Wednesday, 23 April 2025
โกดัง

กวาดล้างเรียบ!! ‘ตำรวจไซเบอร์’ บุกทลายโกดัง ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ พร้อมอายัดของกลาง รวมมูลค่ากว่า 80 ล้านบาท

ตำรวจไซเบอร์บุกทลายโกดัง ยึดบุหรี่ไฟฟ้า มูลค่าของกลางกว่า 80 ล้านบาท

(11 มี.ค. 66) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เมืองทอง พล.ต.ต.ไพโรจน์ สุขรวยธนโชติ รองผบช.สอท. พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง ผบก.สอท.1 พล.ต.ต.ณัฐกร ประภายนต์ ผบก.สอท.2 ร่วมกันแถลงข่าวผลปฏิบัติการทลายแหล่งซุกซ่อน-จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้ารายใหญ่ 2 ราย ที่จำหน่ายให้กับผู้ค้ารายย่อยในพื้นที่ต่าง ๆ

พล.ต.ต.ไพโรจน์ เปิดเผยว่า รายแรก เป็นแหล่งซุกซ่อนอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม เข้าตรวจค้น 3 จุด คือ อาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง บนถนนจันทราคามพิทักษ์ ตำบลสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม , บ้านหลังหนึ่งที่หมู่ 5 ตำบลถนนขาด อำเภอเมืองนครปฐม และโกดังแห่งหนึ่งบนถนนเทศา ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จับกุมผู้ต้องหาได้ 2 คน น.ส.วีรวรรณ ลี่ผาสุข อายุ 33 ปี น.ส.นาริน หุ้มแพร อายุ 25 ปี 

พร้อมยึดของกลาง และตรวจยึดของกลาง น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า คละแบบ จำนวน 88,214 ชิ้น หัวน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า คละแบบ จำนวน 70,589 ชิ้น บุหรี่ไฟฟ้าแบบดูดแล้วทิ้ง จำนวน 17,631 เครื่อง เครื่องบุหรี่ไฟฟ้า คละแบบ จำนวน 10,350 เครื่อง คอยน์บุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 1,000 ชิ้น อะไหล่หัวบุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 2,705 ชิ้น รวมมูลค่าของกกลางที่ตรวจยึดได้กว่า 50 ล้านบาท

พล.ต.ต.ไพโรจน์ เปิดเผยอีกว่า รายที่ 2 เป็นแหล่งซุกซ่อนในกรุงเทพมหานคร โดยเข้าตรวจค้นคอนโดมีเนียม บนถนนพญาไท แขวงพญาไท เขตราชเทวี จับกุมผู้ต้องหาได้ 1 คน นายยุทธภูมิ ทองย้อย หรือโอม  อายุ 47 ปี และตรวจยึดของกลาง

บุหรี่ไฟฟ้า iqos ตัวแท่งดูด+เครื่องชาร์ต จำนวน 537 เครื่อง บุหรี่ไฟฟ้า IQOS ตัวแท่งดูด จำนวน 189 ตัว มวนบุหรี่สำหรับบุหรี่ไฟฟ้า ยี่ห้อ TEREA จำนวน 6,529 คอตตอน มวนบุหรี่สำหรับบุหรี่ไฟฟ้า ยี่ห้อmarlboro จำนวน 6,017 คอตตอน รวมมูลค่าของกกลางที่ตรวจยึดได้กว่า 30 ล้านบาท 

รวมผลการตรวจค้นทั้ง 2 ราย ยึดของกลางรวมมูลค่ากว่า 80 ล้านบาท จึงดำเนินคดีผู้ต้องหาในความผิด พ.ร.บ.ศุลกากร นำสินค้าห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร , พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค , พ.ร.บ. การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร เนื่องจากเป็นสินค้าต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร และอยู่ระหว่างขยายผลถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง

ตร.-กรมโรงงานฯ-อย. บุกค้นบริษัทนำเข้าสารเคมี ย่านลาดกระบัง เตรียมตรวจสอบรายชื่อสั่งซื้อ หาจุดเชื่อมโยงคดี ‘แอม ไซยาไนด์’

เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 66 เจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมตำรวจกองพิสูจน์หลักฐาน ตำรวจกองบังคับการสืบสวนสอบสวนนครบาล 3 นำหมายค้นศาลอาญามีนบุรี เข้าตรวจค้นห้างหุ้นส่วนจำกัดแห่งหนึ่ง ลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์ 2 คูหา สูง 4 ชั้น ประกอบธุรกิจจำหน่ายวัสดุและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ตั้งอยู่บนถนนเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ

โดยการตรวจค้นครั้งนี้ ตำรวจได้ข้อมูลมาจากการเก็บหลักฐานขวดไซยาไนด์ ที่พบในถุงดำที่ แอม ว่าจ้างให้นายตะวัน หลานของนายแด้ นำถุงดังกล่าวไปทิ้ง โดยเมื่อตรวจสอบหมายเลขการผลิตข้างขวดไซยาไนด์ดังกล่าว พบว่าตรงกับหมายเลขการผลิตที่บริษัทนี้ได้ทำการจำหน่าย

จึงนำกำลังเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน พร้อมด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม และชุดขยายผลของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้ามาตรวจค้น หาพยานหลักฐานเพิ่มเติม

สำหรับบริษัทนี้ ลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น 2 คูหา ด้านหน้าปิดประตูเหล็กเอาไว้ ส่วนด้านในมีกล่องเก็บผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่แสดงหมายค้น พนักงานที่ดูแลบริษัทก็ได้นำเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจค้นด้านใน แต่ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าไปถ่ายภาพ

ขณะที่ นายวราวุฒิ พิทักษ์จำนงค์ อายุ 46 ปี เจ้าของร้านฮาร์ดแวร์ ซึ่งอยู่ติดกับบริษัทที่ตำรวจเข้าตรวจค้น บอกว่า บริษัทนี้เปิดมาได้ 3-4 ปีแล้ว เป็นโกดังเก็บสินค้าประเภทสารเคมี และอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ตนรู้จักกับเจ้าของ แต่ไม่ได้คุยกันลึก ๆ ก่อนหน้านี้ โกดังไม่ปิดประตูด้านหน้า แต่ที่ปิด เพราะฝุ่นเยอะ เจ้าของกลัวของจะเสียหาย ซึ่งมีพนักงาน 3-4 คน คอยดูแลแพ็กของอยู่ แต่ถ้ามีลูกค้ามารับของก็จะเปิดโกดังและปิดทันที และเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ตนเห็นว่าตำรวจสอบสวนกลาง เข้ามาตรวจค้นแล้ว ประมาณ 2 ครั้ง

ด้าน พ.ต.อ.ภาคภูมิ พิศมัย คณะทำงานชุดคลี่คลายคดี เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจค้น แต่เบื้องต้นไม่พบสารไซยาไนด์ และมีข้อมูลว่า มีการจำหน่ายจริง ซึ่งทางบริษัทให้การว่า บริษัทจะรับสารไซยาไนด์ต่อมาจากบริษัทที่นำเข้ามาอีกทีหนึ่ง แล้วนำมาจำหน่ายให้กับผู้ซื้อ ซึ่งไม่ได้มีการสต็อกสินค้า แต่จะต้องให้ผู้ซื้อสั่งสินค้าเข้ามาแล้ว จึงจะสั่งจากบริษัทนำเข้ามาแล้วส่งให้ผู้ซื้อทันที

สำหรับการซื้อขายสารไซยาไนด์ ในปริมาณไม่เกิน 1,000 กิโลกรัม หรือ 1 ตัน ไม่ต้องมีใบอนุญาต โดยยอมรับว่า จุดนี้เป็นช่องโหว่ให้บุคคลทั่วไปสามารถครอบครอง และซื้อขายสารดังกล่าวได้ โดยหลังจากนี้ จะดำเนินการตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่ซื้อสารไซยาไนด์จากบริษัทนี้ทุกราย เพื่อหาความเชื่อมโยงกับคดีของแอม เพราะยังไม่มีข้อมูลว่า แอม ซื้อสารไซยาไนด์จากบริษัทนี้โดยตรงหรือไม่ แต่เบื้องต้นพบว่า เลขการผลิตตรงกันกับขวดที่เป็นหลักฐานที่พบในคดี

ทั้งนี้ กรณีนางสรารัตน์ รังสิวุฒาพรณ์ หรือ ‘แอม ไซยาไนด์’ ก่อเหตุวางต่อเนื่อง ตำรวจยังคงเดินหน้ารวบรวมพยานหลักฐาน ออกหมายจับผู้ต้องหาเพิ่มเติมอีกรายคดี โดยทางสำนักข่าวได้รวบรวมหมายจับทั้งหมด เป็นข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2566 มีรายละเอียด ดังนี้

ผู้ช่วย ผบ.ตร.เร่งรัดดำเนินคดีขบวนการที่เกี่ยวข้องกับโรงงานเก็บกักสารเคมีไม่ได้มาตรฐานจนเกิดเหตุเพลิงไหม้ใน 2 จังหวัด ล่าสุดจับกุมหลานนายโอภาสฯ ได้อีกราย เจ้าตัวยอมรับจัดการนำวัตถุอันตรายไปเก็บไว้ในโกดังที่ อ.ภาชี

วันนี้ (11 กรกฎาคม 2567) พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า คดีเหตุเพลิงไหม้โกดังเก็บสารเคมีพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.ระยอง ได้สั่งการให้เร่งขยายผลดำเนินคดีอย่างต่อเนื่อง หลังตรวจสอบทั้ง 4 แห่งของ 2 จังหวัดแล้ว พบสารที่เป็นอันตรายอยู่ในโกดังทั้ง 4 แห่ง และพบความเชื่อมโยงกับอีกหลายพื้นที่ ลักษณะการทำงานเป็นขบวนการ โดยรับกากของเสียมาแล้วไม่ได้นำไปกำจัด ไม่มีใบอนุญาต นำมาครอบครองแล้วนำไปทิ้งในพื้นที่ป่าสงวน ตามไร่นา และพื้นที่ของประชาชนทั่วไป รวมทั้งมาเก็บแล้วปล่อยให้น้ำซึมลงไปในดิน สร้างความเสียหายต่อประชาชนในวงกว้าง

ล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กก.2 บก.ปทส.) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ต.วัชรินทร์ พูสิทธิ์ ผบก.ปทส ได้สืบสวนและดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลักลอบนำวัตถุอันตรายมาทิ้งไว้ที่โกดังดังกล่าว ได้มีการขออนุมัติศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาออกหมายจับ นายจตุวุฒิฯ กรรมการบริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในข้อหา “ร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ชนิดที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาต , ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ โดยไม่ได้รับอนุญาต , ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยไม่ได้รับอนุญาต , ปล่อยน้ำซึ่งทำให้เกิดเป็นพิษแก่น้ำตามธรรมชาติหรือสารเคมีเป็นพิษลงในทางน้ำชลประทาน จนอาจทำให้ทางน้ำชลประทานเป็นอันตรายแก่เกษตรกรรม การบริโภค อุปโภค หรือสุขภาพอนามัย” เนื่องจากหลบหนีไม่มารับทราบข้อกล่าวหา และเชื่อว่าเป็นผู้ต้องหาคนสำคัญที่รู้เห็นกับเหตุลักลอบทิ้งวัตถุอันตรายฯ ไว้ภายในโกดังดังกล่าว

ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ปทส. สืบสวนพบว่า นายจตุวุฒิฯ ได้หลบหนีไปพักอาศัยอยู่กับญาติพื้นที่หมู่ 7 ต.เขื่องคำ อ.เมืองยโสธร จ.ยโสธร จึงได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ จนพบแหล่งกบดาน จึงได้วางแผนเข้าจับกุม นายจตุวุฒิฯ ได้สำเร็จ นำตัวส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการนำวัตถุอันตรายฯ ไปเก็บไว้ในโกดังที่ อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา จริง โดยมีนายโอภาสฯ กรรมการบริษัทวิน โพรเสส จำกัด ที่ถูกจับกุมดำเนินคดีไปก่อนหน้า ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา คอยสั่งการ ในส่วนของเหตุเพลิงไหม้ นายจตุวุฒิฯ ให้การว่า ไม่ทราบและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

นอกจากนี้ พล.ต.ท.ธัชชัยฯ กล่าวว่า ในส่วนของการดำเนินการกับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งขบวนการ ได้กำชับให้เร่งรัดรวบรวมข้อมูลหลักฐานเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป รวมทั้งคดีเพลิงไหม้ ต้องให้ความชัดเจนในเรื่อง สารเคมีซึ่งเป็นพยานหลักฐาน และสำนวนการสืบสวนสอบสวนในความผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ ในทุกมิติ ต้องรอบคอบ ชัดเจน และรวดเร็ว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top