Saturday, 18 May 2024
อุตสาหกรรม

‘จีน’ เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดในประเทศ หนุนเพิ่มการผลิต ‘ภาคอุปกรณ์ด้านพลังงาน’ เต็มประสิทธิภาพ

เมื่อไม่นานนี้ สำนักข่าวซินหัว, ปักกิ่ง รายงานว่า ‘ไชน่า ซีเคียวริตีส์ นิวส์’ (China Securities News) ซึ่งบริหารโดยสำนักข่าวซินหัว รายงานว่า ภาคอุปกรณ์พลังงานสะอาดของจีนส่งสัญญาณมีอนาคตที่สดใส โดยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ในประเทศอย่างรวดเร็ว

ความต้องการอุปกรณ์พลังงานสะอาดของจีนนั้น คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 ล้านล้านหยวน (ราว 9.74 ล้านล้านบาท) เมื่อนับถึงช่วงสิ้นสุดระยะเวลาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 (2021-2025) โดยได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของกำลังการผลิตติดตั้งพลังงานสะอาด

คาดว่าภายในปี 2025 กำลังการผลิตพลังงานสะอาดที่ติดตั้งใหม่ในจีนนั้นจะทะลุ 700 ล้านกิโลวัตต์ ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมดของประเทศอยู่ที่ 3.02 พันล้านกิโลวัตต์เอกสารว่า ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมอุปกรณ์พลังงานสะอาดระดับโลก ระบุว่าการจัดเก็บพลังงาน การแปลงข้อมูลเป็นดิจิทัลในภาคพลังงาน การพัฒนาพลังงานสะอาดอย่างชาญฉลาด และภาคส่วนพลังงานไฮโดรเจน มีศักยภาพในการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอีก 5 ปีข้างหน้า

‘ซูอิ๋นเปียว’ ประธานคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ (IEC) กล่าวว่าเมื่อนับถึงสิ้นปี 2022 กำลังการผลิตติดตั้งพลังงานสะอาดโดยรวมของจีน คิดเป็นร้อยละ 50 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งทั้งหมดซึ่งอยู่ที่ 2.56 พันล้านกิโลวัตต์ ส่วนการลงทุนของจีนในโครงการพลังงานใหม่คิดเป็นร้อยละ 30 ของการลงทุนทั้งหมดทั่วโลก

‘จีน’ เผย ภาคการผลิตยานยนต์ครึ่งปีแรกโตต่อเนื่อง เพิ่มมูลค่าทางอุตสาหกรรม ดันรายได้-กำไรพุ่ง!!

เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 66 สำนักข่าวซินหัว, ปักกิ่ง สมาคมผู้ผลิตยานยนต์แห่งประเทศจีน รายงานว่า ช่วงครึ่งแรกของปี 2023 (มกราคม-มิถุนายน) อุตสาหกรรมการผลิตรถยานยนต์ของจีนขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการผลิต รายได้ และผลกำไร

รายงานระบุว่า มูลค่าเพิ่มทางอุตสาหกรรมของภาคการผลิตยานยนต์ในช่วงเวลาดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยมีการเติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมการผลิตทั้งหมดของประเทศอยู่ 8.9 จุด

รายได้จากการดำเนินงานรวมของกลุ่มบริษัทในภาคส่วนนี้แตะที่ 4.49 ล้านล้านหยวน (ราว 21.86 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบปีต่อปี

ทั้งนี้ ช่วงเวลาดังกล่าวปริมาณกำไรรวมของกลุ่มบริษัทในภาคส่วนนี้อยู่ที่ 2.17 แสนล้านหยวน (ราว 1.05 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

โอกาส ‘ไทย’ หลังขึ้นแท่น ‘คลัสเตอร์ PCB’ รายใหญ่ที่สุดในอาเซียน ภายใต้ ‘ไต้หวัน’ ผู้นำแห่งอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โลก

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 66 เพจเฟซบุ๊ก ‘BOI News’ ได้โพสต์ข้อความ เกี่ยวกับ ‘อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์’ ในไทย ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการลงทุนตั้งฐานการผลิต ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยระบุว่า…

เมื่อพูดถึงผู้นำใน ‘อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์’ ของโลก 🌏

ประเทศไต้หวัน คือคำตอบอย่างไม่ต้องสงสัย แล้วปัจจัยใดที่ผลักดันให้ไต้หวันผงาดขึ้นเป็นผู้นำในตลาดผู้ผลิตชิปของโลก?

ย้อนไปในปี 2516 รัฐบาลไต้หวันได้จัดตั้งสถาบัน ‘Industrial Technology Research Institute’ (ITRI) โดยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชิปขั้นสูงจากต่างประเทศ ทำให้ ITRI สามารถพัฒนากระบวนการผลิตชิปได้เป็นของตัวเอง ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ให้กับไต้หวันได้อย่างมั่นคงในระยะต่อมา

🔹 โดยในปี 2530 มีการก่อตั้งบริษัทผู้ผลิตชิป ‘Taiwan Semiconductor Manufacturing Company’ หรือ ‘TSMC’ ขึ้น ซึ่งต่อมากลายมาเป็นหนึ่งในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่มีส่วนผลักดันให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างระบบสาธารณูปโภค การสุขาภิบาล ระบบพลังงาน และการคมนาคม ในไต้หวันขึ้นอย่างรวดเร็ว ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานนี้ส่งผลให้การผลิตชิปเช็ตของไต้หวันมีคุณภาพสูง จนทำให้ไต้หวันก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในผู้นำระดับโลกของอุตสาหกรรมผลิตชิป

ในช่วงเวลาดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2530-2543 ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของไต้หวัน เนื่องจากมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ หรือการผลิตชิปซึ่งเป็นหัวใจของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างก้าวกระโดด 💻

กลยุทธ์ของผู้ผลิตชิปจากไต้หวันนั้นแตกต่างจากที่อื่น ๆ ตรงที่บริษัทของไต้หวันจะเป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเอง หรือเป็นที่รู้จักในรูปแบบที่เรียกว่า ‘OEM’ เนื่องจากการลงทุนในโรงงานผลิตชิปที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ทำให้หลาย ๆ บริษัทเลือกทำเพียงขั้นตอนการออกแบบชิปแล้วมอบหมายให้กับ TSMC หรือบริษัทอื่นในไต้หวันทำหน้าที่ผลิตแทน

🔹 ปัจจุบัน ไต้หวันเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของโลก โดยครองส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 65% ของการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ของโลก โดยมีบริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Corporation (TSMC) เป็นผู้ผลิตรายใหญ่

‘เซมิคอนดักเตอร์’ เป็นส่วนสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ อีกทั้งความต้องการใช้งานชิปก็ยังเพิ่มขึ้นในอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่เน้นการผลิตยานพาหนะที่มีความสามารถด้านการเชื่อมต่อ (Connectivity) และความเป็นอัจฉริยะ (Intelligence) ส่งผลให้ความต้องการชิปขั้นสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างไม่มีทีท่าว่าจะลดลง

ประเทศไทยขึ้นแท่น ‘คลัสเตอร์ PCB’ รายใหญ่ที่สุดในอาเซียน
ปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ของไทยมาจากการมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ทั้งระบบไฟฟ้าที่มีความเสถียร พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่พร้อมรองรับการลงทุนได้อีกมาก อีกทั้งบุคลากรยังมีทักษะและความเชี่ยวชาญในด้านอิเล็กทรอนิกส์ หรือการที่ไทยมี Supply Chain ของอุตสาหกรรมนี้อย่างครบวงจร รวมไปถึงการที่ภาครัฐมีมาตรการและนโยบายสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถแข่งขันและเติบโตได้ ปัจจัยเหล่านี้เป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก โดยเฉพาะจากไต้หวัน ตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตหลักเพื่อส่งออกไปยังตลาดโลก 

🔹 สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) ซึ่งเป็นหัวใจของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ บริษัทจากไต้หวันยังถือเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่งของโลกอีกด้วย โดยครองส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 35% 

โดยปัจจุบัน ผู้ผลิต PCB ของไต้หวันรายใหญ่ 20 อันดับแรกของโลก ได้ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยแล้วจำนวน 10 ราย ไม่ว่าจะเป็น WUS PCB, APEX, Dynamic Electronics, Gold Circuit, APCB และถ้ารวมกับผู้ผลิต PCB จากประเทศอื่น ๆ อย่างจีนและญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้เช่นกันด้วยแล้ว ก็จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นคลัสเตอร์ PCB ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

นี่คือสัญญาณแห่งโอกาสในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ที่ไม่เพียงแต่จะกลายเป็นฮับของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาค แต่ยังเป็นการต่อยอดสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำ ได้แก่ การผลิตเวเฟอร์ และการออกแบบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมไปถึงการพัฒนาสู่การเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ยานยนต์, ดิจิทัล, อุปกรณ์การแพทย์, ระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์ ซึ่งจะช่วยยกระดับ Supplier ไทยให้ได้เข้าไปอยู่ใน Supply Chain อิเล็กทรอนิกส์ของโลกด้วยเช่นกัน

🎗️ บีโอไอพร้อมสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้นน้ำ หรืออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ ด้วยการให้สิทธิประโยชน์พิเศษทางภาษี และสิทธิประโยชน์และบริการด้านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย ตลอดจนสร้างแรงจูงใจในการวิจัยและพัฒนาให้สามารถก้าวพร้อมไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับโลกได้ต่อไป

#บีโอไอส่งเสริมการลงทุนทั้งคนไทยและต่างชาติทุกขนาดการลงทุน
📱 0-2553-8111 
📧 [email protected]
🌐 www.boi.go.th
🔰ไม่มีค่าใช้จ่ายในการติดต่อ

‘พิมพ์ภัทรา’ ลงพื้นที่ชลบุรี เร่งหารือพัฒนาภาคอุตสาหกรรม หวังปั้นเมืองชลฯ สู่เมืองเศรษฐกิจชั้นนำแห่งภูมิภาคอาเซียน

(27 ต.ค. 66) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี (สอจ.ชลบุรี) พร้อมหารือแนวทางการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม, นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (หน.ผตร.อก.), นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, นายเตมีย์ พันธุ์วงค์ราช ผู้อำนวยการกองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมหารือ และมีนางสาวอังศุมาลิน ฉัตรสุวรรณวารี อุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี (อสจ.ชลบุรี), นางสาวภารดี เสมอกิจ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 (ศภ.9) ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ สอจ.ชลบุรี และ ศภ.9 และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี (สอท.ชลบุรี) ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม ชั้น 7 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จังหวัดชลบุรี

อสจ.ชลบุรี ได้รายงานว่า จังหวัดชลบุรี มีโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 4,248 โรงงาน อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ แหลมฉบัง ปิ่นทอง ดับบลิวเอชเอ และปิ่นทอง (แหลมฉบัง) จำนวน 1,099 โรงงาน นอกนิคมอุตสาหกรรม จำนวน 3,149 โรงงาน มีวิสาหกิจชุมชน จำนวน 620 กลุ่ม มี OTOP จำนวน 1,395 ราย มีเหมืองแร่ในจังหวัดได้ประทานบัตร 31 แปลง เปิดการทำเหมือง 22 แปลง ประกอบด้วย อุตสาหกรรมชนิดหินแกรนิต หินปูน และอยู่ระหว่างต่ออายุ 6 แปลง หยุดการทำเหมือง 3 แปลง

นอกจากนี้ สอจ.ชลบุรี ได้รายงานแนวทางปฏิบัติงานภายใต้นโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) MIND ใช้ ‘หัว’ และ ‘ใจ’ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน ด้วยแนวคิดสร้างสรรค์ ที่ทันสมัย และเป็นสากล ซึ่งจังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีนักลงทุนชาวต่างชาติ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และยุโรป มาลงทุนเป็นจำนวนมาก และได้ดำเนินงานโครงการต่างๆ เช่น โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว, โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมในภูมิภาค, โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น และได้มีการจัดทำระบบ LINE Open Chat เป็นกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ SME ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 1,800 ราย เพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีกด้วย

ด้านนายณัฏฐ์ธน สารทจีนพงษ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด 20 ปี ‘เมืองเศรษฐกิจชั้นนำอาเซียน นวัตกรรมเพิ่มมูลค่า แลนด์มาร์ก การท่องเที่ยว สังคมคุณภาพ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน’ การพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวทาง BCG และ ESG ของจังหวัดชลบุรี ในด้านยุทธศาสตร์ทางจังหวัดได้ตั้งเป้าในลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ลดลงร้อยละ 16 ผ่านการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งจังหวัด โดยเฉพาะแสงสว่าง ปรับเปลี่ยนพลังงานเป็นพลังงานสะอาด จัดรูปแบบการขนส่งและการขนส่งสาธารณะ แบบ multimodal transportation โครงการปลูกป่า 1 ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม 1 ป่า 1 ไร่ ส่วนการพัฒนาผู้ประกอบการสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ ได้มีการตั้งค่าเป้าหมายระดับการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับที่ 5 ภายในปี 70

ทั้งนี้ สอท.ชลบุรี มีข้อเสนอในการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรี ดังนี้

1.) ส่งเสริมให้มีนิคมอุตสาหกรรมของรัฐฯ เนื่องจากราคาที่ดินในการนิคมของภาคเอกชนมีราคาค่อนข้างสูงเป็นอุปสรรคปัญหาของนักลงทุนที่ต้องการสร้างโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม

2.) ต่อยอดพัฒนาเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านเทคโนโลยี เงินทุนหมุนเวียน และการตลาด ซึ่งการต่อรองกับผู้ประกอบการที่เป็นแบรนด์ของสินค้าให้มีการเลือกใช้ผู้ประกอบการไทยเป็นหลัก

3.) การจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาตามแนวทางพี่ช่วยน้อง (big brother) ในการช่วยบริหารจัดการแบบมีผลประโยชน์ร่วมกัน

4.) การพัฒนาการตรวจประเมินรับรองและสร้างมาตรฐาน เรื่อง Carbon Neutrality เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

5.) การพัฒนาฝีมือแรงงานภาคอุตสาหกรรมและการยกระดับฝีมือแรงงานตามคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งยังไม่ตรงเป้าหมายตามความต้องการ

6.) ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีวัตถุดิบภายในประเทศ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการเกษตร เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง อ้อย พืชสมุนไพร เป็นต้น

นอกจากนี้ ทาง สอท. ยังได้เพิ่มเติมในเรื่อง FTA (Free Trade Area) เขตการค้าเสรี ซึ่งเป็นการทำความตกลงทางการค้าของประเทศ โดยขอให้มีการเปิดเขตการค้าเสรีให้มากยิ่งขึ้น ควรมีการพัฒนากฎหมายให้ครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน และภาครัฐควรมีการรวบรวมฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลมาพัฒนาธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในวันนี้ได้รับทราบข้อเสนอแนะของทางภาคเอกชน และจะนำข้อเสนอแนะของท่านไปหารือกับคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญและเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำแล้งหรือน้ำหลาก มีนโยบายเตรียมการวางแผนแก้ไขปัญหาน้ำในระยะยาว

และสุดท้ายนี้ ขอให้กำลังใจพี่ๆ น้องๆ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ทุกท่านไม่ว่าจะเป็น สอจ.ชลบุรี ศภ.9 สอท.ชลบุรี ที่ปฏิบัติภารกิจและหน้าที่ให้กับ อก. หรือการบริหารจัดการความขัดแย้งระหว่างประชาชนและผู้ประกอบการเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่มาก ขอเป็นตัวแทนของ อก. ขอบคุณทุกท่านที่เสียสละ และสนับสนุนในทุกๆ กิจกรรมของกระทรวง

หลังจากนั้น คณะรัฐมนตรีฯ ได้เยี่ยมชมบริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด (เครือสหพัฒน์) ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค แบบครบวงจร โดยมีนายนิติ วิวัฒน์วานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายวรจักร สถาพรภิญโญ นายอำเภอศรีราชา และคุณสายชล ศีติสาร กรรมการบริหารการผลิต บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ให้การต้อนรับ

ส่อง 5 อุตสาหกรรมเด่น!! สร้าง 'แรงบวก' MPI ไทย เดือน 9 (YOY)

(31 ต.ค. 66) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกันยายน ปี 2566 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตในเดือนกันยายน 2566 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่…

- น้ำตาล ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 74.64 จากน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์และน้ำตาลทรายขาว เป็นหลัก ตามความต้องการของตลาดส่งออก และตลาดในประเทศ ซึ่งการงดส่งออกน้ำตาลของประเทศอินเดียจะส่งผลให้ไทยได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น สำหรับตลาดในประเทศขยายตัวตามกิจกรรมเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง และมีคำสั่งซื้อของผู้รับซื้อรายใหญ่

- เส้นใยประดิษฐ์ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.12 จากเส้นใยประดิษฐ์อื่น ๆ และเส้นใยโพลีเอสเตอร์ จากคำสั่งซื้อของตลาดส่งออกที่เพิ่มขึ้น เช่น อินเดีย และจีน เพื่อนำไปผลิตเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ (หลังคา เบาะ หรือ สายพานต่างๆ) และเสื้อผ้ากีฬา

- สายไฟและเคเบิ้ลอื่น ๆ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 29.52 จากสายไฟฟ้า เป็นหลัก เนื่องจากมีรอบคำสั่งซื้อจากการไฟฟ้านครหลวง ส่วนภูมิภาค และฝ่ายผลิต รวมถึงงานโครงการของภาครัฐและเอกชนมากขึ้น

- พลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.35 จาก Polyethylene resin, Ethylene และ Polypropylene resin เป็นหลัก โดยในปีก่อนที่มีการลดการผลิตเนื่องจากมี Over supply ในตลาดโลก และมีการหยุดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางราย

- สินค้าแปรรูปและการถนอมผลไม้และผัก ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.84 จากข้าวโพดหวานกระป๋อง กะทิ และน้ำผลไม้ เป็นหลัก โดยข้าวโพดหวานกระป๋อง ได้รับคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ส่วนกะทิ ลูกค้ากลับมามีคำสั่งซื้อหลังชะลอตัวในช่วงก่อนหน้า และน้ำผลไม้ มีการเร่งผลิตหลังเริ่มต้นฤดูเก็บเกี่ยวสับปะรดรอบใหม่

‘นฤมล’ เผย ‘ญี่ปุ่น’ สนใจลงทุนหลากอุตฯ ใหม่ในไทย พร้อมเสนอ ‘ไทย’ เป็นฮับผลิตรถยนต์ EV ของอาเซียน

เมื่อวานนี้ (16 พ.ย. 66) ศาสตราจารย์นฤมล ภิณโญสินวัฒน์ ผู้แทนการค้า เปิดเผยภายหลังต้อนรับและหารือกับนายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย โดยเอกอัครราชทูตนะชิดะ ได้กล่าวแสดงความยินดีต่อการเข้ารับตำแหน่งของศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ผู้แทนการค้า พร้อมกล่าวยืนยันว่าประเทศญี่ปุ่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชนพร้อมที่จะทำงานร่วมมือกับรัฐบาลภายใต้การนำ ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ซึ่งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์เป็นมิตรที่ดีต่อกันมายาวนาน

ผู้แทนการค้า กล่าวว่า เอกอัครราชทูตนะชิดะ เสนอไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ที่หลากหลายในช่วงของการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ไปสู่การเป็นประเทศศูนย์กลางการผลิตรถ EV และสินค้าที่เชื่อมโยงเพื่อส่งไปยังประเทศอาเซียน อีกทั้ง ภายใต้นโยบาย Green Growth ของประเทศญี่ปุ่น ภาครัฐและเอกชนของญี่ปุ่นมีความสนใจร่วมลงทุนในธุรกิจที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกลุ่มใหม่ เช่น AI, Bio Technology, Modern Agriculture และ Clean Energy ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของท่านนายกฯ เศรษฐา ที่ต้องการส่งเสริม Green Economy & Clean Energy เช่นกัน 

นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาดจากแสงแดด ลม น้ำ และขยะ ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตอาจมีการนำพลังงานสะอาดเหล่านี้มาใช้ในภาคการผลิตมากขึ้น

นอกจากนี้ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) ยังมองว่า การเปลี่ยนผ่านนโยบายด้านพลังงานของไทยมีความเป็นรูปธรรมชัดเจน จึงพร้อมสนับสนุนนโยบายพลังงานสะอาดร่วมกับไทย และ METI จะเสนอกรอบความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยจะเน้นย้ำประเด็น Green Transition

ในส่วนเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ของไทย ผู้แทนการค้า กล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมีความตั้งใจที่จะให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขั้นสูงต่อไป โดยหวังอย่างยิ่งว่านักธุรกิจรุ่นใหม่ในญี่ปุ่นและไทยจะได้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น ในลักษณะ Business Matching

“เดือนธันวาคม นายกฯ และคณะผู้บริหารรัฐบาล มีกำหนดการไปเยือนประเทศญี่ปุ่น เพื่อหารือและขยายกรอบการลงทุนร่วมกับรัฐบาลญี่ปุ่น ในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ เร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไทยในหลายด้านให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นไปอีก” ผู้แทนการค้าย้ำ

‘จีน’ เปิดกำไร ‘ภาคอุตสาหกรรม’ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 สะท้อน!! ภาคการผลิต-เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 67 สำนักข่าวซินหัว, ปักกิ่ง รายงานข่าว สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน รายงานว่าบริษัทอุตสาหกรรมรายใหญ่ภายในประเทศ ซึ่งมีรายได้ทางธุรกิจหลักรายปีอย่างน้อย 20 ล้านหยวน (ราว 100 ล้านบาท) ทำกำไรรวมในเดือนธันวาคม 2023 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบปีต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5

รายงานระบุว่า กำไรรวมของบริษัทอุตสาหกรรมรายใหญ่ในจีนของทั้งปี 2023 อยู่ที่ 7.69 ล้านล้านหยวน (ราว 39 ล้านล้านบาท) ซึ่งลดลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบปีต่อปี และลดลงน้อยลง 2.1 จุดจากช่วง 11 เดือนแรก (มกราคม-พฤศจิกายน) ของปีเดียวกัน

ภาคการผลิตและจ่ายพลังงาน ความร้อน ก๊าซ และน้ำ กลายเป็นกลุ่มผู้ทำกำไรชั้นนำในปีที่ผ่านมา โดยมีกำไรรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.7 เมื่อเทียบปีต่อปี ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าวมีส่วนส่งเสริมการเติบโตโดยรวมของกำไรทางอุตสาหกรรมในประเทศ 3.1 จุด

ขณะกำไรของภาคการผลิตอุปกรณ์ในจีน ช่วงปี 2023 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตของปีก่อนหน้า 2.4 จุด ส่วนอุตสาหกรรม 27 ประเภทจากทั้งหมด 41 ประเภท มีกำไรเติบโตในปีที่ผ่านมา

10 แบรนด์เทคโนโลยี (เซมิคอนดักเตอร์) มูลค่าสูงสุดในโลก ปี 2023

อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญของโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยเป็นยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้า ทันสมัย ประกอบกับความนิยมใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญคือ 'ชิปประมวลผล' ทำให้อุตสาหกรรมนี้มีการแข่งขันที่สูงมาก ทั้งในด้านจำนวนการผลิต ความทันสมัยของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ ซึ่งหากยิ่งล้ำหน้ามาเท่าใด ความได้เปรียบก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

สำหรับในปี 2023 ที่ผ่านมา มีบริษัทหรือแบรนด์เทคโนโลยีหลายเจ้าที่ผลิตชิปประมวลผล ที่ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย ทำให้มูลค่าของแบรนด์พุ่งสูง และเป็นที่จับตามองอย่างมาก วันนี้ THE STATES TIME ได้รวบรวม 10 แบรนด์เทคโนโลยี ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก ประจำปี 2023 จะมีแบรนด์ใดบ้าง มาดูกันเล้ย...

‘จีน’ มุ่งปรับปรุง 'ระบบอุตสาหกรรม' ให้ทันสมัย เตรียมพร้อมรับมือ ‘อุตสาหกรรมแห่งอนาคต’

(5 มี.ค. 67) สำนักซินหัวรายงานการปฏิบัติงานของรัฐบาลจีน ซึ่งเสนอต่อสภานิติบัญญัติระดับชาติเพื่อการพิจารณา ระบุว่าจีนจะพยายามปรับปรุงระบบอุตสาหกรรมให้มีความทันสมัย และพัฒนาพลังการผลิตที่มีคุณภาพใหม่ในระดับรวดเร็วยิ่งขึ้น

รายงานระบุว่า พันธกิจในด้านนี้ครอบคลุมการปรับปรุงและยกระดับห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่อุตสาหกรรม การบ่มเพาะอุตสาหกรรมเกิดใหม่และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น พลังงานไฮโดรเจน วัสดุใหม่ การผลิตทางชีวภาพ การท่องเที่ยวอวกาศเชิงพาณิชย์ เทคโนโลยีควอนตัม และชีววิทยาศาสตร์

ขณะเดียวกันจีนจะส่งเสริมการพัฒนาเชิงนวัตกรรมของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีแผนดำเนินโครงการริเริ่มเอไอ พลัส (AI Plus) อันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ พร้อมกับเสริมสร้างความแข็งแกร่งและยกระดับสถานะผู้นำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ยานยนต์พลังงานใหม่เชื่อมต่ออัจฉริยะ

'ไทยซัมมิทฯ' ชี้!! ทุนจีนที่ทำ EV ไม่ต่างจากทัวร์ศูนย์เหรียญ เข้ามาตั้งโรงงาน ดึง บ.ผลิตชิ้นส่วนเข้ามาเอง ไม่ซื้อของจาก บ.ไทย

(6 มี.ค.67) จากบทสัมภาษณ์ของ ดร.สาโรจน์ วสุวานิช รองประธานกิตติมศักดิ์ บมจ.ไทยซัมมิทกรุ๊ป และกรรมการและประธานกิตติมศักดิ์ บมจ.ไทยซัมมิท ฮาร์เนส ในฐานะประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) ได้เปิดเผยเกี่ยวกับทุนจีนที่เข้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทย โดยได้ให้มุมมองไว้ว่า...

“รถยนต์ไฟฟ้า EV จากจีนที่เข้ามาทุกวันนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับทัวร์ศูนย์เหรียญเพราะจีนที่มาตั้งโรงงานเอาเครือข่ายที่ผลิตชิ้นส่วนเข้ามาทั้งหมด ไม่ซื้อกับคนไทยเลย ต่างกับบริษัทญี่ปุ่นที่ยังแบ่งให้คนไทยบ้าง แต่ว่าจีนไม่แบ่งเลย รวมถึงธุรกิจอื่นที่จีนเข้ามาเช่นเดียวกัน”

โอกาสจะทำการค้ากับบริษัทจีนยาก ตอนนี้รัฐบาลไทยลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้ามาทั้งคัน และชิ้นส่วนไปอีก 1 ปี โดยจะสิ้นกำหนดในปี 2568 เท่ากับช่วงนี้รถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อต่าง ๆ ที่นำเข้ามาขายในประเทศไทยได้กี่แสนคันเท่ากับการกินส่วนแบ่งตลาดรถยนต์สันดาปค่ายญี่ปุ่นไป และตอนนี้ค่ายรถญี่ปุ่นปรับแผนลดการผลิตลงง ส่งผลกระทบให้ยอดขายชิ้นส่วนของคนไทยลดลงไปด้วย

ไม่เพียงแต่รถยนต์ EV แต่รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าแทบจะทุกประเภท เช่น ตู้เย็น ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยไทยได้รับผลกระทบจากสินค้าจีนมาดัมพ์ราคาขายถูกกว่าสินค้าไทย 35-50% ทำให้ SMEs ไทยสู้ไม่ไหว แต่สินค้าจีนคุณภาพไม่ค่อยดี เสียหายเคลมไม่ได้ ทำให้ผู้ใช้งานบางคนยังยอมใช้สินค้าไทยบ้าง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top