Tuesday, 22 April 2025
โครงการรถไฟทางคู่

คืบหน้าในยุคนี้!! อัปเดต!! โครงการรถไฟทางคู่ ‘เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ’ เส้นทางขนส่งสินค้า ‘ไทยสู่จีน’ ที่รอเวลาก่อสร้างร่วม 60 ปี

เมื่อวานนี้ (8 มี.ค.66) เพจ ‘โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure’ ได้เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับการติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ‘เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ’ โดยระบุว่า…

ติดตามความคืบหน้า โครงการรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ผ่านเว็บไซต์ www.srt-denchai-chiangrai-chiangkhong.com เพื่อนๆ คงได้เห็นความคืบหน้าในการก่อสร้างโครงการ รถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ จากในหลาย ๆ ช่องทาง

วันนี้ผมเลยเอาช่องทางเป็นทางการของโครงการ โดยรวบรวมข้อมูลและความคืบหน้า
ผ่านเว็บไซต์ : www.srt-denchai-chiangrai-chiangkhong.com
Facebook Fanpage : รถไฟทางคู่ เด่นชัย เชียงราย เชียงของ

ซึ่งล่าสุด ทางโครงการได้ Update ความคืบหน้าของโครงการแล้วกว่า 0.74% พร้อมกับการเปิดเผยภาพการออกแบบสถานีแป้ (แพร่) ซึ่งปรับให้เข้ากับศิลปะท้องถิ่น เป็นตัวแทนในการส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น

ใครที่ยังไม่รู้จัก โครงการรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ สามารถดูได้ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1588626191575854&id=491766874595130

ความเป็นมาของโครงการรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ที่มีอายุโครงการมากกว่า 60 ปี!!! 
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/920004821771331/?mibextid=cr9u03

การรถไฟได้ทำการเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เรียบร้อยแล้ว เมื่อปลายปี 64 ที่ผ่านมา ตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1340636983041444/?d=n

ควบคู่กับการเวนคืน ซึ่งได้ประกาศไปเมื่อกลางปี 64 ที่ผ่านมาตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1200325763739234/?d=n

โครงการเด่นชัย-เชียงราย เป็นโครงการเก่าแก่มาก มีการศึกษาครั้งแรกตั้งแต่ปี 2503 ซึ่ง มีการออก พระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินแล้วตั้งแต่ในปี 2510 แต่ก็ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง

หลังจากนั้นก็มีการรื้อโครงการออกมาศึกษา อยู่อีกหลายๆรอบ คือ 2512, 2528, 2537, 2541, 2547 และเล่มศึกษาปัจจุบันที่จะใช้ในการก่อสร้าง ศึกษาในปี 2554 และ มติครม. อนุมัติโครงการในปี 2561 เป็นโครงการก่อสร้างทรหดเหลือเกินกว่าจะได้สร้างจริงๆ ร่วม 60 ปี

ใครอยากอ่านพระราชกฤษฎีกา เวนคืนที่ดิน ปี 2510 ดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ
https://ratchakitcha.soc.go.th/

เส้นทางโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 
จุดประสงค์หลักของโครงการนี้ คือการขนส่งสินค้า จากไทยไปจีน ผ่านช่องทางหลัก 2 ช่องทาง คือ 
- ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน 
- สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ) 
รายละเอียดเส้นทาง
- ระยะทางรวม 308 กิโลเมตร
- เป็นทางรถไฟขนาด 1 เมตร
- ใช้รางมาตรฐาน UIC 60 E1
- รองรับน้ำหนักกดเพลาสูงสุด 20 ตัน รองรับรถไฟใหญ่สุดของการรถไฟ (รถจักร CSR)
- รองรับความเร็วสูงสุด 160 กม/ชม
- ใช้อาณัติสัญญาณ ETCS Level 1 ตามมาตรฐานทางคู่ใหม่

'บิ๊กตู่' ลงพื้นที่สระบุรี ตรวจโครงข่ายคมนาคมระบบราง ดูความคืบหน้า ‘รถไฟทางคู่ - รถไฟไฮสปีดไทย-จีน’

(17 ส.ค. 66) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ลงพื้นที่ จ.สระบุรี ตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ อุโมงค์ที่ 1 (อุโมงค์ผาเสด็จ) ณ พื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ฯ สถานีรถไฟหินลับ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี รับฟังรายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ จากนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย

จากนั้น นายกรัฐมนตรีออกเดินทางจากพื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ฯ ไปยังอุโมงค์มวกเหล็ก ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมโครงการความร่วมมือระหว่างไทย-จีน (ไฮสปีด) ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา) (เฟส 1) แล้วเดินทางไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ต.มิตรภาพ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร

‘รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน’ กับโอกาสทางเศรษฐกิจ จิ๊กซอว์สำคัญสู่ศูนย์กลางระบบรางอาเซียน

วันนี้ (17 ส.ค.66) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลงพื้นที่ จ.สระบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมงานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ช่วงอุโมงค์มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ในโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ระยะทางรวม 250.77 กม. ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา)

โดยงานโยธาสัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง โดยตัวอุโมงค์มวกเหล็กอยู่ระหว่างสถานีรถไฟผาเสด็จและสถานีรถไฟหินลับ มีลักษณะเป็นอุโมงค์เดี่ยว รางคู่ รูปทรงเกือกม้า ความยาว 3.465 กิโลเมตร สูง 8.50 เมตร กว้าง 11.50 เมตร ขณะนี้มีความคืบหน้างานก่อสร้างอยู่ที่ 1.43 กิโลเมตร คิดเป็น 41.3 % และคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2570

โครงการนี้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2560 เป็นรถไฟความเร็วสูงโครงการแรกของประเทศไทย ซึ่งหากดูตามระยะเวลาแล้ว อาจจะมองได้ว่าเป็นโครงการที่ใช้ระยะเวลาก่อสร้างยาวนาน ซึ่งหลายคนมักนำไปเปรียบเทียบกับโครงการรถไฟลาว-จีน ที่ใช้ระยะเวลาก่อสร้างเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น แต่อย่าลืมว่าโครงการนั้นทางประเทศจีนเป็นผู้รับผิดชอบภาระทางการเงินถึง 70% ส่วนลาวรับผิดชอบภาระทางการเงินเพียง 30% โดยทางจีนเป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้าง วางระบบ ทั้งหมด และเป็นแบบทางเดี่ยวรถไฟไม่สามารถวิ่งสวนกันได้ 

ขณะที่รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เฟส1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. สร้างแบบทางคู่ตลอดเส้นทาง โดยงบประมาณทั้งหมด ไทยรับผิดชอบลงทุนและก่อสร้างงานโยธาทางรถไฟทั้งหมด 100% 

ดังนั้น เมื่อเทียบกับการให้สัมปทานประเทศจีนรับเหมาก่อสร้างแบบเบ็ดเสร็จที่อาจจะก่อสร้างได้เร็วกว่าก็ตาม แต่รัฐบาลไทยมุ่งมั่นที่จะดำเนินโครงการที่ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ และการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านระบบรางในระยะยาวที่ยั่งยืนมากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจโดยรอบเส้นทางรถไฟฯ เพราะนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้รวดเร็วขึ้นแล้ว ยังทำให้เกิดการจ้างงาน ส่งเสริมการท่องเที่ยว นำมาสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในที่สุด

ยิ่งไปกว่านั้น รถไฟความเร็วสูงไทย-จีนถือเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญภายใต้ความริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อโครงการเส้นทางสายไหม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลจีนกับประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และยกระดับการเดินทางข้ามพรมแดน

โครงการดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะส่งผลดีต่อไทย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับโครงการเส้นทางสายไหมอื่น ๆ ทั่วโลก จากการศึกษาโครงการเส้นทางสายไหมในประเทศต่าง ๆ ของไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก พบว่า รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย ช่วยลดต้นทุนทางการค้าการขนส่ง และเพิ่มมูลค่าที่ดินตลอดเส้นทาง 

และแน่นอนว่า ด้วยภูมิศาสตร์ที่ตั้งของประเทศไทย ที่อยู่ระหว่างกลางจีนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) หากจีนต้องการขยายเส้นทางรถไฟเชื่อมเศรษฐกิจมาสู่ภูมิภาคอาเซียนย่อมต้องอาศัยระบบรางของไทย และจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางระบบรางของภูมิภาคนี้ได้อย่างแน่นอน

เคลียร์หน้าดินแล้ว!! โครงการรถไฟทางคู่ ‘เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ’ ‘แพร่-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย’ รอรับปี 71 หลังคอยมานานร่วม 60 ปี 

(19 ส.ค. 66) เพจเฟซบุ๊ก ‘โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure’ ได้โพสต์ความคืบหน้าทางรถไฟทางคู่ ‘เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ’ ช่วง ‘เด่นชัย-สูงเม่น’ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ผู้รับเหมา เคลียร์ที่ดิน และเริ่มงานแล้ว ชาวแพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย เตรียมตัวรับรถไฟได้ ปี 2571 โดยระบุสาระสำคัญไว้ ดังนี้...

เมื่อช่วงวันแม่ที่ผ่านมา ผมไปเที่ยวลำพูน-เชียงใหม่ เลยไปแวะเด่นชัย เอาภาพการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มาฝากเพื่อนๆ กันหน่อย

ก่อนหน้านี้มีหลายๆ คนถามถึงความคืบหน้า และถามว่ามันจะสร้างจริงๆ ไหม…

ซึ่งจากภาพที่เห็น ก็ยืนยันแล้วว่าโครงการลงหน้างาน เปิดที่ดิน พร้อมเกรดปรับพื้นที่โครงการแล้ว

คู่ขนานกับการเวนคืนที่ดินในขอบเขตโครงการ ซึ่งตอนนี้เวนคืนไปแล้วกว่า 65% 

ติดตามความคืบหน้าโครงการได้จากเพจ : รถไฟทางคู่ เด่นชัย เชียงราย เชียงของ
—————————
ใครที่ยังไม่รู้จัก โครงการรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ สามารถดูได้ตามลิงก์นี้ครับ

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1588626191575854&id=491766874595130

ความเป็นมาของโครงการรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ที่มีอายุโครงการมากกว่า 60 ปี!!

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/920004821771331/?mibextid=cr9u03

การรถไฟได้ทำการเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เรียบร้อยแล้ว เมื่อปลายปี 64 ที่ผ่านมา ตามลิงก์นี้

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1340636983041444/?d=n

ควบคู่กับการเวนคืน ซึ่งได้ประกาศไปเมื่อกลางปี 64 ที่ผ่านมาตามลิ้งค์นี้

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1200325763739234/?d=n
—————————
โครงการเด่นชัย-เชียงราย เป็นโครงการเก่าแก่มาก 

มีการศึกษาครั้งแรกตั้งแต่ปี 2503 ซึ่ง มีการออก พระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินแล้วตั้งแต่ในปี 2510 แต่ก็ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง

หลังจากนั้นก็มีการรื้อโครงการออกมาศึกษา อยู่อีกหลายๆรอบ คือ 2512, 2528, 2537, 2541, 2547 และเล่มศึกษาปัจจุบันที่จะใช้ในการก่อสร้าง ศึกษาในปี 2554 

และ มติครม. อนุมัติโครงการในปี 2561

เป็นโครงการก่อสร้างทรหดเหลือเกิน กว่าจะได้สร้างจริงๆ ร่วม 60 ปี

ใครอยากอ่านพระราชกฤษฎีกา เวนคืนที่ดิน ปี 2510 ดูได้จากลิงก์นี้ครับ

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2510/A/119/998.PDF
————————
เส้นทางโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 

จุดประสงค์หลักของโครงการนี้ คือการขนส่งสินค้า จากไทยไปจีน ผ่านช่องทางหลัก 2 ช่องทาง คือ...
- ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน 
- สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ) 

รายละเอียดเส้นทาง...
- ระยะทางรวม 308 กิโลเมตร
- เป็นทางรถไฟขนาด 1 เมตร
- รองรับน้ำหนักกดเพลาสูงสุด 20 ตัน รองรับรถไฟใหญ่สุดของการรถไฟ (รถจักร CSR)
- รองรับความเร็วสูงสุด 160 กม/ชม
- ใช้อาณัติสัญญาณ ETCS Level 1 ตามมาตรฐานทางคู่ใหม่

ในโครงการมีอุโมงค์ทั้งหมด 4 แห่งคือ...
- อุโมงค์ที่ 1 กม. 606+200-607+325 ระยะทาง 1.1 กิโลเมตร
- อุโมงค์ที่ 2 กม. 609+050-615+425 ระยะทาง 6.4 กิโลเมตร
- อุโมงค์ที่ 3 กม. 663+400-666+200 ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร
- อุโมงค์ที่ 4 กม. 816+600-820+000 ระยะทาง 3.4 กิโลเมตร

ระยะทางรวมอุโมงค์ของโครงการ 13.4 กิโลเมตร

มีสถานี 3 รูปแบบ คือ…
- สถานีขนาดใหญ่ จะเป็นสถานีระดับจังหวัด
- สถานีขนาดเล็ก
- ป้ายหยุดรถไฟ

โครงการใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี เส้นทางมีดังนี้...

—— อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด แพร่ ——
- โครงการเริ่มต้นจากสถานีรถไฟเด่นชัย เป็นสถานีชุมทางใหม่ แล้วแยกออกไปทางตะวันออก ปรับปรุงสถานีเป็นสถานีขนาดใหญ่
- สถานีสูงเม่น เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 547
- สถานีแพร่ เป็นสถานีขนาดใหญ่ 
- สถานีแม่คำมี เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 572
- ป้ายหยุดรถไฟหนองเสี้ยว กม. 584
- สถานีสอง เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 590
- มีอุโมงค์ 2 จุดต่อกัน ที่กม. 606+200-607+325 และ กม. 609+050-651+425

—— อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด ลำปาง ——
- ป้ายหยุดรถไฟแม่ตีบ กม. 617
- สถานีงาว เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 636
- ป้ายหยุดรถไฟปาเตา กม. 642
- มีอุโมงค์ ที่กม. 663+400-666+200

—— อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด พะเยา ——
- สถานีมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 670
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านโทกหวาก กม. 677
- สถานีพะเยา เป็นสถานีขนาดใหญ่ กม. 683
- ป้ายหยุดรถไฟดงเจน กม. 689
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านร้อง กม. 696
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านใหม่ กม. 709

—— อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด เชียงราย ——
- สถานีบ้านป่าแดด เป็นสถานีขนาดเล็ก กม.724
- ป้ายหยุดรถไฟป่าแงะ กม. 732
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านโป่งเกลือ กม. 743
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านสันป่าเหียง กม. 756
- สถานีเชียงราย เป็นสถานีขนาดใหญ่ กม. 771
- ป้ายหยุดรถไฟทุ่งก่อ กม. 785
- สถานีเวียงเชียงรุ้ง เป็นสถานีขนาดเล็ก กม.796
- สถานีชุมทางบ้านป่าซาง เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 806 และแยกไปสถานีเชียงแสน
- มีอุโมงค์ ที่กม. 816+600-820+000
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านเกี๋ยง กม. 829
- ป้ายหยุดรถไฟศรีดอนชัย กม. 839
- สถานีเชียงของ เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 853

รายละเอียดเส้นทางโครงการ
https://www.google.com/maps/d/viewer?mid=1REMriQY0BxNPmksruPXyT867ewA&ll=20.200689158260182%2C100.43516933379738&z=14&fbclid=IwAR1FKhguOcu47WtQiWRat2aDMgGng0RPC3C29dPZIiAFcICEYWsDqM0k1aw
————————
ในโครงการจะมีการตัดกับถนนเดิมของประชาชน ซึ่งจะทำเป็นระบบปิด ซึ่งจะมีการก่อสร้างทางข้ามทางรถไฟและถนนออกจากกัน โดยมี 5 แบบคือ
- สะพานทางรถไฟข้ามถนน 31 แห่ง
- สะพานถนนข้ามรถไฟแบบตรง 53 แห่ง
- สะพานรถไฟข้ามคลองชลประทาน 35 แห่ง
- ถนนทางลอดทางรถไฟ 63 แห่ง
————————
การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร ในปีที่เปิดให้บริการ 4,811 คน/ วัน

การคาดการณ์ปริมาณสินค้าในปีแรก แบ่งเป็น 2 กรณีคือ...
1.) ถ้าไม่รวมการส่งสินค้าจากจีน 313,669 ตัน/ปี
2.) ถ้ารวมการส่งสินค้าจากจีน 1,603,669 ตัน/ปี

มูลค่าการลงทุนโครงการทั้งหมด 79,619 ล้านบาท

จากการประเมินมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ (EIRR) 13.31% และการประเมินมีความคุ้มค่าทางการเงิน (FIRR) 1.02%

รูปแบบการลงทุนที่ทำการศึกษา มี 2 รูปแบบ คือ...
- รัฐบาลลงทุน 100% มีความคุ้มค่าทางการเงิน (FIRR) 1.02%
- รัฐบาลลงทุนงานโยธา และระบบควบคุม 
เอกชนลงทุนบำรุงรักษา และดำเนินงาน 
การรถไฟ เก็บรายได้ 
รัฐบาลมีความคุ้มค่าทางการเงิน (FIRR) -1.82%

ซึ่งจากที่ดูตามนี้ รัฐบาลควรเป็นผู้เดินรถเอง และให้การรถไฟเป็นผู้เดินรถ แต่อาจจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมเดินรถ

ส่อง ‘สะพานรถไฟโค้ง’ แห่งแรกในไทย  อีกไฮไลต์ทางคู่ ‘เด่นชัย-เชียงของ’

เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 67 เพจ Progressive Thailand ได้โพสต์ภาพอัฟเดต ‘สะพานรถไฟโค้งหล่อสำเร็จ’ (BEBO Arch Bridge) เทคโนโลยีจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แห่งแรกของประเทศไทย ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างที่บ้านปงป่าหวาย จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ดำเนินโครงการก่อสร้างโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

รายละเอียดโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีดังนี้

▪ ระยะทาง 323 กิโลเมตร 
▪ จำนวนสถานี 26 สถานี (4 สถานีขนาดใหญ่ 9 สถานีขนาดเล็ก และ 12 ป้ายหยุดรถไฟ)
▪ ความเร็วรองรับสูงสุด 160 กม./ชม.
▪ จำนวนจังหวัด 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่, ลำปาง, พะเยา และเชียงราย
▪ ลานกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า 5 แห่ง
▪ อุโมงค์ 4 แห่ง ความยาวรวม 13.5 กิโลเมตร
▪ มูลค่าโครงการ 72,920 ล้านบาท
▪ เปิดบริการปี 2571

The first BEBO Arch Bridge in Thailand, a part of the new double-track railway line Denchai - Chiang Rai - Chiang Khong project, is under construction

The new double-track railway line  Denchai - Chiang Rai - Chiang Khong project

▪ Distance : 323 kilometers
▪ Number of station : 26 stations (4 large stations, 9 small stations, and 12 stops)
▪ Maximum supported speed : 160 km/h.
▪ Number of province : 4 provinces, Phrae, Lampang, Phayao, Chiang Rai
▪ Container yard : 5 yards
▪ 4 tunnels, total length of 13.5 kilometers
▪ Project value : 72,920 million baht
▪ Open for service in 2028

ขอบคุณภาพจาก : โครงการรถไฟทางคู่ เด่นชัย เชียงรายเชียงของ
เนื้อหาโดย : Progressive Thailand


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top