Wednesday, 18 September 2024
PODCAST

‘ขุนหลวงท้ายสระ’ ผู้ออกกฎห้ามจับปลาตะเพียน | THE STATES TIMES Story EP.139

‘สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ’ หรือ ‘สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9’ หรือ ‘พระเจ้าท้ายสระ’ หรือ ‘พระเจ้าภูมินทราชา’ หรือ ‘พระเจ้าบรรยงก์รัตนาสน์’ หรือ ‘ขุนหลวงท้ายสระ’ ที่เราคุ้นเคยดีจากละครเรื่องพรหมลิขิต เป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ 30 ในสมัยอยุธยา 

นอกจากพระราชกรณียกิจที่เห็นเป็นประจักษ์แล้ว ยังมีตำนานกล่าวขานเล่าลือว่า ‘ขุนหลวงท้ายสระ’ โปรดเสวย ‘ปลาตะเพียน’ มาก จนถึงขั้นออกพระราชกำหนดห้ามราษฎรจับหรือรับประทานปลาตะเพียน หากผู้ใดฝ่าฝืน มีบทลงโทษคือปรับเป็นเงิน 5 ตำลึง หรือ 20 บาท

'เจ้าฟ้าพร' หรือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กษัตริย์ยุคชิงราชสมบัติ | THE STATES TIMES Story EP.138

 

เปิดพระราชประวัติ 'พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ' กษัตริย์ในยุคแห่งการชิงราชสมบัติ ผู้ฟื้นฟูพุทธศาสนาดินแดนลังกา และเป็นยุคแห่งวรรณคดีดังมากมาย

'คนัง' เงาะป่าผู้ทะยานด้วยวาสนา มาเป็นมหาดเล็กพิเศษ | THE STATES TIMES Story EP.137

เมื่อกรกฎาคม พ.ศ.2448 ในหลวง ร.5 ทรงมีรับสั่งให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ไปแสวงหาเด็กเงาะป่าที่มีอายุ 6-7 ขวบ เพื่อจะนำมาเลี้ยงดูให้การศึกษาในพระนคร . เจ้าหน้าที่พาเด็กชายคะนังออกจากป่าพัทลุงมายังเมืองสงขลา ถวายรายงานให้ในหลวง ร.5 ทรงทราบ โปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงยมราช (ตลับ) เป็นผู้ดูแล อบรมสั่งสอนเพื่อปรับสภาพร่างกาย ความคิด ชีวิตความเป็นอยู่ กิริยา มารยาท

'พม่า' ชวน 'ญวน' ตีเมืองไทย!! | THE STATES TIMES Story EP.136

เมื่อ พ.ศ. 2366 พม่าขอญวนเป็นไมตรี ชวนตีเมืองไทย หวังทำสงครามกระหนาบสองด้าน แต่ญวณไม่รับไมตรี ตีเมืองไทย อย่างไรก็ตาม แม้ญวนจะรักษาสัมพันธไมตรีกับไทย ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกับพม่าทำสงครามกับไทย แต่ญวนก็ไม่ได้เป็นพันธมิตรกับไทยในทุกเรื่อง เพราะต่างก็มีผลประโยชน์ทับซ้อนกันอยู่ นั่นคือ ดินแดนประเทศราชอย่างเขมรและลาว ซึ่งญวนถือว่าเป็นเมืองขึ้นของทั้งสองฝ่ายมาแต่โบราณ และญวนก็ไม่ยอมเสียเปรียบไทย โดยคิดขยายอำนาจญวนมายังเขมรและลาวเสมอ จึงเป็นเหตุให้ทำสงครามสู้รบกันในสมัยรัชกาลที่ 3

Jikininki จิกินินกิ หรือเปรตญี่ปุ่นกินศพ | THE STATES TIMES Story EP.135

ตำนานของผีที่มีที่มาจากนักบวชท่านหนึ่งที่เต็มไปด้วยความโลภ เมื่อชาวบ้านนำศพมาให้ทำพิธีก็คิดหวังแต่ผลประโยชน์ เมื่อตายไปต้องกลายมาเป็นเปรตที่คอยลงมาแอบกินศพคนตาย ชาวบ้านแถวนั้นจึงมีประเพณีทิ้งศพไว้ที่บ้าน แล้วอพยพไปนอนอีกหมู่บ้านหนึ่ง รุ่งเช้าจึงกลับมาอยู่บ้านตามปกติเพราะกลัวว่าจะเจอกับผีที่มากินศพ

'บาทหลวงกาเบรียล อามอร์ธ' นักบวชปราบผีแห่งสำนักวาติกัน | THE STATES TIMES Story EP.134

บาทหลวงกาเบรียล อามอร์ธ (Gabriele Amorth 1925-2016) เป็นพระในนิกายคาทอลิกผู้เชี่ยวชาญในการทำพิธีขับไล่ภูติ ที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคปัจจุบัน ได้ทำการไล่ผีมาแล้วกว่า 60,000 ครั้ง ในระหว่างที่ปฏิบัติศาสนกิจ...

รัฐธรรมนูญที่ไม่เคยประกาศใช้สมัยรัชกาลที่ 7 'ฉบับพระยากัลยาณไมตรี' | THE STATES TIMES Story EP.133

เปิดร่างรัฐธรรมนูญสมัยรัชกาลที่ 7 ที่ไม่เคยมีการประกาศใช้ ฉบับแรกเป็นของพระยากัลยาณไมตรี 'ฟรานซิส บี. แซร์'

โดยรัฐธรรมนูญที่พระยากัลยาณไมตรี ร่างนั้นมีเพียง 12 มาตรา เรียกว่า “Outline of Preliminary Draft” เสร็จสิ้นในปี 2467 แต่ไม่ได้มีการประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว

พระเพทราชา 'พระเอก' หรือ 'ผู้ร้าย' ? | THE STATES TIMES Story EP.132

พระเพทราชา ผู้ได้รับการขนาน ว่า 'พระมหาบุรุษ' กลายเป็นนักบุญผู้ทรงศีลสุขุมล้ำลึก ต้องการปกปักพระศาสนา ช่วยกอบบ้านกู้เมืองให้พ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส พระเพทราชา จึงกลายเป็นพระเอกขี่ม้าขาว ในสายตาของนักการศึกษาด้านพุทธศาสน์และนักประวัติศาสตร์สายอนุรักษนิยม

แต่ทว่าอีกมุมหนึ่ง นักประวัติศาสตร์เชิงรัฐประศาสนศาสตร์ กลับมองว่าการสังหารโหดชาวต่างชาติ โดยเฉพาะฝรั่งเศส และการขับไล่ฝรั่งดั้งขอให้พ้นหูพ้นตานั้น นำไปสู่ 'การแช่แข็งสยามประเทศ' อยู่ช่วงระยะหนึ่ง และต้องใช้เวลาอีกนานทีเดียว กว่าจะก้าวเดินให้ทันเพื่อนบ้านโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การค้า และการศึกษา นั้น เกิดจากวิสัยทัศน์ 'ล้าหลังคลั่งชาติ' แท้เชียว

การทำรัฐประหารของ พระเพทราชา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ | THE STATES TIMES Story EP.131

'พระเพทราชา' ทำรัฐประหาร 'สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แรกเริ่มเกิดจากจุดมุ่งหมายของพระเพทราชาจะกระทำการรัฐประหารเพื่อกำจัดอิทธิพลของฝรั่งเศสโดยการนำของ 'ออกญาวิไชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน' ซึ่งกำลังชักนำอยุธยาไปเป็นเมืองขึ้น แล้วจะยกให้พระอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่การณ์ไม่เป็นเช่นนั้นเพราะการประชุมเพื่อยึดอำนาจในตึกพระเจ้าเหานั้นถูกออกหลวงสรศักดิ์ผู้เป็นบุตรชายควบคุม เพื่อยกราชบัลลังก์ให้แก่พระเพทราชา เป็นการจบราชวงศ์ปราสาททองเข้าสู่ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

‘พระสยามเทวาธิราช’ บุคลาธิษฐาน เทพยดาผู้คุ้มครองสยามประเทศ | THE STATES TIMES Story EP.130

วันนี้ขอเล่าเรื่องเทวดาผู้คุ้มครองประเทศไทย 'พระสยามเทวาธิราช’ . โดยในช่วงสิงหาคมของปีก่อนมี ‘เพจราษฎรสเปช’ (หรือ ‘เปรต’ ดี) เล่าประวัติศาสตร์ได้ น่าปวดหัวมาก โยง ‘พระสยามเทวธิราช’ เป็น ‘ผี’ เพียงเพราะไปเห็นภาพ พระสยามเทวาธิราช ที่มีรูปร่างคล้ายรัชกาลที่ 4 (อันนั้นเขาเรียกพระป้าย) เลยทึกทักไปเองว่า ‘เป็นลัทธินับถือผีสาง’ โดยส่วนตัว (ซึ่งแล้วแต่วิจารณญาณนะครับ) มันก็ถูกเรื่อง ‘ผี’ แต่มัน ‘ไม่ใช่ลัทธิ’ หากแต่มันคือ ‘ความเชื่อ’ ที่แตกต่างไปจากศาสนาหลัก มันเป็นเฉพาะของภูมิภาค (ที่ไอ้บางพวกยังทะลึ่งไปกราบฝาส้วม กินขี้ เชื่อแต่เรื่องไม่จริงได้เลย แอบแรงเล็กน้อย) ซึ่งนับเป็นเรื่องตลกของคนที่ไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์ อะไรเลย...

รัฐบาลเสียงข้างน้อย รวมพรรคร้อยพ่อพันแม่ ในปี 2518 | THE STATES TIMES Story EP.129

‘รัฐบาลร้อยพ่อพันแม่’ จาก สส. 18 คน สู่การจัดตั้งรัฐบาลในปี 2518 โดยฝีมือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

รู้จัก!! พระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) ใครกันคือเจ้าของ? | THE STATES TIMES Story EP.128

THE STATES TIMES Story วันนี้พาไปรู้จักสถานที่ที่หนึ่ง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลศิริราช แต่ในอดีตสถานที่นี้เรียกว่า ‘วังหลัง’ หรือ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ใครที่ยังไม่รู้จัก ลองมารับฟังไปพร้อมๆ กันได้เลยจ้า

‘เจ้าฟ้าจุ้ย’ อนุสรณ์คุณความดีที่ยังปรากฎให้ชนรุ่นหลังได้เห็น | THE STATES TIMES Story EP.127

THE STATES TIMES STORY ตอนนี้พาคุณไปฟังเรื่องราวของสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระองค์ผู้ทรงเป็นปฐมในการสถาปนาปฏิสังขรณ์วัดสัมพันธวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ทรงเป็นพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่สำคัญมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๒ . และเป็นผู้ประดิษฐ์เกรินบันไดนาคและผู้นิพนธ์ลิลิตทักษาพยากรณ์ ชำนาญด้านโหราศาสตร์ชั้นโหร แม้พระองค์ท่านจะสิ้นพระชนม์ไปนานแล้ว แต่อนุสรณ์คุณความดีที่ทรงกระทำไว้ ยังปรากฏให้ชนรุ่นหลังได้เห็นอยู่

ย้อนประวัติศาสตร์ 'วัดเส้าหลิน' ถิ่นกำเนิดวิทยายุทธ | |THE STATES TIMES STORY EP.126

เปิดประวัติ 'วัดเส้าหลิน' ถิ่นกำเนิดวิทยายุทธ ที่ไม่ได้มีแค่สำนักเดียว

เลี้ยงขโมยไว้จับขโมย...’ได้จริงหรือ?’ | |THE STATES TIMES STORY EP.125

รู้ไหมว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีเรื่องราวของการเลี้ยงขโมยไว้จับขโมยอยู่ด้วย แต่จะได้ผลลัพธ์ยังไง แถลงไขได้ในคลิปนี้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top