรับฐาน 18% เนื่องจากซื้อขายต่ำกว่า 25 ดอลลาร์ หลังจากข่าว Binance จะซื้อกิจการ FTX ขณะที่ BNB ดูเหมือนจะเป็นเหรียญเดียวที่ไม่ได้รับผลกระทบในวันนี้ อย่างไรก็ตามการชะลอตัวของตลาดไม่ได้สำรองโทเค็นการแลกเปลี่ยนซึ่งปัจจุบันซื้อขายที่ 328 ดอลลาร์ซึ่งสะท้อนถึงการสูญเสีย 2.6%

นอกจากนี้ความกังวลเกี่ยวกับงบดุล FTX ได้ทำให้ตลาดมีการพลิกกลับอย่างรวดเร็วหลังจากที่ Binance ประกาศเข้าซื้อกิจการของ FTX ซึ่งทำให้ตลาดปรับตัวสูงขึ้น โดยจากรายงานพบว่า FTX มีความพยายามในการระดมทุนมากถึง 6 พันล้านดอลลาร์เพื่อโปะช่องว่างในงบดุล ซึ่งทำให้ข้อตกลง และสถานะทางบัญชีตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤติ

ขณะเดียวกันนักวิเคราะห์กำลังเปรียบเทียบความคล้ายคลึงกันระหว่างการดำเนินการของ FTX ในปัจจุบัน ซึ่งมีช่องว่างด้านงบประมาณขนาดใหญ่ และสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคล้ายกับ Terra Luna ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนอย่างมากเมื่อช่วงกลางปี โดยความหวาดกลัวเหล่านี้ได้เพิ่มความกังวลให้กับนักลงทุนจำนวนมาก เกี่ยวกับอุตสาหกรรมคริปโตเคอเรนซีโดยรวม

>> ภัยคุกคามจากกฎระเบียบเขย่าตลาดคริปโตอย่างต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมคริปโตเคอเรนซีและหน่วยงานกำกับดูแลมีประวัติที่ไม่สอดคล้องกันเนื่องจากความเข้าใจผิดต่าง ๆ หรือไม่ไว้วางใจในกรณีการใช้งานจริงของสินทรัพย์ดิจิทัล โดยหากไม่มีกรอบการทำงานสำหรับกฎระเบียบของภาค crypto ในประเทศและรัฐต่าง ๆ มีนโยบายที่ขัดแย้งกันมากมาย เกี่ยวกับวิธีการจัดประเภท cryptocurrencies เป็นสินทรัพย์และสิ่งที่ถือเป็นระบบการชำระเงินทางกฎหมาย

อย่างไรก็ดีการขาดความชัดเจนในเรื่องนี้ ส่งผลต่อการเติบโตและนวัตกรรมภายในภาคส่วน และนักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่าการรวมกลุ่มของ cryptocurrencies หลักๆไม่สามารถเกิดขึ้นได้จนกว่าจะมีการออกกฎหมายที่เข้าใจกันในระดับสากลและเข้าใจมากขึ้น

‘แซม แบงก์แมน-ฟรายด์’ เจ้าของ FTX บริจาคเงินหนุน ‘เดโมแครต’ มากเป็นอันดับ 2

(14 พ.ย. 65) เมื่อไม่นานมานี้ เพจ ‘The Structure’ ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ Sam เจ้าของ FTX โดยระบุว่า…

รู้หรือไม่? Sam เจ้าของ FTX คือผู้บริจาคเงินให้กับพรรคเดโมแครตมากเป็นอันดับ 2 รองจาก George Sors มหาเศรษฐีเฮดจ์ฟันด์

จากข้อมูลที่เปิดเผยโดย Forbes และ Financial Times ระบุว่า แซม แบงก์แมน-ฟรายด์ (Sam Bankman-Fried) เจ้าของแพลตฟอร์มเทรดคริปโตชื่อดัง FTX ที่เพิ่งยื่นล้มละลาย ถือเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่มีบทบาทสำคัญกับการเมืองในสหรัฐอเมริกา 

เนื่องจากเขาคือคนที่บริจาคเงินให้กับพรรคเดโมแครตในศึกเลือกตั้งกลางเทอมเป็นเงินจำนวนถึง 40 ล้านดอลลาร์หรือราว 1.4 พันล้านบาท โดยเป็นการบริจาคผ่านคณะกรรมาธิการ 3 ชุด 

นอกจากนี้เพื่อนร่วมทีมของแซมในบริษัท FTX ยังบริจาคให้อีก 29 ล้านดอลลาร์ ทำให้ FTX เป็นผู้บริจาคเงินถึง 69 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2.48 พันล้านบาท) ให้กับพรรคเดโมแครต

สรุปข่าววงการคริปโตระส่ำในปีนี้ ทั้งฉ้อโกง หลบหนี ต้องคดี และฟอกเงิน | NEWS GEN TIMES EP.80

สรุปข่าววงการคริปโตระส่ำในปีนี้

ทั้งฉ้อโกง หลบหนี ต้องคดี และฟอกเงิน

จาก ‘Do Kwan’ สู่ ‘Sam FTX’ และถึงคิว ‘Binance’

.

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

.

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง .

‘เทมาเส็ก’ ตัดเงินเดือนผู้บริหาร เหตุธุรกิจคริปโตเจ๊งยับ หลังร่วมลงทุนกับ FTX สูญเงิน 275 ล้านเหรียญสหรัฐฯ!!

เทมาเส็กโฮลดิงส์ กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ได้ประกาศตัดเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนใน FTX แพลทฟอร์มซื้อ-ขายเงินคริปโตชื่อดังที่ล้มละลายไปเมื่อช่วงปลายปี 2565 ที่ผ่านมา ที่ทำให้เทมาเส็กสูญเงินมากถึง 275 ล้านเหรียญสหรัฐ 

แม้จะมีการไต่สวน แซม แบงก์แมน-ฟรายด์ อดีตประธานผู้บริหาร และหนึ่งในผู้ก่อตั้ง FTX โดยสำนักอัยการกลางสหรัฐ ว่าเขาอยู่เบื้องหลังการฉ้อโกงเงินของนักลงทุนจากทั่วโลกนับพันล้านดอลลาร์ แต่สุดท้ายศาลได้ตัดสินว่า แซม แบงก์แมน-ฟรายด์ ไม่มีความผิด

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เทมาเส็ก ได้พิจารณาแล้วว่า ทีมผู้บริหารระดับอาวุโส และ ทีมวิเคราะห์การลงทุนของบริษัทมีส่วนต้องรับผิดชอบร่วมกันในการตัดสินใจร่วมลงทุนกับ FTX  ด้วยการถูกตัดเงินเดือน

ทั้งนี้ เทมาเส็ก ไม่ได้ระบุอัตราเงินเดือนที่จะถูกลดเป็นจำนวนเท่าใด แต่คณะกรรมการกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติรู้สึกผิดหวังกับการลงทุนครั้งนั้น และยังส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของเทมาเส็กอย่างมาก

ครั้งหนึ่ง FTX ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในแพลทฟอร์มเทรด เงินคริปโตที่ทรงอิทธิพลอย่างมากในตลาดการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล เคยมีมูลค่าการซื้อขายรายวันสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของ.โลกมาแล้ว โดยเทมาเส็กได้ตัดสินใจร่วมลงทุนกับ FTX ถึง 2 ครั้ง ในช่วงเดือนตุลาคม 2564 เป็นเงิน 210 ล้านเหรียญ และเพิ่มอีก 65 ล้านเหรียญในเดือนมกราคม 2565

ด้านผู้บริหารกองทุนเทมาเส็ก แย้งว่าได้ใช้เวลาประเมินธุรกิจการซื้อขาย แลกเปลี่ยนเงินคริปโตมานานถึง 8 เดือน รวมถึงตรวจสอบบัญชีการเงินที่แสดงผลประกอบการที่มีกำไรของ FTX ก่อนตัดสินใจลงทุน ซึ่งถ้าหากเทียบกับมูลค่าของกองทุนเทมาเส็กในเดือนมีนาคม 2566 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 2.98  แสนล้านเหรียญ ก็จะพบว่าเงินที่นำไปลงทุนใน FTX มีสัดส่วนที่น้อยมาก เพียงแค่ 0.09% เท่านั้นที่แทบไม่ส่งผลต่อกำไรโดยรวมของบริษัท

แต่ทว่า ลอเรนซ์ หวัง รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ไม่คิดเช่นนั้น เพราะการสูญเงินใน FTX กระทบกับชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของเทมาเส็ก ที่เป็นกองทุนของรัฐบาล ซึ่งก็คือเงินออมของชาติ ที่ชาวสิงคโปร์คาดหวังว่ารัฐบาลจะนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างมูลค่า และมีอนาคตที่ดี 

แต่ความผิดพลาดจากการลงทุนใน FTX เกิดจากความมั่นใจในธุรกิจด้านเทคโนโลยี และทรัพย์สินดิจิทัลที่มากเกินไป ว่าจะเป็นเทรนของโลกธุรกิจการเงินยุคใหม่ เทมาเส็กจึงกระโดดลงไปร่วมลงทุนตั้งแต่แรกๆ แม้จะเห็นว่ามีความเสี่ยงสูงแต่ก็เชื่อมั่นในผลตอบแทนที่มากกว่าในอนาคต แต่สุดท้ายกลายไปการลงทุนที่สูญเปล่าไปทันทีที่ FTX ล่มสลาย ผู้ก่อตั้งอย่าง แซม แบงก์แมน-ฟรายด์ กลายเป็นบุคคลล้มละลาย และถูกจับกุมดำเนินคดีข้อหาฉ้อโกง และจงใจปกปิดข้อมูลที่ทำให้นักลงทุนเข้าใจผิด 

และบอร์ดบริหารของเทมาเส็ก ตัดสินใจให้พนักงานเป็นแพะรับบาปของหายนะจากการลงทุนใน FTX ซึ่งอาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนของการพิจารณาการลงทุนในสินทรัพย์ใดๆของเทมาเส็ก เมื่อพนักงานต้องแบกรับผลจากการขาดทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเช่นนี้ 

เรื่อง : ยีนส์ อรุณรัตน์
อ้างอิง : BBC / Channel News Asia


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top