Wednesday, 26 March 2025
INFO & TOON

ต่างชาติเที่ยวไทยปี 67 ทะลุ 35 ล้านคน ททท.คาดสร้างรายได้กว่า 1.6 ล้านล้านบาท

เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2568 นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า จากสถิติตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 ธันวาคม 2567 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย 35,441,648 ล้านคน เพิ่มขึ้น 26% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 สร้างรายได้ 1,668,539 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34% ถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จำนวนทั้งปี 2567 อยู่ที่ 35 ล้านคน ตอกย้ำการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง โดยมีอานิสงส์จากมาตรการยกเว้นการตรวจลงตรา (Visa Exemption) และยกเว้นบัตร ตม.6 สำหรับด่านชายแดนทางบก การเปิดเส้นทางบินใหม่ของสายการบิน เพิ่มความถี่เที่ยวบิน และความจุที่นั่งสายการบินทั้งจากตลาดระยะใกล้และไกลรับนักท่องเที่ยวช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (ไฮซีซั่น) ทำให้ในปี 2568 ตั้งเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ อยู่ที่ 40 ล้านคน สร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.98–2.23 ล้านล้านบาท มากที่สุดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ จากปี 2562 ที่มีต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทยประมาณ 39.5 ล้านคน

“การท่องเที่ยวไทยปี 2568 จะก้าวเข้าสู่ปีแห่งอะเมซิ่ง ไทยแลนด์ แกรนด์ ทัวริซึม แอนด์ สปอร์ต เยียร์ 2568 มุ่งเน้นในการขยายตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพทั้งตลาดระยะใกล้และไกล ผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นฮับท่องเที่ยวในภูมิภาค ต่อเนื่องจากปี 2567 ที่มีปัจจัยหนุนจากการจัดงานเทศกาลและอีเวนต์ต่างๆ ในประเทศไทย อาทิ เทศกาลเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ โครงการ Amazing Thailand Passport Privileges การจัดคอนเสิร์ต แฟนมีตติ้งของศิลปินไทยและต่างชาติ และการท่องเที่ยวตามรอยซีรีส์ สถานที่ถ่ายทำเอ็มวีและภาพยนตร์ไทย รวมถึงงานเคานต์ดาวน์ส่งท้ายปี ที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย และขยายฐานตลาดนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเฉพาะ นักท่องเที่ยวคุณภาพทั้งในตลาดระยะใกล้และไกล” นางสาวฐาปนีย์ กล่าว

นางสาวฐาปนีย์ กล่าวว่า ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ทำนิวไฮ หรือจุดสูงสุดใหม่ เมื่อเทียบกับปี 2562 อาทิ อินเดีย 2,100,645 คน มาเลเซีย 4,898,496 คน ไต้หวัน 1,077,050 คน รัสเซีย 1,705,198 คน ซาอุดีอาระเบีย 226,094 คน อิตาลี 259,443 คน สเปน 205,914 คน โปแลนด์ 175,674 คน และตุรกี 102,680 คน

นอกจากนี้ ในภาพรวมของนักท่องเที่ยวตลาดระยะไกลยังมีแนวโน้มที่จะสร้างนิวไฮ โดยเฉพาะจากตลาดตะวันออกกลางที่มีกำลังซื้อสูง ความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2567 ที่ผ่านมา เกิดจากมาตรการอำนวยความสะดวกในการเข้าประเทศไทยของรัฐบาล

รวม 12 บุคคลแห่งปี 2024

รวม 12 บุคคลแห่งปี 2024 ที่ THE STATES TIMES อยากบอกให้ทุกคนรู้ว่า “เราภูมิใจในตัวคุณ”

ย้อน 12 เหตุการณ์ คนไทย-สังคมโลก ผ่านสารพัดเรื่องราวตลอดทั้งปี 2567

ปี 2567 นับเป็นปีที่สังคมไทยเผชิญกับเหตุการณ์สำคัญหลากหลายด้าน ตั้งแต่การเมืองร้อนแรง ภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ คดีฉ้อโกงระดับประเทศ ไปจนถึงเรื่องราวที่สร้างรอยยิ้มและความภาคภูมิใจให้กับคนไทย ตลอดทั้งปีจะมีเหตุการณ์อะไรบ้าง 

Tiktok คือใคร และใหญ่ขนาดไหน ทำไมถึงกำลังจะถูกสหรัฐแบน

(30 ธ.ค. 67) ตั้งเเต่เดือนเมษายน 2024 ที่ผ่านมาประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้ลงนามในกฎหมายที่กำหนดให้ ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok ต้องขายกิจการในสหรัฐฯ หรือเผชิญกับการแบนทั่วประเทศ โดยกฎหมายนี้มีกำหนดบังคับใช้ในวันที่ 19 มกราคม 2025 และในเดือนธันวาคม 2024 ศาลอุทธรณ์ของรัฐบาลกลางได้ยืนตามกฎหมายดังกล่าว โดยปฏิเสธข้อโต้แย้งของ TikTok ที่ระบุว่ากฎหมายนี้ละเมิด สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ โดยศาลเน้นย้ำว่ารัฐบาลมีอำนาจในการปกป้องความมั่นคงแห่งชาติ แต่ล่าสุดหลังจากผู้บริหารระดับสูงของ Tiktok ได้เข้าพบ โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ ทางทรัมป์เองก็ได้มีการร้องขอให้ศาลสูงชะลอการแบนออกไปจนกว่าจะมีการเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2025 แล้ว Tiktok ใหญ่ขนาดไหน ทำไมสหรัฐต้องกลัวว่าจะมาบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ วันนี้เราไปรู้จัก Tiktok ในภาพใหญ่กันค่ะ

โดยทั้งนี้ศาลสูงสุดของสหรัฐฯ มีกำหนดไต่สวนอีกครั้งในวันที่ 10 มกราคม 2025 เพื่อพิจารณากฎหมายที่อาจนำไปสู่การแบน TikTok หาก ByteDance ไม่สามารถขายกิจการในสหรัฐฯ ได้ และถ้าการแบนในสหรัฐเกิดขึ้นจริง TikTok ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 170 ล้านคนในสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อครีเอเตอร์และชุมชนบนแพลตฟอร์ รวมทั้งธุรกิจจำนวนมากต้องพึ่งพา TikTok ในการทำการตลาดและเข้าถึงลูกค้า การแบนจะทำให้ธุรกิจต้องย้ายไปยังแพลตฟอร์มอื่นค่ะ

10 ธุรกิจดาวรุ่ง-ร่วง ปี 68 สายสุขภาพ-อินฟลูฯ ทะยานอันดับหนึ่งสิ่งทอเสื้อผ้า-รถมือสอง ดาวร่วง

(23 ธ.ค.67) นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้จัดอันดับธุรกิจดาวรุ่งและดาวร่วงสำหรับปี 2568 โดยอ้างอิงจากปัจจัยพื้นฐานที่คาดว่าเศรษฐกิจในปี 2568 จะอยู่ในช่วงฟื้นตัว โดยคาดการณ์การเติบโตที่ 3% จากการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2567 ที่อยู่ที่ 2.6-2.8% การท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างโดดเด่น การส่งออกที่น่าจะขยายตัวต่อเนื่อง และการใช้จ่ายของภาครัฐที่ยังสนับสนุนเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับธุรกิจหลายประเภท

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการคาดการณ์ 10 เทรนด์ธุรกิจปี 2568 ได้แก่:
- ธุรกิจเกี่ยวกับ AI เช่น แพลตฟอร์ม แอปพลิเคชัน และระบบคลาวด์
- เมตาเวิร์ส (Metaverse) หรือโลกเสมือน
- สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) เช่น คริปโทเคอร์เรนซีและบิตคอยน์
- ธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น โซลาร์รูฟท็อปและยานยนต์ไฟฟ้า (EV)
- ธุรกิจสุขภาพ การกินดีอยู่ดี การแพทย์ และความงาม
- ธุรกิจ E-Commerce และบริการเดลิเวอรี่
- สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)
- Remote Work หรือการทำงานจากระยะไกล
- Personalized Marketing หรือการตลาดแบบเจาะกลุ่มเฉพาะ
- ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity)

นายธนวรรธน์ยังกล่าวถึง 10 เทรนด์ธุรกิจแบบไทย ๆ สำหรับปี 2568 ที่ได้แรงบันดาลใจจากธีม 'ส.' ตามปีมะเส็ง ได้แก่: สะดวกสบาย, สะอาด, สิ่งแวดล้อม,  สมัยใหม่, สำราญบันเทิง, สร้างสรรค์, เสี่ยง, สะสม,  สโมสร-สร้างเครือข่าย, สวดมนต์-สามมู

สำหรับ 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่งในปี 2568 ได้แก่:
- ธุรกิจการแพทย์และความงาม, ธุรกิจคลาวด์เซอร์วิส (Cloud Service) และธุรกิจบริการไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cybersecurity)
- Social Media และ Online Entertainment, Youtuber, Influencer และการรีวิวสินค้า
- ธุรกิจ E-Commerce, Soft Power (ซีรีส์ ภาพยนตร์), ธุรกิจโฆษณา และสื่อออนไลน์
- ธุรกิจ Event, คอนเสิร์ต, จัดแสดงสินค้า และธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ธุรกิจความเชื่อ สายมู, ธุรกิจเงินด่วน โรงรับจำนำ และธุรกิจประกัน
- ธุรกิจบริการผ่านแพลตฟอร์ม เช่น แม่บ้านรายวัน ซ่อมแซมอุปกรณ์ และธุรกิจผับ บาร์ คาราโอเกะ

-  คลินิกกายภาพ, ธุรกิจบริการสถานีชาร์จรถไฟฟ้า, ธุรกิจรถยนต์ EV และธุรกิจดูแลสัตว์เลี้ยง
- ธุรกิจการเงิน-ธนาคาร Fintech และการชำระเงินผ่านเทคโนโลยี, ธุรกิจตู้หยอดเหรียญ และธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม
- ธุรกิจโทรคมนาคม, โลจิสติกส์ Delivery คลังสินค้า, ทนายความ และ Street Food ตลาดนัดกลางคืน
- ธุรกิจอาหารเครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์), ธุรกิจพลังงานทดแทน, ธุรกิจโรงพยาบาล-คลินิกเกี่ยวกับสัตว์

ส่วน 10 อันดับธุรกิจดาวร่วงในปี 2568 ได้แก่:
- ธุรกิจจำหน่ายและให้เช่า CD และ VDO
- ธุรกิจสิ่งพิมพ์ที่ไม่มีแพลตฟอร์มออนไลน์
- ธุรกิจผลิต-จำหน่ายที่เก็บข้อมูล เช่น Thumb Drive
- บริการส่งหนังสือพิมพ์
- ธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- ธุรกิจถ่ายเอกสาร
- การผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้แบบดั้งเดิมที่ไม่มีการดีไซน์ใหม่
- รถยนต์มือสอง
- ร้านขายเครื่องเล่นเกม
- ธุรกิจผลิตกระดาษและร้านโชห่วย

เจาะลึก Honda กับ Nissan ก่อนการควบรวมกิจการ

​จากรายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2024 บริษัทฮอนด้า (Honda) และนิสสัน (Nissan) กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อควบรวมกิจการ การควบรวมกิจการระหว่างฮอนด้าและนิสสันจะทำให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยการรวมทรัพยากรและเทคโนโลยีของทั้งสองบริษัทจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า เพื่อรับมือกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากผู้ผลิตรายใหม่ ๆ ในตลาดโลก และเพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการแข่งขันกับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ เช่น เทสลา (Tesla) และบีวายดี (BYD)

​แล้วทั้ง 2 บริษัทมาความเป็นมาอย่างไร เดี๋ยววันนี้จะพาไปรู้จักกันค่ะ

โดยสรุปคือ แม้ฮอนด้าจะมีมูลค่าตลาดสูงกว่านิสสันประมาณ 5 เท่า รวมถึงยอดขายที่สูงกว่า แต่การผนึกกำลังครั้งนี้ก็จะทำให้เกิดข้อได้เปรียบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้นค่ะ

10 ประเทศพันธมิตรสหรัฐที่กำลังจะเผชิญความเสี่ยงจากทรัมป์มากที่สุด

(17 ธ.ค. 67) ในขณะที่ทั่วโลกกำลังหวาดหวั่นกับการขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ที่เตรียมเดินหน้านโยบาย “America First” ที่ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งอาจนำไปสู่การเก็บภาษีนำเข้าจากประเทศพันธมิตรที่ทรัมป์มองว่าเอาเปรียบสหรัฐฯ ในด้านการค้าและความมั่นคงทางการทหาร

ไทยเองเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงเป็นอันดับ 2 ในบรรดาประเทศที่ถูกจัดว่าเป็นพันธมิตรของสหรัฐ เพราะจากข้อมูลล่าสุดเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม (Information Technology & Innovation Foundation : ITIF) ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยนโยบายสาธารณะที่ไม่แสวงหากำไรของสหรัฐ ที่เผยแพร่รายงานออกมาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมาได้จัดทำดัชนีประเมินความเสี่ยงดัชนีต่อภาษีนำเข้า (Trump Risk Index) ของประเทศพันธมิตรที่อาจเผชิญกับมาตรการภาษีของสหรัฐฯ โดยพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

1. งบประมาณกลาโหม: ประเทศที่จัดสรรงบประมาณด้านกลาโหมต่ำกว่า 2% ของ GDP อาจถูกมองว่าไม่ให้ความร่วมมือในด้านความมั่นคงร่วมกัน
2. ดุลการค้า: ประเทศที่มียอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ สูงมาก อาจถูกกล่าวหาว่ามีการค้าที่ไม่เป็นธรรม
3. อุปสรรคทางการค้า: ประเทศที่ตั้งกำแพงภาษีหรือนโยบายที่กีดกันสินค้าสหรัฐฯ อาจตกเป็นเป้าหมาย
4. ท่าทีต่อจีน: พันธมิตรที่มีนโยบายอ่อนข้อหรือไม่สนับสนุนท่าทีของสหรัฐฯ ต่อจีน อาจถูกเพ่งเล็ง 

โดยถ้าผลการประเมินวิเคราะห์ถูกจัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง “ดัชนีความเสี่ยงจากทรัมป์ของ ITIF” (ITIF’s Trump Risk Index) ซึ่งจะสะท้อนออกมาในรูปผลคะแนนรวมที่ต่ำหรือติดลบมาก โดยทั้ง 10 ประเทศประกอบไปด้วย

ในทางกลับกัน ประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ ลิทัวเนีย เอสโตเนีย โปแลนด์ ลัตเวีย และ ออสเตรเลีย ซึ่งมีการใช้จ่ายด้านกลาโหมสูง ดุลการค้าที่สมดุล และนโยบายที่สนับสนุนสหรัฐฯ อย่างชัดเจน ซึ่งถ้าแต่ละประเทศที่มีความเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้สอดคล้องก็อาจช่วยให้พันธมิตรเหล่านี้สามารถรักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงกับสหรัฐฯ ได้อย่างยั่งยืน พร้อมหลีกเลี่ยงความเสียหายจากมาตรการภาษีนำเข้าในอนาคตได้ค่ะ

20 บริษัทที่ถูกจัดอันดับว่าน่าทำงานด้วยมากที่สุดในโลก ประจำปี 2024

ในยุคที่การทำงานเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้คนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกจากงานทั้งการเปลี่ยนแบบสมัครใจและการเปลี่ยนขององค์กรเอง โดยในปีนี้ Forbes เองก็ได้จัดทำ 20 บริษัทที่ดีที่สุดในโลกเป็นผู้นำในด้านการพัฒนาและดูแลพนักงาน โดยพิจารณาจากความพึงพอใจของพนักงาน การรักษาสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน และการมีส่วนร่วมของพนักงาน 
โดยใน 20 บริษัทนี้มีการจ้างงานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 3 ล้านคน และข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่าบริษัทที่มีความพึงพอใจของพนักงานสูงมักมีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าค่าเฉลี่ยถึง 20% แถมในบางบริษัทอย่าง Delta และ Apple ก็ยังมีการให้ผลตอบแทนแก่พนักงานด้วยการแบ่งปันผลกำไรและมอบหุ้นให้กับพนักงานด้วย

โดยบรรดาบริษัทที่ดีที่สุดในโลกกำลังนิยามใหม่ของการทำงานในยุคปัจจุบัน ด้วยโปรแกรมที่สร้างสรรค์ นโยบายที่สนับสนุน และความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงาน บริษัทเหล่านี้ยังคงเป็นผู้นำในด้านความเป็นเลิศในการจัดการแรงงานอีกด้วยค่ะ

VAT 7% ของไทย: เพียงพอจริงหรือ? หรือถึงเวลาปรับเพิ่มให้ตอบโจทย์เศรษฐกิจ?

หนึ่งในประเด็นร้อนที่กำลังถูกพูดถึงทั่วทั้งประเทศในช่วงนี้ คือการเสนอปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 7% เป็น 15% โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อ้างอิงข้อมูลที่ว่า อัตรา VAT ทั่วโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 15%-25% แล้วคำถามคือ... ไทยเราพร้อมหรือยัง?

แล้วรู้หรือไม่ว่าไทยเก็บ VAT ในอัตราที่ ต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน อย่างในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอง
• เวียดนาม, กัมพูชา, ลาว: 10%
• ฟิลิปปินส์: 12%
• อินโดนีเซีย: 11% (และกำลังจะเพิ่มเป็น 12% ในปี 2568)
• สิงคโปร์: 9%

ถ้าขยับสายตาไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว อัตรา VAT ยิ่งพุ่งสูงอย่างเห็นได้ชัด โดย
• สหราชอาณาจักร: 20%
• เยอรมนี: 19%
• ญี่ปุ่น: 10%

จากตัวเลขนี้จะเห็นได้ชัดเลยว่าไทยเก็บ VAT ต่ำสุดทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก แต่... การเพิ่ม VAT จะนำมาซึ่งอะไร? เรามาเจาะลึกถึงข้อดี-ข้อเสียของเรื่องนี้กันค่ะ โดยข้อดีของการปรับเพิ่มอัตรา VAT คือ
ข้อดีของการเพิ่ม VAT
1. เงินเข้ารัฐมากขึ้น เพราะการเพิ่ม VAT ทุก 1% = รายได้รัฐเพิ่ม 70,000-80,000 ล้านบาท/ปี
โดยเงินก้อนนี้สามารถเอาไป ยกระดับสวัสดิการ ด้วยการช่วยคนจน, เพิ่มเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และยังนำไปพัฒนาประเทศ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน, โรงพยาบาล
2. ลดความเหลื่อมล้ำ เพราะเงินจาก VAT สามารถเปลี่ยนเป็นโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยโดยตรง เช่น ลดค่าเทอม หรือสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ

ข้อที่ควรต้องพิจารณา
1. ค่าครองชีพพุ่ง การเพิ่ม VAT จะส่งผลให้ราคาสินค้าแพงขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งเรื่องนี้จะกระทบทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อยที่ต้องจ่ายมากขึ้นแต่รายได้เท่าเดิม
2. เศรษฐกิจชะลอตัวลง เพราะการเพิ่ม VAT 1% อาจทำให้เศรษฐกิจโตช้าลง 0.25%-0.35% ต่อปี

แม้การปรับ VAT อาจฟังดูเหมือนคำตอบที่ดีในการเพิ่มรายได้รัฐ แต่ความเสี่ยงและผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนและเศรษฐกิจในภาพรวมยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึง อีกทั้งนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ได้ยืนยันว่า ไม่มีการปรับขึ้น VAT เป็น 15% และกระทรวงการคลังกำลังศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบเพื่อความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ หากมีการพิจารณาปรับ VAT ในอนาคต สิ่งสำคัญคือต้องมีมาตรการรองรับ เช่น การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง และการปรับลดภาษีในสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นด้วยค่ะ

การบริโภคของคนเเต่ละเจเนอเรชัน

(9 ธ.ค. 67) อำนาจการใช้จ่ายทั่วโลกในแต่ละเจเนอเรชัน (คนยุคไหนที่กำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลก)

เมื่อพูดถึงอำนาจการใช้จ่ายทั่วโลก สิ่งที่น่าสนใจคือการแบ่งปันทรัพยากรทางเศรษฐกิจในคนแต่ละเจเนอเรชัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการบริโภคและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก เจเนอเรชันต่าง ๆ ไม่ได้เพียงแค่มีอำนาจการใช้จ่ายที่แตกต่างกันเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวกำหนดทิศทางของตลาดและแนวโน้มทางสังคมอีกด้วย

เบบี้บูมเมอร์ : ความมั่งคั่งที่สั่งสม

เจเนอเรชันเบบี้บูมเมอร์ (เกิดระหว่างปี 1946–1964) เป็นอีกกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญ ด้วยสัดส่วนการใช้จ่ายทั่วโลกที่ 20.8% แม้ว่าพวกเขาจะมีสัดส่วนประชากรเพียง 12.1% เจเนอเรชันนี้ได้สะสมความมั่งคั่งจากการทำงานหนักและการลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว พวกเขามักมองหาความมั่นคงทางการเงินและการใช้จ่ายที่เกี่ยวกับสุขภาพและการเดินทาง

เจเนอเรชัน X : ผู้นำการใช้จ่ายของโลก

เจเนอเรชัน X (เกิดระหว่างปี 1965–1980) กำลังครองตำแหน่งเจเนอเรชันที่มีอำนาจการใช้จ่ายสูงสุดในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีจำนวนประชากรเพียง 18.3% ของโลก การใช้จ่ายเฉลี่ยของเขาในปี 2024 สูงถึง 23.5% ของสัดส่วนการใช้จ่ายทั่วโลก ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในทุกเจเนอเรชัน

เจเนอเรชันนี้เป็นกลุ่มคนที่เติบโตมากับการเปลี่ยนผ่านของโลกจากยุคอุตสาหกรรมสู่ยุคดิจิทัล พวกเขามีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งให้กับครอบครัว และยังคงเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของสินค้าและบริการที่มุ่งเน้นคุณภาพและการลงทุนระยะยาว

มิลเลนเนียล: ผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่

เจเนอเรชันมิลเลนเนียล (เกิดระหว่างปี 1981–1996) เป็นกลุ่มที่มีทั้งจำนวนประชากรและอำนาจการใช้จ่ายที่ใกล้เคียงกัน โดยพวกเขามีสัดส่วนประชากร 22.9% และมีสัดส่วนการใช้จ่ายทั่วโลก 22.5% มิลเลนเนียลเป็นกลุ่มที่ปรับตัวกับเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว และเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เน้นการใช้จ่ายไปกับสินค้าและบริการดิจิทัล เช่น การช็อปปิ้งออนไลน์ การท่องเที่ยว และการลงทุนในประสบการณ์ชีวิต

เจเนอเรชัน Z : พลังแห่งอนาคต

แม้ว่าเจเนอเรชัน Z (เกิดระหว่างปี 1997–2012) จะมีสัดส่วนประชากรมากที่สุดที่ 24.6% แต่ปัจจุบันพวกเขามีสัดส่วนการใช้จ่ายเพียง 17.1% เนื่องจากส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัยศึกษาและเริ่มต้นการทำงาน อย่างไรก็ตาม เจเนอเรชัน Z มีแนวโน้มที่จะเติบโตในด้านอำนาจการใช้จ่ายเร็วที่สุด โดยคาดว่าภายในปี 2034 พวกเขาจะเพิ่มมูลค่าการใช้จ่ายทั่วโลกเกือบ 9 ล้านล้านดอลลาร์

เจเนอเรชันนี้ถือเป็น “Digital Natives” ที่เติบโตมาในยุคเทคโนโลยีเต็มรูปแบบ การใช้จ่ายของพวกเขามักเน้นไปที่สินค้าและบริการที่มีความยั่งยืนและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ เช่น แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง การสมัครสมาชิกบริการต่าง ๆ และการบริโภคสินค้าทางออนไลน์

เจเนอเรชันอัลฟ่า : ผู้บริโภคแห่งวันพรุ่งนี้

เจเนอเรชันอัลฟ่า (เกิดระหว่างปี 2013–2025) กำลังจะกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญในอนาคต พวกเขามีสัดส่วนประชากร 19.5% และมีส่วนร่วมในอำนาจการใช้จ่ายทั่วโลก 10.6% ซึ่งสะท้อนถึงการพึ่งพาผู้ปกครองในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ด้วยการเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี AI และโลกดิจิทัล พวกเขามีแนวโน้มที่จะเป็นผู้บริโภคที่มีอิทธิพลอย่างมากในอนาคต

จริงอยู่ที่ในด้านภูมิภาค อำนาจการใช้จ่ายมีความแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นในแอฟริกาตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา เจเนอเรชัน Z คาดว่าจะมีสัดส่วนการใช้จ่ายถึง 30% ภายในปี 2030 ซึ่งใกล้เคียงกับเจเนอเรชันมิลเลนเนียล ในขณะที่ในยุโรปและอเมริกาเหนือ เจเนอเรชัน Z คาดว่าจะมีสัดส่วนการใช้จ่ายประมาณ 15% ภายในปี 2030 โดยเจเนอเรชัน X และเบบี้บูมเมอร์ยังคงครองสัดส่วนการใช้จ่ายเกินครึ่งของการบริโภคทั้งหมด

แต่โดยรวมแล้ว แม้ว่าเจเนอเรชันที่มีอายุมากจะยังคงครองอำนาจการใช้จ่ายในปัจจุบัน แต่เจเนอเรชันที่อายุน้อยกว่า โดยเฉพาะเจเนอเรชัน Z ก็มีการคาดว่าจะขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจอย่างมากในอนาคต ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตลาดผู้บริโภคทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญในปีต่อ ๆ ไปค่ะ

‘เจนเซน หวง’ ซีอีโอ Nvidia กับหมุดหมายที่แท้จริงคือ 'เวียดนาม'

รู้หรือไม่? เหตุใด ‘เจนเซน หวง’ ซีอีโอ Nvidia จึงปักหมุดลงทุนในเวียดนาม และลงทุนอะไรบ้างไปหาคำตอบกับ รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ที่จะมาไขความจริงให้เรากระจ่าง

4 แนวทาง 'ขึ้น VAT ปรับโครงสร้างภาษี' ข้อเสนอจาก ‘สมชัย จิตสุชน’

‘สมชัย จิตสุชน’ จาก TDRI เสนอ 4 แนวทางปรับภาษี ปรับ VAT ขึ้นทีละขั้น ลดสิทธิประโยชน์ BOI เก็บภาษีทรัพย์สิน และปรับลดค่าลดหย่อนภาษีเพื่อความเป็นธรรมต่อรายได้ทุกกลุ่ม 

จากกรณีที่ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุก่อนหน้านี้ว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างศึกษาการปรับโครงสร้างภาษี โดยหนึ่งในนั้นคือการพิจารณาขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 7% หลังจากกระทรวงการคลังพบว่าของไทยยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 15-25% เพื่อเพิ่มรายได้เข้ากองกลาง นำไปช่วยเหลือกลุ่มรายได้น้อยผ่านมาตรการด้านสาธารณสุข การศึกษา และที่อยู่อาศัย

ล่าสุดเมื่อวันที่ (6 ธ.ค. 67) ดร. สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Somchai Jitsuchon ถึงข้อเสนอปรับรายละเอียดมาตรการภาษีจำนวน 4 ข้อว่า 

1. ภาษี VAT ควรขึ้น แต่ค่อยเป็นค่อยไป เช่นขึ้น 1% ก่อนแล้วหาจังหวะในอนาคตขึ้นทีละ 1% แต่ไม่ประกาศล่วงหน้า เพราะอาจทำให้เกิดการคาดการณ์เงินเฟ้อ (inflation expectation) ได้ แล้วไปจบที่ 10% ภายใน 5 ปี

2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ควรเป็น flat rate อย่างที่เสนอ แม้จะมีข้อดีบางข้อ เช่นคำนวณง่าย ทำให้คนอยากทำงานมีรายได้สูง ๆ โดยไม่ต้องกลัวอัตราภาษีสูงตามไปด้วย แต่ข้อเสียมากกว่าคือไม่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ
2.1 ควรพิจารณาปรับลดพวกค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ให้ประโยชน์กับคนรายได้สูง 
2.2 ถ้าจะใช้ flat rate ควรใช้กับเงินได้จากดอกเบี้ยและปันผลที่ปัจจุบันแยกคำนวณมากกว่า 

3. ภาษีเงินนิติบุคคล ถ้าจะลดเหลือ 15% ก็ควรยกเลิกสิทธิประโยชน์ BOI ไปด้วย จะได้แฟร์และดึงดูดการลงทุนอย่างทั่วถึงแทนที่จะเป็นบางอุตสาหกรรมที่ก็ไม่รู้ว่าให้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยเท่าไรกันแน่ ใช้มาตรการอื่นดึงดูดแทนดีกว่า เช่นพัฒนาทักษะแรงงานไทย ปรับเลิกกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น ป้องกันการเรียกใต้โต๊ะของ ขรก. สารพัดสี

4. สำคัญคืออย่าลืมเก็บภาษีบนฐานทรัพย์สิน เช่น capital gain, windfall tax ด้วยนะจ๊ะ (กินยาไรไปถึงลืมได้อ่ะ)

"ข้อเสนอเรื่องภาษีของ รมต. คลัง ในภาพรวมนั้นจำเป็นเพราะรายได้ภาษีไทยต่ำไปมาก แต่ในรายละเอียดต้องปรับอีกเยอะ ที่สำคัญเหมือนท่านจะลืมแหล่งรายได้ภาษีที่สำคัญและควรจัดเก็บเพิ่มขึ้นอย่างมากคือภาษีจากฐานทรัพย์สิน ไม่ทราบทำไมถึง 'ลืม' ได้นะครับ"

ทรัมป์โนมิกส์: เศรษฐกิจของโดนัลด์ ทรัมป์ที่กำลังจะกลับมาเขย่าโลก

ทรัมป์โนมิกส์ (Trumponomics) หมายถึงนโยบายเศรษฐกิจที่ดำเนินการในช่วงที่โดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ (ปี 2017–2021) ซึ่งเน้นไปที่การลดภาษี การลดกฎระเบียบ การคุ้มครองทางการค้า และนโยบาย “America First” โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการเติบโตภายในประเทศ ลดการขาดดุลการค้า และฟื้นฟูภาคการผลิตและการจ้างงานของสหรัฐฯ 

ในตอนนั้นเองการดำเนินนโยบายทรัมป์โนมิกส์เป็นกรอบนโยบายเศรษฐกิจที่สร้างความแตกแยก เพราะในมุมของผู้สนับสนุนต่างพากันชื่นชมที่นโยบายนี้ที่เน้นความสำคัญของผลประโยชน์ภายในประเทศ ความสามารถในการแข่งขันของบริษัท และการลดกฎระเบียบ ในขณะที่นักวิจารณ์ชี้ให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น หนี้ที่สูงขึ้น และความตึงเครียดทางการค้า ส่งผลกระทบระยะยาวต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันรวมไปถึงก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วโลกอีกด้วย

10 บริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก

นับตั้งแต่ต้นปี 2024 มาภาพรวมของมูลค่าบริษัทระดับโลกยังคงมีการสลับผลัดเปลี่ยนตำแหน่งผู้นำอย่างต่อเนื่อง แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ยังไม่มีบริษัทไหนสามารถแซงบริษัทเทคโนโลยีขึ้นมาเป็นผู้นำได้เลย แต่บริษัทผู้นำทั้ง 10 บริษัทนี้ไม่ได้เป็นเพียงผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกเท่านั้น แต่ยังสร้างแนวโน้มใหม่ ๆ สำหรับอนาคตด้วยการลงทุนใน AI, พลังงานสะอาด, และเทคโนโลยีที่ยั่งยืน 

ยิ่งในเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน บริษัทเทคโนโลยีครองตลาดถึง 7 ใน 10 อันดับแรก ยิ่งตอกย้ำถึงบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ NVIDIA และ Microsoft ที่เติบโตจากการลงทุนในปัญญาประดิษฐ์ ขณะที่ภาคพลังงานยังคงมีความสำคัญ โดย Saudi Aramco ยังคงเป็นผู้นำท่ามกลางกระแสพลังงานสะอาด ด้านบริษัทที่เน้นผู้บริโภคอย่าง Apple และ Amazon ยังคงเป็นตัวอย่างเด่นของการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับผู้ใช้งาน ทำให้พวกเขารักษาความได้เปรียบในตลาดโลกได้อย่างต่อเนื่อง

โดย 10 อันดับบริษัทในหลายอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดตั้งแต่ต้นปีประกอบไปด้วย 
1. NVIDIA - 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• NVIDIA เป็นผู้นำระดับโลกในด้านการผลิตหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วยมูลค่าตลาด 3.6 ล้านล้านดอลลาร์ ความต้องการเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงและ AI ที่เพิ่มขึ้นในหลากหลายอุตสาหกรรมทำให้บริษัทนี้ครองอันดับ 1 ได้อย่างต่อเนื่อง

2. Apple - 3.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Apple ยังคงเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก ด้วยมูลค่า 3.4 ล้านล้านดอลลาร์ ความสำเร็จของบริษัทมาจากผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น เช่น iPhone, Mac และ Apple Watch รวมถึงรายได้จากบริการต่าง ๆ เช่น Apple Music และ iCloud

3. Microsoft - 3.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Microsoft ยังคงเป็นผู้นำในด้านซอฟต์แวร์องค์กร, คลาวด์คอมพิวติ้ง และ AI ด้วยมูลค่า 3.1 ล้านล้านดอลลาร์ โดยผลิตภัณฑ์ Azure และการผสาน AI ใน Office 365 และ Teams เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเติบโต

4. Amazon - 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Amazon ครองอันดับ 4 ด้วยมูลค่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ ความสำเร็จมาจากอีคอมเมิร์ซและการเติบโตของ Amazon Web Services (AWS) ซึ่งเป็นผู้นำในบริการคลาวด์

5. Alphabet (Google) - 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Alphabet หรือบริษัทแม่ของ Google มีมูลค่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการครองตลาดโฆษณาออนไลน์ และการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ (Waymo) และ AI (DeepMind)

6. Saudi Aramco - 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Saudi Aramco เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของโลก ด้วยมูลค่า 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ แม้ว่าโลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด แต่ Aramco ยังคงเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก

7. Meta (Facebook) - 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Meta Platforms มีมูลค่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ โดยเน้นการขยายแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram และ WhatsApp รวมถึงการลงทุนในโลกเสมือน (Metaverse)

8. Tesla - 1.0 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Tesla กลับเข้าสู่กลุ่มบริษัทที่มีมูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์อีกครั้ง ด้วยการนำของ Elon Musk และความมั่นใจจากนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากความสัมพันธ์ของ Musk กับประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ได้รับเลือกตั้งใหม่

9. TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Company) - 1.0 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• TSMC เป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยมูลค่า 1.0 ล้านล้านดอลลาร์ บริษัทนี้มีความสำคัญต่อการผลิตชิปที่ใช้ใน AI และเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูง

10. Berkshire Hathaway - 999 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
• Berkshire Hathaway ซึ่งนำโดย Warren Buffett ปิดท้ายรายการด้วยมูลค่า 999 พันล้านดอลลาร์ บริษัทมีการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งในอุตสาหกรรมประกันภัย พลังงาน และการถือหุ้นในบริษัทชั้นนำ
และทั้งหมดนี้คือ 10 บริษัทผู้นำระดับโลกที่คอยสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับโลกเราค่ะ

5 ประเทศที่ลงทุนในไทยเยอะที่สุดใน 10 เดือนเเรกของปี 2567

(28 พ.ย. 67) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เผย 10 เดือน ปี ‘67 ต่างชาติลงทุนในไทย 161,169 ล้านบาท ญี่ปุ่นอันดับหนึ่ง 211 ราย เม็ดเงินลงทุน 91,700 ล้านบาท ส่วน 5 อันดับแรก มีประเทศใดบ้าง ไปส่องกันได้เลย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top