Monday, 24 March 2025
INFO & TOON

💜3 ภารกิจ รมต.ขิง เดินหน้าทำทันที ก้าวสู่ยุค ‘ปฏิรูปอุตสาหกรรม’

วันแรกในกระทรวงอุตสาหกรรมของรัฐมนตรีหน้าใหม่อย่าง ‘ขิง เอกนัฏ พร้อมพันธุ์’ ได้ประกาศเป้าหมายของการนั่งเก้าอี้นี้อย่างชัดเจนว่าจะเข้าสู่ยุค ‘ปฏิรูปอุตสาหกรรม’ (Industry Reform) 

โดยการเข้าสู่ยุคปฏิรูปอุตสาหกรรม ‘ขิง เอกนัฏ’ จะได้ใช้ 3 ยุทธศาสตร์ย่อย มุ่งเน้นแก้ Pain Point ของอุตสาหกรรมไทย ได้แก่ 

1. จัดการกากอุตสาหกรรมตกค้างทั้งระบบอย่างเข้มงวด

2. ปกป้องอุตสาหกรรมไทยจากการทุ่มตลาด: ช่วยผู้ประกอบการรายย่อย ที่รับผลกระทบจากการทะลักเข้าของสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน และยกระดับขีดความสามารถSMEไทย

3. สร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต สร้าง new S-Curve กับประเทศผ่านหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ สินค้าเกษตรเทคโนโลยีสูง พลาสติกชีวภาพ โอลีโอเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง ยานยนต์ EV เซมิคอนดักเตอร์ อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ

นอกจากเป็นการแก้ Pain Point ของอุตสาหกรรมไทยแล้ว ยังเป็นการปรับให้องค์กรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกและของไทย ไม่ว่าจะเป็น SDG, การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอีกด้วย 

📌เปลี่ยน ปรับ เปิด ในกฎหมายปฏิรูปโครงสร้างราคาพลังงาน ฉบับ 'พีระพันธุ์'

🔴เปลี่ยน ให้ราคาน้ำมันปรับได้เพียงเดือนละ 1 ครั้ง 

🔴ปรับ จากราคาน้ำมันที่อิงตลาดต่างประเทศเป็นระบบ Cost Plus แทนการอ้างอิงราคาน้ำมันต่างประเทศ 

🔴เปิด โอกาสให้ผู้ประกอบการขนส่ง ผู้ให้บริการสาธารณะกุศล รวมไปถึงสหกรณ์การเกษตร การประมง สามารถจัดหาน้ำมันมาใช้ได้เอง 

🔍เช็กผลงาน ‘กระทรวงพาณิชย์’ ในรอบ 1 ปี มุ่ง ‘เพิ่มรายได้ - ลดรายจ่าย - สร้างโอกาส’ แก่ ‘เกษตรกร-ผู้ประกอบการไทย’ แก่ ‘ประชาชน-เกษตรกร-ผู้ประกอบการไทย’

1 ปี บนเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของ ‘นายภูมิธรรม เวชยชัย’ ก่อนจะลุกไปครองเก้าอี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายภูมิธรรม ได้สร้างภาพจำไว้ให้คนไทยไม่น้อย โดยได้กำหนดนโยบายในการทำงานกับกระทรวงพาณิชย์ไว้ 7 ด้าน ได้แก่ 

1.ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส 
2.บริหารให้เกิดความสมดุลระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร ผู้ประกอบการ 
3.ทำงานเชิงรุกระหว่างพาณิชย์จังหวัดและทูตพาณิชย์ 
4.แก้ไขข้อจำกัดของกฎหมายหรือปรับปรุงกฎหมายที่เก่าล้าสมัย 
5.ร่วมขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัล วอลเล็ต 
6.เร่งผลักดันส่งออกจากติดลบให้เป็นบวก 
7.ผลักดันการใช้ประโยชน์จาก FTA 

ซึ่งปรากฏผลการทำงานประสบความสำเร็จในทุกด้าน สามารถดูแลตั้งแต่เกษตรกร ที่เป็นคนฐานรากของประเทศ ดูแลประชาชนผู้บริโภคให้มีภาระค่าครองชีพลดลง และดูแลผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SME ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยเพิ่มรายได้

นอกจากนี้ ยังได้ตั้งคณะอนุกรรมการ ‘ทีมพาณิชย์’ เพื่อบูรณาการการทำงานของกระทรวงพาณิชย์ 9 คณะ ได้แก่ 

1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรเพื่อการพาณิชย์ 
2.ส่งเสริมและยกระดับ SMEs ไทย 
3.ส่งเสริมและขับเคลื่อนการค้าและเศรษฐกิจเชิงรุกไทย-จีน-อาเซียน 
4.ขับเคลื่อนการทำงานเพื่อบูรณาการตามยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์  
5.ขับเคลื่อนนโยบายโลจิสติกส์ทางการค้า 
6.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Big data และอินฟลูเอนเซอร์เพื่อการค้า 
7.พัฒนากฎหมายกระทรวงพาณิชย์ 
8.พัฒนาการค้าตามระเบียบการค้าโลกใหม่ 
9.สร้างการรับรู้และภาพลักษณ์กระทรวงพาณิชย์ 

นอกจากนี้ยังเน้นการทำงานเชิงรุก โดยพาณิชย์จังหวัดและทูตพาณิชย์ต้องรู้จักสินค้า เข้าใจความต้องการตลาด เข้าถึงช่องทางการค้ายุคใหม่ บริหารจัดการประโยชน์ของทุกกลุ่มทุกภาคส่วนให้มีความสมดุล ทั้งเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลาง รายใหญ่ และ ผู้บริโภค 

สำหรับนโยบายเพิ่มรายได้ สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้นเกือบ 2 แสนล้านบาท จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพืชผลทางการเกษตร โดยพืชหลัก ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มัน ปาล์ม ยางพารา ช่วยเหลือเกษตรกรเกือบ 8 ล้านครัวเรือน ดูแลปริมาณผลผลิตเกือบ 90 ล้านตัน สร้างสถิติราคาซื้อขายข้าวเปลือกเจ้าได้สูงสุดในรอบ 20 ปี พืชรอง ได้แก่ ผลไม้ พืช 3 หัว และผัก ช่วยเหลือเกษตรกรเกือบ 1.5 ล้านครัวเรือน ดูแลปริมาณผลผลิตกว่า 8 ล้านตัน สร้างสถิติราคาซื้อขายสับปะรด กระเทียม หอมแดง สูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ 

ขณะเดียวกัน ยังช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ผู้ประกอบการชุมชน และ SME โดยผลักดันการค้า E-Commerce ทั้งในและต่างประเทศ เกิดมูลค่าการซื้อขาย 2,347.70 ล้านบาท อาทิ ทำ MOU กับ Rakuten ญี่ปุ่น เพื่อจำหน่ายสินค้าไทย ร่วมมือกับ Amazon ขายออนไลน์ นำสินค้าไทยขายบน Shopee มียอดขาย 71.44 ล้านบาท เชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับตลาดต้องชม 251 แห่ง เพิ่มรายได้ 1,987 ล้านบาท พัฒนาหมู่บ้านทำมาค้าขาย เพิ่มรายได้ 185 ล้านบาท ผลักดันเพิ่มมูลค่าสินค้า GI สร้างรายได้ 71,000 ล้านบาทต่อปี ใช้ร้านอาหาร Thai SELECT ในต่างประเทศเป็นโชว์รูม เพื่อเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการและผลักดัน Soft Power ทั้งอาหาร ดนตรี เชื่อมโยงร้านอาหาร Thai SELECT กับการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้ และเพิ่มรายได้ให้ร้านธงฟ้า จัดไปรษณีย์@ธงฟ้า อำนวยความสะดวกผู้ค้าออนไลน์ และประชาชน ให้บริการ Drop Off ให้บริการรับพัสดุแล้วกว่า 1 แสนชิ้น 

จัดกิจกรรมฟื้นฟูเศรษฐกิจ ผ่านการจัดตลาดพาณิชย์ทั่วประเทศ โดยประสานพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการรายเล็ก ในช่วง 1 ส.ค.-30 ส.ค. จำนวน 318 ครั้ง มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 4,683 ราย สร้างรายได้ 373 ล้านบาท ตั้งเป้าจัดตลาดพาณิชย์ 935 ครั้ง ในช่วง ส.ค.-พ.ย.67 คาดว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้เป็นจำนวนมาก และยังเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า อาทิ HoReCa 2024, THAIFEX - Anuga Asia 2024 และ STYLE Bangkok 2024 สร้างมูลค่าซื้อขายกว่า 1 แสนล้านบาท จัด Thailand SME Synergy Expo 2024 สร้างมูลค่าการค้ากว่า 200 ล้านบาท 

ส่วนนโยบายลดรายจ่าย ได้จัดโครงการ ‘พาณิชย์สั่งลุย...ลดราคา’ ลดราคาสินค้าจำเป็น ช่วงเทศกาลสำคัญ ปีใหม่ ตรุษจีน กินเจ ก่อนเปิดภาคเรียน ลดสูงสุด 60-85% รวม 8 กิจกรรม ลดค่าครองชีพได้ 8,060 ล้านบาท และกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 13,400 ล้านบาท จัด ‘โครงการธงฟ้าราคาประหยัด ลดค่าครองชีพประชาชน’ จำหน่ายสินค้าจำเป็นราคาต่ำกว่าท้องตลาด 20-40% รวม 1,134 ครั้ง ลดค่าครองชีพ 130 ล้านบาท 

จัดจำหน่ายสินค้าผ่านรถโมบายในแหล่งชุมชน 450 จุด ลดค่าครองชีพ 122.09 ล้านบาท จัดโครงการร้านอาหารธงฟ้า มีจำนวน 5,607 ร้าน ลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชนประมาณวันละ 2.63 ล้านบาท หรือ 960 ล้านบาท จัดพาณิชย์สั่งลุยราคาปุ๋ย ลดต้นทุนให้เกษตรกร 102 ล้านบาท ลดต้นทุนให้ร้านค้า ผู้ประกอบการ 14,000 ราย มูลค่า 53 ล้านบาท ด้วยการงดจัดเก็บค่าเช่าพื้นที่ในกระทรวง และขอความร่วมมือตลาดในสังกัด กทม.ไม่เก็บด้วย งดการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการใช้เพลงที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ฟรี 3 เดือน ตั้งแต่ ธ.ค.66-มี.ค.67 และมอบส่วนลดค่าลิขสิทธิ์เพลง 50–55% ต่อเนื่องอีก 1 ปี ลดต้นทุนผู้ประกอบการ SME ที่ใช้งานเพลง 400,000 ราย มูลค่า 3,300 ล้านบาท และขอฝากกรมการค้ารวบรวมร้านค้า เพื่อเข้าสู่โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 

สำหรับการขยายโอกาสทางการค้า ได้เดินหน้าเจาะตลาดหลัก โดยจีน นำเข้าผู้ประกอบการเข้าร่วมงาน CAEXPO สหรัฐฯ นำเอกชนลงนาม MOU ซื้อขายข้าวและอาหาร ญี่ปุ่น ผลักดันอาหาร ผลไม้ ผ้าไทย ซีรีส์วายในงาน Thai Festival Tokyo ฝรั่งเศส นำเอกชนเข้าร่วมงาน Cannes Film Festival 2024 คาดมูลค่าเจรจาการค้ากว่า 11,000 ล้านบาท ใช้แคมเปญ Think Thailand Next Leve ในการบุกตลาดอินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ ซาอุดีอาระเบีย และแอฟริกาใต้ รวมทั้งผลักดันการค้าชายแดน และแก้ไขอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะการเจรจาเปิดด่าน เพื่อรองรับฤดูกาลผลไม้ไทย 

การลงนาม FTA ไทย-ศรีลังกา ผลักดันการเจรจา FTA ไทย-EFTA ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2567 เปิดเจรจา FTA ใหม่ อาทิ ไทย-เกาหลีใต้ ไทย-ภูฏาน และไทย-บังกลาเทศ การรุกตลาดเมืองรอง โดยต่อยอด MOU ที่ลงนามไปแล้ว สร้างมูลค่าการค้ากว่า 5,500 ล้านบาท อาทิ ความร่วมมือกับมณฑลกานซู่ ปูซาน โคฟุ โดยนายภูมิธรรม ได้ฝากให้ รมช.พาณิชย์ทั้งสองท่าน และปลัดกระทรวงพาณิชย์ สานงานต่อด้วย 

และยังได้เพิ่มโอกาสทางการค้าผ่านกลยุทธ์ตลาดแนวใหม่ โดยใช้ซีรีส์วาย ซีรีส์ยูริ ดึงมาย-อาโป ฟรีน-เบ็คกี้ ยกระดับสินค้าชุมชน อาทิ สมุนไพร สุราชุมชน ขนมขบเคี้ยว Tie-in เข้าสู่ตลาดโลกผ่านซีรีส์ และนำเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่ฮ่องกง เวียดนาม ฝรั่งเศส เกิดการจับคู่ธุรกิจ 756 คู่ มูลค่า 4,102 ล้านบาท ใช้เครือข่าย KOL จีนไลฟ์สดขายสินค้าและบริการไทย เพื่อสร้างรายได้ให้คนตัวเล็ก กำหนดจัดวันที่ 25-29 ก.ย.67 คาดการณ์มูลค่า 1,500 ล้านบาท 

และได้จัดทำ MOU กับ Sinopec นำสินค้าไทยจำหน่ายใน Easy Joy ร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมัน คาดการณ์มูลค่า 1,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปี การเจรจาธุรกิจออนไลน์ (OBM) เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ฮาลาล สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น คาดการณ์มูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท และยังทำงานเชิงรุกทูตพาณิชย์และพาณิชย์จังหวัด ขายกล้วยหอมเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น ขายลำไยเข้าสู่ตลาดจีน ขายมังคุดไปจีนและญี่ปุ่น และเปิดตลาดผ้าไทยในญี่ปุ่น เป็นต้น รวมไปถึงการช่วยสร้างโอกาสทางการค้า จากการใช้ประโยชน์จาก Big Data คิดค้า.com เพื่อให้เกษตรกร ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ มีสินค้าเกษตร 13 ชนิด เศรษฐกิจการค้ารายจังหวัด และเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น มีผู้ใช้งานกว่า 220,000 คน เฉลี่ย 22,000 คนต่อเดือน

🔎ส่อง 10 ประเทศสุดมั่งคั่งและมีความสุขมากที่สุดในโลก

ความสัมพันธ์ระหว่างความมั่งคั่งและความสุขเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญกันมาโดยตลอด แต่ทั้งสองอย่างนี้มันสัมพันธ์กันจริง ๆ ใช่ไหม วันนี้จะพาไปดูผลสำรวจกันค่ะ     

จากผลการสำรวจ World Happiness Report ซึ่งเป็นผลการสำรวจการเก็บข้อมูลจาก 150 ประเทศทั่วโลก ได้มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความมั่งคั่งและความสุขในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งวัดระดับความสุขของคนในแต่ละประเทศ จริงอยู่ที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในแต่ละคนแตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมสิ่งที่ส่งผลต่อความสุขของมนุษย์เราก็คงหนีไม่พ้น ครอบครัว ความรัก เป้าหมายในชีวิต และความมั่งคั่ง

ซึ่งจากผลสำรวจของ Credit Suisse ชี้ให้เราเห็นว่าแม้ผลการสำรวจจะชี้ไปในทางที่ประเทศที่ร่ำรวยมักจะมีความสุขสูงกว่าประเทศที่ยากจน แต่มันก็มีข้อยกเว้นในหลายประเทศ อย่างเช่นประเทศในละตินอเมริกาที่แม้จะมีความมั่งคั่งต่ำ แต่ก็กลับมีระดับความสุขสูง และในขณะที่ประเทศที่ร่ำรวยบางประเทศอย่างเช่น ฮ่องกง กลับเป็นประเทศที่มีความสุขต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากฮ่องกงเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยความไม่เท่าเทียมและความไม่มั่นคง

และสำหรับ ‘ประเทศไทย’ ของเรานั้นอยู่อันดับที่ 62 จาก 150 ประเทศ มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรวัยทำงานที่ 8,036 เหรียญสหรัฐ และระดับความสุขอยู่ที่ 5.9

ส่อง 15 เขตเศรษฐกิจที่มี อัตราความรวยพุ่งสูงที่สุด ระหว่างปี 2010-2023

นี่คือ 15 เขตเศรษฐกิจที่มีอัตราความรวยพุ่งมากที่สุด ระหว่างปี 2010-2023

🔍ส่อง 10 เมืองที่เหมาะสมกับ ‘นักเรียน-นักศึกษา’ มากที่สุดในโลก

‘QS Best Student Cities 2025’ เปิดเผยผลสำรวจ เมืองที่เหมาะสมกับ ‘นักเรียน-นักศึกษา’ มากที่สุดในโลก โดยวัดจาก ราคาที่เข้าถึงได้, ความสามารถทางวิชาการ, โอกาสในการถูกจ้างงาน, ความพึงพอใจของผู้เรียน และความหลากหลายของเมือง

ซึ่ง ‘ลอนดอน’ ประเทศอังกฤษ ติดอันดับที่ 1 ตามมาด้วย ‘โตเกียว’ ประเทศญี่ปุ่น ส่วน ‘กรุงเทพฯ’ ประเทศไทย อยู่ในลำดับที่ 59 ของโลก

🔍ส่อง 11 DeepTech Start-Up ภาคอุตสาหกรรม

👀THE STATES TIMES ชวนส่อง 11 ดีพเทคสตาร์ตอัปจากโครงการ ‘ส่งเสริมสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกสู่การขยายตลาด หรือ FTI DeepTech Startup Connext 2024’ ซึ่งจัดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 โดยในปีแรกสตาร์ตอัปที่เข้าร่วมโครงการสามารถสร้างรายได้รวมมากกว่า 300 ล้านบาท จะมี DeepTech อะไรบ้าง ไปดูกัน!!

🔎ส่อง 10 รัฐมนตรี ‘ครม.อุ๊งอิ๊ง 1’ คนรุ่นใหม่ (ไม่เกิน 55 ปี)

📝เช็กรายชื่อ ครม. อุ๊งอิ๊ง 1 และรมต.คนรุ่นใหม่✨

‘ราชกิจจานุเบกษา’ เผยแพร่ ‘พระบรมราชโองการ’ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร

>>โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
1. นายภูมิธรรม เวชยชัย เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
2. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
3. นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

5. นายพิชัย ชุณหวชิร เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
6. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
7. นายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
✨8. นางสาวจิราพร สินธุไพร เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี 

9. พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
10.นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
✨11. นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
12. นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

✨13. นายสรวงศ์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
14. นายวราวุธ ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
15. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
16. นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

17. นายอิทธิ ศิริลัทธยากร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
✨18. นายอัครา พรหมเผ่า เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
19. นางมนพร เจริญศรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
20. นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

21. นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
22. นายพิชัย นริพทะพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
23. นายนภินทร ศรีสรรพางค์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
24. นายสุชาติ ชมกลิ่น เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

25. นายทรงศักดิ์ ทองศรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
✨26. นางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
✨27. นางสาวธีรรัตน์ สําเร็จวาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
28. พันตํารวจเอก ทวี สอดส่อง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

29. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
✨30. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
31. พลตํารวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
✨32. นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

33. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
34. นายเดชอิศม์ ขาวทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
✨35. นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะนำคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ เข้าเฝ้าถวายสัตย์ฯ คาดการณ์ว่าเป็นวันที่ 6 กันยายน 2567 เวลา 17.00 น.

🔎ส่อง 10 อันดับประเทศที่มี ‘ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี’ มากที่สุดในโลก

THE STATES TIMES ชวนดู!! ประเทศที่มี ‘ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี’ มากที่สุดในโลก ในส่วน ‘ประเทศไทย’ ของเรา อยู่ในอันที่ 32 ของโลก และเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากสิงคโปร์ ตามมาด้วย มาเลเซีย อันดับ 33, เวียดนาม อันดับ 35 และฟิลิปปินส์ อันดับ 40

สำรวจ 10 ประเทศที่ปริมาณทองคำเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในโลก (ตั้งเเต่ปี 2013-2024)

(3 ก.ย. 67) คงไม่มีใครปฏิเสธว่าสินทรัพย์ที่มีมูลค่าในตัวเองเเละมูลค่านั้นไม่มีวันลดน้อยลง แถมยังถือเป็น Safe Haven หรือหลุมหลบภัยเวลาสถานการณ์โลกไม่ปลอดภัย คงหนีไม่พ้นสินทรัพย์อย่าง ‘ทองคำ’

นอกจากทองคำจะเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งเเล้ว ในโลกการเงินทองคำยังถูกนำเอามาใช้เป็นตัวที่รับรองความน่าเชื่อถือของสกุลเงิน และรักษาเสถียรภาพทางการเงิน เพราะในการจะพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้ ธนาคารกลางจำเป็นต้องเอาทองคำมาเป็นทุนสำรองของประเทศเพื่อสนับสนุนค่าเงิน รวมถึงยังสามารถใช้ทองคำในการชำระเงินระหว่างประเทศหรือชดเชยการขาดดุลทางการค้ากับประเทศอื่น ๆ อีกด้วย 

และตั้งเเต่ปี 2007-2008 ที่เกิดวิกฤติการเงินโลกก็ทำให้หลายประเทศหันมาเพิ่มสัดส่วนการถือครองทองคำกันเพิ่มมากขึ้นค่ะ โดยหลังจากวิกฤติทางการเงินกลุ่มประเทศเกิดใหม่เป็นกลุ่มที่มีการเข้ามาไปซื้อทองคำเพื่อนำมาใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นสูงสุดค่ะ 

ทางธนาคารกลางของสหรัฐฯ สาขาเซนต์หลุยส์และธนาคารโลกจึงได้มีการรวบรวมข้อมูลการใช้ทองคำเป็นทุนสำรองของประเทศ และทางสภาทองคำโลกเองก็ได้รวบรวมเหล่าบรรดาประเทศที่มีการนำเข้าทองคำมาเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศเยอะที่สุดตั้งแต่ปี 2013-2024 โดย ‘รัสเซีย’ มีการนำเข้าทองคำมาเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุด รองลงมาคือ ‘จีน’

อย่างไรก็ตาม ประเทศที่ยังคงเป็นอันดับ 1 ในการถือครองทองคำมากที่สุดในโลกก็คือ ‘สหรัฐอเมริกา’ ถึงเเม้ว่าตั้งแต่ปี 2013-2024 สหรัฐฯ จะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณทองคำเยอะเท่ากับประเทศอื่น ๆ แต่สหรัฐฯ เองก็ยังคงเป็นประเทศที่ครองแชมป์อันดับ 1 มาอย่างยาวนาน โดยสหรัฐฯ เองมีทองคำเป็นทุนสำรองของประเทศ 8,133.5 ตัน และคิดเป็น 72.4% ของทุนสำรองของประเทศ ตามมาด้วยประเทศอย่าง ‘เยอรมนี’ ที่มีทองคำประมาณ 3,351.5 ตัน คิดเป็น 71.5% ของทุนสำรองระหว่างประเทศ และ ‘อิตาลี’ ที่มีทองคำประมาณ 2,451.8 ตัน คิดเป็น 68.3% ของทุนสำรองระหว่างประเทศ

🔎ส่องความมั่งคั่ง 11 รายชื่อ ‘เศรษฐีไทย’

นิตยสารฟอร์บส์ (Forbes) เผยแพร่อันดับมหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2024 ระบุว่า ‘เฉลิม อยู่วิทยา’ ขยับขึ้นสู่อันดับ 1 หลังจากที่ธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังมียอดขายมากกว่า 12,000 ล้านกระป๋องทั่วโลก ทำให้มหาเศรษฐีกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ ที่รู้จักกันดีในนาม ‘เจ้าสัวซีพี’ ที่ครองอันดับ 1 มายาวนานเกือบทศวรรษ หล่นลงมาอยู่อันดับ 2

ส่วน 11 รายชื่อ ‘เศรษฐีไทย’ ประจำปี 2024 จะมีใครบ้าง ไปดูกัน!!

🔍10 อันดับเมืองที่มี ‘คนไร้บ้าน’ มากที่สุดในโลก

‘คนไร้บ้าน’ หมายถึง คนที่ไร้ที่อยู่ หรือผู้ที่ไม่สามารถหาที่อยู่เป็นของตัวเองได้ ซึ่งสาเหตุอาจจะมาจากหลายปัจจัย เช่น การถูกทอดทิ้ง การหนีออกจากบ้าน การไร้ที่พึ่ง ความยากจน โดยส่วนใหญ่คนเหล่านี้จะอาศัยอยู่ตามท้องถนน หรือแหล่งเสื่อมโทรมในย่านอุตสาหกรรม และแน่นอนว่า ‘คนไร้บ้าน’ จะไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่งและไม่มีรายได้ที่แน่นอนนั่นเอง

ปัญหา ‘คนไร้บ้าน’ เกิดขึ้นทุกประเทศทั่วโลก แตกต่างกันที่จำนวนคนไร้บ้าน ซึ่งจากผลสำรวจ Annual Homelessness Assessment Report (AHAR) เมื่อปี 2023 ชี้ให้เห็นว่า กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมืองในฝันของใครหลาย ๆ คน มีจำนวนคนไร้บ้านมากถึง 333,000 คน มากเป็นอันดับ 1 ของโลก

🔎ส่องประเทศที่มี ‘นักท่องเที่ยว’ เดินทางไปเยอะที่สุด ในปี 2023

จากผลสำรวจของ The World Tourism rankings  by the United Nations World Tourism Organization ระบุว่าในปี 2023 ‘ประเทศไทย’ ทำรายได้จากการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติรวม 1.2 ล้านล้านบาท มีรายได้รวมจากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท โดยมีนักท่องเที่ยวลำดับ 1 มาจากมาเลเซีย 4.5 ล้านคน

ส่วนประเทศที่โกยนักท่องเที่ยวต่างชาติได้มากที่สุดในปี 2023 ได้แก่ ‘ฝรั่งเศส’ โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางไปเที่ยวมากถึง 100 ล้านคน

🔎เปิด 10 อันดับ ‘เมืองอัจฉริยะ’ ในเอเชีย 2024

‘เมืองอัจฉริยะ’ หมายถึง เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนา ‘เมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย’ ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข อย่างยั่งยืน 

THE STATES TIMES ได้รวบรวม 10 เมืองอัจฉริยะ ในเอเชีย ประจำปี 2024 มาไว้ให้แล้ว จะมีเมืองไหนบ้าง ไปดูกัน!!

ส่อง 10 ประเทศที่มีการเติบโตของ GDP มากที่สุดในปี 2024

ปี 2024 เป็นปีที่โลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อัตราการเติบโตของ GDP ในบางประเทศสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของ IMF ได้ทำการจัดอันดับประเทศที่ GDP โตมากที่สุด โดยทั้ง 10 ประเทศนี้เป็นประเทศเกิดใหม่หรือ Emerging Market โดยทั้ง 10 ประเทศนี้ประกอบไปด้วย

1. อินเดีย
อินเดียเติบโตการขยายตัวของภาคบริการและเทคโนโลยี รวมถึงการลงทุนภายในประเทศที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่า GDP จะโตได้ถึง 6.8%-7%

2. เวียดนาม
เวียดนามการเติบโตด้วยการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออก โดยเฉพาะในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และสิ่งทอ โดยคาดการณ์ว่า GDP จะโตได้ถึง 6.2%-6.5%

3. บังกลาเทศ
บังกลาเทศยังคงเติบโตในภาคการผลิตเสื้อผ้าและสิ่งทอ และการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ว่า GDP จะโตได้ถึง 6.3%

4. ฟิลิปปินส์
เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์เติบโตอย่างรวดเร็วจากการบริโภคภายในประเทศและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ภาคบริการที่ขยายตัว โดยเฉพาะการให้บริการด้านกระบวนการทางธุรกิจ (BPO) และการท่องเที่ยว โดยคาดการณ์ว่า GDP จะโตได้ถึง 6.1%

5. เคนยา
เคนยาเป็นหนึ่งในประเทศในแอฟริกาที่มีการเติบโตด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนในภาคเทคโนโลยี โดยคาดการณ์ว่า GDP จะโตได้ถึง 5.8%

6. กานา Ghana
เศรษฐกิจกานามีการเติบโตอย่างรวดเร็วจากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการพัฒนาภาคการเงินและบริการ โดยคาดการณ์ว่า GDP จะโตได้ถึง 5.7%

7. อินโดนีเซีย
อินโดนีเซียยังคงเติบโตจากการบริโภคภายในประเทศที่แข็งแกร่งและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยคาดการณ์ว่า GDP จะโตได้ถึง 5.3%-5.5%

8. จีน
จีนยังคงมีการเติบโตโดยได้รับแรงสนับสนุนจากการบริโภคภายในประเทศและนวัตกรรมในภาคเทคโนโลยี โดยคาดการณ์ว่า GDP จะโตได้ถึง 5.0%-5.5%

9. ไนจีเรีย
ปีนี้ไนจีเรียก็ยังคงมีการเติบโตในภาคพลังงานและการเกษตรอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ GDP โตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยคาดการณ์ว่า GDP จะโตได้ถึง 5.2%

10. ซาอุดีอาระเบีย
ซาอุดีอาระเบียมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจผ่านแผนวิสัยทัศน์ 2030 มุ่งเน้นการลดการพึ่งพาน้ำมันและการพัฒนาภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยคาดการณ์ว่า GDP จะโตได้ถึง 4.5%-5%

และถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่อยู่ในกลุ่ม 10 ประเทศที่มีการเติบโตของ GDP สูงสุด แต่ประเทศไทยยังคงมีอัตราการเติบโตที่คาดการณ์ในระดับที่น่าพอใจ โดยในปี 2024 คาดว่า GDP ของประเทศไทยจะเติบโตประมาณ 2.3% ถึง 2.6% โดยถ้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ตไม่สำเร็จก็อาจจะทำให้ GDP มาอยู่ที่ระดับกรอบล่างที่ 2.2% การเติบโต GDP นี้ได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการขยายตัวของภาคการส่งออก แม้จะเผชิญกับความท้าทาย เช่น ความไม่แน่นอนทางการเมืองและการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้านในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top