‘BRICS’ ได้กลายเป็นมหาอํานาจด้านน้ำมันอย่างเป็นทางการของโลกแล้ว ทำให้ตอนนี้ ‘ดอลลาร์สหรัฐ’ ต้องสะดุ้งสะเทือน เพราะว่าตําแหน่งของความเป็น reserve currency (สกุลเงินสำรอง) กําลังสั่นคลอน
ปัจจุบันประเทศที่ผลิตน้ำมันได้มากที่สุดในโลกก็คือ สหรัฐอเมริกา ผลิตได้ 20 เปอร์เซ็นต์ของโลก ส่วนในกลุ่มประเทศ G7 ก็มีแคนาดาผลิตได้ 6 เปอร์เซ็นต์ของโลก ทำให้ 2 ประเทศนี้รวมกัน 26 เปอร์เซ็นต์
ทางด้าน BRICS สมาชิกดั้งเดิม ได้แก่ รัสเซีย จีน บราซิล โดย 3 ประเทศนี้ผลิตรวมกันได้ 27 เปอร์เซ็นต์ และตอนนี้ได้รับสมาชิกเข้ามาใหม่ นําโดยซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิหร่าน แค่เฉพาะซาอุดีอาระเบีย ก็คือผลิตได้ 12 เปอร์เซ็นต์ อาหรับเอมิเรตส์ 4% อิหร่าน 4% รวมกันผลิตได้ 20 เปอร์เซ็นต์
ดังนั้นถ้า BRICS ดั้งเดิมรวมกับสมาชิกใหม่ จะผลิตน้ำมันได้ถึง 47 เปอร์เซ็นต์ของโลก เกือบครึ่งหนึ่งของโลก ทำให้ BRICS มีอํานาจในการตั้งราคา กําหนดปริมาณการผลิตน้ำมันทั้งหมด
ซึ่งสิ่งนี้สะเทือน reserve currency ของดอลลาร์สหรัฐ ยังไง?
เดิมทีสหรัฐฯ เคยมีข้อตกลงกับซาอุดีอาระเบีย เมื่อปี 1971 ว่าจะต้องขายน้ำมันให้สหรัฐอเมริกา และทั่วโลก โดยใช้เงิน ‘ดอลลาร์’ เท่านั้น โดยมีเงื่อนไขแลกเปลี่ยนกันว่า สหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือด้านการทหาร อาวุธ แปลว่าถ้าใครอยากจะได้น้ำมันก็จะต้องมีเงินดอลลาร์ไว้ในมือ
ซึ่งความต้องการที่แท้จริงของคน คือต้องการน้ำมัน ไม่ใช่ดอลลาร์ จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่คนจําเป็นจะต้องมีดอลลาร์เป็นสกุลเงินสํารองระหว่างประเทศ เหมือนดูจากแนวโน้มในช่วงนี้แล้ว เงินดอลลาร์สหรัฐฯ กำลังหมดความสำคัญลงเรื่อย ๆ
เหตุผลที่สนับสนุนเรื่องนี้คือ ปัจจุบันซาอุดีอาระเบีย ไม่ได้อยากจะพึ่งพาดอลลาร์แล้ว โดยเลือกทิ้งบอนด์ของสหรัฐฯ อย่างมีนัยสำคัญ และเริ่มทำมาแล้วตั้งแต่ปี 2020 หรือ 3 ปีมาแล้ว และที่สําคัญประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย ซื้อน้ำมันจาก UAE ด้วยเงินรูปี โดยซื้อมากถึง 1 ล้านบาร์เรล ส่วนจีนซื้อน้ำมันจากรัสเซียเป็นเงินหยวนอยู่แล้ว
และรายงานจากบลูมเบิร์กได้ระบุว่ายังมีอีก 24 ประเทศทั่วโลกที่อยากจะเข้าเป็นสมาชิกของ BRICS ซึ่งหนึ่งในนั้นมี ‘ประเทศไทย’ ด้วย