Tuesday, 8 July 2025
ฉนวนกาซา

‘อียิปต์’ แสดงเจตนารมณ์!! นำเสนอ ฟื้นฟู ‘ฉนวนกาซา’ เพื่อให้!! ‘ชาวปาเลสไตน์’ ยังคงอยู่ในบ้านเกิดของตน

(12 ก.พ. 68) เฟซบุ๊ก ‘Jaroensook Limbanchongkit Pone’ โพสต์ข้อความระบุว่า ....

แถลงการณ์ที่เบาโหวงจาก #รัฐบาลอียิปต์ ในเรื่อง #ฉนวนกาซา 

ล่าสุด: คำชี้แจงจากกระทรวงการต่างประเทศของอียิปต์

อียิปต์แสดงเจตนารมณ์ที่จะนำเสนอวิสัยทัศน์การฟื้นฟูฉนวนกาซาเพื่อให้ชาวปาเลสไตน์ยังคงอยู่ในบ้านเกิดของตน

อียิปต์แสดงความปรารถนาที่จะร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐฯ นำโดยประธานาธิบดีทรัมป์ เพื่อบรรลุสันติภาพที่ครอบคลุมและยุติธรรมในภูมิภาคโดยบรรลุ
ข้อตกลงที่ยุติธรรมสำหรับชาวปาเลสไตน์ที่ยึดมั่นในสิทธิของประชาชนในภูมิภาค

ในบริบทนี้ อียิปต์ยืนยันความตั้งใจที่จะนำเสนอวิสัยทัศน์ที่ครอบคลุมสำหรับการก่อสร้างฉนวนกาซาขึ้นใหม่ในลักษณะที่จะรับรองว่าชาวปาเลสไตน์ยังคงอยู่ในบ้านเกิดของตน และสอดคล้องกับสิทธิอันชอบธรรมและถูกต้องตามกฎหมายของพวกเขา

อียิปต์เน้นย้ำว่าวิสัยทัศน์ใดๆ ที่ต้องการแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์ จะต้องคำนึงถึงความจำเป็นในการหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดอันตรายต่อสันติภาพในภูมิภาค ขณะเดียวกันก็ต้องแก้ไขที่สาเหตุหลักของความขัดแย้งด้วยการยุติการยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ของอิสราเอลและดำเนินการตามแนวทางสองรัฐซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่เสถียรภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างประชาชนในภูมิภาค

ทรัมป์ใช้ AI สร้างภาพ 'กาซาในฝัน' เมืองตากอากาศหรูภายใต้อิทธิพลอเมริกา

(28 ก.พ. 68) ทีมงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สร้างภาพอนาคตของฉนวนกาซา ตามแนวคิดของทรัมป์ที่ต้องการเปลี่ยนพื้นที่ขัดแย้งแห่งนี้ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสุดหรูริมทะเล  

ในวิดีโอ 'กาซาในฝัน' ฉนวนกาซาปรากฏเป็นเมืองตากอากาศที่เต็มไปด้วยรีสอร์ตหรู ตึกระฟ้า และชายหาดสวยงาม พร้อมด้วยรูปปั้นขนาดใหญ่ของทรัมป์ตั้งตระหง่านอยู่กลางเมือง ภาพยังแสดงให้เห็นอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของทรัมป์ โปรยธนบัตรไปทั่ว เพื่อสื่อถึงโอกาสทางเศรษฐกิจของฉนวนกาซาในอนาคต  

หนึ่งในภาพที่อาจสร้างความไม่พอใจให้กับชาวปาเลสไตน์ คือภาพของทรัมป์นอนอาบแดดข้างนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์แน่นแฟ้นระหว่างทั้งสองผู้นำ  

อย่างไรก็ตาม ชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับชมคลิปต่างแสดงความคิดเห็นว่า ฉนวนกาซาสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้โดยไม่จำเป็นต้องขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากบ้านเกิดของตน ตามที่ทรัมป์เคยเสนอให้พวกเขาย้ายไปอยู่ในอียิปต์หรือจอร์แดน พวกเขายังมองว่า แม้ฉนวนกาซาในฝันของทรัมป์จะดูหรูหราและทันสมัยคล้ายกับนครดูไบ แต่การพัฒนาเช่นนี้ควรเกิดขึ้นโดยที่ประชากรเจ้าของพื้นที่ยังคงมีสิทธิ์อาศัยอยู่ในดินแดนของตนเอง

‘ก.ต่างประเทศ’ แถลงการณ์!! แสดงความผิดหวังต่อการใช้กำลังใน ‘ฉนวนกาซา’ เรียกร้อง!! ให้มีการปล่อยตัวประกัน ส่งคืนร่าง ‘ชาวไทย’ ที่เสียชีวิต กลับประเทศ

(22 มี.ค. 68) ‘กระทรวงการต่างประเทศ’ ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า ...

แถลงการณ์: ประเทศไทยขอแสดงความผิดหวังยิ่งต่อการกลับมาใช้กำลังในฉนวนกาซา

ประเทศไทยรู้สึกห่วงกังวลและผิดหวังอย่างยิ่งต่อการกลับมาสู่การสู้รบในฉนวนกาซา ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2568 อันส่งผลกระทบให้พลเรือนผู้บริสุทธิ์จำนวนมากเสียชีวิตและบาดเจ็บ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคได้รับความเสียหายอย่างหนัก 

ประเทศไทยร้องขอให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้นสูงสุด ยุติการสู้รบ และกลับสู่การเจรจาเพื่อปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิงและปล่อยตัวประกัน รวมทั้งอำนวยการขนส่งความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมเข้าสู่ฉนวนกาซา เพื่อทำให้มั่นใจว่าภูมิภาคตะวันออกกลางจะมีเสถียรภาพและความมั่นคงที่ยั่งยืน

ประเทศไทยเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวประกันทุกคนที่เหลืออยู่ในฉนวนกาซาโดยเร็วที่สุด ซึ่งรวมถึงชาวไทย 1 คน และการส่งคืนร่างตัวประกันชาวไทยที่เสียชีวิต 2 ร่างกลับประเทศไทย

Statement: Thailand Is Profoundly Disappointed at the Return to Hostilities in the Gaza Strip

Thailand is profoundly concerned about and disappointed at the return to hostilities in the Gaza Strip since 18 March 2025, resulting in heavy casualty of innocent civilians, injuries, and severe damage to critical infrastructure and public utilities.

Thailand urges all sides to exercise utmost restraint, cease the hostilities and resume negotiations to implement the ceasefire and hostage agreement, as well as facilitate humanitarian assistance into the Gaza Strip to ensure stability and security in the Middle East. 

Thailand calls for the release of the remaining hostages in the Gaza Strip soonest, including one Thai national, and the retrieval of bodies of two Thai nationals.

‘จีน-มาเลเซีย’ ประกาศจุดยืนร่วมหนุนอาเซียนเป็นกลไกขับเคลื่อนหลัก ย้ำจุดยืนปาเลสไตน์-ค้านย้ายถิ่นกาซา หวังฟื้นฟูสันติภาพในเอเชียและตะวันออกกลาง

(17 เม.ย. 68) จีนและมาเลเซียออกแถลงการณ์ร่วมกัน ระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้นำจีน โดยแสดงจุดยืนสนับสนุนความเป็นแกนกลางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) พร้อมยืนยันความร่วมมือระดับทวิภาคีในหลายด้าน ท่ามกลางภูมิทัศน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลก

แถลงการณ์ร่วมที่เผยแพร่ในวันเดียวกันระบุว่า จีนและมาเลเซียเห็นพ้องที่จะส่งเสริมกลไกความร่วมมือที่นำโดยอาเซียน เพื่อสร้างสถาปัตยกรรมระดับภูมิภาคที่เปิดกว้าง ครอบคลุม และตั้งอยู่บนพื้นฐานของสันติภาพ เสถียรภาพ และการพัฒนาร่วมกัน โดยเน้นการสร้าง “บ้านที่สงบสุข ปลอดภัย เจริญรุ่งเรือง สวยงาม และเป็นมิตร”

ทั้งสองประเทศยังเน้นย้ำเป้าหมายในการยกระดับความสัมพันธ์จีน-อาเซียนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกัน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของปักกิ่งในการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในแถลงการณ์ มาเลเซียยังได้ สนับสนุนการเป็นเจ้าภาพของจีนในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC) ปี 2026 รวมถึงแสดงการสนับสนุนเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของจีนในการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งถือเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก

นอกจากความร่วมมือด้านภูมิภาคแล้ว แถลงการณ์ร่วมยังสะท้อนจุดยืนของจีนและมาเลเซียในประเด็นระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสถานการณ์ในฉนวนกาซา ซึ่งกำลังเผชิญวิกฤตมนุษยธรรมอย่างรุนแรง

จีนและมาเลเซียร่วมกันคัดค้านการบังคับให้ประชาชนในกาซาย้ายถิ่นฐาน และย้ำว่า “กาซาเป็นของประชาชนชาวปาเลสไตน์ และเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้จากดินแดนปาเลสไตน์” ทั้งสองประเทศยังยึดมั่นในหลักการ “ชาวปาเลสไตน์ปกครองปาเลสไตน์” ในฐานะหลักการสำคัญสำหรับการบริหารฉนวนกาซาในยุคหลังความขัดแย้ง

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบ “สองรัฐ” (Two-State Solution) ที่เรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์อิสระซึ่งดำรงอยู่ร่วมกับรัฐอิสราเอลอย่างสันติ และสนับสนุนให้ ปาเลสไตน์ได้รับสถานะสมาชิกเต็มรูปแบบขององค์การสหประชาชาติ (UN)

การเยือนของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของจีนในการกระชับความสัมพันธ์กับมาเลเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนยุทธศาสตร์สำคัญในภูมิภาค และเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีบทบาทสำคัญในเวทีระหว่างประเทศ

ทั้งสองประเทศได้หารือถึงความร่วมมือในหลายมิติ ตั้งแต่การค้า การลงทุน การพัฒนาที่ยั่งยืน ความมั่นคงทางพลังงาน ไปจนถึงความร่วมมือทางวัฒนธรรมและการศึกษา โดยคาดว่าในอนาคตอันใกล้ ความร่วมมือต่างๆ ที่หารือกันในครั้งนี้จะได้รับการผลักดันเป็นรูปธรรมมากขึ้นภายใต้แผนยุทธศาสตร์ทวิภาคี

WFP เผย 'ฝูงชนอดอยาก' ล้อมคลังอาหารในกาซา ดับแล้ว 2 ราย บาดเจ็บอีกเพียบในการแย่งเสบียง

(30 พ.ค. 68) สถานการณ์ความอดอยากในฉนวนกาซาทวีความรุนแรง ขณะที่โครงการอาหารโลก (WFP) เปิดเผยว่า กลุ่มชาวปาเลสไตน์จำนวนมากซึ่งหิวโหย ได้บุกเข้าโกดังเก็บเสบียงในเมืองเดียร์ เอล-บาลาห์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บอีกหลายคน เหตุเกิดท่ามกลางภาวะขาดแคลนอาหารอย่างหนัก 

ในขณะเดียวกัน การโจมตีจากอิสราเอลยังคงดำเนินต่อเนื่อง กระทรวงสาธารณสุขในกาซาระบุว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 70 รายทั่วพื้นที่ โดยเฉพาะในค่ายผู้ลี้ภัยบูเรจในกาซากลาง มีผู้เสียชีวิต 23 ราย จากการโจมตีอาคารที่พักอาศัย ซึ่งเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินต้องใช้เวลานานกว่า 30 นาทีในการกู้ร่างผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ

นอกจากนี้ ยังมีรายงานการโจมตีบ้านเรือนและโรงเรียนอนุบาลในเขตจาบาเลีย ทางเหนือของกาซา ทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีกอย่างน้อย 7 ราย ขณะที่จุดแจกจ่ายความช่วยเหลือที่ก่อตั้งโดยมูลนิธิ Gaza Humanitarian Foundation (GHF) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ก็เกิดระเบิดต่อเนื่อง โดยยังไม่มีความชัดเจนถึงสาเหตุ

องค์กรสิทธิมนุษยชนและสหประชาชาติแสดงความกังวลต่อบทบาทของ GHF โดยระบุว่าโครงการดังกล่าวขาดความเป็นกลางและละเมิดหลักการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ทั้งยังอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือทางทหารหรือการควบคุมพลเรือนของอิสราเอล

แม้อิสราเอลจะยืนยันว่าอนุญาตให้นำส่งความช่วยเหลือทั้งผ่าน UN และ GHF แต่เจ้าหน้าที่ UN ระบุว่าจำนวนความช่วยเหลือที่เข้าสู่กาซายัง 'น้อยเกินไป' เมื่อเทียบกับความต้องการระดับวิกฤต พร้อมเตือนว่า การแจกจ่ายแบบ 'จับตา-จำกัด' นี้ อาจยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์ขาดแคลนอาหารและบั่นทอนหลักมนุษยธรรมอย่างร้ายแรง

‘ฮุน เซน’ เตือนปมชายแดนไทย-กัมพูชา อาจกลายเป็น ‘กาซา’ เสนอพึ่งศาลโลก หวั่นความขัดแย้งเรื้อรังไม่สิ้นสุด

(2 มิ.ย. 68) สมเด็จ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภาและอดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เตือนว่าหากปัญหาพรมแดนระหว่างกัมพูชากับไทยไม่ได้รับการแก้ไขผ่านศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) อาจนำไปสู่ความขัดแย้งเรื้อรังคล้ายสถานการณ์ในกาซาระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ พร้อมย้ำว่า “หากเราจริงใจ ทำไมต้องกลัวศาลโลก?”

ล่าสุด ฮุน เซนโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า ในการประชุมร่วมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและวุฒิสภาเช้าวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา สมาชิก 182 คนลงมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ ต่อแผนการของนายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ในการยื่นข้อพิพาทพรมแดนกับไทยเข้าสู่การพิจารณาของศาลโลก โดยถือเป็นมติสนับสนุนจากฝ่ายนิติบัญญัติอย่างชัดเจน

ฮุน เซนยังกล่าวว่า บันทึกความเข้าใจ (MOU) เมื่อปี 2000 ที่เคยลงนามร่วมกับไทยนั้น “หมดความหมาย” หลังผ่านมา 25 ปีโดยไม่มีความคืบหน้า พร้อมเปิดเผยว่ามีทหารกัมพูชาถูกยิงเสียชีวิตในเหตุปะทะล่าสุด ถือเป็นอีกหลักฐานว่าความขัดแย้งยังไม่ยุติ

ด้านนายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ระบุว่ากัมพูชาจะเดินหน้ายื่นเรื่องต่อ ICJ ไม่ว่าจะได้รับความร่วมมือจากไทยหรือไม่ พร้อมเรียกร้องให้ประชาชนทุกฝ่ายสามัคคี สนับสนุนกองทัพ และงดการเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงเวลาสำคัญนี้

หากสถานการณ์บานปลาย ฮุน เซนยืนยันว่ากัมพูชาจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) เพื่อขอการแทรกแซงระหว่างประเทศ โดยย้ำว่ากัมพูชาไม่มีเจตนายึดครองดินแดน แต่จะไม่ยอมสูญเสียพื้นที่อีกแม้แต่ตารางนิ้วเดียว 

ขณะที่กองทัพบกของไทย ชี้แจงว่าการเคลื่อนไหวของนายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่จะนำข้อพิพาทไปยังศาลโลกนั้น เป็นเรื่องทางกฎหมายระหว่างประเทศที่มีมาก่อนหน้า และ “ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง” กับกรณีเหตุการณ์ล่าสุดบริเวณชายแดน 

ธงชาติกลางภาพพังพินาศ สะดุดตาเกินบังเอิญ ตั้งข้อสังเกต ‘อิสราเอล’ สร้างภาพเป็นฝ่ายถูกกระทำ

(16 มิ.ย. 68) เพจเฟซบุ๊ก Anucha Somnas ตั้งข้อสังเกตถึงภาพข่าวความเสียหายจากการโจมตีที่เกิดขึ้นในอิสราเอลว่า แทบทุกภาพล้วนมีธงชาติอิสราเอลหรือสัญลักษณ์ประจำชาติ ปรากฏอยู่ในเฟรมอย่างชัดเจน สร้างคำถามถึงความตั้งใจหรือเบื้องหลังของการเผยแพร่ภาพเหล่านี้ต่อสังคมโลก โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐบาลเนทันยาฮูกำลังเผชิญแรงกดดันด้านสิทธิมนุษยชนจากกรณีถล่มฉนวนกาซา

ผู้โพสต์วิเคราะห์ว่า ความเสียหายที่เกิดจากจรวดซึ่งตกลงกลางเมือง อาจไม่ใช่ความบังเอิญ แต่คือการจัดฉากเพื่อสร้างภาพจำ สื่อสารกับนานาชาติว่าอิสราเอลเป็นฝ่ายถูกกระทำ พร้อมใช้ภาพเหล่านี้เป็น “แฟ้มสะสมผลงาน” หรือเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ เบี่ยงเบนประเด็นเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ ที่ยังดำเนินต่อไป

นอกจากนี้ยังชี้ว่า นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ยังคงยึดแนวทางเดิมในการใช้พลเรือนของตนเองเป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์ ไม่ต่างจากกรณีตัวประกันชาวอิสราเอลในฉนวนกาซา ที่ไม่เคยได้รับความสำคัญเท่ากับเป้าหมายทางทหาร รัฐบาลเลือกเดินหน้าถล่มทุกพื้นที่ของกาซา โดยไม่สนใจว่าตัวประกันจะเสียชีวิตจากการโจมตีของตนเองหรือไม่

ข้อสังเกตเหล่านี้สะท้อนคำถามถึง เจตนาของรัฐบาลอิสราเอลในการจัดการสงคราม และความโปร่งใสของการสื่อสารข้อมูลกับสาธารณะ ทั้งยังสะท้อนว่าความสูญเสียอาจไม่ใช่เพียงผลข้างเคียงของสงคราม หากแต่เป็นกลไกที่รัฐเลือกใช้ เพื่อเป้าหมายทางการเมืองในระดับที่ลึกซึ้งกว่านั้น

นักวิเคราะห์อิสราเอลชี้สงครามกับอิหร่าน เปลี่ยนมุมมองชาวเทลอาวีฟ

(25 มิ.ย. 68) ผู้ใช้บัญชี X (เดิมคือ Twitter) นามว่า Sanna865 โพสต์ข้อความโดยอ้างถึงนักวิเคราะห์การเมืองชาวอิสราเอล ทิรา โคเฮน (Tira Cohen) ออกมาพูดว่า : “The war with Iran taught Tel Aviv settlers the meaning of what Gaza envelope settlers had been ...”

แปลได้ว่า: “สงครามกับอิหร่านครั้งนี้ ทำให้ผู้ตั้งถิ่นฐานในเทลอาวีฟเข้าใจถึงความรู้สึกของผู้ตั้งถิ่นฐานในฉนวนกาซา ที่เคยประสบมาก่อน…”

สุดท้ายผู้ใช้บัญชี X ชื่อ Sanna865 ซึ่งระบุเพิ่มเติมว่า “And they didn't even experience half of it” หรือ “และพวกเขายังไม่ได้เผชิญแม้แต่ครึ่งหนึ่งของสิ่งที่กาซาเคยประสบ” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของระดับความรุนแรงที่ชาวกาซาต้องอดทนมาตลอดหลายปี

รู้จัก ‘ฉนวนกาซา’ ความขัดแย้งอิสราเอล – ปาเลสไตน์ สู่การเรียนรู้!! ผลลัพธ์อันเหี้ยมโหดของสงคราม

(29 มิ.ย. 68) ใดๆdigest ep.นี้ พามารู้จักกับหนึ่งในพื้นที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง และการสู้รบที่ทำให้เกิดความสูญเสียกับทุกฝ่ายมาอย่างยาวนานครับ 

ดินแดนที่เรียกกันว่า "ฉนวนกาซา" มีขนาดความยาวเหนือจรดใต้ 41 กิโลเมตร ขณะที่มีความกว้างเพียง 10 กิโลเมตร ขนาบข้างพื้นที่ทางเหนือและตะวันออกด้วยเขตแดนของอิสราเอล ชายแดนทางใต้ติดกับอียิปต์ ส่วนชายทะเลด้านตะวันตกเป็นทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีขนาดพื้นที่ประมาณ 360 ตร.กม.เล็กกว่า จ.สมุทรสงคราม ของประเทศไทย ที่มีขนาด 416.7 ตร.กม. เพียงเล็กน้อย 

"กาซา"เป็นที่อยู่อาศัยของชาวปาเลสไตน์มีผู้คนอาศัยอยู่ในฉนวนกาซากว่า 2.3 ล้านคนโดยประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็กถึงร้อยละ 75 และเป็นผู้อพยพลี้ภัยที่อาศัยอยู่ตามแคมป์ที่สหประชาชาติจัดไว้ให้ ส่วนใหญ่ของผู้ลี้ภัยเหล่านี้เกิดในพื้นที่ฉนวนกาซา แต่ก็มีบางส่วนที่อพยพมาตั้งแต่หลังช่วง สงครามอาหรับ-อิสราเอล ครั้งแรกในปี 1948  และถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สาเหตุที่ถูกเรียกว่า "ฉนวนกาซา" เนื่องจากเขตแดนส่วนนี้ถูกกำหนดขึ้นจากข้อตกลงระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์หลัง สงครามอาหรับ-อิสราเอล ครั้งแรก เมื่อปี 1948 ให้เป็นคล้ายกับเขตกันชนระหว่าง 2 ฝ่าย ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติระบุว่า กว่า 80% ของผู้ที่อาศัยในฉนวนกาซาต้องพึ่งพาการช่วยเหลือจากนานาชาติ และประมาณ 1 ล้านคนต้องขอรับความช่วยเหลือด้านอาหารในแต่ละวัน

หลังปี 1948 ฉนวนกาซ่าถูกปกครองโดยอียิปต์ แต่อียิปต์ก็ไม่ได้ผนวกรวมเอาดินแดนส่วนนี้เป็นของตน จนกระทั่งอิสราเอลชนะสงครามหกวัน ในปี 1967 ทำให้ฉนวนกาซ่าเป็นหนึ่งในดินแดนที่อิสราเอลเข้ายึดครอง อย่างไรก็ตาม อิสราเอลและปาเลสไตน์ได้ทำสนธิสัญญาออสโลร่วมกันในปี 1993 ซึ่งส่วนหนึ่งในข้อตกลงนั้นคือ การอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์มีอำนาจในการปกครองตัวเอง (อย่างจำกัด) ในเขตฉนวนกาซ่า

ต่อมาในปี 2005 อิสราเอลจึงได้ดำเนินการถอนทหารและนิคมชาวยิวที่ผิดกฏหมาย ออกจากฉนวนกาซ่าทั้งหมด จากนั้น เมื่อกลุ่มฮามาสชนะการเลือกตั้งปี 2006 ฉนวนกาซ่าจึงเป็นเขตอิทธิพลของรัฐบาลฮามาสจนกระทั่งถึงปัจจุบัน กลุ่มฮามาสมีจุดยืนแข็งกร้าวไม่ยอมรับการยึดครองของอิสราเอลอย่างเด็ดขาดและมักก่อเหตุโจมตีอิสราเอลทั้งการส่งมือปืนและมือระเบิดฆ่าตัวตายเข้าไปในอิสราเอลบ่อยครั้ง การบุกจู่โจมอิสราเอลแบบไม่ทันตั้งตัว  กลุ่มฮามาสนี้ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน ซึ่งนับถือนิกายชีอะห์และสืบทอดอุดมการณ์จากขบวนการภราดรภาพมุสลิม ซึ่งก่อตั้งขึ้นในอียิปต์ช่วงทศวรรษ 1920

ลักษณะทางกายภาพของฉนวนกาซานั้นเป็นดินแดนแห้งแล้งทุรกันดาร แถมยังเป็นที่อยู่ของผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ที่ไม่มีงานทำ เสียเป็นส่วนใหญ่  สภาพอย่างนี้ โดยปกติชาวกาซ่าก็มีความเป็นอยู่ที่ลำบากอยู่แล้ว แต่ในช่วงหลายปีหลังนับตั้งแต่ 2007 อิสราเอลยังใช้มาตรการปิดล้อมกาซ่า จำกัดการนำเข้าอาหารการกิน ยารักษาโรค วัสดุก่อสร้าง และสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ด่านพรมแดนต่างๆ ทั้งที่จะข้ามไปอียิปต์และอิสราเอลก็ถูกปิด สภาพความเป็นอยู่ของผู้คนเปรียบเสมือนถูกลงโทษอยู่ใน ‘คุกเปิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก’ ยิ่งนานวัน ก็ยิ่งมีคนตายจำนวนมากในกาซ่าอันเกิดจากมาตรการปิดล้อมดังกล่าวนี้ ไม่ว่าจะเกิดจากการโจมตีของอิสราเอลครั้งต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต หรือการตายอันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บเพราะไม่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์และยารักษา โรคเพียงพอ ที่แย่กว่านั้นคือ เด็กปาเลสไตน์กว่าครึ่งในฉนวนกาซ่าเป็นโรคขาดสารอาหาร ทั้งหมดเป็นผลมาจากการปิดล้อมกาซ่าของอิสราเอลตลอด 7 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ อิสราเอลยังเป็นผู้ควบคุมน่านฟ้าเหนือเขตกาซา รวมถึงตลอดแนวชายฝั่งทะเลของกาซาด้วย โดยจำกัดผู้คนและสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกตามแนวพรมแดน เช่นเดียวกับอียิปต์ที่ควบคุมการเข้าออกของผู้คนบริเวณพรมแดนที่ติดกับกาซา โดยอิสราเอลและอียิปต์ให้เหตุผลว่าที่ต้องทำเช่นนี้เป็นเพราะเหตุผลด้านความมั่นคง

สถานการณ์ดูเหมือนจะย่ำแย่ลงไปอีก เมื่อทางการอิสราเอลประกาศที่จะยึดครองเขตฉนวนกาซาแบบเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เพื่อตอบโต้การโจมตีของกลุ่มฮามาสต่ออิสราเอลที่เกิดขึ้นหลายครั้ง  ซึ่งนั่นหมายถึงการตัดขาดการลำเลียงอาหาร น้ำ และเชื้อเพลิงเข้าไปยังเขตกาซาด้วย

มาตรการปิดล้อมกาซ่ามีเป้าหมายประการหนึ่ง คือ ต้องการโดดเดี่ยวกาซ่าภายใต้การปกครองของกลุ่มฮามาส อิสราเอลตั้งใจให้ชาวปาเลสไตน์ในกาซ่าเจอปัญหาความฝืดเคืองทางเศรษฐกิจ จากนโยบายปิดล้อม และตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกอิสราเอลโจมตีอยู่ตลอดเวลา ทั้งหมดนี้เพื่อให้ชาวปาเลสไตน์ในกาซ่าลุกฮือต่อต้านกลุ่มฮามาส แต่ผลที่ปรากฏออกมากลับตรงข้าม นับวันฮามาสยิ่งมีคะแนนนิยมมากขึ้น บ้านเมืองในฉนวนกาซ่ามีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น หลักนิติธรรมถูกนำมาใช้อย่างเคร่งครัด แม้ประชาชนจะได้รับความทุกข์ยากจากการถูกกีดกันทางเศรษฐกิจก็ตาม ที่สำคัญคือ กองกำลังฮามาสมีความเข้มแข็งและถูกจัดตั้งอย่างเป็นระบบมากขึ้น 

จุดยืนที่ชัดเจนของ "กลุ่มฮามาส" คือ ไม่ยอมรับการยึดครองของอิสราเอล และมักใช้วิธีการรุนแรงโจมตีอิสราเอล จนทำให้นานาชาติทั้ง อิสราเอล สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อังกฤษ และแคนาดา ประกาศขึ้นบัญชีกลุ่มฮามาสเป็น "องค์กรก่อการร้าย" แต่ขณะเดียวกันฮามาสก็มีพันธมิตรที่คอยหนุนหลัง ได้แก่ อิหร่าน ซีเรีย และกลุ่มเฮซบอลเลาะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธมุสลิม นิกายชีอะห์ในเลบานอน ซึ่งในระยะหลังกลุ่มฮามาสกลายเป็นกลุ่มที่มีบทบาท และใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่องมากที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลก

สิ่งต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้อิสราเอลต้องใช้กำลังเข้ามาโจมตีกาซ่าอย่างที่เราเห็นกันในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบัน แม้อิสราเอลเคยบรรลุข้อตกลงสันติภาพกับอียิปต์และจอร์แดน แต่อิสราเอลและปาเลสไตน์ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงขั้นสุดท้ายได้ ความไม่ไว้วางใจระหว่างสองฝ่ายยังคงลึกซึ้งนำไปสู่การสู้รบที่ยังคงคุกกรุ่นอยู่ในพื้นที่ฉนวนกาซามาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง 

ไม่มีใครที่สามารถคาดการณ์ได้ว่า สงครามระหว่างอิสราเอลและฮามาส จะสิ้นสุดเมื่อใด ดูตามปัจจัยหลายข้อจากสถานการณ์ความรุนแรงระดับภูมิภาคนี้ ความขัดแย้งนี้มีรากฐานจากความตึงเครียดทางประวัติศาสตร์อันยาวนานทั้งทางการเมือง ศาสนา และชาติพันธุ์ในภูมิภาค การเจรจาสันติภาพในอดีตก็มักล้มเหลวเพราะต่างฝ่ายต่างไม่ไว้ใจกัน 

ส่วนองค์กรระหว่างประเทศและประเทศที่มีอำนาจ ก็ได้พยายามเป็นตัวกลางในการเจรจาเพื่อหาทางยุติสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียกร้องให้มีการหยุดยิงชั่วคราวเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนในกาซา แต่การเจรจาเหล่านี้มักเผชิญกับความล้มเหลวเนื่องจากข้อเรียกร้องที่ขัดแย้งกัน เช่น ฮามาสเรียกร้องให้มีการยุติการปิดล้อมกาซา ขณะที่อิสราเอลยืนกรานว่าต้องมีการหยุดการโจมตีจากฮามาสอย่างสิ้นเชิง ในขณะเดียวกัน ความรุนแรงทางทหารก็ยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงเรื่อยๆ และผู้ที่รับผลจากการสู้รบที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานนี้ก็คือประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั่นเอง 

สิ่งที่เราทุกคนควรเรียนรู้จากเรื่องความขัดแย้งอิสราเอล – ปาเลสไตน์ และการสู้รบในฉนวนกาซานี้ก็คือ สงครามไม่เคยเป็นการแก้ปัญหาอย่างแท้จริงและยั่งยืนให้กับฝ่ายใดได้เลย ความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งสองฝ่ายมีแต่จะฝังรากลึกลงไปในจิตใจของผู้สูญเสียและเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความเกลียดชังให้เจริญเติบโตต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด ทุกร่างที่ทิ้งตัวลงทับถมบนแผ่นดินเปื้อนเลือดและถูกพรากเอาชีวิตไปล้วนเป็นพ่อ แม่ พี่ น้อง เพื่อนของใครสักคนเสมอ ลูกที่สูญเสียพ่อไปจากความเกลียดชังก็จะโตขึ้นไปพรากเอาชีวิตของพ่อใครซักคนไปด้วยความเกลียดชังเป็นวังวนต่อไปอีกหากมนุษย์ไม่เรียนรู้ที่จะให้อภัยและไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน 

ใดๆdigest หวังว่าทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้จะเข้าใจภัยร้ายแรงของสงคราม และปรารถนาการแก้ไขทุกความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในทุกกรณีโดยตระหนักถึงความเป็นมนุษย์ในตัวของผู้อื่นอย่างเท่าเทียมกันและแสวงหาการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในทุกๆความขัดแย้งเป็นสำคัญครับ 

ขอไว้อาลัยและแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณทุกดวงที่จาก ไป และขอให้สันติสุขบังเกิดขึ้นโดยเร็ว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top