Friday, 17 May 2024
ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง - ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เปิดโครงการ “ป่อเต็กตึ๊ง ปันยิ้ม สร้างสุข ผู้สูงวัย”  ลงพื้นที่ 50 เขตกรุงเทพฯ บรรเทาทุกข์ในยุคสังคมผู้สูงวัยในไทย

วันนี้ (วันที่ 8 มิถุนายน 2566)  มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการ พร้อมด้วย นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ นายสัก กอแสงเรือง รองประธานกรรมการ นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ และคณะกรรมการมูลนิธิฯ จัดพิธีเปิดโครงการ ป่อเต็กตึ๊ง ปันยิ้ม สร้างสุข ผู้สูงวัย ลงพื้นที่แจกจ่าย "ถุงปันสุข ป่อเต็กตึ๊ง" บรรจุเครื่องอุปโภคบริโภค มูลค่าชุดละ 1,000 บาท ประกอบด้วย ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง น้ำมันพืช น้ำปลา นม ขนม สบู่ ผงซักฟอก และผ้าขนหนู  พร้อมมอบเงินสด จำนวน 1,000 บาท ให้แก่ผู้สูงอายุและผู้ยากไร้ในชุมชน 50 เขตกรุงเทพมหานคร  รวมจำนวน 2,500 ชุด 

คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ร่วมในพิธี  ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร 2 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ

นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เปิดเผยว่า ด้วยประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เป็นองค์กรสาธารณกุศลเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร ดำเนินงานสาธารณกุศลทั้งงานสังคมสงเคราะห์และงานบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ บำบัดทุกข์ สร้างสุขให้สังคมไทยมากว่า 113 ปี มีความห่วงใยในความเป็นอยู่ ทุกข์สุข ของผู้สูงอายุยากไร้ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในสภาวะที่ยากลำบาก ขาดผู้ดูแล ขาดปัจจัยหลักในการดำรงชีพ 

สำหรับโครงการดังกล่าว มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ริเริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นมา เพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยกำหนดลงพื้นที่ครบถ้วนทั้ง 50 เขต ในวันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน 2566 ที่จะถึงนี้

ตลอดระยะเวลากว่า 113 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ  ศาสนา  เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลาย ๆ ทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ดังปณิธานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง “ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung

“มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เสริมสร้าง อนาคตเด็กไทย” มอบทุนการศึกษาระดับชั้นประถม ประจำปี 2566 แก่เยาวชนที่ประพฤติดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ

“มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เสริมสร้าง อนาคตเด็กไทย” มอบทุนการศึกษาระดับชั้นประถม ประจำปี 2566
แก่เยาวชนที่ประพฤติดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ

วันนี้ (วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 10.00 น.) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิฯ  เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายสัก กอแสงเรือง รองประธานกรรมการ

นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ และคณะกรรมการมูลนิธิฯ ร่วมในพิธีมอบเงินทุนการศึกษาระดับชั้นประถม ประจำปี พ.ศ. 2566 ให้แก่เยาวชนที่ประพฤติดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จำนวน 1,500 ทุนๆ ละ 2,000 บาท เป็นจำนวนทั้งสิ้น 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน)  เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมตามที่มุ่งหวัง เติบโต พร้อมมีวิชาความรู้  สร้างอนาคตของตนเองและครอบครัว เป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติ อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร 2 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ

นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิฯ เปิดเผยว่า  ในงานสังคมสงเคราะห์  การมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งที่ได้ช่วยเหลือสังคมต่อเนื่องตลอดมา โดยในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 นี้  มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จะมอบทุนการศึกษาต่อเนื่องในทุกระดับชั้น และทุนการศึกษาทุกระดับชั้นปีสุดท้าย ให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ทั้งในกรุงเทพมหานคร และในส่วนภูมิภาค ต่อไป และในปีการศึกษา พ.ศ. 2566 นี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้จัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือสงเคราะห์เป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ เป็นจำนวนเงินกว่า 20 ล้านบาท

ตลอดระยะเวลากว่า 113 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ชนชั้น และศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลาย ๆ ทาง รวมถึงสนับสนุนด้านการศึกษา เพื่อให้เป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนอย่างครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป

“สร้างอาชีพ สร้างชีวิต”

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง “สร้างอาชีพ สร้างชีวิต” ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาสในพื้นที่ จ.ลำพูน ในโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี

วานนี้ (วันที่ 21  มิถุนายน 2566) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดย นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ พร้อมด้วย นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร กรรมการและรองเลขาธิการ นายจารุรัตน์ คุณัตถานนท์ กรรมการและเหรัญญิก นายชาญกิจ วิทยาวรากรณ์ กรรมการ และนางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย หัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ นำทีมลงพื้นที่จังหวัดลำพูน

มอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่มีรายได้น้อย มีภาระหน้าที่ดูแลคนในครอบครัว เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือด้อยโอกาสทางสังคม จำนวน 19 ราย คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 285,340 บาท (สองแสนแปดหมื่นห้าพันสามร้อยสี่สิบบาทถ้วน ) เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน โดยมี  นางจินตนา จันทร์บำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว นายชาตรี กิตติธนดิตถ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน พร้อมด้วย คณะศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวฯ จังหวัดลำพูน และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมในพิธี ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน

พร้อมกันนี้ นางสาวเนาวรัตน์ วรรณศิริ หัวหน้าแผนกหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน นำทีมหน่วยแพทย์ฯ ลงพื้นที่ให้บริการประชาชนฟรี ประกอบด้วย บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป จ่ายยา ตรวจวัดสายตาพร้อมแจกแว่น ฯลฯ โดยมีประชาชนเข้ารับบริการเป็นจำนวนมาก

นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ เปิดเผยว่า สำหรับโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ร่วมกับ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมูลนิธิฯ กำหนดมอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่สตรีที่มีรายได้น้อย มีภาระหน้าที่ดูแลคนในครอบครัว เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือด้อยโอกาสทางสังคม เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ แต่ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพ รวม 8 ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว

ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี สงขลา ศรีสะเกษ ขอนแก่น ลำพูน ลำปาง เชียงราย และจังหวัดพิษณุโลก ให้ได้มีวัสดุอุปกรณ์ไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว เพื่อเป็นการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างความสุขสู่ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป โดยนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการลงพื้นที่ในเดือนเมษายนจนถึงในวันนี้ มูลนิธิฯ มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพรวมจำนวน 7 แห่ง 40  ราย คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 662,290 บาท (หกแสนหกหมื่นสองพันสองร้อยเก้าสิบบาทถ้วน)

ตลอดระยะเวลากว่า 113 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ  ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลาย ๆ ทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ดังปณิธาน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต” ต่อไป

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มอบโอกาส “สร้างชีวิต” อย่างยั่งยืน .. ลงพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่ครัวเรือนยากจน พร้อมมอบจักรยานให้แก่โรงเรียนชนบทที่ขาดแคลน ในโครงการ “จักรยานเพื่อน้องสัญจร” พร้อมจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกบริการประชาชนฟรี

เมื่อวันที่  ( 27 มิถุนายน 2566) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิชิต  ชินวงศ์วรกุล  รองประธานกรรมการ พร้อมด้วย นายสุรพงษ์  เตชะหรูวิจิตร  กรรมการและรองเลขาธิการ นางสาวดวงชุตา  ติยะพจนพรกุล  ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ และนางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย หัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ  ร่วมในพิธีมอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับครัวเรือนยากจนในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ (จังหวัดที่ 4 ของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวน 27 ครัวเรือน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 617,020 บาท (หกแสนหนึ่งหมื่นเจ็ดพันยี่สิบบาทถ้วน) โดยมี นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ  นายโดมทอง ดิเรกศิลป์ พัฒนาการจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธานร่วมในพิธี  ณ  บริเวณหอประชุมจังหวัดชัยภูมิ ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

พร้อมกันนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้มอบรถจักรยานให้แก่โรงเรียนชนบทที่ขาดแคลน ในโครงการ “จักรยานเพื่อน้องสัญจร” จำนวน 4 โรงเรียน รวม 40 คัน เพื่อให้นักเรียนที่ประสบปัญหาในการเดินทางได้ยืมเรียน รวมถึงเป็นการแบ่งเบาภาระค่าพาหนะแก่ผู้ปกครองได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งยังเสริมสร้างให้นักเรียนได้ออกกำลังกาย เรียนรู้กฎจราจร การแบ่งปัน และดูแลรักษาสาธารณสมบัติร่วมกัน รวมมูลค่าการมอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพ และรถจักรยานในจังหวัดชัยภูมิเป็นเงินทั้งสิ้น  681,915.50 บาท (หกแสนแปดหมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยสิบห้าบาทห้าสิบสตางค์) รวมทั้ง ได้จัดทีมหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน นำทีมแพทย์อาสาฯ และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ให้บริการประชาชนฟรี ประกอบด้วย ตรวจรักษาโรคทั่วไป จ่ายยา บริการตัดผม และ ตรวจวัดสายตาพร้อมแจกแว่น  โดยมีประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก

โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้สนับสนุนอุปกรณ์ประกอบอาชีพ ช่วยเหลือครัวเรือนยากจน ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน  ระหว่างกรมการพัฒนาชุมชนและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ซึ่งมูลนิธิฯ ได้จัดงบประมาณดำเนินการเพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์การประกอบอาชีพมอบให้แก่ ครัวเรือนยากจน ให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว

โดยในกลุ่มเป้าหมายแรกดำเนินการในพื้นที่ภาคกลาง 17 จังหวัด รวม 98 ครัวเรือน ต่อมา ได้ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ 17 จังหวัด รวม 230 ครัวเรือน ซึ่งได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในขณะได้พิจารณาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 20 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ กาฬสินธุ์  ชัยภูมิ นครราชสีมา อุดรธานี มุกดาหาร หนองบัวลำภู บึงกาฬ ยโสธร ศรีสะเกษ มหาสารคาม ขอนแก่น อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ สกลนคร เลย หนองคาย และ นครพนม โดยมูลนิธิฯ จะทยอยลงพื้นที่ในแต่ละจังหวัดเพื่อดำเนินการเป็นลำดับต่อไป

ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมงานสาธารณกุศลมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่ เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ 
เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung  
 

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จับมือกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ร่วมลงนาม MOU สนับสนุนอุปกรณ์การประกอบอาชีพ สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ในโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ

วันนี้ (วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดย นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เรื่องการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การประกอบอาชีพ ระหว่าง กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกับมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ร่วมกับ นางจินตนา จันทร์บำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมี นายสัก กอแสงเรือง รองประธานกรรมการ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พร้อมด้วย นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ และนางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ เป็นผู้กล่าวรายงาน

ซึ่งมูลนิธิฯ ได้ให้การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การประกอบอาชีพ แก่สตรีที่มีฐานะยากจนมีภาระหน้าที่ต้องดูแลบุคคลในครอบครัว สตรีที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวและด้อยโอกาสทางสังคม สตรีที่ได้รับประกาศนียบัตรจากศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาสตรีและสถาบันครอบครัว สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพฯ รวมถึงการฝึกอาชีพในชุมชนและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องภายใต้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวฯ เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างชีวิต ให้กับสตรีผู้ยากไร้ ในโครงการ “ส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี” เพื่อให้สตรีได้นำวัสดุอุปกรณ์ไปประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว  ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างความสุขความเข้มแข็งสู่ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติอย่างยั่งยืน โดยมี คณะกรรมการมูลนิธิฯ พร้อมด้วยผู้บริหาร จากกรมกิจการสตรีและครอบครัว ร่วมในพิธี ณ ห้องประชุม ชั้น 2  อาคาร 2 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เดินหน้า “สร้างชีวิต” อย่างยั่งยืน” ลงพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่ครัวเรือนยากจน ในโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการภาคอีสานร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน และนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกบริการประชาชนฟรี

วานนี้ (วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2566) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ  เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร กรรมการและรองเลขาธิการ นายชาญกิจ วิทยาวรากรณ์ กรรมการ  และนางศิริพร กระจ่างหล้า ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ร่วมในพิธีมอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับครัวเรือนยากจนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ (จังหวัดที่ 5 ของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวน 44 ครัวเรือน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 934,930 บาท (เก้าแสนสามหมื่นสี่พันเก้าร้อยสามสิบบาทถ้วน) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพแก่ครัวเรือนยากจนสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้ ”บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ” ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยมี นายสำเริง ม่วงสังข์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ และนายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานร่วมในพิธี พร้อมด้วย ทีมแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นายวาทิต โสภา (วิน-วาทิต) อาสาสมัครศิลปิน  และคณะมูลนิธิคุณธรรมสงเคราะห์กาฬสินธุ์ ร่วมในพิธี ณ บริเวณวัดป่าพุทธมงคล ตำบลหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

พร้อมกันนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้จัดทีมหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน ให้บริการประชาชนฟรี ประกอบด้วย บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป จ่ายยา ตัดผม และ ตรวจวัดสายตาพร้อมแจกแว่น และบริการทันตกรรม โดยมีประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก 

โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้สนับสนุนอุปกรณ์ประกอบอาชีพ ช่วยเหลือครัวเรือนยากจน ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน  ระหว่างกรมการพัฒนาชุมชนและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ซึ่งมูลนิธิฯ ได้จัดงบประมาณดำเนินการเพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์การประกอบอาชีพมอบให้แก่ครัวเรือนยากจน ให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว โดยในกลุ่มเป้าหมายแรกดำเนินการในพื้นที่ภาคกลาง 17 จังหวัด รวม 98 ครัวเรือน ต่อมา ได้ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ 17 จังหวัด รวม 230 ครัวเรือน ซึ่งได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในขณะได้พิจารณาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 20 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา อุดรธานี มุกดาหาร หนองบัวลำภู บึงกาฬ ยโสธร ศรีสะเกษ มหาสารคาม ขอนแก่น อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ สกลนคร เลย หนองคาย และ นครพนม ซึ่งปัจจุบันทางมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ลงพื้นที่มอบไปแล้วรวมทั้งสิ้น 5 จังหวัด 120 ครัวเรือน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,397,350 บาท (สองล้านสามแสนเก้าหมื่นเจ็ดพันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมงานสาธารณกุศลมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่ เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung 

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมงานมหาบุญ งานมหากุศลครั้งยิ่งใหญ่ ในประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี 2566 “ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ พร้อมทำทาน” ให้แก่ผู้ยากไร้ ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ

ระหว่างวันนี้  – 11 กันยายน 2566 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดย นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการ ขอเชิญชวนประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมงานมหาบุญ มหากุศล ทำบุญบริจาคชุดข้าวสารอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ พร้อม “ทำทาน” ให้ผู้ยากไร้  ในประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี 2566  โดยผู้มีจิตศรัทธา สามารถร่วมทำบุญได้ 2 ช่องทาง ดังนี้ 

1. ร่วมสักการะหลวงปู่ไต้ฮง และทำบุญบริจาคข้าวสารได้ที่ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
2. ทำบุญผ่านเว็บไซต์ทิ้งกระจาดออนไลน์:  https://pttfny.net/newsh

ติดต่อสอบถาม ติดตามข่าวสารกิจกรรม และการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung

ประเพณีทิ้งกระจาด ถือได้ว่า เป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่ปฏิบัติสืบทอดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยมูลนิธิฯ ได้ปฏิบัติสืบเนื่องมาทุกปีเป็นเวลาช้านานไม่ต่ำกว่าอายุการก่อตั้งมูลนิธิฯ กว่า 113 ปี และคาดว่าจะเป็นมูลนิธิแห่งแรกที่จัดงานทิ้งกระจาดอย่างเป็นทางการและเป็นกิจจะลักษณะ เพราะถือว่าเป็นประเพณีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เพื่อนมนุษย์ที่ล่วงลับไปแล้วทั้งที่เป็นญาติและไม่เป็นญาติพร้อมกับทำทานให้แก่ผู้ยากไร้ ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มีผู้ใจบุญจะนำเครื่องเซ่นไหว้ เช่น ข้าวสารอาหารแห้ง และอื่น ๆ มากราบไหว้หลวงปู่ เพื่อทำบุญสะเดาะเคราะห์ ซึ่งมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งจะรวบรวมไว้ไปสมทบกับสิ่งของที่จัดซื้อเพิ่มเติม เพื่อนำไปแจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้ พร้อมนำมอบองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเมื่อปี 2565 มูลนิธิฯ ได้ใช้งบประมาณดำเนินการไม่ต่ำกว่า 11.7 ล้านบาท และในปี 2566 นี้ หลังจากที่ที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่อนคลายลง มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จึงกำหนดแจกเครื่องอุปโภคบริโภค ในประเพณีทิ้งกระจาดครั้งอย่างยิ่งใหญ่ เต็มรูปแบบ ทั้ง 4 จังหวัด

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอบุญบารมีองค์หลวงปู่ไต้ฮง (ไต้ฮงกง) ส่งผลให้ท่านและครอบครัว มีความสุข ความเจริญ สุขภาพร่างกายแข็งแรงตลอดปี ตลอดไป

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวกรุงเทพฯ มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร จำนวน 20 หลัง ผ่าน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ประชาชน

วานนี้ (วันที่ 8 สิงหาคม 2566) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย  นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ  พร้อมด้วย  นายนิพนธ์ ลีละศิธร กรรมการ นายนิพนธ์ โชคภิรมย์วงศา กรรมการปฏิคม และนายอรัณย์ โตทวด ผู้จัดการใหญ่มูลนิธิฯ มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝนแก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 20 หลัง รวมงบประมาณการก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น 4,494,000 บาท (สี่ล้านสี่แสนเก้าหมื่นสี่พันบาทถ้วน) โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีรับมอบศาลาที่พักผู้โดยสาร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และคณะผู้บริหารสำนักการจราจรและขนส่ง ร่วมในพิธี ณ ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี สาขาสะพานใหม่ ถนนพหลโยธิน 50 เขตบางเขน กรุงเทพฯ

โครงการสร้างศาลาที่พักผู้โดยสาร มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนมีที่หลบแดด หลบฝน ซึ่งโครงการนี้เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549  และได้ขยายการดำเนินงานไปทั่วทุกภาคของประเทศ ส่วน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น ทางมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้เริ่มต้นโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 บัดนี้ การดำเนินงานก่อสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารได้แล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วรวมจำนวน 50 จุด โดยทางมูลนิธิฯ ได้รับอนุญาตจากสำนักจราจร ซึ่งทางมูลนิธิฯ ได้ก่อสร้างตามเงื่อนไขในบันทึกข้อตกลงทุกประการ และ ปฏิบัติตามกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

กว่า 113 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลาย ๆ ทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ดังปณิธาน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต ต่อไป ติดตามข่าวสารกิจกรรม การช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung

#มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต
#แอปพลิเคชัน #สายด่วนป่อเต็กตึ๊ง1418
#ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เดินหน้า “สร้างชีวิต” อย่างยั่งยืน ลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่ครัวเรือนยากจน ในโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการภาคอีสานร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน และนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกบริการประชาชนฟรี

วานนี้ (วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2566) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร กรรมการและรองเลขาธิการ  เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นางจินดา บุญลาภทวีโชค กรรมการตรวจสอบ  นายนิพนธ์ โชคภิรมย์วงศา กรรมการปฏิคม และนายอรัณย์ โตทวด ผู้จัดการใหญ่มูลนิธิฯ   ร่วมในพิธีมอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับครัวเรือนยากจนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี (จังหวัดที่ 6 ของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวน 27 ครัวเรือน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 672,755 บาท (หกแสนเจ็ดหมื่นสองพันเจ็ดร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน)  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพแก่ครัวเรือนยากจนสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้ ”บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ” ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยมี นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี และนายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานร่วมในพิธี พร้อมด้วย นางศิริพร กระจ่างหล้า ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ และนางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย หัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ นำทีมแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  และคณะมูลนิธิส่งเสริมธรรมแห่งอุดรธานีร่วมในพิธี ณ บริเวณหอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

พร้อมกันนี้ นางสาวเนาวรัตน์ วรรณศิริ หัวหน้าแผนกหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน นำทีมหน่วยแพทย์ฯ ลงพื้นที่ให้บริการประชาชนฟรี ประกอบด้วย บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป จ่ายยา ตรวจวัดสายตาพร้อมแจกแว่น  และบริการตัดผม ฯลฯ โดยมีประชาชนเข้ารับบริการเป็นจำนวนมาก

โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้สนับสนุนอุปกรณ์ประกอบอาชีพ ช่วยเหลือครัวเรือนยากจน ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน  ระหว่างกรมการพัฒนาชุมชนและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  

ซึ่งมูลนิธิฯ ได้จัดงบประมาณดำเนินการเพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์การประกอบอาชีพมอบให้แก่ครัวเรือนยากจน ให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว โดยในกลุ่มเป้าหมายแรกดำเนินการในพื้นที่ภาคกลาง 17 จังหวัด รวม 98 ครัวเรือน ต่อมา ได้ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ 17 จังหวัด รวม 230 ครัวเรือน ซึ่งได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในขณะได้พิจารณาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 20 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา อุดรธานี มุกดาหาร หนองบัวลำภู บึงกาฬ ยโสธร ศรีสะเกษ มหาสารคาม ขอนแก่น อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ สกลนคร เลย หนองคาย และ นครพนม ซึ่งปัจจุบันทางมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ลงพื้นที่มอบไปแล้วรวมทั้งสิ้น 6 จังหวัด 147 ครัวเรือน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,070,105 บาท (สามล้านเจ็ดหมื่นหนึ่งร้อยห้าบาทถ้วน)

ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมงานสาธารณกุศลมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่ เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung  

“มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”
#แอปพลิเคชันและสายด่วนป่อเต็กตึ๊ง1418
#ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี จัดงานประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี 2566 (แห่งที่ 3) แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ยากไร้ ณ คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว สาขาศรีราชา

วันนี้ (วันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2566 เวลา 13.00 น.) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายจารุรัตน์ คุณัตถานนท์ กรรมการและเหรัญญิก พร้อมด้วย นางชุติมา ตันติศิริวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการ และนายอรัณย์ โตทวด ผู้จัดการใหญ่มูลนิธิฯ จัดพิธีแจกข้าวสารพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค เนื่องในประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี 2566 ให้กับประชาชนผู้ยากไร้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงคลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว สาขาศรีราชา จำนวน 2,000 ชุด สิ่งของที่แจกประกอบด้วย  ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  ปลากระป๋อง  น้ำปลา น้ำมันพืช  และขนม บรรจุถุงผ้ามูลนิธิฯ พร้อมมอบค่าพาหนะ คนละ 100 บาท โดยมี นายนิติ วิวัฒน์วานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายศิลปชัย พันธุ์สุริยานนท์ รองผู้อำนวยการ ด้านพัฒนาองค์กร คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว  คณะพุทธสมาคมเพียวเยี้ยงไท้ ศรีราชา คณะเครือสหพัฒน์  บริษัท แปซิฟิคพาร์ค ศรีราชา จำกัด และโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา ร่วมในพิธี ณ บริเวณคลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว สาขาศรีราชา จังหวัดชลบุรี

นอกจากนี้ ในวันอังคารที่ 12 กันยายน 2566 มูลนิธิฯ กำหนดแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคครั้งยิ่งใหญ่ ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ เป็นลำดับต่อไป

ประเพณีทิ้งกระจาด เป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่ปฏิบัติสืบทอดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยมูลนิธิฯ ได้ปฏิบัติสืบเนื่องมาทุกปีเป็นเวลาช้านานไม่ต่ำกว่า 80 ปี และคาดว่าจะเป็นมูลนิธิแห่งแรก ที่จัดงานทิ้งกระจาดอย่างเป็นทางการและเป็นกิจจะลักษณะ เพราะถือว่าเป็นประเพณีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เพื่อนมนุษย์ที่ล่วงลับไปแล้วทั้งที่เป็นญาติและไม่เป็นญาติพร้อมกับทำทานให้แก่ผู้ยากไร้ ในช่วงประเพณี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้มีผู้มีจิตศรัทธา และผู้ใจบุญจะนำเครื่องเซ่นไหว้ อาทิ ข้าวสารอาหารแห้ง และอื่น ๆ มากราบไหว้หลวงปู่ เพื่อทำบุญสะเดาะเคราะห์ ซึ่งมูลนิธิฯ จะรวบรวมไว้ไปสมทบกับสิ่งของที่จัดซื้อเพิ่มเติม เพื่อนำไปแจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้ รวม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร นครราชสีมา ชลบุรี และ กรุงเทพฯ พร้อมนำมอบองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้พัฒนาการแจกจ่ายสิ่งของเครื่องใช้ ให้เข้ากับการใช้งานในแต่ละยุคแต่ละสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุในการบรรจุสิ่งของที่มูลนิธิฯ ได้ปรับเปลี่ยนให้เป็นถุงผ้าเพื่อลดการใช้พลาสติก และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับ คิดเป็นมูลค่าการจัดงานประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี 2566 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 14,462,250 บาท (สิบสี่ล้านสี่แสนหกหมื่นสองพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ตลอดระยะเวลากว่า 113 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ  ศาสนา  เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลาย ๆ ทาง เพื่อเป็นองค์กร สาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ดังปณิธาน “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

ติดตามข่าวสารกิจกรรม การช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top