Sunday, 12 May 2024
BCG

กรอ. ประกาศพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศใหม่ ระยะที่ 2 รวม 15 พื้นที่ หลังระยะแรกไร้สะดุด

กรมโรงงานอุตสาหกรรมเดินหน้าประกาศพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 2 : 15 พื้นที่ใหม่ หลังประสบความสำเร็จ ระยะที่ 1 : 18 พื้นที่มาแล้ว พร้อมดันนโยบาย BCG เต็มที่

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการตามแผนงานยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมอบหมาย กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) จัดทำโครงการพัฒนาและยกระดับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสู่เมืองสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย BCG ของกระทรวงอุตสาหกรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การใช้การหมุนเวียนทรัพยากร และการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้ดำเนินการกับพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระยะที่ 1 : 15 จังหวัด 18 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดระยอง, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นครปฐม, ปทุมธานี, ปราจีนบุรี, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, นครราชสีมา, ขอนแก่น, ราชบุรี, สุราษฎร์ธานี และสงขลา 

พร้อมกันนี้ ได้เตรียมผลักดันให้เกิดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศใน ระยะที่ 2 เพิ่มอีก 15 พื้นที่ใหม่ ใน 11 จังหวัดเดิม (จังหวัดระยอง, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, สมุทรสาคร, นครปฐม, ปทุมธานี, ปราจีนบุรี, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, นครราชสีมา และราชบุรี) และ 4 จังหวัดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนหรือ SEZ (จังหวัดมุกดาหาร, สระแก้ว, ตาก และตราด) 

ระยะที่ 3 เพิ่มอีก 20 พื้นที่ใหม่ 20 จังหวัดใหม่ (จังหวัดกาญจนบุรี, เพชรบุรี, สุพรรณบุรี, เชียงราย, เชียงใหม่, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, ชุมพร, ลำปาง, ลำพูน, ชัยภูมิ, นครศรีธรรมราช, ภูเก็ต, พิษณุโลก, บุรีรัมย์, อุดรธานี, อุบลราชธานี, ประจวบคีรีขันธ์, กระบี่ และลพบุรี) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ภายในปี 2579 

ศอ.บต.ชี้!! จะนะ เป็นเมืองอุตสาหกรรม BCG - รองเจ้าคณะจังหวัด 18 ชี้!! ‘เมืองอุตสาหกรรมจะนะ’ จะทำให้เศรษฐกิจ จชต.รุ่งเรือง

จากกรณี เพจ "BRN" Barisan Revolusi National โพสต์ข้อความประเด็นที่มีการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 11 - 12 มกราคม 2565 ที่ผ่านมาโดยหนึ่งในประเด็นที่มีการพูดคุย นั้นเป็นเรื่องของ การมีส่วนร่วมทางการเมือง อะไรคือการนิยามการมีส่วนร่วมทางการเมืองของรัฐไทย เมื่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่รัฐพยายามกีดกันผู้เห็นต่างทางการเมือง สร้างพยานหลักฐานในการจัดทำกระบวนการการมีส่วนร่วมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน กระบวนการเปลี่ยนแปลงพื้นที่อ.เทพา จากพื้นที่สีเขียวให้กลายเป็นพื้นที่สีม่วง เพื่อเอื้อประโยชน์แก่นายทุน ฯลฯ

ล่าสุดฝ่ายบริหาร ศอ.บต. ได้แสดงความเห็นต่อท่าทีดังกล่าวว่าเรากำลังเข้ากับดักของเขา นั้นหมายถึง เขาไม่ให้ความเจริญเข้าถึงพื้นที่ ก็เป็นไปตามที่กลุ่มผู้ก่อการได้เขียนเอาไว้ เกิดการพัฒนาพื้นที่จะทำให้คนมีอิสระความคิดมีการศึกษาและมีความพยายามในการพัฒนาคุณภาพชีวิตมากขึ้นซึ่งก็จะยากต่อการควบคุมจัดการของฝ่ายตรงข้ามทันทีโดยหลักการพัฒนาของประเทศต่าง ๆ ก็เป็นเช่นนี้กัน

อุตสาหกรรมที่จะเกิดรับรองว่าเป็น BCG และเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตเช่นเครื่องของการผลิตชิปผลิตรถยนต์ EV Car ซึ่งเป็นความต้องการตลาดปัจจุบันไม่มีมลพิษที่สำคัญไม่มีปิโตรเคมีแน่นอนแต่ฝ่ายค้านชอบเอาประเด็นนี้มันเล่นกันเสมอต้องทำให้เห็นภาพว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นมันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยเฉพาะเชื่อมโยงผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมด เด็กในปัจจุบันก็จะมีทางเดินออกไม่ต้องเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศหรือนอกพื้นที่เช่นที่ผ่านมา

ทางด้าน พระสิริจริยาลังการ เจ้าอาวาสวัดตานีนรสโมสร รองเจ้าคณะภาค 18 กล่าวว่า อยากเห็นการพัฒนาเรื่องการค้าขายระหว่างไทยมาเลเซีย ทำให้เป็นจุดใหญ่ ๆ ที่พัก พระอาจารย์คิดแบบนี้อย่าง  เรื่องที่จะนะสมควรทำ แต่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ก็ต้องหาวิธีแก้ช่วยเขา เข้าไปแก้ให้เขา เขาได้รับผลกระทบเรื่องไหน เข้าไปช่วยเลยเป็นจุด ๆ ไป เพราะถ้าเราเอาจุดเดียวมาเป็นปัญหาใหญ่ มันไม่ได้ ต้องดูว่าจุดที่เขาเรียกร้องอยู่ผลกระทบจริง ๆ เรื่อง วิถีชีวิตกระทบยังไง เข้าไปจัดการให้เป็นพิเศษเลย ดูคนตรงนั้น จุดตรงนั้น วิถีชีวิตตรงนั้น ให้เป็นพิเศษว่าจะเอายังไงให้อยู่กับเมืองอุตสาหกรรมที่มันจะเอื้อต่อคนหมู่มาก และเอื้อต่อการค้าไทยมาเลเซีย และจะนะเป็นเมืองด่าน ถ้าทำได้พระอาจารย์รับรองว่ารุ่งเรืองแน่สามจังหวัดนี้ คือพอคนมีอาชีพ เรื่องอื่น ๆ ก็จะหายไป

คำว่าความสงบ การสูญเสียในชีวิต ยังไม่เห็นว่าจะจบได้อย่างไรเพราะกลุ่มที่ มีอุดมการณ์ ก็ยังมีอยู่ ยังเป็นกองกำลังที่ใช้อาวุธใช้ความรุนแรง กับสถานการณ์ ที่ใช้ความรุนแรงในการทำลายมันยังมีอยู่ยังไม่จบ ยังปราบไม่ได้ปราบด้วยวิธีไหนยังไม่หมด ยังไม่จบ  เพียงแต่ว่าทางเศรษฐกิจอาจจะดีขึ้น จังหวัดชายแดนภาคใต้มีชายแดนติดมาเลเซีย เห็นกำลังรัฐบาลพยายามที่จะจับเรื่องการค้าชายแดน ทำอะไรต่าง ๆ ที่มันจะเอื้อต่อการค้าการขาย พระอาจารย์ว่าถ้าทำสำเร็จ ตรงนี้ หรือทำให้เดินไปได้ ถ้าเศรษฐกิจดี ปัญหาตรงนี้ อาจหมดไปได้ การสร้างนิคมอุตสาหกรรม ต้องมีแล้วที่จะนะที่เขาคุยกัน แต่อาจต้องมีผลกระทบบ้าง

 

ติดปีกนวัตกรรมไทย EA ส่ง ‘กรีน เทคโนโลยี รีเสิร์ช’ เซ็น MOU สอวช. ร่วมปั้นนวัตกรรมล้ำตอบโจทย์อุตสาหกรรม BCG

EA ส่ง บ.ย่อย ‘กรีน เทคโนโลยี รีเสิร์ช’ เซ็น MOU กับ สอวช. ‘โครงการ บพข. - GTR’ ร่วมวิจัยพัฒนา ‘ปาล์มน้ำมัน’ สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยีเป็นมิตรสิ่งแวดล้อมสอดรับนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม Bio-Circular-Green Economy (BCG) ของไทย

บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ส่ง บจก.กรีน เทคโนโลยี รีเสิร์ช จำกัด (GTR) หรือบริษัทย่อย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมมือโครงการ บพข. - GTR เพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันอุตสาหกรรม ภายใต้การนำองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดรับนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม Bio-Circular-Green Economy ของประเทศไทย

จับตาวิสัยทัศน์ไทย ชู BCG บนเวที APEC 2022 คนไทยจะได้อะไร? พัฒนาอย่างไรให้สอดคล้อง?

(15 พ.ย. 65) จากเพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า...

คุณรู้รึเปล่าว่า ประชุม APEC ครั้งนี้ มีหัวข้อหลักคือ BCG (Bio-Circular-Green Economy)

แล้วคุณเข้าใจคำว่า BCG รึยัง???

BCG คืออะไร สำคัญอย่างไร ทำไมเป็นหัวข้อหลักของการประชุม APEC แล้วจะมาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ และระดับโลกอย่างไร….

วันนี้ขอเกาะกระแส การประชุม APEC ซึ่งเป็นหนึ่งในการประชุมระหว่างประเทศที่มีความสำคัญที่สุดในโลก ซึ่งประเทศที่อยู่ใน APEC มีปริมาณประชากร ถึง 1 ใน 3 ของโลก 

ซึ่งจะมีการจัดประชุมประเทศสมาชิกทุกปี โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ไทยเราเป็นเจ้าภาพอีกครั้ง หลังจากปี 2546 

แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าการประชุม คือการแสดงวิสัยทัศน์ ของประเทศ 

โดยในการประชุมครั้งนี้ ไทย เรานำเสนอ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม เพื่อความยั่งยืน หรือ BCG (Bio-Circular-Green Economy) มาเป็นจุดเชื่อมโยงการพัฒนาในอนาคต

แล้ว BCG คืออะไร คนไทยจะได้อะไร? ประเทศไทยจะพัฒนาอย่างไรให้สอดคล้องกับ BCG

ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จัก BCG กันก่อน ซึ่งมาจาก 3 คำคือ Bio Circular Green ซึ่งเป็นการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน แบ่งออกมาเป็นข้อๆ คือ...

- Bio Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ 

เป็นการใช้ทรัพยากรทางชีวภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ เช่นการแปรรูป สินค้าทางการเกษตร เป็น Bio Plastic ที่ย่อยสลายได้

- Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน

เป็นการนำวัสดุ และผลิตภัณฑ์ ที่ใช้แล้ว กลับมาใช้งานใหม่

- Green Economy หรือ เศรษฐกิจสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม

เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาสังคม

ซึ่งทั้งหมดนี้ ไทยเรามีพื้นฐานรองรับทั้งหมดแล้ว โดยสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (Sustainable Economy) 

โดยการพัฒนา BCG จะมุ่งเน้นการพัฒนาจากทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่เดิม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านกระบวนการผลิต และในการนำไปใช้

ซึ่งจะเน้นกับอุตสาหกรรม 4 ด้าน ได้แก่...
- เกษตรและอาหาร 
- สุขภาพและการแพทย์ 
- พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ 
- การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

แล้วปัจจุบัน อุตสาหกรรม BCG มีอะไรเกิดขึ้นแล้วบ้าง??? เรามาดูกันทีละด้านเลย

1. Bio Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ 

- การพัฒนาธุรกิจน้ำตาล จาก อ้อย สู่น้ำตาล แปรรูปเป็น เอทานอล พร้อมกับการสกัดขั้นสูง (Bio Refinery) สู่ Bio Plastics และ Bio Chemical 

- การพัฒนาน้ำมันจากธรรมชาติ (Oleo Chemical) ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของไขมันพืชและสัตว์ 

ปัจจุบันนั้นมีการนำไปใช้งานหลากหลายมาก เนื่องจากเป็นสารกลุ่มชนิดที่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ และนำกลับมาใช้ได้อีก จึงเป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก

- การพัฒนาอาหารทดแทนเนื้อสัตว์ (plant base meat)

2. Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน

- การจัดการขยะชุมชน และขยะจากเศษอาหาร เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน

- การแปรรูปขยะพลาสติก เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่นเสื้อผ้า

‘ธนกร’ ซัด ‘พิธา’ วิจารณ์ ‘BCG Model’ มั่วนิ่ม เหน็บ!! ไม่พูดสักเรื่อง ก็ไม่มีใครว่าเป็นใบ้

‘ธนกร’ สวน ‘พิธา’ หยุดวิจารณ์ BCG Model ถ้าไม่รู้จริง อัดอย่าเอาทุกเรื่องมาปนกันจนประชาชนสับสน แจงปัญหา PM2.5 นายกฯ สั่งหน่วยงานเกี่ยวข้องแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง เหน็บไม่พูดเรื่องที่ไม่รู้จริงสักเรื่องก็ไม่มีใครหาว่าเป็นใบ้ โว BCG Model จะเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศที่สร้างมูลค่ากว่า 4.4 ล้านล้านบาท ใน 5 ปีข้างหน้า

นายธนกร วังบุญคงชนะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ระบุว่า รัฐบาลฝันที่จะใช้การประชุมเอเปกสร้างเศรษฐกิจสีเขียว แต่แค่ PM2.5 ฝุ่นข้ามชาติ ยังไร้ภาวะผู้นำที่จะแก้ไขว่า ถ้านายพิธาไม่รู้จะพูดเรื่องอะไรเพื่อให้ตัวเองได้คะแนนนิยม การไม่วิจารณ์เรื่องการประชุมเอเปกแบบมั่ว ๆ ด้วยชุดข้อมูลผิด ๆ สักเรื่องก็คงไม่มีใครหาว่านายพิธาเป็นใบ้ เพราะนายพิธาไม่ควรเอาทุกเรื่องมาโยงเป็นเรื่องเดียวกันจนทำให้ประชาชนสับสน 

ทั้งนี้ เรื่อง BCG Model เป็นเรื่องหลักที่รัฐบาลจะนำไปหารือในการประชุมเอเปกครั้งนี้ ซึ่งเป็นจุดแข็งในภาคเกษตรของไทย มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดขยะ และเน้นการใช้กระบวนการที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมถึงในอนาคตการประกอบธุรกิจภายใต้แนวคิด BCG อาจจะได้ประโยชน์ทางด้านภาษีเมื่อทำการค้าระหว่างประเทศด้วย สอดคล้องกับเทรนด์ของโลกเรื่องสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหนึ่งทางออกที่ครอบคลุมให้ทุกการพัฒนาไม่มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลด้วย 

ส่วนเรื่องปัญหา PM2.5 นั้น รัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหม ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ดังนั้น หากนายพิธาไม่รู้ก็ควรจะหาข้อมูลให้ได้ข้อเท็จจริงก่อน ไม่ใช่วิพากษ์วิจารณ์แบบตีหัวแล้วเข้าบ้าน ซึ่งไม่น่าจะใช่แนวทางของนักการเมืองรุ่นใหม่อย่างที่พรรคนายพิธามักจะกล่าวอ้างอยู่บ่อย ๆ

นายธนกร กล่าวอีกว่า BCG Model ดำเนินการภายใต้นโยบายของรัฐบาลไทยตามแผนการปฏิบัติด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อย่างน้อย 5 เป้าหมาย ได้แก่ การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลาย ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งยังสอดรับกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย 

‘ทิพานัน’ เผย ประชาชนให้ความสนใจ APEC 2022 พร้อมชู ‘BCG โมเดล’ พัฒนาศก.ไทย กระจายรายได้สู่ฐานราก

‘ทิพานัน’ เผยประชาชนตื่นตัวให้ความสนใจการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปก โชว์ศักยภาพไทยพัฒนาเศรษฐกิจ BCG โมเดล กระจายรายได้สู่ฐานราก โต้เพื่อไทยชูทักษิณนักโทษหนีคดีเป็นแบบอย่างน่าอายไปทั่วโลก

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชนและช่องทางสื่อสารในสังคมออนไลน์ มีพี่น้องประชาชนให้ความสนใจและตื่นตัวในการเป็นเจ้าภาพที่ดี ต้อนรับการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปก 2022 ในช่วงสัปดาห์นี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำเสนอประเทศไทยในมิติต่าง ๆ รวมถึง ‘เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG’ เพื่อให้เอเปกมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน สร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สมดุลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า โดยเฉพาะโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่รัฐบาล ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เร่งผลักดันและส่งเสริมนั้น ได้รับความสนใจจากนานาชาติ โดยเฉพาะศักยภาพทางด้านการออกแบบสินค้าเชิงสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้ในภาคอุตสาหกรรม การสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่หลายผลิตภัณฑ์ของไทยได้มาตรฐานสากลและวางจำหน่ายในยุโรปบางประเทศแล้ว ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้ในชุมชนถึงรากหญ้า 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า กระแสโมเดลเศรษฐกิจ BCG ยังปลุกให้บรรดาสตาร์ตอัปในประเทศให้ความสนใจและเข้าใจโมเดล BCG มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เมนูอาหารของผู้นำเอเปกที่นำวัตถุดิบชั้นดีจากทั่วประเทศมาประกอบอาหาร กลายเป็นสินค้าขายดี นำเสนอซอฟต์พาวเวอร์อย่างเห็นผล สร้างรายได้ตั้งแต่ยังไม่เริ่มการประชุมอย่างเป็นทางการนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่สำคัญการประชุมเอเปกยังเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้ทำหน้าที่ร่วมกันเป็นเจ้าภาพหลัก จัดการประชุมสุดยอดซีอีโอแห่งภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก 2022 หรือ ‘เอเปก ซีอีโอ ซัมมิท 2022’ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-18 พ.ย.65 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเวทีสำคัญที่มีภาคเอกชน ผู้นำและซีอีโอระดับชั้นนำของภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่จะมีการนำประเด็นโมเดลเศรษฐกิจ BCG เข้ามาแลกเปลี่ยนเพื่อต่อยอดกัน โดยเป้าหมายหลักจะเน้นในเรื่องของการส่งเสริมการเปิดเขตเสรีการค้าและการลงทุน รวมถึงความร่วมมือด้านสังคมและการพัฒนาในทุกมิติ

‘ก้าวไกล' สวน 'วราวุธ' ใช้เวที COP27 ฟอกเขียวเอื้อทุนใหญ่ ไม่จริงใจแก้ไขปัญหาภูมิอากาศโลก

(18 พ.ย. 65) นิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สัดส่วนสิ่งแวดล้อม พรรคก้าวไกล แสดงความเห็นภายหลัง นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศกลางที่ประชุมระดับสูงของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP27 ว่า ประเทศไทยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก โดยมีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางสำคัญ ส่งเสริมในเรื่องของเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy (BCG  Economy) สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเชิงพาณิชย์ก่อนปี 2040 รวมถึงการกำหนดเป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เป็น 55% ของพื้นที่ประเทศเพื่อเพิ่มแหล่งเก็บก๊าซเรือนกระจกในปี 2037 โดยมีการจัดทำแนวทาง กลไกการบริหารการจัดการคาร์บอนเครดิตเพื่อถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศไทยภายใต้ข้อตกลงปารีส

"สิ่งที่ท่านรัฐมนตรีวราวุธ ประกาศต่อเวที COP27 เป็นวาทกรรมฟังแล้วชวนเคลิ้ม แต่สวยแต่เปลือกทั้งสิ้น เพราะข้างในไม่เคยมีประชาชนอยู่ในสมการ เป็นเพียงการฟอกเขียวที่มีผลประโยชน์ของนายทุนซ่อนอยู่เป็นเนื้อในทั้งสิ้น และท้ายที่สุดจะไม่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงใดต่อสภาพภูมิอากาศโลกหรือมลพิษทางอากาศของไทยเลย"

ทั้งนี้ นิติพล ชี้ว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตทางภูมิอากาศในหลายมิติ รวมถึงมลพิษทางอากาศจากการเผาพื้นที่เกษตรในภูมิภาคแม่น้ำโขงตอนบน โดยมีฝุ่นพิษลอยข้ามพรมแดนมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นที่รับรู้กันดีว่าเป็นผลมาจากการปล่อยให้กลุ่มทุนใหญ่ทางการเกษตรต่าง ๆของไทยทำธุรกิจได้อย่างไร้ความรับผิดชอบ โดยไม่มีการผลักดันทางกฎหมายเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือคนไทยทางภาคเหนือโดยเฉพาะเชียงใหม่ต้องป่วยเป็นมะเร็งปอดมากที่สุด จากการสูดฝุ่นพิษ P.M.2.5 จากการเผาไหม้

ม.หอการค้า คาดการลงทุน BCG ตามมากว่า 6 แสนล้าน หลังรัฐ 'จุดติด-สร้างความตื่นตัว' ในเวที APEC 2022

(21 พ.ย.65) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากการที่ประเทศไทยได้ผลักดันให้เกิดการรับรอง 'เป้าหมายกรุงเทพฯ' ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bangkok Goals on BCG Model) ในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. 2022 ได้สำเร็จ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญสูงสุดของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปีนี้ ถือเป็นกรอบการดำเนินการกำหนดเป้าหมายร่วมกันเพื่อให้ภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก เจริญเติบโตอย่างเข้มแข็ง สมดุล มั่นคง และยั่งยืน โดยผ่านความร่วมมือ 4 ด้าน คือ...

1.) การจัดการผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ 
2.) การส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืนและครอบคลุม 
3.) การอนุรักษ์บริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยังยืน 
และ 4.) การบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

‘นพดล’ ชี้!! BCG ไม่ใช่ของใหม่ หลายประเทศไปไกล ส่วนไทยเหมือนช่างบั้งไฟที่แนะวิศวกรนาซ่าทำจรวด 

(21 พ.ย.65) นพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าภายหลังการประชุมเอเปค 2022 ได้เสร็จสิ้นลง รัฐบาลก็อย่าลิงโลดไปกับการจัดการประชุมมากนัก เพราะในการประชุมระดับพหุภาคีนานาชาติ ก็เป็นเช่นนี้ เพราะในปฏิญญาก็มักเต็มไปด้วยความหวัง ความปรารถนา ความตั้งใจกันทั้งนั้น แต่จะแปรเปลี่ยนให้เป็นการกระทำให้สัมฤทธิ์ผลได้มากหรือน้อย ก็อยู่ที่แต่ละประเทศว่าจะเข้าทำนอง คิดระดับโลก แต่กระทำในท้องถิ่น Think globally, act locally หรือไม่ 

โดยเฉพาะแนวคิด เศรษฐกิจชีวภาพ หรือ BCG ที่ประเทศไทยผลักดันนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่หลายประเทศเดินหน้าไปไกลมาก ทั้งอุตสาหกรรมอาหารของออสเตรเลีย อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ของเวียดนามหรืออินโดนีเซีย เขาถึงขั้นผลิตส่งขายกันแล้วแต่เราเพิ่งมาพูด

'อลงกรณ์' ปาฐกถานานาชาติชูนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0 ยกระดับการผลิตภาคเกษตรของไทยสู่เป้าหมาย 3 สูง 'ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูง รายได้สูง' ภายใต้แนวทางเศรษฐกิจใหม่ BCG โมเดล

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0 ได้ให้เกียรติ เป็นองค์ปาฐกในงานการอบรมเชิงปฏิบัติการนานาชาติว่าด้วย 'การจัดการฟาร์มแบบอัจฉริยะอย่างยั่งยืน' (Sustainable Smart Farming Workshop) จัดโดย SUNSpACe ERASMUS+ CBHE Project ณ Bamboo Whisper Garden เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ โดยมี นายชยดิฐ หุตานุวัชร์ ประธานคณะกรรมการบริหาร CTPI, Professor Yacine Ouzrout, Director of IUT, University Lumiere Lyon 2 และ Professor  Aicha SEKHARI SEKLOULI, ผู้ประสานงานโครงการ SUN Space ให้การต้อนรับ นายอลงกรณ์ ได้กล่าวปาฐกถาว่า ถือเป็นโอกาสอันดี ที่ภาคเอกชน ภาควิชาการ นานาชาติ ให้ความสนใจและขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน และมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 'การจัดการฟาร์มแบบอัจฉริยะอย่างยั่งยืน' เป็นแนวทางหรือเครื่องมือในการสร้างองค์ความรู้ ส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีวิสัยทัศน์ 'เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้น ได้ขับเคลื่อนนโยบาย '3S' คือ ความปลอดภัยของอาหาร (Safety) ความมั่นคงของภาคเกษตรและอาหาร (Security) และความยั่งยืนของภาคการเกษตร (Sustainability) สนับสนุนการเปิดตลาดต่างประเทศใหม่ ๆ โดยกำหนด Model การค้าเพื่อให้เกิดระบบการค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) รวมถึงการนำเทคโนโลยี Smart Farming มาใช้ในการพัฒนา Packaging และสร้างแบรนด์อีกด้วย โดย ได้จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร (Agritech and Innovation Center: AIC) ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นศูนย์การศึกษา การวิจัยและพัฒนา การอบรมบ่มเพาะและ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร รวมทั้งยังจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Execellence: CoE) จำนวน 23 ศูนย์ ที่มีการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานการเกษตร ตั้งแต่ ต้นน้ำด้านการวิจัยและพัฒนา กลางน้ำ ด้านการแปรรูป และปลายน้ำ ด้านการตลาด การขาย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ โดยการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาคี เครือข่ายทั้งภาคเอกชน สถาบันเกษตรกร ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม  นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ส่งเสริมช่องทางการตลาด 'ตามนโยบายการตลาด นำการผลิต' ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และภาคเอกชนทั้งการค้าออนไลน์และออฟไลน์

นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า การขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตรบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจ BCG Model (the Bio-Circular and Green Economic Model) ภายใต้เป้าหมายและทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนซึ่งเป็นไฮไลต์ในการจัดประชุมAPECที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนที่แล้ว โดยเน้นการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตภาคเกษตรของประเทศไทยสู่ 3 สูง ได้แก่ ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูง และ รายได้สูง ซึ่งประสิทธิภาพสูง คือการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมยกระดับผลผลิตเกษตร มาตรฐานสูง ด้วยระบบการผลิตที่ยั่งยืน ครอบคลุมทั้งด้านคุณภาพผลผลิต โภชนาการมีความปลอดภัย ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และ รายได้สูง ด้วยการผลิตสินค้าเกษตรที่เน้นความเป็นพรีเมียม หรือตลาดเฉพาะ และสามรถกำหนดราคาขายได้ตามคุณภาพของผลผลิตเกษตร เพื่อให้การทำการเกษตรเป็นอาชีพที่สร้างความมั่นคง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top