Saturday, 11 May 2024
ธรรมนัส

'ธรรมนัส' ขน ส.ส.เศรษฐกิจไทย กลับมาซบ พปชร. ด้าน 'สามมิตร' ส่งตัว ส.ส. ย้ายไปเพื่อไทยแล้ว

(9 ก.พ. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา พรรคเศรษฐกิจไทย และ ส.ส.ในกลุ่ม ที่เคยระบุว่า จะมีความชัดเจนว่าจะกลับพรรค พปชร.หรือไม่ ก่อนวันที่ 7 ก.พ.นี้ โดยได้ส่งนายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ และ พล.ต.อ.ยงยุทธ เทพจำนงค์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ กลับมาพรรค พปชร.ก่อน

ล่าสุดมีรายงานว่า ร.อ.ธรรมนัส ใช้วิธีให้คณะกรรมการบริหารพรรคเศรษฐกิจไทย มีมติขับพ้นพรรค โดยยังมีสถานะ ส.ส.อยู่ และจะต้องสังกัดใหม่ ภายใน 30 วัน จากนั้นได้นำ ส.ส.ที่เหลือสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรค พปชร. เมื่อวันที่ 6 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้แก่

ธรรมนัสสั่งลงดาบเชือดกลุ่มกินหัวคิวโคบาลชายแดนใต้

โฆษก ก.เกษตรฯ เผย ธรรมนัส สั่งลงดาบเชือด กลุ่มกินหัวคิว โคบาลชายแดนใต้ สอบพบทุจริตเอาผิดไม่เว้นหน้าใคร ด้าน ”รมช.ไชยา“ รับไม้ต่อเร่งสอบขยายผลเยียวยาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคที่เดือดร้อนด่วน

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567 ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวอัยรินทร์ พันธุ์ฤทธิ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) กล่าวถึงกรณี  “โครงการโคบาลชายแดนใต้” เรื่องการจัดหาแม่โคของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดปัตตานี ไม่ตรงตามคุณลักษณะเฉพาะ(Specification) ของโครงการ ว่า  การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ปัจจุบันอยู่ในระยะนำร่อง เกษตรกร 60 กลุ่ม แม่โคพื้นเมือง 3,000 ตัว เงินกู้ยืม 93 ล้านบาท และเงินจ่ายขาด 1.20 ล้านบาท 

จึงย้ำว่า ขณะนี้เป็นการดำเนินงานระยะนำร่อง ปัญหานี้ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเร่งด่วน และมอบหมายให้ ดร.ไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่กำกับดูแลกรมปศุสัตว์ เร่งหาข้อมูลในการช่วยเหลือ และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ปัญหาในขณะนี้ คือ กลุ่มเกษตรกรจังหวัดปัตตานีบางกลุ่มได้ “แม่โคพื้นเมืองที่ส่งมอบให้กลุ่มมีลักษณะไม่ตรงตามเงื่อนไขของโครงการ แต่จังหวัดอื่นๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ยังไม่เจอกับปัญหานี้ จึงขอชี้แจงว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้เป็นแค่จุดเดียว คือ จ. ปัตตานี  ข้อกำหนดในเอกสารเขียนชัดเจนว่า ให้กลุ่มเกษตรกรเป็นผู้จัดหาพันธุ์สัตว์เองตามคุณลักษณะเฉพาะที่กรมปศุสัตว์กำหนด โดยกำหนดสายพันธุ์ อายุ น้ำหนักตัว สุขภาพสัตว์ การได้รับวัคซีน และการตรวจโรคที่สำคัญ พร้อมเงื่อนไขการรับประกันหากไม่ถูกต้องตามที่กำหนด ผู้ขายจะต้องเปลี่ยนตัวสัตว์ใหม่ให้แก่เกษตรกร เมื่อผู้ขายแจ้งกำหนดส่งมอบโค ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการตรวจสอบโค ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขของโครงการ เมื่อเอกสารและคุณภาพตรงตามเงื่อนไข และเกษตรกรมีความพึงพอใจ ก็จะดำเนินการตรวจรับและจัดส่งเอกสารเพื่อทำการเบิกจ่ายเงินต่อไป หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ให้ผู้ประกอบการดำเนินให้ถูกต้องต่อไป ซึ่ง จ. ปัตตานี มีการส่งมอบโคครบทุกกลุ่มแล้ว จำนวน 16 กลุ่ม จากที่ได้รับรายงาน มีการแก้ไข 2 กลุ่มคือ กลุ่มหนึ่ง ขอเปลี่ยนแม่โค จำนวน 20 ตัว และอีกกลุ่มหนึ่ง ขอยกเลิกสัญญา ส่วนในกลุ่มอื่นๆ กำลังทำการขยายผลและตรวจสอบอย่างละเอียด

โฆษกกระทรวงเกษตรฯ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่กลุ่มเกษตรกรมีความประสงค์ขอเปลี่ยนตัวสัตว์ตามเงื่อนไขข้อกำหนดของโครงการ กรมปศุสัตว์ได้แจ้งให้ผู้ประกอบการดำเนินการเปลี่ยนตัวสัตว์ให้ใหม่ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีเรียบร้อยแล้ว เบื้องต้นสั่งการให้ดูแลด้านสุขภาพ ให้ยาบำรุงและสนับสนุนพืชอาหารสัตว์แก่เกษตกรที่ได้รับผลกระทบ และเร่งฟื้นฟูสุขภาพแม่โคเนื้อตามหลักวิชาการ ให้วิตามิน และอาหารเสริมแก่แม่โคพื้นเมืองเพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์โดยเร็ว

“นอกจากนี้สั่งการให้กรมปศุสัตว์มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดและระดับอำเภอ เพื่อทำงานควบคู่กับทางคณะกรรมการตรวจสอบของ ศอ.บต. โดยบูรณาการทำงานร่วมกัน ดังนั้นขอให้ประชาชนเชื่อมั่นว่า รัฐบาลในยุคของนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน จะปราบปรามปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจัง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้การนำของร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ดร.ไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่กำกับดูแลกรมปศุสัตว์ ได้ร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน พร้อมช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร หากตรวจพบการทุจริตเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการหรือข้าราชการ จะดำเนินการเอาผิดอย่างถึงที่สุด”

ทั้งนี้ การส่งมอบโคแก่เกษตรกรในโครงการโคบาลชายแดนใต้ ภาครัฐร่วมกับเอกชน ได้ส่งมอบโคแก่เกษตรกรใน จ.ปัตตานี 800 ตัว เมื่อเดือนพฤศจิกายน จ.นราธิวาส เมื่อเดือนธันวาคม จำนวน 800 ตัว และ จ.สตูล 400 ตัว สำหรับ จ.สงขลา และ ยะลา ยังไม่มีการจัดส่งวัว ณ เวลานี้มีการเบิกจ่ายสินเชื่อกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร 37,601,700 บาท คิดเป็นร้อยละ 40.43 และมีวัวที่รับมอบเป็นผลผลิตทางโครงการให้ลูกแก่เกษตรกรจำนวนหลายตัวแล้ว

โฆษกเกษตร แจง !! กระทรวงเกษตรฯ ยุค 'ธรรมนัส' ข้าราชการต้องโปร่งใส ไม่กลัว 'เกลือเป็นหนอน' ย้อนระวังจะโดน 'เกลือจิ้มเกลือ'

นางสาวอัยรินทร์ พันธุ์ฤทธิ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) กล่าวถึงกรณีมีการกล่าวอ้าง ว่า ภายในกระทรวงเกษตรฯ มีเกลือเป็นหนอนส่งข้อมูลปมทุจริตนั้น ยืนยันว่า ทุกอย่างมีกระบวนการในการตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง ไม่กลัว “เกลือเป็นหนอน” แต่ระวังจะย้อนกลับเป็น 'เกลือจิ้มเกลือ' หากให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือไม่ และพร้อมดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำความผิด เนื่องจากกระทรวงเกษตรฯ เป็นสถานที่ราชการ ประชาชนทุกคนสามารถเดินทางมาที่นี่ได้ตามปกติ เฉกเช่นเดียวกันกับกลุ่มม็อบต่างๆ เดินทางมาอยู่หน้ากระทรวงเกษตรฯ กินนอนเป็นประจำ และเข้ามาใช้บริการห้องน้ำภายในตัวอาคาร ใช้เป็นที่หลบฝนบางครั้งบางคราวในทุกยุคทุกสมัย จึงยากที่จะจำได้หมด ว่า ในแต่ละวันรัฐมนตรีแต่ละท่านพบเจอใครบ้าง ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ เป็นหน่วยงานราชการที่รับเอาทุกปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรในหลายด้าน มาช่วยเหลือและแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะมีทั้งกลุ่มผู้เรียกร้อง และกลุ่มผู้มาร้องเรียน สามารถมายื่นเรื่องราวร้องทุกข์ต่างๆ ได้ตามปกติ ซึ่งนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ ในยุคของร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการฯ และรัฐมนตรีช่วยฯ ทั้งสองท่าน ยึดมั่นในแนวทางการบริหารราชการด้วยความโปร่งใส เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล นายกเศรษฐา ทวีสิน ที่ยึดมั่นในการบริหารราชการแผ่นดินด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส มีความเป็นธรรมาภิบาล (Good governance) ส่วนรูปคดีมีความคืบหน้า มีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์ชัดมากขึ้น เน้นย้ำให้ความเป็นธรรมกับทุกคน ซึ่งเป็นหน้าที่ของขบวนการยุติธรรมที่ดำเนินการตามกฏหมายต่อไป  

ดังนั้น ขอให้ประชาชนและสื่อมวลชนทุกท่าน เชื่อมั่นในการบริหารงานของกระทรวงเกษตรฯ ที่ผู้บริหารในระดับนโยบายได้สั่งการและกำชับให้ข้าราชการในสังกัดของกระทรวง ยึดโยงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นที่ตั้ง อย่าไปให้ความสำคัญกับขบวนการบ่อนทำลายชื่อเสียงของกระทรวงเกษตรฯ และบั่นทอนขวัญกำลังใจของข้าราชการในกระทรวงที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อตอบโจทย์ของพี่น้องประชาชนและประเทศชาติ

โฆษกเกษตร เผย ชาวสวนทุเรียนเตรียมพร้อม ดันทุเรียนคุณภาพส่งจีน “ธรรมนัส” สั่งคุมเข้มตลอดห่วงโซ่อุปทาน เสริมแกร่งสู้ประเทศคู่แข่ง

นางสาวอัยรินทร์ พันธุ์ฤทธิ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยถึงสถานการณ์ส่งออกทุเรียนไทยไปยังตลาดประเทศจีน ในปี 2567 ยังคงมีช่องทางการตลาดที่สดใส แม้ปัจจุบันทุเรียนไทยต้องเผชิญกับความท้าทายในการส่งออกไปยังตลาดจีน จากการแข่งขันของประเทศคู่แข่ง โดยล่าสุด ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้กรมวิชาการเกษตร  เร่งดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ควบคุมคุณภาพทุเรียนส่งออกไปจีนตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ทั้งในส่วนของนโยบาย สวน โรงคัดบรรจุ การส่งออก การขนส่ง การตลาด การแปรรูป และการเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบการ พร้อมกันนี้ยังได้วางแผนขยายผลไปยังทุกภูมิภาคที่ผลิตทุเรียนเพื่อส่งออก และได้เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษ สวพ.6 และศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีกว่า 180 คน เพื่อสลับเปลี่ยนหมุนเวียนทำหน้าที่ ตั้งแต่เดือนมีนาคมจนสิ้นสุดฤดูกาลส่งออก และเพิ่มผู้จัดการเขตพื้นที่ทุเรียน (DIZ) จากเดิม 6 คน เพิ่มเป็น 9 คน พร้อมจะดำเนินการอย่างเด็ดขาด หากพบการสวมสิทธิ์ใบรับรอง GAP หรือการให้เช่าโรงคัดบรรจุพร้อมกับใบรับรอง GMP-DOA เป็นต้น ”

โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า รัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน ให้ความสำคัญอย่างมากกับการส่งเสริม สนับสนุน การส่งออกสินค้าเกษตรคุณภาพไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะทุเรียน ที่เป็นไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ภายใต้การนำของร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ใช้แนวนโยบาย ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ เป็นธงนำในการสร้างรายได้ และขยายโอกาสให้ภาคเกษตร มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรเป็น 3 เท่าภายใน 4 ปีของรัฐบาล  จึงเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาภาคเกษตร ที่ช่วยเสริมจุดแข็งในการด้านการตลาด จากการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ

ทั้งนี้ สถิติการส่งออกทุเรียน ปี พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมาไทยส่งออกทุเรียนไปจีนทั้งหมด 57,000 ตู้/ชิปเม้นท์ ปริมาณสูงถึง 945,900 ตัน มูลค่า 120,469.34 ล้านบาท โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2565 สูงถึงร้อยละ 38.47 (ปี พ.ศ. 2565 ส่งออกทุเรียนไปจีน 8.11 แสนตัน มูลค่ากว่า 8.7 หมื่นล้านบาท) สำหรับช่องทางการส่งออก พบว่ารถยนต์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.9 รองลลงมาคือทางเรือ ร้อยละ 31.72 และทางรถไฟ ร้อยละ 1.17 

“ธรรมนัส” หนุน วกส.5 สร้างเครือข่ายรัฐ-เอกชนพัฒนาชีวิตเกษตรกรไทย

“รมว.เกษตรฯ” แถลงเปิดหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง รุ่นที่ 5 หลักสูตรอันดับหนึ่งด้านการเกษตรของประเทศ​ พร้อมสร้างเครือข่ายธุรกิจด้านการเกษตรระยะยาว เพื่อยกระดับพัฒนาชีวิตเกษตรกรไทย หนุน เป็นผู้ผลิต-ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารชั้นนำของโลก 

เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 67 ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ร้อยเอกธรรมนัส  พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดังสูง (วกส.) และดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ร่วมแถลงข่าวเปิดหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 5 

โดย รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า กระทรวงฯได้จัดทำหลักสูตรเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยให้เป็นผู้นำในระดับนานาชาติ ด้วยวิทยาการเกษตรเทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่ ภายใต้หลักการตลาดนำการผลิตและเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างผู้นำระดับสูงให้มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนา การเกษตรรวมทั้งก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้วิสัยทัศน์ และประสบการณ์ระหว่างผู้นำภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในรูปแบบ “ประชารัฐ” เพื่อมุ่งสู่การทำเกษตรวิถีใหม่  หลักสูตร วกส.จึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกันระหว่างเกษตรกร ผู้บริหารระดับสูงทั้งจากภาครัฐ และเอกชน เพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจด้านการเกษตรในระยะยาว และการยกระดับและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น ตามนโยบายนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง คือ ใช้การตลาดนำนวัตกรรมเสริม เพื่อนำภาคการเกษตรที่เป็นเรื่องสำคัญของประเทศ ขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืน 

ขณะที่ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับมูลนิธิเกษตราธิการ และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ในการจัดทำหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) โดยมีกำหนดการจัดฝึกอบรมหลักสูตร วกส. รุ่นที่ 5 ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม - 6 กันยายน 2567 เพื่อการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทย ให้เป็นผู้นำในด้านการเกษตรและอาหารในระดับนานาชาติ ที่จะส่งผลในการสร้างรายได้เพิ่มให้กับประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป

นายอนันต์  ระบุว่า  ที่ผ่านมา วกส. ได้รับผลสำเร็จของหลักสูตรตั้งแต่รุ่นที่ 1 ถึง รุ่นที่ 4 มาแล้ว  เป็นการเชื่อมโยงบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร ทั้งภาครัฐและเอกชน Smart Farmer เกษตรกรรุ่นใหม่ เข้ามาเรียนรู้เทคโนโลยี นวัตกรรมและวิทยาศาสตร์ด้านการเกษตรเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆให้สามารถนำไปต่อยอดการเกษตรยุคใหม่ที่ทันสมัยได้ดีมากยิ่งขึ้น 

ดร.วิชาญ กล่าวว่า หลักสูตรดังกล่าวก่อให้เกิดความร่วมมือกันระหว่าง  สวก. หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาหรือสถาบันอื่นของรัฐและเอกชนในการผลิตและพัฒนางานวิจัยและนักวิจัยการเกษตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ  มั่นใจว่า สวก. และ หลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.)” จะสามารถขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยให้เป็นผู้นำในระดับนานาชาติด้วยวิทยาการเกษตรเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้หลักสูตร วกส. รุ่นที่ 5 ได้รับความกรุณาจาก ดร.จรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรม ในวันที่ 29 มีนาคม 2567 นี้ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top