Friday, 26 April 2024
INFO & TOON

States TOON EP.141

หวนคืน!!

***สงวนลิขสิทธิ์ภาพดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียนแบบ ดัดแปลง หรือนำส่วนใดส่วนหนึ่งไปใช้ แต่อนุญาตให้นำไปเผยแพร่ต่อได้ ตามต้นฉบับนี้ โดยไม่ต้องขออนุญาต

ติดตามการ์ตูนสนุกๆ เพิ่มเติมได้ที่ : https://thestatestimes.com/tag/statestoon

 

เปิด 5 ความเป็นไปได้...ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น!! ชนวนชัด!! 'สหรัฐฯ' รบ 'รัสเซีย' ปีหน้า?

ในยุคนี้ ใครๆ ก็ว่ากันว่าเป็นการสู้รบบนสมรภูมิเศรษฐกิจที่ต้องใช้มันสมองเป็นอาวุธ การจะปาระเบิด ยิงถล่มใส่กันก็คงไม่มีแล้ว แต่ทว่า สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนก็เป็นคำตอบได้อย่างดีกว่า…สงคราม ยังสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ เมื่อเกิดความขัดแย้งที่ไม่อาจหาทางออกได้

วันนี้ THE STATES TIMES จะพาไปดู 5 ความเป็นไปได้...ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น!! ชนวนชี้ชัด ‘สหรัฐฯ’ สู้รบ ‘รัสเซีย’ ในปีหน้า…

ส่อง 4 มรดกโลก ใกล้รถไฟความเร็วสูงยิ่งกว่า 'อยุธยา' แต่!! ไม่เดือดร้อน ไม่ถูกถอดถอนจากลิสต์!!

ประเด็นความกังวลเรื่องการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เริ่มมีมากขึ้น หลังจากมีกลุ่มคนออกมาคัดค้านพร้อมแจงเหตุผลว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงนี้อยู่ใกล้กับอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับประกาศเป็นมรดกโลก เกรงว่าหากมีการก่อสร้างจะสั่นคลอนถึงตำแหน่งมรดกโลก แม้ตัวโครงการรถไฟความเร็วสูงและอุทยานฯ จะอยู่ห่างกันประมาณ 2 กิโลเมตรก็ตาม…

วันนี้ THE STATES TIMES ได้รวบรวม 4 สถานที่ในโลกที่ได้ขึ้นชื่อเป็น ‘มรดกโลก’ แต่ก็ยังมี ‘สถานีรถไฟ’ อยู่ใกล้ ๆ แถมยังไม่ถูกปลดออกจากตำแหน่งด้วย จะมีที่ไหนบ้าง ไปดูกัน…

เปิดตัวเลข 10 ปี ทหารเกณฑ์แห่งกองทัพไทย

รู้หรือไม่!! กองทัพไทย ในยุคลุงตู่ ปรับลดทหารเกณฑ์ลงทุกปี 

เปิดไทม์ไลน์ คณะรัฐมนตรี ‘เศรษฐา 1’ ทำงานเดือนแรก (ก.ย.)

คนไทยทั้งประเทศ เพิ่งได้ทราบชื่อและเห็นหน้าตา คณะรัฐมนตรี ‘เศรษฐา 1’ ทั้ง 34 คนไปแล้ว โดยในวันที่ 5 ก.ย. 66 จะเข้าพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน และเตรียมประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรกวันที่ 12 ก.ย.นี้
 

เปิดประวัติ-ผลงานเด่น!!

เปิดประวัติ-ผลงานเด่น!!

‘พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล’ สส.นครศรีธรรมราช เขต 10 สส. 4 สมัย ผู้มากประสบการณ์ในงานการเมืองระดับชาติและท้องถิ่น โดดเด่นจนมีโอกาสได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างเป็นระบบ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25

อีกทั้งยังเป็นผู้นำแนวคิด ‘วาระเมืองสิชล’ ที่สามารถระดมความคิด ความร่วมมือจากท้องถิ่นรอบด้าน มาแก้ไขปัญหาต่างๆ จนกลายเป็น ‘ขวัญใจคนคอนฯ’ 

และวันนี้ ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมา ก็ได้รับการยอมรับขึ้นแท่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม คนล่าสุดใน ‘ครม.เศรษฐา 1’

เปิดประวัติ-ผลงานเด่น!!

‘อนุชา นาคาศัย’ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สส.ชัยนาท เขต 1 อดีตเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ กรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

อีกทั้งยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการนำพาคนไทยรอดพ้นจากวิกฤตโควิด-19 และเป็นประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน จากการเสนอขายหรือขายสลากกินแบ่งรัฐบาลในราคาเกินกว่าที่กำหนดในสลากกินแบ่งรัฐบาล

และด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมา ก็ได้รับการยอมรับขึ้นแท่น สู่ว่าที่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใน ‘ครม.เศรษฐา ​1’

เปิดประวัติ-ผลงานเด่น!!

‘กฤษฎา จีนะวิจารณะ’ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง​ ผู้มากความสามารถและประสบการณ์ที่ครบครัน

และด้วยวันนี้ ก็ได้รับการยอมรับขึ้นแท่น สู่ว่าที่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ใน ‘ครม.เศรษฐา ​1’
 

เปิดประวัติ-ผลงานเด่น!!

‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้มากความสามารถและประสบการณ์จากรัฐบาลบิ๊กตู่ อีกทั้งยังเป็นเจ้าของผลงาน ชนะคดี ‘ค่าโง่ทางด่วน 6,200 ล้านบาท’ และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังบอร์ดบริหารแผนฟื้นฟู ‘การบินไทย’ ให้กลับมาผงาดอีกครั้ง

และวันนี้ ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมา ก็ได้รับการยอมรับขึ้นแท่น สู่ว่าที่ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ใน ‘ครม.เศรษฐา ​1’

เคาะแล้ว!! เปิดโผรายชื่อ ‘คณะรัฐมนตรีเศรษฐา ​1’ อย่างเป็นทางการ

เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 66 เว็บไซต์ราชกิจจา​นุเบกษา เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี​ ลงวันที่​ 2 กันยายน​ 2566​ ความว่า…

“พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง​ นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 22 สิงหาคม พุทธศักราช 2566 แล้ว นั้น

บัดนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบต่อไปแล้ว

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้”

- นายภูมิธรรม เวชยชัย​ พรรคเพื่อไทย เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

- นายสมศักดิ์ เทพสุทิน​ พรรคเพื่อไทย เป็นรองนายกรัฐมนตรี 

- นายปานปรีย์ พหิทธานุกร​ พรรคเพื่อไทย เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ​รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 

- นายอนุทิน ชาญวีรกูล​ พรรคภูมิใจไทย เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 

- พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ​ พรรคพลังประชารัฐ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

- นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค​ พรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน 

- นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด ​พรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 

- นายสุทิน คลังแสง​ พรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 

- นายเศรษฐา ทวีสิน พรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง 

- นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ พรรครวมไทยสร้างชาติ เป็น​รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 

- นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 

- นายจักรพงษ์ แสงมณี​ พรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 

- นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล​ พรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

- นายวราวุธ​ ศิลปอาชา พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 

- นางสาวศุภมาส อิศรภักดี พรรคภูมิใจไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 

- ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า​ พรรคพลังประชารัฐ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร​และสหกรณ์

- นายไชยา พรหมา ​พรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

- นายอนุชา นาคาศัย​ พรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

- นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ​ พรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 

- นางมนพร เจริญศรี​ พรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 

- นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ​ พรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 

- นายประเสริฐ จันทรรวงทอง​ พรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

- นายนภินทร ศรีสรรพางค์ พรรคภูมิใจไทย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์  

- นายเกรียง กัลป์ตินันท์ พรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 

- นายทรงศักดิ์ ทองศรี​ พรรคภูมิใจไทย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย  

- นายชาดา ไทยเศรษฐ์​ พรรคภูมิใจไทย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 

- พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง​ พรรคประชาชาติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 

- นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ พรรคภูมิใจไทย​ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

- นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช​ พรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 

- พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ​ พรรคภูมิใจไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 

- นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล​ พรรคภูมิใจไทย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 

- นายชลน่าน ศรีแก้ว ​พรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 

- นายสันติ พร้อมพัฒน์​ พรรคพลังประชารัฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข 

- นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล พรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 1 กันยายน พุทธศักราช 2566 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในราชกิจจานุเบกษา​ไม่มีรายชื่อ​ ของนายไผ่​ ลิกค์​ แต่อย่างใด​ แม้ว่าวานนี้ (1 ก.ย.) จะมีการลงพื้นที่ร่วมกับนายเศรษฐา​ ที่จังหวัดสมุทรคราม​ เพื่อรับฟังปัญหาการประมงผิดกฎหมาย​ อีกทั้งไม่มีชื่อนายพิชิต ชื่นบาน หลังจากที่เจ้าตัวประกาศไม่ขอรับตำแหน่งตั้งแต่เมื่อค่ำวันที่ 1 ก.ย. เช่นกัน

สรุปตลาดหุ้น ประจำวันที่ 1 ก.ย. 66

📌สรุปตลาดหุ้น ประจำวันที่ 1 ก.ย. 66

ย้อน 12 ผลงานเด่น ในยุค ‘รัฐบาล คสช.’

ภายหลังจาก ‘คณะรักษาความสงบแห่งชาติ’ หรือ คสช. อันมี ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ เป็นหัวหน้าคณะ ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ในระยะเวลาต่อเนื่องกว่า 5 ปีก่อนจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2562 รัฐบาล คสช. ได้บริหารประเทศภายใต้วิสัยทัศน์ที่มุ่งสร้างความ ‘มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน’ โดยพยายามดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ไม่มีพรรคฝ่ายค้านในสภา และสามารถออกคำสั่งตามมาตรา 44 ได้ ทำให้รัฐบาลสามารถผลักดันนโยบายต่าง ๆ ออกมาได้มาก 

วันนี้ THE STATES TIMES จะพาย้อนดู 12 ผลงานรัฐบาล คสช. ที่เป็นประโยชน์และเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว เช่น

1.จัดการปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และขาดการควบคุม (IUU) 
รัฐบาล คสช. สามารถแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วตามแรงกดดันของสหภาพยุโรป ทำให้ไทยสามารถส่งออกสินค้าประมงไปสหภาพยุโรปได้ต่อเนื่อง พร้อมทั้งแสดงความมุ่งมั่นในการป้องกันและแก้ปัญหาการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ ปรับปรุงภาพลักษณ์ภาคการประมงของไทยให้ดียิ่งขึ้น

2.ทวงคืนผืนป่าจากนายทุนได้ โดยในปี 2559 สามารถทวงคืนผืนป่าจากนายทุนได้ 1.4 แสนไร่ และถือเป็นพันธกิจที่ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรพื้นที่ทำกินให้แก่ประชาชนด้วย

3.ประกาศแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างครบวงจร ตั้งแต่เจ้าหนี้และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ โดยให้เจ้าหนี้ที่ปล่อยกู้นอกระบบจัดตั้งเป็นธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์)

4.ขจัดปัญหามาเฟีย ปราบปรามผู้มีอิทธิพลใช้อำนาจในทางผิดกฎหมาย กวาดล้างอาวุธสงคราม ปืน ระเบิด รวมถึงจับตาเครือข่ายและผู้ร่วมขบวนการทั้งหมด ไม่เว้นแม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง

5.ผลักดันระบบ ‘พร้อมเพย์’ เพื่อช่วยลดต้นทุนในการชำระเงินและโอนเงินของประชาชน และเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

6.เดินหน้าจัดระเบียบสังคม จัดการหาบเร่แผงลอยผิดกฎหมาย ร้านค้าริมถนน ขึ้นทะเบียนวินจักรยานยนต์ และจัดระเบียบแรงงานข้ามชาติ

7.แก้ปัญหาข้าวค้างสต็อกจากโครงการรับจำนำข้าว โดยใช้วิธีประมูลอย่างโปร่งใส ซึ่งช่วยลดภาระการขาดทุน และลดแรงกดดันราคาข้าวไทยให้อยู่ในระดับต่ำ

8.ปลดธงแดง ICAO ได้เป็นผลสำเร็จ ถอดชื่อประเทศไทยออกจากรายชื่อประเทศที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยด้านการบินพลเรือน

9.ประกาศปราบปรามการทุจริต-คอร์รัปชันในระบบราชการทุกระดับชั้น รัฐบาล คสช. รับโครงการสร้างมาตรฐานความโปร่งใสในระดับสากลอย่างน้อย 4 โครงการ มาใช้ในประเทศไทย  ซึ่งจะทำให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะและการตรวจสอบโดยประชาชน ได้แก่

- โครงการ ‘ข้อตกลงคุณธรรม’ (Integrity Pact) ซึ่งผลักดันโดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) โดยถูกบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างฯ และถูกนำไปใช้กับโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่ประมูลและทำสัญญา

-โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST)

-โครงการรัฐบาลโปร่งใส (Open Government Partnership)

-โครงการความโปร่งใสในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (EITI)

10.ออกมาตรการแก้ไขปัญหาความยากจน ช่วยเหลือทั้งการให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้

11.ลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์ ออก พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือแหลมฉบัง ส่งเสริมการพัฒนา และดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve industries)

12.สานสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เดินทางเยือนสหราชอาณาจักร พบ ‘เทเรซา เมย์’ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรในขณะนั้น 

สรุปตลาดหุ้น ประจำวันที่ 31 ส.ค. 66

📌สรุปตลาดหุ้น ประจำวันที่ 31 ส.ค. 66

States TOON EP.140

เดอะแบก!!

***สงวนลิขสิทธิ์ภาพดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียนแบบ ดัดแปลง หรือนำส่วนใดส่วนหนึ่งไปใช้ แต่อนุญาตให้นำไปเผยแพร่ต่อได้ ตามต้นฉบับนี้ โดยไม่ต้องขออนุญาต

ติดตามการ์ตูนสนุกๆ เพิ่มเติมได้ที่ : https://thestatestimes.com/tag/statestoon

9 เรื่องดีๆ เกิดได้!! ภายใต้ 9 ปี 'รัฐบาลพลเอกประยุทธ์'

ตลอดระยะเวลา 9 ปี ที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย เป็นช่วงเวลา 9 ปีที่ได้ทำงานเพื่อปกป้องแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอน เป็น 9 ปีที่ได้ใช้สติปัญญา ทุ่มเททุกศักยภาพและกำลังความสามารถ สานพลังจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน รวมทั้งเชิดชูสถาบันอันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย และเป็น 9 ปีของประเทศไทยที่ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด มีความเจริญก้าวหน้าในหลายด้านทัดเทียมนานาอารยประเทศ และพร้อมยกระดับไปสู่ประเทศชั้นนำของโลก ในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยเหตุผลสำคัญได้แก่

1. เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมี ‘ยุทธศาสตร์ชาติ’ ระยะยาว 20 ปี เพื่อเป็นเข็มทิศนำทางและกรอบแนวคิดในการพัฒนาประเทศในทุกมิติ ให้เกิดความต่อเนื่อง เป็นเป้าหมายให้ทุกภาคส่วนได้ทำงานร่วมกัน ขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกระดับ 

2. มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมครั้งยิ่งใหญ่ ในทุกระบบ ทั้งทางถนน ทางราง ทางทะเล และทางอากาศ รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต ยกบทบาทของประเทศจากความโดดเด่นทางภูมิรัฐศาสตร์ ให้เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ ด้านการบิน ด้านการขนส่งสินค้า ด้านการท่องเที่ยว ฯลฯ

3. มีความพร้อมเรื่อง ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ และ ‘เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม’ โดยมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล และ 5G ที่โดดเด่นในภูมิภาค เป็นที่ดึงดูดการลงทุนบริษัทชั้นนำของโลกหลายราย ซึ่งจะส่งเสริมบทบาทให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้าน 5G - Data center - Cloud services ที่สำคัญในภูมิภาค มีการใช้ประโยชน์ของประชาชนในชีวิตประจำวัน การศึกษาหาความรู้ การประกอบอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของตนและสร้างรายได้ที่สูงขึ้นของคนทุกกลุ่ม ทุกสาขาอาชีพ  

4. มีการกำหนด 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต รวมทั้งมีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตส่งเสริมเศรษฐกิจเพื่อกิจการพิเศษ ทั้งด้านการแพทย์ ด้านนวัตกรรม ด้านดิจิทัล เป็นต้น ที่เป็นแหล่งบ่มเพาะแรงงานทักษะสูง-แรงงานแห่งอนาคต รวมถึงเกษตรอัจฉริยะ เพื่อตอบสนองตลาดแรงงานในอนาคต และการพัฒนาประเทศในศตวรรษที่ 21

5. สร้างกลไกในการบริการจัดการทรัพยากรที่สำคัญของชาติ ได้แก่ ‘น้ำ’ ออกกฎหมายน้ำฉบับแรกของประเทศ มีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) บูรณาการหน่วยงานน้ำในทุกระดับ ‘ดิน’ ตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) และจัดทำแผนที่ One Map เพื่อแก้ปัญหาที่ดินทับซ้อนมาหลายสิบปี รวมทั้งจัดสรรที่ดินทำกินให้กับผู้ยากไร้-เกษตรกร ‘ป่า’ ออกกฎหมายป่าชุมชน ไม้มีค่า และตลาดคาร์บอนเครดิต เพื่อส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศ

6. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น ส่งเสริมสวัสดิการกลุ่มเปราะบางทั้งเด็ก-ผู้สูงอายุ-ผู้พิการ ส่งเสริมบทบาทกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กองทุนยุติธรรม และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการยกระดับศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ด้วยการศึกษา รองรับความท้าทายใหม่ๆ ของโลกในอนาคต

7. ปฏิรูปกฎหมายไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน อำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และดึงดูดการลงทุนเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ รวมทั้งแก้ไขและบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถแก้ไขวิกฤตชาติได้ในหลายเรื่อง เช่น ปลดธงแดง ICAO และแก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย IUU สร้างความเชื่อมั่นประเทศไทยในเวทีโลก 

8. ประยุกต์เทคโนโลยีที่ทันสมัยในระบบราชการไทย เพื่อยกระดับการให้บริการแก่ประชาชนและเอกชน ที่เข้าถึงง่าย - สะดวก - โปร่งใส เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ช่วยให้การจ่ายเงินช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางตรงเป้าหมาย เต็มเม็ดเต็มหน่วย ตรวจสอบได้ และ UCEP สายด่วน 1669 บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ฟรีทุกสิทธิ์ ทุกโรงพยาบาล เป็นต้น

9. สร้างความสัมพันธ์ทั่วโลก ทั้งในรูปแบบทวิภาคี-พหุภาคี และเขตการค้าเสรี (FTA) รวมทั้งรื้อฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย เพื่อขยายความร่วมมือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และตลาดการค้าระหว่างกัน 

ทั้งนี้ การเดินทางของประเทศไทยในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้ราบรื่น หรือง่ายดาย ยังคงมีวิกฤตโควิด วิกฤตความขัดแย้งในโลก ที่ส่งผลกระทบด้านราคาพลังงาน ค่าครองชีพ และเงินเฟ้อจนถึงในปัจจุบัน แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทย ช่วยให้เราฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ และฟื้นตัวมาได้ ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่ยังคงผันผวน

ต้องขอบคุณพี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคน เพื่อนข้าราชการ และทุกภาคส่วน ที่ได้เสียสละและอดทนในทุกสถานการณ์ที่ผ่านมา เพื่อให้ส่วนรวม สังคม และประเทศชาติ กลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง ทั้งนี้ประเทศไทยนับจากวันนี้เป็นต้นไป จะไม่ได้เริ่มนับที่ 1 อีกต่อไป หากทุกอย่างที่พลเอกประยุทธ์ ได้สร้างมานั้นได้รับการต่อยอด ก็จะทำให้ประเทศไทยเดินทางเข้าสู่ ‘เส้นชัย’ ได้เร็ววันยิ่งขึ้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top