Tuesday, 22 April 2025
โครงการรถไฟความเร็วสูง

รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ระยะ 1 พร้อมรองรับ 50,000 คนต่อชั่วโมง/ทิศทาง

เพจเฟซบุ๊ก ทันข่าว Today ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วง กทม.-นครราชสีมา โดยมีใจความว่า ...      

โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วง กทม.-นครราชสีมา ประกอบด้วย 6 สถานี คือ สถานีกลางบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา ระยะทางรวม 250.77 กม. 

กำหนดสร้างแล้วเสร็จในปี 2569 มี 15 สัญญา แบ่งเป็นงานโยธา 14 สัญญา งานระบบ 1 สัญญา ขณะนี้ ก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และรอการลงนาม 3 สัญญา

คาดว่า จะใช้ขบวนรถรุ่น ฟู่ซิงห้าว (Fuxing Hao) CR300AF มาให้บริการ แบ่งประเภทที่นั่งได้ 3 ระดับ คือ ชั้น 1 แบบเก้าอี้เดี่ยว ชั้น 2 ประเภทธุรกิจ และชั้น 3 ความจุ 600 คน/ขบวน ต่อพ่วงได้ 3-10 คัน/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 5 หมื่นคน/ชั่วโมง/ทิศทาง

จีนพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี ทักษะและองค์ความรู้เกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง 11 ด้านให้ไทย เช่น วัสดุที่ใช้ในการสร้างรางรถไฟ, แนวปฏิบัติในการวางรางในภูมิประเทศลักษณะต่าง ๆ, การออกแบบสถานีให้ผู้โดยสารสัญจรไปมาได้ดีขึ้น, การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำหรือแหล่งอื่น ๆ ด้วยความเร็วที่มากขึ้นและต้นทุนที่ต่ำลง, การออกแบบและสร้างอุโมงค์ที่ปลอดภัย รวมถึงอบรมการบริหารรถไฟความเร็วสูง การซ่อมบำรุง และการขับรถไฟ

‘สส.ปทุม ก้าวไกล’ ค้านโครงการรถไฟความเร็วสูงผ่าอยุธยา อ้าง!! จะถูกถอด ‘มรดกโลก’ เจอชาวเน็ตแห่ถล่มยับ!!

(18 ก.ย. 66) เฟซบุ๊ก ‘เชตวัน เตือประโคน - Chetawan Thuaprakhon’ ของนายเชตวัน เตือประโคน สส.ปทุมธานี เขต 6 พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความระบุว่า "ประชาชนคนไทยต่างลุ้นกันกรณี “ศรีเทพ” จะได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลก แต่ “อยุธยา” ที่เป็นอยู่แล้ว กำลังจะถูก “ถอด” เพราะรถไฟความเร็วสูงผ่ากลางเมือง #ก้าวไกล #มรดกโลก #อโยธยา"

ปรากฏว่าทัวร์ลงมายัง สส.คนดังกล่าว โดยมีความคิดเห็น เช่น

- คนอยุธยาอยากได้ความเจริญมากกว่าค่ะ
- ถ่วงความเจริญครับ
- ความรู้สั้น ความมั่นสูง
- คนอยุธยามีสิทธิ์ไหมคะ
- ก่อนแสดงความเห็นควรหาความจริงและควรมีความรู้
- อยุธยาได้เป็นมรดกโลก และมีการคมนาคมที่ทันสมัยควบคู่กันไป คนไทยและชาวต่างชาติก็จะยิ่งมาเที่ยวอยุธยามากขึ้นค่ะ

- ว่างงานและมาถ่วงความเจริญหรือครับ
- อย่างนี้เกียวโตโดนถอดไปนานแล้วปะครับ

สำหรับประเด็นดังกล่าว สืบเนื่องมาจากการรถไฟแห่งประเทศไทยกำลังดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยหนึ่งในนั้นคือสถานีอยุธยา แต่กรมศิลปากรออกมาคัดค้านเพราะเกรงว่าจะกระทบต่อโบราณสถาน และมรดกโลก และขอให้การรถไฟฯ ทำการศึกษาผลกระทบต่อมรดกโลกทางวัฒนธรรม หรือ Heritage Impact Assessment (HIA) ทำให้โครงการในสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กิโลเมตร หยุดชะงัก การรถไฟฯ ได้จ้างที่ปรึกษามาทำการศึกษาผลกระทบ เพื่อหารูปแบบ และป้องกันผลกระทบในทุกด้านกับการก่อสร้าง ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการ

อีกด้านหนึ่ง นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ สส.อยุธยา เขต 1 พรรคก้าวไกล ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการดังกล่าว อ้างว่าที่ตั้งสถานีผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรมต่อแหล่งมรดกโลกเมืองเก่าอโยธยา พร้อมเตรียมยื่นหนังสือต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ขอเสนอญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรมต่อแหล่งมรดกโลกเมืองเก่าอโยธยาจากโครงการรถไฟความเร็วสูง สถานีอยุธยา ขณะเดียวกัน นายทวีวงศ์ยังมีการขอพบ นายสุจิตต์ วงษ์เทศ นักเขียนเรื่องราวประวัติศาสตร์ในเครือมติชน เพื่อหารืออีกทางหนึ่งด้วย

ขณะเดียวกัน ได้มีการก่อตั้งกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า ‘SAVE อโยธยา’ นำโดย นายภาณุพงศ์ ชลสวัสดิ์ นักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อรณรงค์ปกป้องเมืองอโยธยา และได้จัดเสวนาหัวข้อ ‘รื้อ-ทำลายความทรงจำมรดกวัฒนธรรมอโยธยา’ โดยมีนายธรรดร กุลเกลี้ยง นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือมายด์ แกนนำกลุ่มที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มราษฎร โดยวิจารณ์โครงการสถานีรถไฟอยุธยา อ้างถึงโรงภาพยนตร์สกาลา และศาลเจ้าแม่ทับทิม รวมทั้งยังโยงแง่มุมของทุนนิยมกับการอนุรักษ์ และ น.ส.ภัสราวดีเห็นว่าสร้างอ้อมออกไปใช้งบประมาณ 18,000 ล้านบาท ยังน้อยกว่างบประมาณของกองทัพที่มีกว่า 200,000 ล้านบาทอีกด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top