Saturday, 25 May 2024
การเลือกตั้ง

เลือกกัปตันคุมเครื่องบินที่ไร้ประสบการณ์ แลกที่นั่งชั้นธุรกิจตามสัญญาเมื่อได้รับโหวต

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้ TikTok บัญชี @vanich2023 ได้แชร์คลิปวิดีโอของชาวต่างชาติท่านหนึ่ง ที่ออกมาพูดในหัวข้อ ‘ประชาธิปไตย’ โดยในคลิประบุไว้ว่า…

ตอนเป็นเด็ก ผมถูกสอนมาว่า ‘ประชาธิปไตย’ ดีที่สุด เมื่อโหวตให้คน 1 คน ในการลงคะแนนเสียงตอนเลือกตั้ง คุณจะได้ ‘รัฐบาลที่ดี’ แต่ตอนนี้ผมโตขึ้น เลยรู้ว่าผมคิดผิด คนมีสิทธิ์ทั่ว ๆ ไป ไม่รู้วิธีการโหวต เลยทำให้ประชาธิปไตยไม่ได้ผล ดังตัวอย่างนี้...

สมมติคุณกำลังขึ้นเครื่องบิน ก่อนจะบิน คุณและผู้โดยสารต้องลงคะแนนเลือกกัปตัน ซึ่งมีผู้สมัครอยู่ 2 คน โดยคนแรกพูดว่า “ถ้าคุณให้ผมขับเครื่องบิน ผมจะทำตามกฎการบินสากล และบินที่ความสูง 30,000 ฟุต” ส่วนคนที่ 2 พูดว่า “ถ้าคุณให้ผมขับเครื่องบิน คุณจะได้นั่งชั้นธุรกิจ” 

ในโลกทุกวันนี้ คนส่วนใหญ่มักโหวตตามความรู้สึก ไม่ค่อยมีข้อมูล ตามธรรมชาติเขาจะโหวตคนที่สัญญาว่าจะให้เขา ‘นั่งชั้นธุรกิจ’ 

ประชาธิปไตยจะเลือกคนแย่ ๆ ที่ไม่เคยขับเครื่องบิน ก่อนที่คุณจะรู้ตัว เครื่องบินก็ตกซะแล้ว 

ผมเชื่อว่า ‘การบริหารรัฐบาล’ ก็เหมือนการ ‘ขับเครื่องบิน’ ซึ่งมันยาก และต้องใช้ประสบการณ์หลาย ๆ ปี 

ภาษี, อาวุธนิวเคลียร์, ภูมิศาสตร์การเมือง, สุขภาพ, และชายแดน ปัญหาเหล่านี้ต้องการ ‘มืออาชีพ’ จำเป็นต้องใช้เวลากว่า 10 ปี ในการบินเครื่องบินนี้ แต่รัฐบาลของเราที่ใคร ๆ ก็สามารถโหวตได้ และใคร ๆ ก็เป็นได้นั้น เป็นประชาธิปไตยที่เปลี่ยนรัฐบาลทุก ๆ 4 ปี หากแต่ปัญหาเหล่านี้ต้องใช้เวลาแก้ไข 20 ปี 

ฉะนั้น แม้ประชาธิปไตยจะเป็นแนวคิดที่ดี แต่มันเป็นแนวคิดที่ดีที่สุดจริงเหรอ? 

ลองดู ‘จีน’ และ ‘อินเดีย’ เป็นตัวอย่าง อย่างจีนมีรัฐบาลกลาง ที่ทำให้คนกว่า 300 ล้านคนพ้นจากความยากจน แต่อินเดียมีประชาธิปไตย ที่มีคนยากจนกว่า 300 ล้านคน 

ผมไม่ชอบจีน แต่ทำไมพวกเขาถึงประสบความสำเร็จ? อย่าเพิ่งเข้าใจผมผิด เผด็จการไม่ใช่คำตอบ ไม่มีทางเป็นได้ แต่เป็นประชาธิปไตยทางเลือกที่คุ้มกับการลอง ภายใต้การปกครองประเทศโดยใช้ผู้ชำนาญวิชาการด้านต่าง ๆ กลายเป็นระบอบของคนที่มีความรู้

อย่าปล่อยให้ปัญหานี้เรื้อรังในโลกประชาธิปไตย ที่บรรดานักการเมืองใช้ข่าวปลอม การโกหก ความกลัว รวมถึงใช้เงินเพื่อสร้างความสนใจ ระบบประชาธิปไตย ทำให้คนลงคะแนนเชื่อเป็นล้าน ๆ คน 

เราโหวตให้คนที่สัญญาว่าจะให้เรานั่งชั้นธุรกิจ แต่ไม่รู้วิธีขับเครื่องบิน ถึงเวลามาซ่อมประชาธิปไตยกันเถอะ ก่อนที่เครื่องบินจะพาเราตก 

15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ประเทศไทย จัดให้มีการเลือกตั้ง สส. เป็นครั้งแรก เป็นการเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรก และครั้งเดียว

วันนี้ เมื่อ 90 ปีก่อน ประเทศไทยจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรก และครั้งเดียวของไทย โดยเป็นการเลือกผู้แทนตำบลก่อน แล้วให้ผู้แทนตำบลเลือกผู้แทนราษฎรอีกทีหนึ่ง

ย้อนไปเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ประเทศไทยจัดให้มีการเลือกตั้งครั้งแรก ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม ประชาชนเลือกตัวแทนของตนในระดับตำบล เพื่อไปทำหน้าที่เลือกผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง โดยแต่ละจังหวัดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คนต่อราษฎร 200,000 คน มีผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งจำนวน 78 คน รวมกับสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งโดยพระบรมราชโองการเป็น 156 คน

การเลือกตั้งครั้งนั้น เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี 2475 ประเทศไทย แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 70 จังหวัด และตามรัฐธรรมนูญ 2475 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท โดยมีจำนวนเท่า ๆ กัน คือ สมาชิกประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง และสมาชิกประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้ง

ในขณะนั้นรัฐธรรมนูญกำหนดให้แต่ละจังหวัดจะมี สส. ได้ 1 คนต่อราษฎร 200,000 คน ทำให้มี ส.ส. ประเภทที่ 1 จำนวน 78 คน และ สส. ประเภทที่ 2 ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งอีก 78 คน รวมเป็น 156 คน ซึ่งจากการคำนวณดังกล่าว ทำให้ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถเลือก สส. ได้จังหวัดละ 1 คน และมีบางจังหวัดที่มี สส. มากกว่า 1 คน คือ เชียงใหม่, ร้อยเอ็ด, มหาสารคาม และนครราชสีมา มี สส. จำนวน 2 คน ในขณะที่จังหวัดพระนครและอุบลราชธานี มี สส. มากที่สุด คือ 3 คน

สำหรับการเลือกตั้งครั้งแรกของไทย ถูกจัดขึ้นในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 และเป็นการเลือกตั้ง สส. ประเภทที่ 1 โดยใช้วิธีการเลือกตั้งแบบทางอ้อม คือ ประชาชนจะไปใช้สิทธิ์เลือกผู้แทนตำบลก่อน จากนั้นผู้แทนตำบลที่ได้รับเลือกนั้น จะไปทำการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนประชาชนอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้นับเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

โดยในครั้งนั้น มีผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งหมด 4,278,231 คน และมีผู้ออกไปใช้สิทธิ์ทั้งหมด 1,773,532 คน คิดเป็น 41.45% โดยจังหวัดที่มีผู้ไปใช้สิทธิ์มากที่สุด คือ จังหวัดเพชรบุรี คิดเป็น 78.82% และจังหวัดที่มีผู้ออกไปใช้สิทธิ์น้อยที่สุด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน คิดเป็น 17.71%


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top