Saturday, 22 June 2024
นิรโทษกรรม112

‘ปิยบุตร’ โหนแนวคิด ‘อานันท์’ ชี้ คดีม.112 มีเยอะ ต้องแก้ด้วยการนิรโทษกรรม

นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล ระบุว่า ...

ถึงเวลาหรือยัง "เจตจำนงการเมือง" นิรโทษคดี ม.112? - หวังฝ่าย "รอยัลลิสต์" ออกมาเตือนสติสังคมก่อนจะสาย!

ในรายการ "เอาปากกามาวง" ตอนล่าสุด ได้พูดถึงเรื่องสำคัญหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นั่นก็คือเรื่องราวเกี่ยวกับ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112" หรือ "ป.อาญา ม.112" หรือที่วันนี้เรามักจะเรียกกันสั้นๆ แต่เข้าใจตรงกันว่า "ม.112"

มี 3 กรณีของบุคคลที่ต้องกลายเป็นผู้ต้องหา และ 1 กรณีของผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้ที่ชัดเจนว่าเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม ซึ่งได้ออกมาเตือนสติสังคมเรื่องการใช้กฎหมายมาตรานี้

แม้จะพูดไปในรายการแล้ว แต่เห็นว่ามีบางช่วงบางตอนซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่อยากจะชี้ให้เห็น จึงขอนำมาบอกกล่าวเป็นข้อเขียนตรงนี้อีกครั้งแบบสรุปรวบยอด ดังนี้

เริ่มที่ 3 กรณี ของเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ต้องกลายเป็นผู้ต้องหาคดี ม.112

***กรณีแอดมินเพจ 'กูKult' ต้องไม่ตีความรวม "วัตถุสิ่งของ"***

กรณีแรก คือกรณีของ นรินทร์ กุลพงศธร แอดมินเพจ 'กูKult' ซึ่งไปติดสติกเกอร์บนพระบรมสาทิสลักษณ์ รัชกาลที่ 10 ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2563

มีเรื่องที่อยากชวนคิดหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระบวนการพิจารณาในศาล ที่จากรายงานของไอลอร์พบว่า ในการสืบพยานมีการแนะนำ แนะแนวเรื่องของการยอมรับผิด ลดโทษต่างๆ กับทางผู้ต้องหา, เรื่องการไม่บันทึกการถามค้านของพยานถึง 5 ประเด็น โดยหนึ่งในนั้นก็คือคำถามเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการทำลายพระบรมสาทิสลักษณ์ว่าเป็นความผิดทางไหน ทำลายทรัพย์สินราชการ หรือเข้าข่ายผิด ป.อาญา ม.112

รวมถึงการตัดพยานผู้เชี่ยวชาญของจำเลยออก โดยศาลให้เหตุผลว่าสามารถพิจารณาได้เอง จนทำให้ในที่สุด คดีนี้ก็มีคำพิพากษาออกมาอย่างรวดเร็วมาก และน่าจะเป็นคดี ม.112 คดีแรกที่เกิดจากการชุมนุม ในช่วงปี 2563-2564 ที่ศาลพิพากษาแล้วว่ามีความผิด ซึ่งจำเลยเตรียมที่จะอุทธรณ์ต่อไป

สิ่งที่อยากชวนพิจารณาคือว่า ในคำอธิบายกฎหมายอาญา ของปรมาจารย์ของผู้พิพากษาทั้งหลายอย่าง ศ.หยุด แสงอุทัย และ ศ.จิตติ ติงศภัทิย์ เขียนตำราระบุคำอธิบายในรายมาตรา 112 โดยอธิบายความหมายของคำว่าหมิ่นประมาทและดูหมิ่น โดยที่คำว่า "หมิ่นประมาท" ก็ให้ไปดูแบบ ม.326 คือให้เป็นแบบหมิ่นประมาทคนธรรมดา, หรือคำว่า "ดูหมิ่น" ก็ให้ตีความคำว่าดูหมิ่น เหมือน ม.134, ม.136, ม.393 เรื่องดูหมิ่นคนธรรมดา เช่นกัน

ตำรากฎหมายของปรมาจารย์ทั้งสองท่านระบุชัดว่า คำว่า "หมิ่นประมาท" กับ "ดูหมิ่น" ที่ปรากฏอยู่ใน ป.อาญา ม.112 ใช้นิยามเดียวกับคนธรรมดา คือต้องกระทำต่อตัวบุคคล จะขยายความกว่านี้ไม่ได้ ยิ่งกฎหมายอาญานั้น การตีความต้องเคร่งครัด

แต่จากกรณีของคุณนรินทร์ เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า "หมิ่นประมาท" กับ "ดูหมิ่น" นั้น มีแนวโน้มของศาลที่จะขยับไปถึงเรื่องวัตถุสิ่งของด้วย

***วอนศาลพิจารณาอนุญาต ให้ "รวิสรา" ได้ไปเรียนต่อ***

ต่อมา คือกรณีของรวิสรา เอกสกุล บัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในจำเลยของคดี ม.112 จากการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนีเมื่อ 26 ตุลาคม 2563 ซึ่งเธอเป็นคนอ่านแถลงการณ์เป็นภาษาเยอรมัน โดยต่อมาเธอสอบได้ทุนจาก ศูนย์บริการการแลกเปลี่ยนทางวิชาการเยอรมัน (DAAD) ของรัฐบาลเยอรมัน แต่ติดปัญหาคือ ติดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร

แม้เคยมีคำร้องขออนุญาตศาลมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ศาลไม่อนุญาต และล่าสุด ศาลอาญากรุงเทพใต้ก็ยกคำร้องอีกเช่นเคย โดยอธิบายว่า ศาลเห็นว่าจำเลยยังไม่ผ่านการคัดเลือกว่าจะได้รับทุนหรือไม่ ทั้งเงื่อนไขที่จำเลยเสนอมาว่าหากได้รับอนุญาต จำเลยยินดีจะไปรายงานตัวและแสดงที่อยู่ต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศเยอรมัน ทุกๆ 30 วัน โดยขอให้อาจารย์ที่ปรึกษาและบิดาเป็นผู้กำกับให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข แต่บุคคลทั้ง 2 อยู่ในประเทศไทย แต่จำเลยอยู่ต่างประเทศ จึงเป็นการยากที่จะกำกับให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ จึงไม่เป็นการหนักแน่นเพียงพอ ที่จะแสดงให้เห็นว่า จำเลยจะปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยเคร่งครัด

ทั้งที่ เอกสาร หลักฐานที่ใช้ยื่นคำร้องต่อศาลชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นจดหมายเอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย เอกสารรับทุน DAAD แต่ก็ถูกพิจารณาด้วยว่า เพราะว่าการไปอยู่ต่างประเทศดูแลได้ยากที่จะกำกับให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการประกันตัว

นี่คืออนาคตของเยาวชนคนหนึ่ง อนาคตของคนที่จะได้ไปศึกษาหาความรู้ นำความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์กลับมาพัฒนาประเทศไทย

อยากให้ศาลพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เพราะจากประสบการณ์ คนที่ไปเรียนต่างประเทศ ส่วนใหญ่แล้วเวลาปิดภาคการศึกษาก็อยากกลับมาเยี่ยมครอบครัว มาเยี่ยมบ้าน คงไม่มีใครอยู่ดีๆ แล้วอยากหนีคดี

'ลุงป้อม-พปชร.' ค้านสุดตัว นิรโทษฯ เหมาเข่งคดี 112 ยัน!! จุดยืนสำคัญของพรรค คือ การปกป้องสถาบันฯ

(31 พ.ค. 67) นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงจุดยืนของพรรคพลังประชารัฐ ในการพิจารณาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่จะรวมมาตรา 112 ด้วยหรือไม่นั้น ว่า “จุดยืนของพรรคพลังประชารัฐ ภายใต้การนำของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค ตั้งแต่ต้นคือเราไม่เห็นด้วยที่จะมีการแก้ไขมาตรา 112 และไม่สนับสนุนให้มีการนำมาตรา 112 มาอยู่ในการนิรโทษกรรม เพราะหลักการที่สำคัญที่สุดของพรรคพลังประชารัฐ และ พล.อ.ประวิตร คือ การปกป้องสถาบัน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด”

‘กลุ่มภาคีฯ’ จี้ ‘ปดิพัทธ์’ ขอโทษ โบ้ยคนคว่ำนิรโทษเป็นไอโอ ด้าน 'หมออ๋อง' โชว์พริ้ว!! ไม่เคยพูดว่าประชาชนเป็นไอโอ

(18 มิ.ย.67) ที่รัฐสภา กลุ่มภาคีราชภักดี เดินทางมายื่นหนังสือ ต่อนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาคนที่หนึ่ง เพื่อยืนยันตนเองว่า ในการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมประชาชน พ.ศ. … ซึ่งเป็นที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอกฎหมายต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ตามพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564 โดย น.ส.พูนสุข พูนสุขเจริญ กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 36,723 คน ที่มีเสียงโหวตไม่เห็นด้วยถึง 64.66 เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่ไอโอ

นายอัครวุธ บุรณพนธ์ กลุ่มอาชีวะปกป้องสถาบัน กล่าวว่า พวกตนมายืนยัน ให้นายปดิพัทธ์เห็นโดยตรงว่ากลุ่มไอโอ ที่พูดมานั้นมีตัวตน ได้ใช้ชื่อและเลขบัตรประชาชนในการแสดงความคิดเห็นใน พ.ร.บ.ดังกล่าว ฉะนั้นรองประธานสภาฯ ที่เป็นคนของประชาชนอย่างแท้จริงต้องวางตัวเป็นกลาง รวมถึงอยากให้ตรวจสอบว่าตรงไหนเป็นไอโอ ใครเป็นคนทำ ขอให้ตรวจสอบมาเพราะตนก็อยากทราบเหมือนกัน ตนใช้สิทธิในฐานะราษฎรให้นายปดิพัทธ์ขอโทษประชาชน ที่พูดว่าพวกเขาเป็นไอโอ แต่หากตรวจสอบแล้วพวกเราผิดจริง มีเหตุที่ทำให้มองว่าเป็นไอโอก็สามารถดำเนินการได้เต็มที่ เพราะถือว่าเป็นภัยความมั่นคงที่ต้องทลายทิ้ง หากทำได้จะสนับสนุนเต็มที่ แต่หากพูดโดยไม่คิด หรือคิดว่าพวกตนเป็นฝ่ายขวา และมองว่าพวกของตัวเองเป็นฝ่ายซ้ายจะไม่มีทางบรรจบกันได้ ยืนยันว่าพวกเราไม่ใช่ไอโอ

ด้านนายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ตนได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในวันที่ 11 และ 12 มิ.ย. ว่ามีความผิดปกติในเว็บไซต์หลายประการด้วยกัน เช่น การใช้ การใช้งานถึง 5,000 ครั้ง ใน ip address คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง เราได้ตรวจสอบทั้งระบบเพราะเกรงว่าประชาชนไม่เชื่อใจเว็บไซต์นี้ และจะส่งผลต่อการใช้งานในครั้งต่อ ๆ ไป ทั้งนี้เราไม่ได้กล่าวหาว่าประชาชนที่มาแสดงความคิดเห็นนั้นเป็นไอโอ 

ซึ่งทางรัฐสภาจะเก็บทุกความคิดเห็นอย่างยุติธรรมที่สุดโดย ไม่ตัดสินว่าเป็นใครเป็นพวกไหน หรือเข้ามาด้วยจุดประสงค์อะไร ขอให้พี่น้องประชาชนสบายใจได้ว่าเราไม่มีการเลือกปฏิบัติ เรารายงานไปตามจริง แต่ต้องยอมรับว่าเว็บไซต์ของรัฐสภามีข้อผิดพลาดมากมายที่ทำให้ไม่เชื่อมั่น ต้องกราบขออภัยพี่น้องประชาชนในสิ่งที่เกิดขึ้น คำแนะนำของประชาชนนำไปสู่การปรับปรุงเว็บไซต์ให้ดี

“ผมขอโทษที่เว็บไซต์ไม่สมบูรณ์ แต่ไม่ขอโทษ เพราะไม่เคยพูดว่าพวกท่านเป็นไอโอ”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top