Monday, 17 June 2024
ซูเปอร์โพล

มติเอกฉันท์!! ‘เพื่อไทย’ ยืนหนึ่ง 3 โพล เลือกตั้ง 66

‘เพื่อไทย’ ครองที่ 1 จาก 3 โพลดัง โดยผลสำรวจในช่วงเดือนมีนาคม 2566 ได้รับการโหวตและยอมรับให้เป็นพรรคในดวงใจที่ประชาชนอยากจะเทคะแนนเสียงให้มากที่สุด จากผลสำรวจของ 3 โพล ได้แก่ ซูเปอร์โพล, สวนดุสิตโพล และ นิด้าโพล 

‘ซูเปอร์โพล’ เผย ผลสำรวจเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 2 กลุ่มหนุนรัฐบาลเพิ่มขึ้น ฝ่ายค้านลดลง ชี้พลังเงียบเป็นตัวแปร

เมื่อวานนี้ (1 เม.ย. 66) สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง โพลเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 1 (ฉบับเต็ม) กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 53,094,778 คน ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,257 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 26 - 31 มีนาคม พ.ศ.2566 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95

เมื่อเปรียบเทียบผลสำรวจจุดยืนทางการเมืองของประชาชนระหว่าง โพลเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 พบว่า กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.1 เป็นร้อยละ 39.1 ในขณะที่กลุ่มผู้ไม่สนับสนุนรัฐบาลลดลงจากร้อยละ 29.6 เป็นร้อยละ 24.5 และกลุ่มพลังเงียบยังคงเป็นตัวแปรสำคัญไม่เปลี่ยนแปลงคือร้อยละ 36.3 ในการสำรวจครั้งที่ 1 และร้อยละ 36.4 ในการสำรวจครั้งที่ 2

ที่น่าสนใจคือ ความตั้งใจจะเลือกพรรคการเมือง แบ่งออกระหว่างกลุ่มแฟนคลับพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาล กับ กลุ่มแฟนคลับพรรคร่วมฝ่ายค้าน เปรียบเทียบครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 พบว่า ในกลุ่มพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาลรวมกันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51.6 ในครั้งที่ 1 มาอยู่ที่ร้อยละ 55.7 ในครั้งที่ 2 โดยพบว่าเป็นการเทคะแนนมาจากกลุ่มพลังเงียบ

ในขณะที่ พรรคร่วมฝ่ายค้านตอนนี้รวมกันลดลงจากร้อยละ 43.3 ในครั้งที่ 1 มาอยู่ที่ร้อยละ 36.3 ในการสำรวจครั้งที่ 2 โดยในกลุ่มพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาล อันดับหนึ่งได้แก่ พรรคภูมิใจไทยเพิ่มจากร้อยละ 19.1 ในครั้งที่ 1 มาเป็น ร้อยละ 20.5 ในครั้งที่ 2 รองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์เพิ่มจากร้อยละ 13.4 ในครั้งที่ 1 มาเป็นร้อยละ 14.2 ในครั้งที่ 2 อันดับสามได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.1 ในครั้งที่ 1 มาอยู่ที่ร้อยละ 10.9 ในครั้งที่ 2 อันดับที่สี่ ได้แก่ พรรครวมไทยสร้างชาติเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.3 ในครั้งที่ 1 มาอยู่ที่ร้อยละ 9.3 ในครั้งที่ 2 เป็นต้น

ในขณะที่ ความตั้งใจของประชาชนจะเลือก ส.ส. ในกลุ่มพรรคร่วมฝ่ายค้าน พบว่า อันดับแรก พรรคเพื่อไทย ลดลงจากร้อยละ 36.9 ในครั้งที่ 1 มาอยู่ที่ร้อยละ 29.1 ในการสำรวจครั้งที่ 2 รองลงมาคือ พรรคก้าวไกล ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.9 ในครั้งที่ 1 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.7 ในครั้งที่ 2 ส่วนพรรคเสรีรวมไทยยังคงเท่าเดิมคือ ร้อยละ 0.5 ในการสำรวจทั้งสองครั้ง

‘ซูเปอร์โพล’ ชี้คนเป็นนายกฯต้องลง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พร้อมเผย คนเชื่อนโยบาย ‘ภท.-ปชป.’ ทำได้จริง

‘ซูเปอร์โพล’ ชี้ ‘นายกฯของประชาชน’ ต้องลงสมัครส.ส.‘ปาร์ตี้ลิสต์’ พร้อมเผยฝั่งรัฐบาล ‘ภท.-ปชป.’ ขึ้นแท่นนโยบายที่ทำได้จริง

(2 เม.ย. 66) สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง นายกฯ ของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไป ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวน 1,378 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 25 มี.ค. - 1 เม.ย. 2566 โดยเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อ นายกรัฐมนตรีต้องลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองด้วย พบว่า จำนวนมากที่สุดคือร้อยละ 43.0 ระบุ ผู้ที่จะเป็นนายกฯ ต้องลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองด้วย เพราะเป็นผู้แทนประชาชน ใกล้ชิดประชาชน รู้ปัญหาจริง ใช้อำนาจประชาชนต้องมาจากประชาชน ไม่เอานายกฯ คนนอก ต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น ในขณะที่ ร้อยละ 33.6 ระบุ ไม่ต้องเป็น ส.ส. เพราะขอเป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต มือสะอาด ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. ใครก็ได้ทั้งนั้น ไม่ต้องสังกัดอะไรเป็นอิสระ ไม่ติดกับดัก และร้อยละ 23.4 ไม่แน่ใจ

‘ซูเปอร์โพล’ เผยผลสำรวจล่าสุด ‘ก้าวไกล’ ขึ้นแท่น แต่ยังไม่พอ ที่จะชนะ เป็นรัฐบาลพรรคเดียว 

(21 เม.ย.67) สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ก้าวไกล เพื่อไทย และอื่น ๆ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,154 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 – 20 เม.ย. ที่ผ่านมา พบว่า คะแนนนิยมของพรรคก้าวไกลมากกว่าคะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยอยู่ประมาณ 1 เท่าตัว คือ ร้อยละ 37.2 ต่อ ร้อยละ 17.2 อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ที่สุดหรือร้อยละ 45.6 ไม่เลือกทั้งสองพรรค จะเลือกพรรคอื่น

เมื่อแบ่งออกเป็นกลุ่มชายและหญิง พบว่า ชายและหญิงตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองไม่แตกต่างกันในผลสำรวจครั้งนี้ คือ ส่วนใหญ่ของชายและหญิง คือร้อยละ 45.1 ของชาย และร้อยละ 46.1 ของหญิง ไม่เลือกทั้งสองพรรค จะเลือกพรรคอื่น แต่ ร้อยละ 37.0 ของชาย และร้อยละ 37.3 ของหญิงจะเลือกพรรคก้าวไกล และร้อยละ 17.9 ของชายและร้อยละ 16.6 ของหญิงจะเลือกพรรคเพื่อไทย

ที่น่าสนใจคือ เมื่อแบ่งออกเป็นช่วงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่ของคนอายุต่ำกว่า 20 ปี หรือร้อยละ 76.2 ของคนอายุต่ำกว่า 20 ปี จะเลือกพรรคก้าวไกล แต่มีแนวโน้มลดลงตามช่วงอายุที่สูงขึ้นคือ ร้อยละ 48.9 ของคนอายุ 20 – 29 ปี ร้อยละ 34.2 ของคนอายุ 30 – 39 ปี ร้อยละ 28.7 ของคนอายุ 40 – 49 ปี ร้อยละ 20.2 ของคนอายุ 50 – 59 ปี และร้อยละ 20.5 ของคนอายุ 60 ปีขึ้นไป จะเลือกพรรคก้าวไกล จะเห็นได้ว่า แนวโน้มจะเลือกพรรคก้าวไกลลดลงตามช่วงอายุของคนที่สูงขึ้น

สำหรับ ช่วงอายุของคนที่จะเลือกพรรคเพื่อไทยไม่พบแบบแผนของการตัดสินใจจะเลือกคือกระจายคะแนนนิยมออกไปไม่เป็นแบบแผน แตกต่างกับคนที่ระบุว่าจะไม่เลือกพรรคทั้งสอง จะเลือกพรรคอื่น พบว่า ยิ่งมีอายุสูงขึ้นจะยิ่งตัดสินใจเลือกพรรคอื่น ๆ มากขึ้นตามไปด้วย คือ ร้อยละ 14.3 ของคนอายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 39.9 ของคนอายุ 20 – 29 ปี ร้อยละ 44.5 ของคนอายุ 30 – 39 ปี ร้อยละ 52.8 ของคนอายุ 40 – 49 ปี ร้อยละ 57.5 ของคนอายุ 50 – 59 ปี และร้อยละ 61.6 ของคนอายุ 60 ปีขึ้นไป จะไม่เลือกทั้งพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย แต่จะเลือกพรรคอื่น

ที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มอาชีพกับการตัดสินใจจะเลือกพรรคการเมือง คือ นักศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.2 จะเลือกพรรคก้าวไกล และว่างงาน ร้อยละ 43.5 จะเลือกพรรคก้าวไกล ส่วนพรรคเพื่อไทย จะพบมาก แต่ไม่ได้มากที่สุดในกลุ่มเกษตรกร คือร้อยละ 24.6 ของกลุ่มเกษตรกร ที่น่าสนใจคือ กลุ่มข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ เกินครึ่งหรือร้อยละ 56.0 ไม่เลือกทั้งพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย เช่นเดียวกับ กลุ่มเกษตรกรที่เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.2 ที่ไม่เลือกพรรคก้าวไกล และไม่เลือกพรรคเพื่อไทย แต่จะเลือกพรรคอื่น นอกจากนี้ จำนวนมากที่สุดของกลุ่มอาชีพค้าขายอิสระ คือร้อยละ 48.4 และร้อยละ 42.1 ของพนักงานบริษัทเอกชน จะไม่เลือกทั้งพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย แต่จะเลือกพรรคอื่น อย่างไรก็ตามจำนวนมากหรือร้อยละ 39.9 ของพนักงานเอกชนจะเลือกพรรคก้าวไกล

รายงานของซูเปอร์โพล ระบุว่า ผลโพลนี้ วิเคราะห์เจาะลึกลงรายละเอียดของการออกแบบกลยุทธ์ทางการเมืองได้อีกมาก แต่โดยสรุป ถ้าวันนี้เลือกตั้ง ประชาชนส่วนใหญ่จะไม่เลือกพรรคทั้งสองไม่ว่าจะเป็น พรรคก้าวไกล หรือ พรรคเพื่อไทย ทั้งนี้ พรรคก้าวไกลมีคะแนนสูงกว่าเพื่อไทยอยู่ประมาณหนึ่งเท่าตัว แต่พรรคก้าวไกลก็ยังจะไม่มีคะแนนนิยมมากพอที่จะชนะการเลือกตั้งจนตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ถ้ายังทำงานการเมืองแบบนี้ต่อไป การเคลื่อนไหวทางการเมืองขณะนี้ที่ออกมาเป็นแบบเดิม ๆ ไม่มีอะไรใหม่ ภาพการเมืองแบบเก่า ๆ เหมือนเดิม

ดังนั้น ถ้าจะให้เกิดผลมีอะไรใหม่ก็ต้องใช้ระบบเทคโนโลยีมาช่วยทำงานใน 3 กลุ่มงานคือ 1.เข้าถึง เข้าใจ และตอบสนอง (Insight) ตรงความต้องการของประชาชนระดับพื้นที่ (Localization) มากกว่าใช้นโยบายภาพใหญ่นำ 2. ความมั่นคงชาติและปลอดภัยของประชาชน และ 3. อื่น ๆ เช่น ผสมผสานทำงานการเมืองแบบดั้งเดิมกับแบบใหม่ (Hybrid) เป็นต้น ผลที่ตามมาคือ “ศรัทธาของประชาชน” ต่อการเมืองที่เป็นไปได้คือ เหมือนเดิม หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงเทคะแนนนิยมไปยังพรรคการเมืองที่สามารถปรับตัวทันตามการเปลี่ยนแปลงบนความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของชาติ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top