Tuesday, 29 April 2025
ไวพจน์เพชรสุพรรณ

'ไวพจน์ เพชรสุพรรณ' เสียชีวิตอย่างสงบ หลังเข้ารับการรักษาตัวในรพ.นาน 2 เดือน

‘ไวพจน์ เพชรสุพรรณ’ ศิลปินแห่งชาติ เสียชีวิตแล้ว อย่างสงบที่รพ.ตากสิน จากอาการติดเชื้อในกระแสเลือด หลังเข้ารับการรักษานาน 2 เดือน

เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ศิลปินแห่งชาติ และนักร้องเพลงลูกทุ่งชื่อดังระดับตำนานของไทย ได้จากไปอย่างสงบแล้ว เมื่อเวลา 15.24 น. ที่ผ่านมา หลังเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลตากสิน กทม. ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. 64

สำหรับไวพจน์ เพชรสุพรรณ ศิลปินแห่งชาติ และนักร้องเพลงลูกทุ่งชื่อดัง เสียชีวิตด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต

สร้างความเสียใจและอาลัยกับคนในวงการเพลงและวงการบันเทิง ในจำนวนนี้รวมถึง จ๊ะ นงผณี มหาดไทย ที่โพสต์อาลัยกับการจากไปของไวพจน์ เพชรสุพรรณ โดยระบุว่า “พ่อไปสบายแล้ว ต่อไปนี้ พ่อไม่ต้องเหนื่อยอีกแล้ว ยอดขุนพลเพลงลูกทุ่ง ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวด้วยนะคะ #พ่อครู #พ่อไวพจน์เพชรสุพรรณ”

12 มกราคม พ.ศ. 2566 ครบ 1 ปี การจากไป ‘ไวพจน์ เพชรสุพรรณ’ ครูเพลงผู้ยิ่งใหญ่ ฉายา ‘ราชาเพลงแหล่’

ครบรอบ 1 ปี การจากไปของราชาเพลงแหล่ ‘ไวพจน์ เพชรสุพรรณ’ ครูเพลงผู้ยิ่งใหญ่ และศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับ

ไวพจน์ เพชรสุพรรณ หรือ พาน สกุลณี เกิดวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2485 (79 ปี)  ที่ หมู่ 2 ตำบลมะขามล้ม (ปัจจุบันเป็น ตำบลวังน้ำเย็น) อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรนายจำปี และนางอ่ำ สกุลณี เป็นชาวไทยเชื้อสายลาว เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดวังน้ำเย็น อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 

ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เริ่มหัดร้องเพลงอีแซว เพลงพื้นบ้านของ จ.สุพรรณบุรี ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ โดยได้ฝึกหัดและหัดตามมารดา ซึ่งเป็นแม่เพลงอีแซว จนสามารถร้องเพลงอีแซว และเพลงแหล่ได้เมื่ออายุ 14 ปี จากนั้นได้หัดร้องลิเกกับคณะลิเกประทีป แสงกระจ่าง เมื่ออายุ 16 ปีได้เข้าประกวดร้องเพลงครั้งแรกที่วัดท่าตลาด ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เพลงที่ร้องเป็นเพลงแหล่ของ พร ภิรมย์ ชื่อเพลง “จันทโครพ” ปรากฏว่าได้รางวัลที่ 1

ในช่วงนั้น ไวพจน์สนใจขับร้องเพลงลูกทุ่งมาก เพราะเป็นช่วงที่มีนักร้องลูกทุ่งมีชื่อเสียงเกิดขึ้นมากมาย เช่น ชัยชนะ บุญนะโชติ, ไพรวัลย์ ลูกเพชร , ชาย เมืองสิงห์ ครั้งหนึ่งชัยชนะ บุญนะโชติ ได้นำวงดนตรีมาเล่นที่ตลาดสวนแตงและมีการรับสมัครประกวดร้องเพลง ไวพจน์จึงสมัครประกวดร้องเพลงด้วย และได้รับการชมเชยจากผู้ชมผู้ฟังเป็นจำนวนมาก ชัยชนะ บุญนะโชติ จึงชักชวนให้เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งและตั้งชื่อให้ใหม่ว่า 'ไวพจน์ เพชรสุพรรณ' หลังจากนั้นได้นำไวพจน์ ไปฝากเป็นศิษย์ของครูสำเนียง ม่วงทอง นักแต่งเพลงซึ่งเป็นชาว จ.สุพรรณบุรี เช่นกัน ซึ่งเป็นเจ้าของวงดนตรี 'รวมดาวกระจาย' ไวพจน์ จึงได้เข้ามาร่วมวงในฐานะนักร้องนำ ครูสำเนียงได้แต่งเพลงให้ร้อง และประสบความสำเร็จอย่างมาก คือ เพลง 'ให้พี่บวชเสียก่อน' และยังได้ขับร้องเพลงของนักแต่งเพลงผู้อื่น คือ จิ๋ว พิจิตร เช่น เพลง 'แบ่งสมบัติ' และ '21 มิถุนา ขอลาบวช' เป็นต้น

13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ราชินีลูกทุ่ง ‘พุ่มพวง ดวงจันทร์’ เสียชีวิตด้วยโรคเอสแอลอี

พุ่มพวง ดวงจันทร์ เป็นชื่อการแสดงของ รำพึง จิตรหาญ หรือ ผึ้ง เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งขวัญใจคนไทย โดยได้รับฉายาว่าเป็น "ราชินีลูกทุ่ง"

พุ่มพวง ดวงจันทร์  เกิดที่จังหวัดชัยนาท ต่อมาเติบโตที่ จังหวัดสุพรรณบุรี ครอบครัวเป็นชาวไร่ฐานะยากจน เมื่ออายุได้ 15 ปี บิดาได้ฝากให้เป็นบุตรบุญธรรมของไวพจน์ เพชรสุพรรณ ซึ่งแต่งเพลงและอัดแผ่นเสียงชุดแรกชื่อ "แก้วรอพี่" ก่อนจะมีชื่อเสียงทั้งในวงการร้องเพลงและการแสดงในเวลาต่อมา

ปลายปี พ.ศ. 2534 พุ่มพวง ดวงจันทร์  ป่วยด้วยโรคเอสแอลอี โดยเธอพำนักรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช และที่จันทบุรี ในช่วงวาระสุดท้ายเธอย้ายมาพำนักอยู่ที่บ้านพักของน้องสาว (สลักจิต ดวงจันทร์) ที่พุทธมณฑลสาย 2 เนื่องจากเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เธอจึงตัดสินใจเดินทางไปที่เชียงใหม่

เพื่อไปเยี่ยมบุตรชายทั้งที่อาการของเธอแย่มากแล้ว ทุกคนต่างทำใจไว้ว่าเธอคงจะไม่รอดแล้ว และระหว่างทางเกิดอาการกำเริบจึงนำตัวส่งโรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก และเสียชีวิตในคืนวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เวลา 21:30 น. ด้วยวัยเพียง 30 ย่าง 31 ปี พิธีรดน้ำศพของเธอถูกจัดขึ้นที่วัดมกุฏกษัตริยารามเมื่อเย็นวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2535 และพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ณ วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไป ในการพระราชทานเพลิงศพครั้งนั้นด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top