Friday, 3 May 2024
ชัชชาติสิทธิพันธุ์

‘วัชระ’ จี้ ‘ชัชชาติ’ จัดการ ‘หนู-แมลงสาบ’ หลังพบวิ่งว่อนทั่วตลาดสนามหลวง 2

(27 ก.พ. 66) นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส. และผู้สมัคร ส.ส. เขตหนองแขม-ทวีวัฒนา พรรคประชาธิปัตย์ ลงพื้นที่พร้อมกับว่าที่ร้อยตรีบัณฑิต ศุภพิสุทธิ์ ตัวแทนผู้ค้าสนามหลวง 2 พบปะเยี่ยมเยียนพ่อค้าแม่ค้า และประชาชนที่มาจับจ่ายซื้อของ

โดยนายวัชระ กล่าวว่า พบปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน จึงขอเรียกร้องให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร เข้ามาดูแลแก้ปัญหาให้หลังได้รับการร้องเรียนจากพ่อค้าแม่ค้าว่า ตลาดแห่งนี้ยังมีสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคจำนวนมากทั้งหนู แมลงสาบ รวมทั้งไฟส่องสว่างทางเดินที่ดวงเล็กมาก และลูกระบายอากาศที่ติดตั้งอยู่บนหลังคาตลาดมีเสียงดังมาก โดยเฉพาะเวลาที่มีลมพัดแรงเกิดเสียงดังจนพ่อค้าแม่ค้าเปรียบเหมือนเสียงหมาโดนรถทับ ป้ายชื่อตลาดแตกชำรุด เป็นต้น จึงขอให้ผู้ว่าฯ กทม.สั่งการให้เจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว หรือลงมาดูพื้นที่ด้วยตนเอง

‘อัษฎางค์’ ขุดนโยบายหาเสียงชัชชาติ ก่อนเป็นผู้ว่าฯ กทม. แซะ ตอนหาเสียงโม้ทำได้จริง ส่วนปัจจุบัน ทำแล้วแต่ ‘ได้แค่นี้’

(17 มี.ค.66) นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ‘เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค’ หัวข้อ ‘ตอนหาเสียง ทำได้จริง Vs ตอนทำงาน ทำงาน ทำงาน ทำเต็มที่แล้ว ได้เท่านี้’ มีเนื้อหาดังนี้…

‘ตอนหาเสียง ทำได้จริง Vs ตอนทำงาน ทำงาน ทำงาน ทำเต็มที่แล้ว ได้เท่านี้’

เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2564 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว แนะวิธีลดค่าโดยสาร รถไฟฟ้า โดยได้ระบุข้อความว่า “เรื่องอัตราค่าโดยสารใหม่ของ BTS คงเป็นเรื่องกังวลใจของพวกเราหลาย ๆ คน มีทางไหนไหม ที่จะทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง? วิธีหนึ่งที่หลาย ๆ ประเทศในโลกใช้กัน คือ เพิ่มรายได้ในส่วนของ Non-Fare รายได้จากกิจการรถไฟฟ้าหรือ กิจการขนส่งทั่ว ๆ ไป เราอาจมีรายได้ในสองรูปแบบคือ

1. Fare Revenue รายได้จากค่าตั๋วโดยสาร

2. Non-Fare Revenue รายได้จากกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าโฆษณา ค่าเช่าพื้นที่ ประโยชน์จากการเชื่อมต่อสถานี

จำนวนผู้โดยสารที่ผ่านระบบมากถึง 700,000 คน-เที่ยวต่อวัน ทำให้พื้นที่ในสถานีรถไฟฟ้า ในขบวนรถไฟฟ้า ราวจับ รวมถึงรอบตัวรถไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งเสาโครงสร้างรถไฟฟ้า มีมูลค่าสำหรับการโฆษณาสูงมาก เราคงจะไม่เห็นพื้นที่ไหนที่มีการโฆษณามากเท่ากับพื้นที่ในสถานีรถไฟฟ้าแล้ว

ผมเชื่อว่าถ้าเราบริหารจัดการให้ดี ดูแลผลประโยชน์ของประชาชนให้ดี เราสามารถนำรายได้ในส่วนของ Non-Fare มาช่วยเสริมรายได้จากค่าโดยสารอีกไม่น้อยกว่า 20%

รายได้จากการโฆษณาและให้เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานีรถไฟฟ้า BTS ในปี 2562-2563 สูงถึง 2,183.89 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 30% ของรายได้จากค่าโดยสาร

ในอนาคต เมื่อสัมปทานปัจจุบันสิ้นสุดลง ถ้าเรามีการประมูลที่โปร่งใส ยุติธรรมกับทุกฝ่าย มีการนำรายได้อื่นๆ จากรถไฟฟ้ามาช่วยสนับสนุนค่าโดยสาร จะช่วยทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลงได้ครับ”

ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564

สภาองค์กรของผู้บริโภค ร่วมกับ สำนักข่าว The Reporters จัดเสวนาออนไลน์หัวข้อ ‘รถไฟฟ้าต้องถูกลง ทุกคนต้องขึ้นได้ ผู้ว่าฯ กทม. ช่วยได้หรือไม่’

โดย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พูดถึงเรื่องราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

“ถ้าไม่เอากำไรแสนล้านบาท ค่าโดยสาร 25-30 บาทเป็นไปได้ กทม. ต้องรีบเจรจา เปิดเผยสัญญาจ้างเดินรถถึง 2585 ให้ชัดเจนว่าต้นทุนที่ต้องจ่ายเอกชนเท่าไร สัญญาเป็นธรรมหรือไม่ รัฐเสียเปรียบไหม ถ้าจ้างเอกชนแพงกลายเป็นว่าต้องไปปรับค่าโดยสารขึ้น

'ศรีสุวรรณ' บุกถาม 'ชัชชาติ' สวนชูวิทย์ตกเป็นของกทม.แล้วหรือไม่ หลังถูกนำไปพัฒนาเป็นอาคารสูงโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่

(24 มี.ค.66) ที่ศาลาว่าการ กทม.1 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อสอบถามสถานะของที่ดินสวนชูวิทย์ บริเวณสุขุมวิท ซอย 10 หลังเคยมีกรณีพิพาทกันในคดีรื้อทุบบาร์เบียร์ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามกฎหมายไปแล้วหรือไม่

ทั้งนี้สืบเนื่องจากเมื่อ 22 พ.ค.2548 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ จัดแถลงข่าวครั้งแรกระหว่างการต่อสู้คดีรื้อบารณ์เบียร์ในศาล เพื่อแสดงความตั้งใจว่าไม่ต้องการใช้ประโยชน์จากที่ดินผืนดังกล่าว และจะนำที่ดินคืนสาธารณะให้สังคมโดยจัดทำเป็นสวนสาธารณะ และต่อมาวันที่ 24 ธ.ค.2548 ไม่ทันถึงปีนายชูวิทย์ก็จัดแถลงข่าวเปิดตัวสวนชูวิทย์และกล่าวในวันนั้นว่า เจตนาที่จะเสียสละนำที่ดินดังกล่าวสร้างเป็นสวนสาธารณะให้กรุงเทพมหานคร ให้เป็นปอดของคน กทม. ได้ใช้ประโยชน์แทนโครงการสร้างโรงแรม เรียกว่า 'สวนชูวิทย์'

ต่อมาในคดีรื้อบาร์เบียร์นั้น ศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อ ม.ค.59 ว่าที่ดินพิพาทบริเวณสุขุมวิทซอย 10 นั้นศาลฎีกาเห็นว่าหลังเกิดเหตุ นายชูวิทย์กับพวก ได้ร่วมกับจำเลยอื่นชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เสียหายไปบางส่วนแล้ว และยังมีการนำที่ดินพิพาทไปทำประโยชน์เป็นสวนสาธารณะให้ประชาชนทั่วไปใช้ได้ โดยไม่ได้นำที่ดินไปทำธุรกิจแสวงหาผลกำไรอีก บ่งบอกว่าจำเลยรู้สึกสำนึกผิด นับว่ามีเหตุปรานี เห็นสมควรกำหนดโทษใหม่ให้เหมาะสม พิพากษาแก้ว่าจากจำคุก 5 ปี ให้เหลือแค่ 2 ปี ไม่รอลงอาญา

‘ชัชชาติ’ แจง ‘สวนชูวิทย์’ ไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ ยัน!! เอกชนถือครอง - จ่ายภาษีที่ดินตามกฎหมาย

(27 มี.ค.66) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกรณี นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นหนังสือให้ตรวจสอบสวนของ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ถึงความชัดเจนในการยกที่ดินเป็นสาธารณสมบัติว่า ได้รับรายงานจาก นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานครเมื่อช่วงเช้า

เบื้องต้นข้อมูลที่เป็นเอกสารจากกรุงเทพมหานครพบว่า โฉนดที่ดินดังกล่าวยังไม่ได้เป็นที่สาธารณะ กรุงเทพมหานครไม่ได้มีส่วนร่วมเข้าไปปรับปรุงให้เป็นพื้นที่สาธารณะแต่อย่างใด ยังเป็นที่ดินเอกชนอยู่ และมีการจ่ายภาษีที่ดินต่อเนื่องตามกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมาจ่ายภาษีรวม 3,000,000 บาท

‘พ่อเจ-เจตริน’ ซัด ‘ชัชชาติ’ ทำอะไรเพื่อ ปชช.บ้าง? ชี้!! ไม่เห็นผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน เผย!! ดีใจไม่โง่ถูกหลอก

(3 เม.ย.66) ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เจริญ วรรธนะสิน รองประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้โพสต์ภาพนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สวมเสื้อกล้าม กางเกงขาสั้น ถือปืนฉีดน้ำ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เมื่อปี 2557 พร้อมทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ระบุว่า…

“ช่วยบอกที ตั้งแต่ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. เคยทำอะไรที่เป็นเรื่องเป็นราวเป็นชิ้นเป็นอันเพื่อประชาชนให้เห็นจะ ๆ กันบ้าง?”

‘ชัชชาติ’ สวนกลับ ‘พ่อเจ เจตริน’ หลังวิจารณืไม่มีผลงาน แนะ!! เปิดเน็ตเช็กความก้าวหน้า แก้ไปแล้วกว่า 2 แสนเรื่อง

‘ชัชชาติ’ ขอบคุณที่นึกถึง ‘พ่อเจ เจตริน’ ทวีตถามหาผลงาน แนะเปิดเน็ตเช็กดูได้ ขนาดแม่ยังโทรถามเมื่อเช้า ‘ทำไมไม่มีผลงาน’

(5 เม.ย.66) ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณี ศ.(พิเศษ) เจริญ วรรธนะสิน รองประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือบิดาของ เจ เจตริน นักร้องชื่อดัง ทวีตภาพนายชัชชาติพร้อมข้อความผ่านทวิตเตอร์ โดยตั้งคำถามถึงผลงานและการทำงานของนายชัชชาติ ว่า ตั้งแต่ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. เคยทำอะไรที่เป็นเรื่องเป็นราวให้เห็นบ้าง?

นายชัชชาติกล่าวว่า ทุกคนมีสิทธิแสดงความเห็นได้ ถ้าอยากให้ปรับปรุงตรงไหนก็พร้อมทำ ที่ผ่านมาดำเนินการตามนโยบาย 217 ข้อ ก็ทำมาตลอด เราน้อมรับทุกคำพูด ส่วนตัวยังไม่ได้อ่านรายละเอียดที่ท่านอยากจะให้ทำอะไรเพิ่ม ส่วนผลงานมีอยู่แล้ว แต่ต้องเข้าไปดู

‘บิ๊กป้อม-ชัชชาติ’ ร่วมพิธีปิดซีเกมส์ 17 พ.ค. นี้ พร้อมรับธงซีเกมส์ ในฐานะเมืองเจ้าภาพครั้งต่อไป

(16 พ.ค. 66) พิธีปิดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 จะมีขึ้นในวันที่ 17 พฤษภาคม ที่สนามกีฬาแห่งชาติมรดกเตโช โดยมีพล.อ.เตีย บันห์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ส่วนผู้แทนประเทศไทยจะมี ‘บิ๊กป้อม’ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย, ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย, นายเชิดเกียรติ อัตถากร เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ร่วมในพิธี โดยจะมีการถ่ายทอดสดทางช่อง T SPORTS 7 เวลา 18.00-20.30 น.

สำหรับพิธีการเจ้าภาพยังคงนำเสนอศิลปวัฒนธรรมของกัมพูชาส่งท้ายการเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ครั้งแรกของประเทศ ส่วนไทยจะมีการแสดงชุด ‘สวัสดี ซีเกมส์’ ที่ออกแบบและแสดงโดย ‘คิดบวกสิปป์’ กลุ่มคนรักนาฏศิลป์ที่ออกแบบการแสดงที่แปลกใหม่ จนคว้าแชมป์การแข่งขันไทยแลนด์ ก็อต ทาเลนต์ ซีซั่น 1 มาเมื่อปี พ.ศ. 2554 เพื่อรับมอบธงเจ้าภาพต่อในการจัดการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ในปี 2025 โดยมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, นายนิติ วิวัฒน์วานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี, นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา รวมทั้งนายประชุม บุญเทียม รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วมรับมอบธงเจ้าภาพ ในฐานะเมืองเจ้าภาพร่วมในครั้งหน้า

ผู้ว่าฯ 'ชัชชาติ' ชี้!! มีการแจ้งทักท้วง 'แอชตัน อโศก' หากขัด กม.ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด

(3 ส.ค. 66) กทม. นำโดย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร และ รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมมพล รองผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร และนายสุรัช ติระกุล ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมอาคาร แถลงข่าวประเด็นโครงการแอชตัน อโศก เผยไทม์ไลน์ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ระบุ กทม. ได้มีการแจ้งทักท้วงเรื่องแบบแปลนและที่ดิน รฟม. ไปแล้ว 3 ครั้ง ระหว่างปี 2558 - 2559 

ไทม์ไลน์การยื่นแจ้งของโครการแอชตัน อโศก มีดังนี้ 

-23 ก.พ.2558 ยื่นแจ้งก่อสร้างครั้งที่ 1 (ไม่รับทราบแบบแปลน)
-26 พ.ค.2558 แจ้งขอทักท้วง เรื่องแบบแปลน

-16 ก.ค.2558 ยื่นแจ้งดัดแปลงครั้งที่ 2 (ไม่รับทราบแบบแปลน)
-27 ต.ค.2558 แจ้งขอทักท้วง เรื่องแบบแปลนและที่ดิน รฟม.

-2 มิ.ย.2559 สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้ยื่นฟ้อง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ส.53/2559
-22 มิ.ย.2559 ยื่นแจ้งดัดแปลงครั้งที่ 3
-17 ส.ค.2559 แจ้งขอทักท้วง เรื่องแบบแปลนและที่ดิน รฟม.

-21 พ.ย.2556 บ.ยื่นแก้ไขข้อทักท้วง ยืนยันว่า รฟม. ให้ใช้ทางเข้าออกผ่านที่ดิน รฟม. ตามหนังสือที่ รฟม. 012/1139 ลว.4 ก.ค.2557 และหนังสือที่ รฟม. 014/1568 ลว.4 ก.ย.2557 ประกอบการขออนุญาตได้

-30 ม.ค.2560 กทม. มีหนังสือรับทราบแบบแปลนการยื่นแจ้งครั้งที่ 3 และแจ้งเงื่อนไขการนำที่ดิน รฟม.มาใช้
-9 มี.ค.2560 สยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ยื่นฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ 450/2560
-17 พ.ย.2560 ยื่นแจ้งดัดแปลงครั้งที่ 4

-26 ธ.ค.2560 กทม. มีหนังสือรับทราบแบบแปลนการยื่นแจ้งครั้งที่ 4 และแจ้งเงื่อนไขการนำที่ดิน รฟม.มาใช้ และการออกใบรับรองการดัดแปลง
-24 ม.ค.2561 แจ้งผลว่าดัดแปลงไม่แล้วเสร็จ 

-5 ก.พ.2561 ยื่นแจ้งขอใบรับรองดัดแปลงอาคาร กทม.
-28 ก.พ.2561 แจ้งผลว่าดัดแปลงไม่แล้วเสร็จ  

-20 มี.ค.2561 บริษัทฯ ขออุทธรณ์ ว่าอาคารก่อสร้างแล้วเสร็จแต่ สนย. ไม่ออกใบรับรองให้ 
-11 เม.ย.2561 สนย. ส่งเรื่องบริษัทฯ ขออุทธรณ์หนังสือ ให้ คกก.พิจารณาอุทธรณ์
-4 มิ.ย.2561 แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้เพิกถอนหนังสือแจ้งผลการดัดแปลง เนื่องจากการไม่ออกใบรับรองโดยอ้างเหตุว่ามีการฟ้องคดีที่ศาลปกครอง เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนต่อไป

-11 มิ.ย.2561 สนย. ออกใบรับรองการก่อสร้าง และแจ้งเงื่อนไข
-30 ก.ค.2564 ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาเพิกถอนใบรับแจ้งฯ ทุกฉบับโดยให้มีผลย้อนหลังนับแต่วันที่ออกแต่ละฉบับ สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน
-24 พ.ย.2565 ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้ใช้อำนาจตามมาตรา 41 และ 42 แล้วแต่กรณี ภายใน 90 วัน

-27 ก.ค.2566 ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางให้เพิกถอนใบรับแจ้งฯ ทุกฉบับโดยให้มีผลย้อนหลังนับแต่วันที่ออกแต่ละฉบับ

กทม. ระบุว่า การออกใบรับรองการก่อสร้างและดัดแปลงอาคารลงวันที่ 11 มิ.ย.2561 เป็นการออกใบรับรองแบบมีเงื่อนไข ระบุว่า

"เรื่องที่ดินที่ตั้งโครงการซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาของศาลปกครองกลาง ที่มีผู้ฟ้องคดีกรณีโครงการใช้ที่ดินของ รฟม. หากศาลมีคำสั่งพิพากษาเป็นที่สิ้นสุดแล้วผลการพิพากษาทำให้อาคารของโครงการขัดต่อกฎหมาย ผู้ได้รับใบรับรองจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น"

'ผู้ว่าฯ ชัชชาติ' ชวนผู้ใจบุญแบ่งปันอาหารแก่คนไร้บ้าน ย่านราชดำเนิน พร้อมเล็งปรับพื้นที่ กทม.โซนสะพานวันชาติเป็นบ้านอิ่มใจ-จุดรวมสวัสดิการ

(30 ส.ค. 66) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายสุขสันต์ กิตติศุภกร รองปลัดกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาคนไร้บ้านบริเวณถนนราชดำเนิน ณ วงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เขตพระนคร

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ปัญหาคนไร้บ้านเป็นปัญหาใหญ่ของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีคนไร้บ้านมาอาศัยอยู่บริเวณถนนราชดำเนินค่อนข้างมาก ซึ่งช่วงโควิดระบาดมีคนไร้บ้านประมาณ 1,800 คน เมื่อมิถุนายน 2565 ลดลงเหลือประมาณ 1,200 คน ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณถนนราชดำเนินเป็นหลัก และตรอกสาเก ด้านหลังถนนราชดำเนิน และมีบ้างที่คลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งที่ราชดำเนินค่อนข้างเยอะเพราะมีผู้ใจบุญนำอาหารมาแจก และบางคนก็มีการแจกเงินด้วย 

ขอบคุณผู้ที่นำอาหารมาแจกทุกคน แต่อยากขอความร่วมมืออย่านำมาแจกที่ถนนราชดำเนิน ให้นำไปแจกในจุดกรุงเทพมหานครได้กำหนดไว้ให้ 2 จุดหลัก คือ เวลากลางวันที่บริเวณใต้สะพานพระปิ่นเกล้า เลยโรงละครแห่งชาติ ตรงจุดกลับรถ ซึ่งตรงนั้นจะเป็นจุดสวัสดิการด้วย มีการจัดหางาน ตรวจคัดกรองโรค ซักผ้า เป็นต้น ซึ่งคนไร้บ้านมีสิทธิเหมือนทุกคนในการรับสวัสดิการขั้นพื้นฐาน มีการช่วยเหลือในการพิสูจน์ตัวตนเพื่อให้สามารถรับสวัสดิการต่าง ๆ ได้ด้วย ส่วนตอนเย็นแจกได้ที่จุดหลังโรงแรมรัตนโกสินทร์ บริเวณตรอกสาเก 

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวต่อว่า การแก้ปัญหาคนไร้บ้านไม่ใช่การนำอาหารมาแจก การแก้ปัญหาคือการให้คนไร้บ้านได้สิทธิ ได้งานที่มีความมั่นคง หลายคนมีความรู้ ต้องหางานให้เพื่อที่จะได้มีรายได้ หากมีหน่วยงานที่ช่วยสนับสนุนเรื่องนี้ก็จะช่วยแก้ปัญหาได้ ส่วนกรณีมีคนไร้บ้านที่สร้างความกังวลในประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณโรงเรียนสตรีวิทยาต้องดูแลให้เรียบร้อยโดยทุกส่วนต้องช่วยกัน ซึ่งการแก้ปัญหาไม่อยากให้เป็นระยะสั้น อยากให้ดูระยะยาว ส่วนกรณีขอทานหลายคนไม่ใช่คนไทย บางคนเช่าบ้านอยู่แต่พาลูกมาขอทานเพราะมีคนให้เงินเยอะ ซึ่งจะมีการเข้าไปดูต่อไป

รองผู้ว่าฯ ศานนท์ กล่าวเสริมว่า ในอนาคตกรุงเทพมหานครจะมีการปรับพื้นที่ของกรุงเทพมหานครบริเวณสะพานวันชาติเป็นบ้านอิ่มใจ เมื่อเรียบร้อยแล้วก็จะนำสวัสดิการต่าง ๆ ไปรวมอยู่ตรงนั้น ซึ่งจะมีการร่วมมือกันระหว่างกรุงเทพมหานครและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) คาดว่าถ้าทำเป็นระบบขึ้นน่าจะดีขึ้น

นอกจากนี้ มูลนิธิกระจกเงาได้ร่วมกับกรุงเทพมหานครในการช่วยเหลือคนไร้บ้านทั้งที่จุดสะพานปิ่นเกล้า และเรื่องอื่น ๆ เช่น โครงการจ้างวานข้า ที่เป็นการจ้างงานคนไร้บ้านเพื่อให้มีรายได้ ซึ่งจากเดือนกันยายน 2565 ถึงกรกฎาคม 2566 มีคนเข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คน มี 30 คน ที่สามารถเปลี่ยนผ่านไปเป็นคนที่มีบ้าน มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงได้

ทั้งนี้โครงการจ้างวานข้า เป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิกระจกเงาร่วมกันสำนักงานเขตพระนคร ในการจ้างงานคนไร้บ้านให้มีรายได้ เช่น การทำความสะอาด คัดแยกขยะ งานช่างทั่วไป หรือการช่วยงานในมูลนิธิกระจกเงา เป็นต้น ซึ่งในวันนี้มีคนไร้บ้านบางส่วนได้สมัครร่วมโครงการทำงานกวาดกับทางเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพระนครด้วย

สำหรับวันนี้ มีนายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายสัมฤทธิ์ สุมาลี ผู้อำนวยการเขตพระนคร สำนักพัฒนาสังคม ผู้แทนมูลนิธิกระจกเงา และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่

'ชัชชาติ' เล็งกระจายอำนาจบริหารจัดการจราจรให้ท้องถิ่น รวมศูนย์ 'ถนน-ทางเท้า-ต่อใบขับขี่-บังคับใช้กฎหมาย'

(1 ก.ย.66) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับ นายเลอพงศ์ ลิ้มรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการภารกิจก่อสร้างและบำรุงรักษาถนนและสะพาน สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สปถ.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะ ว่า...

วันนี้เป็นหารือร่วมกับคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางการถ่ายโอนภารกิจวิศวกรรมจราจรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการกระจายอำนาจ โดยเฉพาะประเด็นของเรื่องการจราจร จริงๆ แล้วสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจ มีแผนปฏิบัติการมา 2 แผนแล้ว หลายเรื่องก็ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น เรื่อง ตำรวจดับเพลิง ซึ่งก็ทำให้เรามีอำนาจในการบริการประชาชนที่มากขึ้น แต่เรื่องการจราจรยังมีหลายประเด็นซึ่งเป็นข้อที่ยังไม่ ปฏิบัติอยู่ ตัวอย่างเช่น ในถนน 1 เส้น กทม.ก็ดูบนฟุตปาธ ทางเท้า แต่บนถนนก็เป็นเรื่องของตำรวจจราจร การต่อใบอนุญาตใบขับขี่ก็เป็นของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งหากต้องมีการแก้ปัญหา บางครั้งอาจจะมีข้อที่ต้องประสานงานกันค่อนข้างเยอะ 

หากเป็นไปได้การกระจายอำนาจมาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หรือกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ดูแล ก็จะทำให้การบริหารจัดการและการจราจร อาจจะสะดวกมากขึ้น วันนี้เป็นการอัปเดต เรื่องข้อมูลต่าง ๆ และพิจารณาถึงความพร้อมของกทม. ด้วย จริง ๆ แล้ว การกระจายอำนาจ หัวใจสำคัญอันหนึ่ง นอกเหนือจากแผนแล้ว คือความพร้อมของฝ่ายรับ ถ้าฝ่ายรับไม่พร้อมก็จะทำให้การดำเนินการ ลำบากที่จะสร้างความไว้วางใจในการถ่ายโอนอำนาจมา รวมทั้งเป็นการอัปเดตกันว่า เราทำงานมาปีกว่า ๆ การจราจรเป็นเรื่องใหญ่ที่เราเองก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเด็ดขาด เพราะมีหลายหน่วยงานร่วมดูแล รวมทั้งสรุปแผน 2 ที่เขียนไว้ว่ามีตรงไหนที่อาจจะอัปเดตใหม่ เพื่อจะได้นำไปใส่ในแผน 3 ขณะเดียวกันก็ต้องดูความพร้อมของตัวเอง ถ้าให้เราดูเรื่องการจราจร เรื่อง การควบคุมสัญญาณไฟ เราพร้อมไหม นำเทคโนโลยีมาช่วยอย่างไร หรือให้ดูเรื่องการจดทะเบียนรถ การจัดเรื่องที่จอดรถจะพร้อมหรือไม่

"การกระจายอำนาจถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เป็นหัวใจของของระบอบประชาธิปไตย ที่จะกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมากขึ้นในส่วนที่ตัวเองพร้อม หากการเชื่อมโยงข้อมูลเป็นเนื้อเดียวกัน การบังคับใช้กฎหมาย และการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ก็น่าจะสะดวกขึ้น" ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าว

การประชุมวันนี้ รศ.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการโยธา สำนักการระบายน้ำ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องนพรัตน์ ชั้น 5 ศาลาว่าการกทม. (เสาชิงช้า)


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top