Friday, 3 May 2024
รถEV

'วอลโว่' เดินหน้าสู่อนาคต | TIME TO DRIVE EP.5

‘วอลโว่’ พลิกโฉมเดินหน้าสู่อนาคตเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ ภายใต้แนวคิด ‘VOLVO RECHARGE’ ชีวิตไฟฟ้าเต็มรูปแบบ การขับรถ EV แตกต่างกับการขับรถน้ำมันหรือไม่? ติดตามได้ในคลิปนี้...

TIME TO DRIVE ถึงเวลาขับเคลื่อน EP.5
ได้รับเกียรติจาก 'คุณต้น กันต์ เย็นสบาย'
กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย
มาแชร์ข้อมูลของรถยนต์ไฟฟ้า

ดำเนินรายการโดย 'กันย์ ฉันทภิญญา'
Content Manager THE STATES TIMES

ขับไปเพลิดเพลินกับคลิปอื่นๆ ต่อได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyJXNFNia9poSZGuZNjAZrQf

🎥 ช่องทางรับชม
Facebook: THE STATES TIMES PODCAST
YouTube: THE STATES TIMES PODCAST
Blockdit: THE STATES TIME

เจาะลึก ‘VOLVO RECHARGE’ | TIME TO DRIVE EP.6

เจาะลึกในการวิเคราะห์ จุดเด่น ความแตกต่างของรถยนต์ไฟฟ้า ‘วอลโว่’ รุ่น XC40 กับ C40 มีความแตกต่างอย่างไร การบำรุงรักษารถยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีที่น่าสนใจ ติดตามได้ในคลิปนี้

TIME TO DRIVE ถึงเวลาขับเคลื่อน EP.6
ได้รับเกียรติจาก 'คุณต้น กันต์ เย็นสบาย'
กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย
มาแชร์ข้อมูลของรถยนต์ไฟฟ้า

ดำเนินรายการโดย 'กันย์ ฉันทภิญญา'
Content Manager THE STATES TIMES

ขับไปเพลิดเพลินกับคลิปอื่นๆ ต่อได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyJXNFNia9poSZGuZNjAZrQf

🎥 ช่องทางรับชม
Facebook: THE STATES TIMES PODCAST
YouTube: THE STATES TIMES PODCAST
Blockdit: THE STATES TIME

เป็นรูปเป็นร่าง!! ไทยเดินหน้าฮับ EV เร่งผลักดันมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติม หลังค่ายรถสัญชาติจีนยักษ์ใหญ่ เริ่มก่อสร้างโรงงานจริงจัง

(17 มี.ค.66) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เผยว่า ได้ผลักดันให้การส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าครอบคลุมการผลิตยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภท รวมทั้งจักรยานยนต์ไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้า และเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ และสามารถพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีในอนาคตได้ ตามมติคณะกรรมการบีโอไอเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Roadmap 30@30) ที่มีเป้าหมายในปี 2573 จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ร้อยละ 30 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด

ล่าสุด บีโอไอรายงานว่าผู้ผลิตรถ EV จากจีนสองค่าย ได้แก่ เนต้า (NETA) และบีวายดี (BYD) ได้วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างโรงงานผลิตรถ EV ในประเทศไทย คาดว่าจะแล้วเสร็จ 1-2 ปีข้างหน้าโรงงานจะแล้วเสร็จ และยังมีค่ายรถจากจีนและยุโรปยื่นขอรับการสนับสนุนอีกหลายค่าย โดยรัฐบาลกำลังเร่งผลักดันมาตรการสนับสนุนรถอีวีเพิ่มเติม หรือมาตรการ EV 3.5 ต่อเนื่องจากมาตรการ EV 3 ที่จะหมดอายุภายในสิ้นปี 2566 ซึ่งจะทำให้ไทยก้าวสู่ความเป็นฮับอีวีได้ไม่ยาก

ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวเป็นที่ชื่นชอบของพี่น้องประชาชน นอกจากกระตุ้นธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เกิดการจ้างงาน ถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว เมื่อมีการผลิตที่มากขึ้นในไทย จะทำให้ราคาถูกลง ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและลดมลพิษ โดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 ได้ในระยะยาว

MG4 รถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลังคันแรก | TIME TO DRIVE EP.8

MG รถยนต์ EV สายพันธุ์จีน ที่จะมาเปลี่ยนประสบการณ์การขับขี่ให้เร้าใจมากขึ้น กับครั้งแรกของระบบขับเคลื่อนล้อหลังในรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% กับ MG4 

TIME TO DRIVE ถึงเวลาขับเคลื่อน EP.8
ได้รับเกียรติจาก 'คุณต้น กันต์ เย็นสบาย'
กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย
มาแชร์ข้อมูลของรถยนต์ไฟฟ้าในคลิปนี้ มาติดตาม จุดเด่นของ MG4 ที่ถูกนิยามว่า born to be รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแท้จริง ในงบประมาณไม่เกินล้าน!! รายละเอียดเป็นอย่างไรติดตามกันได้ใน EP นี้

ดำเนินรายการโดย 'กันย์ ฉันทภิญญา'
Content Manager THE STATES TIMES

ขับไปเพลิดเพลินกับคลิปอื่นๆ ต่อได้ที่ : https://www.youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyJXNFNia9poSZGuZNjAZrQf

🎥 ช่องทางรับชม
Facebook: THE STATES TIMES PODCAST
YouTube: THE STATES TIMES PODCAST
Blockdit: THE STATES TIME

‘รัฐบาล’ ปลื้ม!! แนวโน้มตลาดรถ EV ไทยโตต่อเนื่อง พร้อมยกระดับไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตของภูมิภาค

(12 เม.ย.66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนในภาคการผลิตและส่งออกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นฐานการการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนยานยนต์ของภูมิภาค เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 

พร้อมทั้งรับทราบการเปิดเผยรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยซึ่งคาดการณ์ว่า ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า BEV ในไทยในปี 2566 นี้จะเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดถึง 271.6% เมื่อเทียบกับปี 2565 พร้อมประเมินว่าจะสามารถทำยอดขายได้กว่า 50,000 คัน สะท้อนถึงพัฒนาการด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับ รถยนต์ไฟฟ้า BEV (Battery Electric Vehicle) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน โดยไม่มีการปลดปล่อยมลพิษ (Zero Emission) จากรถยนต์โดยตรง จึงได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยเพิ่มเติมว่า แนวโน้มการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า BEV ในไทย มีปัจจัยสนับสนุนทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยด้านอุปสงค์มาจากความต้องการรถยนต์ BEV ที่ยังอยู่ในระดับสูงของผู้บริโภค ซึ่งเป็นผลของมาตรการกระตุ้นด้านราคาที่ถูกจุดจากทางภาครัฐและการเร่งกระจายจุดชาร์จรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งาน 

‘มณีรัตน์’ ลั่น!! ‘ภูมิใจไทย’ พร้อมดันรถเมล์ EV แตะ 5,000 คัน  หลังปัจจุบัน ‘ศักดิ์สยาม’ ดันวิ่งทั่วกรุงฯ แล้ว 1,250 คัน

(17 เม.ย.66) น.ส.มณีรัตน์ ลิมป์รัตนกาญจน์ ผู้สมัคร ส.ส.เบอร์ 6 เขต พระโขนง-บางนา พรรคภูมิใจไทย อดีตคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

“รู้หรือไม่ กรุงเทพฯ มีรถเมล์ EV วิ่งอยู่ 1,250 คันแล้ว?” 

ส่วนตัวแล้วเป็นคนหนึ่งที่เคยนั่งรถเมล์ไปโรงเรียนตอนเด็กๆ ตอนนั้นแค่คิดว่าได้นั่งรถเมล์ติดแอร์ ก็ถือว่าโชคดีมากแล้ว เพราะอย่างที่ทราบกัน สมัยก่อนในแต่ละสาย แต่ละเส้นทางมีรถเมล์ติดแอร์ไม่มากนัก แถมยังปล่อยควันดำตลอดเวลา

‘อ.พงษ์ภาณุ’ วิเคราะห์!! ยานยนต์ไทยใต้เงายุค EV ทางสองแพร่ง ที่ไม่ควรส่งเสริมแค่สิทธิด้านภาษี

ทีมข่าว THE STATES TIMES ได้พูดคุยกับ อ.พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ ในรายการ Easy Econ ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES เมื่อวันที่ 10 ก.ย.66 ในประเด็นอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์โลก และทางแยกสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ภายใต้ทิศทางใดเพื่อผลักไทยเป็นศูนย์กลางยานยนต์ของเอเชียได้อย่างแท้จริง ดังนี้...

อนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์อุตสาหกรรมและตลาดยานยนต์ของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engines) ซึ่งครองความเป็นเจ้าถนนมาตลอดระยะเวลากว่า 130 ปี กำลังเจอความท้าทายอย่างหนัก นับจาก Benz ได้จดสิทธิบัตร Motorwagen ครั้งแรกเมื่อปี 1880 และพาอุตสาหกรรมยานยนต์เติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในยุโรป, สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น และไทย

แต่วันนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ดั้งเดิมกำลังเจอกับ Technological Disruption ครั้งใหญ่ที่สุด ใหญ่ถึงขนาดที่จะเปลี่ยนแปลงวงการแบบถอนรากถอนโคน เมื่อ Tesla ของ Elon Musk ได้นำรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles - EV) ออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2010 จนผ่านมาถึงวันนี้ตลาดรถยนต์ EV ได้เติบโตอย่างรวดเร็วจนปัจจุบันมียอดผลิต/จำหน่ายเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของรถยนต์นั่งทั้งหมดและน่าจะเติบโตต่อไปอีกมาก เพราะความสนใจของผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญใน Hardware และความเป็นเลิศทางยนตรกรรม มาเป็น Software และประสบการณ์ทางดิจิทัลผ่านยานพาหนะมากขึ้น

แน่นอนว่า ประเทศไทยซึ่งประสบความสําเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์มากว่า 50 ปี และมีอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีขนาดใหญ่มาก มีสัดส่วนใน GDP กว่า 10% พิจารณาได้จากการจ้างงานเกือบ 1 ล้านคน และถึงขั้นได้รับสมญานามว่าเป็น Detroit of Asia เมื่อปี 2017 ไทยผลิตรถยนต์ได้ 2 ล้านคัน ขายในประเทศ 1 ล้านคัน และส่งออกอีก 1 ล้านคัน ถือเป็นประเทศที่ผลิตรถยนต์ส่งออกมากเป็นอันดับ 13 ของโลก

แต่วันนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ได้เดินมาถึงทางแยกสำคัญ หากยังยึดโยงกับผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งมีการเคลื่อนตัวค่อนข้างช้าไปสู่การผลิตรถยนต์ EV เมื่อเปรียบเทียบกับแนวโน้มในประเทศอื่น โดยเฉพาะจีนที่ได้กลายเป็นผู้นำในรถยนต์ EV และในการผลิตแบตเตอรี

ทิศทางการส่งออกรถยนต์ (สันดาป) ไปตลาดสำคัญๆ ของไทยก็เริ่มมีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อตลาดที่เคยเป็นฐานหลักของไทยเริ่มหันเหไปมองหารถยนต์ EV มากขึ้น

ครั้นจะพลิกบทบาทมาเป็นผู้เล่นในตลาด EV ก็น่าห่วงกับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย ซึ่งยังไม่สามารถเทียบได้กับจีนที่มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง หรือแม้แต่อินโดนีเซียที่มีสินแร่สำคัญสำหรับผลิตแบตเตอรีและมีตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่กว่าหลายเท่า

ดังนั้น จากนาทีนี้ จึงเป็นภารกิจสำคัญที่รัฐบาลใหม่จะต้องทบทวนนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุนที่เคยมุ่งเน้นแต่การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร มาเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยี ก่อนที่เราจะไม่มีอุตสาหกรรมยานยนต์เหลือให้พัฒนา

‘โตโยต้า’ เล็งหนุน ‘ไทย’ ศูนย์กลางผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หลัง ‘รบ.ไทย’ ตั้งเป้าผลิต EV เกินครึ่งในปี 2573

(20 พ.ย. 66) เพจเฟซบุ๊ก ‘AEC Connect’ โพสต์ข้อความในหัวข้อ ‘โตโยต้า’ จ่อหนุนไทยเป็นเมืองหลวง EV ความว่า…

ในเดือนมีนาคม 2565 ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยออกนโยบายจูงใจใหม่เพื่อกระตุ้นให้คนเปลี่ยนมาใช้รถ EV โดยตั้งใจเปลี่ยนการผลิตรถยนต์กว่าครึ่งหนึ่งของไทยให้เป็นรถ EV ภายในปี 2573

จากงานวิจัยของ Counterpoint Research พบว่า ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีนมีอิทธิพลต่อตลาดรถ EV ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด ซึ่งไทยครองส่วนแบ่งเกือบ 79% ของจำนวนรถ EV ทั้งหมดที่ถูกขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในไตรมาสแรกของปี 2566

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าตลาดรถ EV ของไทยจะใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ก็ยังคงมีการแข่งขันว่าแบรนด์รถ EV ใดจะขายได้มากสุดในประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน แบรนด์รถ EV ที่ขายดีที่สุดในไทยคือ BYD ของจีน แต่แบรนด์รถสัญชาติจีนอื่น ๆ ก็เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน

นอกจากนี้ แบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์ที่หวังว่าจะสร้างผลกระทบในตลาดรถ EV ในไทยอีกหนึ่งแบรนด์คือ โตโยต้าจากญี่ปุ่น ซึ่งเรียกว่าเป็นแบรนด์ประจำบ้านในไทยไปแล้ว โดยได้รับความนิยมจากรถเก๋งและรถกระบะ

ในฐานะศูนย์กลางรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ไทยเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ส่งออกรถยนต์โตโยต้าและฮอนด้า แต่เพื่อเปลี่ยน 1 ใน 3 ของยอดการผลิตรายปีจำนวน 2.5 ล้านคันให้เป็นรถ EV ภายในปี 2573 ระบบนิเวศทางที่ถูกต้องจะเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลง

โดยรัฐบาลไทยมีความต้องการที่จะทำงานร่วมกับโตโยต้าเพื่อพัฒนารถ EV ในประเทศ ซึ่งรวมถึงการพัฒนารถยนต์ Eco Car และรถกระบะด้วย ทั้งนี้มาจากการที่โตโยต้าวางแผนทดสอบรถกระบะไฟฟ้าครั้งแรกในไทย เพื่อจะกระตุ้นยอดขายรถ EV ภายในประเทศ

อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทยก็ออกแผนลดหย่อนภาษี 3 ปีให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์ที่ลงทุนในระบบ Automation และ Robotics หลังมีการลดเงินอุดหนุนผู้บริโภคสำหรับการซื้อรถ EV ลง

‘EVme Plus’ ส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าให้ผู้ประกอบการแท็กซี่  หวังการขนส่งไทยใช้รถ EV มากขึ้น หนุนสังคมคาร์บอนต่ำยั่งยืน

เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท อีวี มี พลัส จำกัด (EVme Plus) ผู้ให้บริการยานยนต์ไฟฟ้าบนแพลตฟอร์มดิจิทัลแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในไทย ส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น AION ES (ไอออน อีเอส) ให้แก่บริษัท สุขสวัสดิ์แท็กซี่ จำกัด สหกรณ์แท็กซี่สหมิตร และสหกรณ์อาสาสมัคร ทดแทนรถยนต์รุ่นเก่าที่กำลังจะปลดระวาง และเพิ่มจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับรถโดยสารสาธารณะ มุ่งลดมลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ AION ES ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า 100% พร้อมสมรรถนะการขับขี่สูง และประหยัดค่าพลังงาน เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะ ผู้ขับแท็กซี่ และบุคคลทั่วไป โดยมีอัตราค่าสิ้นเปลืองพลังงานเฉลี่ยเพียง 0.75 - 1 บาทต่อกิโลเมตร ซึ่ง AION ES จำหน่ายโดย EVme มาพร้อมระบบแท็กซี่อัจฉริยะ (Smart Taxi) มีระบบติดตามรถ กล้องถ่ายภาพนิ่ง เครื่องระบุตัวตนผู้ขับขี่ และปุ่มฉุกเฉิน เพิ่มความปลอดภัยทั้งผู้ขับและผู้โดยสาร ตามมาตรฐานของกรมขนส่งทางบก นอกจากนี้ EVme ยังได้ร่วมมือกับศูนย์บริการยานยนต์ และผู้ให้บริการด้านการเงินจากบริษัทชั้นนำ เพื่อรองรับการดูแลแบบครบวงจร ทั้งการซ่อมบำรุง และด้านสินเชื่อ

ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) กล่าวว่า ปตท. ยึดมั่นภารกิจหลักสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ โดยตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นวาระสำคัญของโลก จึงเร่งขยายการลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาด และเสริมสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV Ecosystem) โดยสนับสนุนการใช้ EV ในภาคการคมนาคมขนส่ง และการท่องเที่ยวที่สอดรับกับการใช้ชีวิตของผู้คน อีกทั้งจากสถิติ รถสันดาป 1 คัน มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เฉลี่ยปีละ 6 ตันคาร์บอนฯ เทียบเท่าต่อคัน ปัจจุบันมีรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนในระบบขนส่งกว่า 85,000 คัน ทำให้ภาคส่วนนี้มีการปล่อยก๊าซฯ มากกว่าปีละ 500,000 ตันคาร์บอนฯ เทียบเท่า นอกจากนี้ต้นทุนค่าพลังงานของผู้ใช้รถแท็กซี่ยังมีอัตราสูง ดังนั้นการส่งเสริมการใช้ EV ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการแท็กซี่ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนค่าพลังงาน ยังช่วยสนับสนุนการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำและเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ของประเทศ โดย ปตท. พร้อมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมใหม่และเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้คนไทย 

นายเอกชัย ยิ้มสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด หรือ ARUN PLUS กล่าวว่า อรุณ พลัส ในฐานะบริษัทในกลุ่ม ปตท. ยังคงเดินหน้าสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการขยายตัว EV อย่างต่อเนื่องตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจาก ปตท. ในการสร้างนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ EV (EV Value Chain) เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไปพร้อมกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Net Zero) โดยอรุณ พลัส ได้ส่งมอบคุณค่าผ่านบริษัทในกลุ่มอรุณ พลัส ในการพัฒนาธุรกิจต่าง ๆ อาทิ การจัดหาชิ้นส่วนสำคัญและการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า แพลตฟอร์มสำหรับการตลาดและการขาย การผลิตแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า การจัดตั้งสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมไปถึงการให้บริการด้าน EV แบบครบวงจรผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของ EVme ที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือกับผู้ประกอบการแท็กซี่โดยสารในวันนี้ ถือเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญในการร่วมกันผลักดันการเปลี่ยนผ่านระบบขนส่งสาธารณะไปสู่การขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าในการสร้างนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการขับเคลื่อนแห่งอนาคตอย่างแท้จริง

นายจิระพงศ์ เลาห์ขจร ประธานเจ้าหน้าที่การพาณิชย์ บริษัท อีวี มี พลัส จำกัด เผยว่า EVme ส่งเสริมให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะอย่างจริงจัง โดยเริ่มให้บริการแพลตฟอร์มยานยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2563 ได้ทดสอบและเรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้ EV อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาการบริการ EV ไม่ใช่แค่เพียงรถยนต์ส่วนบุคคล แต่ยังครอบคลุมรถยนต์สาธารณะ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเป็นไปอย่างไร้รอยต่อ EVme จึงไม่หยุดที่จะพัฒนาการบริการใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ EV มากขึ้น และช่วยลดปัญหาด้านมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นจากการใช้ยานพาหนะ บริษัทฯ มุ่งมั่นนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้บริการด้านยานยนต์ไฟฟ้าเป็นเรื่องง่ายและสะดวกมากขึ้น ให้ประชาชนทุกคนรวมถึงผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะ ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

จีนขุดพบแหล่ง 'แร่ลิเทียม' เกือบ 1 ล้านตัน เชื่อ!! ช่วยรองรับตลาดรถ EV ที่กำลังเติบโต

ไม่นานมานี้ สำนักข่าวซินหัว เผยรายงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมของจีน ระบุว่า จีนค้นพบแร่ลิเทียมเกือบหนึ่งล้านตัน ในย่าเจียง มณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งถูกยืนยันแล้วว่าเป็นแหล่งแร่ลิเทียมชนิดเพ็กมาไทต์โมโนเมอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

ลิเทียม เป็นโลหะอัลคาไล สีขาวเงิน มีเลขอะตอม 3 และขึ้นชื่อในเรื่องคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น เป็นโลหะที่เบาที่สุด มีศักยภาพทางไฟฟ้าเคมีสูงสุด และไวต่อน้ำ

ในฐานะ 'โลหะพลังงานสีเขียวแห่งศตวรรษที่ 21' แร่ลิเทียมมีความสำคัญอย่างมากต่อความพยายามในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน นอกจากนี้ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า, แบตเตอรีลิเทียมไอออน และแบตเตอรีโซลาร์

ทั้งนี้กระทรวงฯ จะส่งเสริมการใช้ประโยชน์และการจัดสรรพื้นที่เหมืองแร่ลิเทียมอย่างต่อเนื่อง เพิ่มปริมาณแร่ลิเทียม และกระตุ้นการพัฒนาตลาดเหมืองแร่ลิเทียม เพื่อรองรับตลาดยานยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตอย่างรวดเร็วและความต้องการทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้น โดยจีนเป็นผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของโลกด้วยสัดส่วนกว่า 60% ในปี 2022

โดยปกติแล้วแร่ลิเธียมมักพบในประเทศต่าง ๆ เช่น อาร์เจนตินา, โบลิเวีย, ชิลี, ออสเตรเลีย, จีน และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตลิเทียมรายใหญ่


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top