Monday, 21 April 2025
แผ่นดินไทย

‘เชษฐ์ สไมล์บัฟฟาโล่’ เตือน ไม่ควรไปแตะต้องเบื้องบน ลั่น!! คนรักแผ่นดินจะไม่อยู่เฉย เพราะเราคือคนไทยที่แท้จริง

(6 พ.ค. 66) นายวรเชษฐ์ เอมเปีย หรือ ‘เชษฐ์’ มือกลอง ‘สไมล์บัฟฟาโล่’ วงดนตรีขวัญใจวัยรุ่นยุค 90 โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า…

จะทำอะไร ก็ทำไปสิครับ..แต่ไม่ควรไปแตะต้องเบื้องบน..อย่าล้ำเส้น ฮึกเหิมเกินไป..โอ้อวดโชว์เอาดีเข้าตัว โยนความไม่ดีให้คนอื่น ไม่เท่เลยนะ

ความต่างระหว่าง 'คนมิรู้คุณคน' กับ 'คนรู้คุณคน'  ในวันที่ผู้ให้แผ่นดิน 'อาศัย-ทำกิน' ถูกเนรคุณ

ผมเชื่อว่าคนไทยทุกคน ไม่ว่าจะเป็นลูกเจ๊ก ลูกฝรั่ง ลูกมอญ ลูกแขก หากได้เกิดบนผืนแผ่นดินไทย มีสัญชาติไทย และมีสามัญสำนึกของความเป็นคน ย่อมจะมีความกตัญญูต่อชาติ ต่อสถาบันกษัตริย์ ต้องรู้สึกหวงแหน ปกปักรักษา และมักจะคิดเสมอว่า "ตนเองนั้นเกิดจนเติบโตมาได้ ก็ล้วนเป็นหนี้บุญคุณของสถาบันกษัตริย์อย่างหนีไม่พ้น"

ด้วยสถาบันกษัตริย์ก็เปรียบเสมือน 'ต้นไม้ใหญ่' ของคนไทยทุกคน คอยให้ร่มเงา มอบความร่มรื่น ป้องแดดฝนพายุร้าย ให้ผู้อาศัยเย็นกายสบายใจ ปลอดอันตรายจากภัยรอบตัวทั้งปวง นี่คือความพิเศษที่หาไม่ได้จากประเทศอื่นใดในโลก

แล้วคนไทยแท้ ๆ ที่เกิดและเติบโตมาได้บนผืนแผ่นดินไทย คอยเดินหน้ากัดเซาะ จาบจ้วง ทำร้าย ทำลาย หรือพูดจาเหยียดหยามดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ถามว่าคนเช่นนี้เป็นคนไทยแบบไหนกัน? 

นักร้องบางคน ได้แสดงพฤติกรรมไม่ต่างจาก 'วัวลืมตีน' เล่นดึงฟ้าลงมาต่ำ เผยให้เห็น 'ธาตุแท้' ที่ซ่อนหลบอยู่ในหัวจิตหัวใจ ตอกย้ำอีกครั้งว่าการเป็นคนมีเงินและโด่งดัง ไม่ได้หมายความว่าจะมีสามัญสำนึกของความเป็นคนเสมอไป 

สำหรับนักร้องพฤติกรรมหยาบคนดังกล่าว คำว่าต่ำก็ยังดูสูงกว่ามาก!!

ผม หรือผู้คนอีกจำนวนไม่น้อย วันนี้มีอายุแตะเลขห้ากันแล้ว ก็ใช่ว่าจะตอบแทนบุญคุณของ 'บูรพกษัตริย์ไทย' ได้หมด ยิ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะให้ผมไปเลือกพรรคการเมืองที่เดินหน้า 'ล้มล้างสถาบัน' ถ้าจะทำเช่นนั้นได้ก็ต้องเหตุผลเดียวคือผม 'ไม่ใช่คน'

คนอื่นคิดอย่างไรผมไม่ทราบ สำหรับผมขอคิดเช่นนี้ เพราะผม ครอบครัวผม ต้นตระกูลของผม มาจากจีนแผ่นดินใหญ่ เป็นเพียงคนตัวเล็ก ๆ ยากไร้ หนีร้อนมาพึ่งพาอาศัยแผ่นดินของ 'พระเจ้าแผ่นดินไทย' ผมจึงถูกปลูกฝังว่าทั้งโคตรเหง้าของผมล้วนเป็นหนี้บุญคุณสถาบันฯ

ผมเป็นคนเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ กลัวกฎแห่งกรรม กลัวผลแห่งการเป็นคนเนรคุณ กลัวจะทำมาหากินไม่เจริญ กลัวชีวิตต้องพานพบกับความวิบัติฉิบหาย ที่สำคัญผมกลัวจะได้ชื่อว่าเป็นคนที่เนรคุณต่อชาติแผ่นดินของตัวเอง การแสดงความเคารพ รัก ศรัทธา และกตัญญูต่อสถาบันฯ จึงไม่เคยเลือนหายไปจากชีวิตจิตใจของผมเลย 

คุณลองคิดดูสิ ถ้าขนาดคนที่ให้แผ่นดินอาศัยและทำกิน เรายังเนรคุณ แล้วจะมีใครคนไหนกล้ามอบความจริงใจให้กับเรา  

'ดร.อานนท์' งัดหลักฐาน ยัน!! ‘เกาะกูด’ เป็นของไทยทั้งเกาะ ลั่น!! ดินแดนของไทย จะสูญเสียไม่ได้แม้แต่ตารางนิ้วเดียว

(29 ก.พ. 67) ผศ.ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ ‘เกาะกูด (Koh-Kut) ทั้งเกาะคือดินแดนของไทย เสียไปไม่ได้แม้แต่ตารางนิ้วเดียว’ โดยระบุข้อความว่า…

สยามยอมเสียเขมรอันเป็นประเทศราชของสยามไปเกือบค่อนประเทศคือพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เพื่อแลกกับการที่สยามจะได้จังหวัดตราดไปจนถึงสุดชายแดนที่บ้านหาดเล็กและได้เกาะกูดกลับคืนมา โดยมิได้ปัจจันตคีรีเขตหรือเกาะกงกลับคืนมา

ให้อ่านข้อ 1 และ ข้อ 2 ของสนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส เมื่อรัตนโกสินทร์ศก 125 หรือ คริสตศักราช 1907 มีสัญญาบ่งบอกไว้ชัดเจนว่าเกาะกูดเป็นของสยามอย่างแน่นอน

ส่วนในข้อ 5 นั้นสยามหรือไทย พยายามแก้ไขปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตซึ่งคนในบังคับของฝรั่งเศสไม่ต้องขึ้นศาลไทยเลย ให้เป็นว่าคนในบังคับของฝรั่งเศสหรือซับเยกของฝรั่งเศสหลัง รัตนโกสินทร์ศก 122 (ค.ศ.1904) ต้องมาขึ้นศาลไทย แต่ไทยต้องแก้ไขกฎหมายให้เป็นสากลเสียก่อน 

ในคราวนั้น คศ. 1907-1908 ได้มีคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมกันระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ได้ทำแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 แสดงดินแดนของไทยที่จังหวัดตราด อันแคบขนานริมทะเลไปตามสันปันน้ำของเทือกเขาบรรทัดจนสุดชายแดนที่บ้านหาดเล็กดังรูปในแผนที่นี้ ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาตามข้อ 4

เมื่อคุณลุง ศ.ดร. สมปอง สุจริตกุล ยังมีชีวิตอยู่ได้อธิบายว่าสัญญา รศ. 125 หรือ ค.ศ. 1907 นี้เป็นสัญญาประธาน ข้อตกลงความเข้าใจร่วมกัน (Memorandum of understanding: MOU) ข้ออ้างอิง (Term of reference: TOR) การสื่อสารร่วม (Joint Communique) หรือ การจัดเตรียมชั่วคราว (Provisional arrangement: PA) ใด ๆ ก็ตามย่อมไม่อาจจะขัดแย้งกับสัญญาประธานอันเป็นลายลักษณ์อักษรได้ 

ดังนั้นเกาะกูดจึงเป็นดินแดนของไทยทั้งเกาะ กัมพูชาไม่มีสิทธิ์ขีดเส้นบนแผนที่ลากเฉือนแบ่งเกาะกูดออกเป็นสองฝั่งยึดครองไปเป็นของกัมพูชาและอ้างอธิปไตยของดินแดนไทยเพื่อครอบครองพื้นที่ในทะเลอ่าวไทยว่าเป็นพื้นที่พัฒนาร่วม (Joint development area: JDA) หรือ พื้นที่ทับซ้อนใด ๆ ก็มิได้ทั้งสิ้น ขัดกับสัญญาประธาน ที่เคยทำไว้กับประเทศไทย

ดินแดนของไทย และบูรณภาพแห่งดินแดนจะสูญเสียไปไม่ได้แม้แต่ตารางนิ้วเดียว

เมื่อสถาบันฯ มอบความรัก ความสงบสุข ปลุกคนเทียมคน แล้วเหตุไฉนคนไทยผู้จงรักภักดีต่อชาติ จะมิ 'กตัญญู'

พระมหากษัตริย์ไทยประกาศ 'เลิกทาส' ให้พี่น้องคนไทย รวมถึงคนต่างแดนหลากหลายเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ที่อาศัยอยู่เดิม และที่เดินทางเข้ามาหวังจะตั้งรกรากในผืนแผ่นดินไทยทุกคนได้มีที่ทำกินอย่างเท่าเทียม และเสรี

ทั้งยังมอบความรัก ความสงบสุขร่มเย็น ให้เรารู้สึกปลอดภัย มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีความเป็น 'คนเทียมคน' จนเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองตามมา

สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เคยทำร้ายคนไทยที่คิดดีต่อสถาบันฯ และเราก็ไม่ควรคิดล้มล้างทำลายสิ่งที่มีบุญคุณกับเรา เราแสดงออกในความเป็นคนแบบไหน สังคมก็จะมองเห็นเราเป็นคนในแบบนั้นเสมอ ไม่มีทางปกปิดได้มิด

กลุ่มคน หรือองค์กรที่มีพฤติกรรมคิดร้ายต่อชาติ ต่อสถาบัน มีแผน ‘ชักศึกเข้าบ้าน’ แอบร่วมมือกับต่างชาติให้มาทำร้ายสถาบันของตัวเอง วันใดวันหนึ่งก็จะถูกเปิดเผยออกมาให้โลกรับรู้ และมักจบลงด้วยการรับโทษในฐานะ 'อาชญากรแผ่นดิน'

ที่สุดก็อาจจะไม่มีแผ่นดินอยู่

ทัศนคติที่เราแสดงออกมา จึงเป็นบทสรุปเกี่ยวกับนิสัยที่แท้จริงของคนเราทุกคนได้ดีที่สุด

เปรียบเปรยได้ไม่ต่างจากผึ้งเพียงหนึ่งตัว หรือจะบินมาเป็นฝูง ก็ไม่เคยคิดตอมขี้...ฉันใด แมลงวันจะตัวเดียวหรือบินมาเป็นพันเป็นหมื่นตัว ก็มักจะเลือกขี้ตอม...ฉันนั้น

ผึ้งอยู่ที่ไหนก็ชอบดอกไม้ แมลงวันต่อให้อยู่ใกล้ดอกไม้แสนสวย ก็จะบินหากองขี้อยู่ร่ำไป

เกิดเป็นคนมาแล้วทั้งทีก็ควรมองให้ออก สิ่งใดคือความหวานบริสุทธิ์ คือสาระประโยชน์ที่มีคุณค่ามากมายต่อโลกใบนี้ และสิ่งใดคือของเสีย คือขยะ คือความเน่าเหม็น ที่คอยสะท้อนถึงความสกปรกที่ซุกซ่อนอยู่ในจิตใจ

คุณคือผึ้ง หรือคือแมลงวัน คุณเลือกเป็นได้ด้วยตัวเอง

รวมพล 'คนไร้ราก-ลืมเหง้า-ลวงผู้คน-อกตัญญูชาติ' การคงอยู่ใต้ผืนปฐพีไทย ที่แลดูร้ายไม่แพ้ศัตรูต่างแดน

(3 ก.ย. 67) การได้เกิดเป็นคนไทยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสำหรับผมนั้น ถือเป็นเรื่องโชคดีมหาศาล ถ้าไม่โชคดี ผม รวมทั้งคนไทยร่วมชาติอีกหลายสิบล้านคน คงไม่มีโอกาสได้เกิด และเติบโตบนผืนแผ่นดินที่แสนสงบสุขจวบถึงทุกวันนี้  

การได้มีชีวิต มีบ้าน มีถิ่นฐาน มีเชื้อชาติ มีสังคม มีการศึกษา มีหน้าที่การงาน และมีความปลอดภัยในการใช้ชีวิต ไม่ต้องตกเป็นเมืองขึ้น เมืองขี้ข้า เมืองที่ถูกกดขี่ข่มเหง หรือใช้ชีวิตอยู่ภายใต้เงื่อนไขของสงครามระหว่างประเทศ การได้อยู่รอดพ้นยาวนานมาทุกกาลสมัย เพียงเท่านี้ก็ถือว่ามีครบองค์ประกอบของประชาชนที่ได้รับโอกาสที่แสนสมบูรณ์พูนสุขมากล้นแล้ว สิ่งแรกที่คนไทยทุกคนจำต้องสำนึกก็คือ 'บุญคุณของสถาบันเบื้องสูง' เพราะถ้าไม่มี 'สถาบันกษัตริย์ไทย' ประเทศชาติเราก็จะแหว่งวิ่น ไม่เดินมาถึงวันนี้ได้อย่างผาสุก

และคงไม่มีผม หรือพวกท่านในแบบที่เป็นอยู่ 

ที่มาของเรา เปรียบราว 'รากชีวิต' ที่ฝังลึกลงแผ่นดินทอง ผูกร้อยโยงเป็นเนื้อเดียวกับความเป็นชาติ ศาสน์ และสถาบันกษัตริย์ ยากที่จะตัดขาดออกจากกัน การได้เกิดมาเป็นคนไทย จึงแตกต่างจากชาติอื่นใดทั้งปวง หาใดเปรียบ หาใดเทียบเคียง มีเพียงหนึ่งเดียวที่ 'แตกต่างอย่างงดงาม' ซ้ำยังอุดมสมบูรณ์ด้วย 'ทรัพย์ในดินสินในน้ำ' จนเป็นที่หมายตาของคนต่างชาติ หรือคนไทยหัวใจคดที่แสนโง่เขลาจำนวนหนึ่งที่ยอมเป็น 'ขี้ข้าคนต่างถิ่น' หวังทำลายความเข้มขลังของสถาบันให้อ่อนแอลง 

คนไทยที่ทำตัวไร้ราก ลืมเหง้า คอยโป้ปดสังคม ปลุกปั่นให้เยาวชน หรือผู้คนที่ 'คิดไม่เป็น' ให้คล้อยไปในทางเกลียดชังสถาบันกษัตริย์ของตัวเอง เพื่อสนองอาการ 'โรคจิต' และ 'ขี้อิจฉา' ที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาด ย่อมเป็นคนไทยที่เป็นภัยอันตรายของสังคมไทยโดยแท้ หากปล่อยไว้ให้เติบโต อนาคตเราอาจจะไม่มีแผ่นดินที่เป็นของตัวเราเอง 

คนไทยที่คิดร้ายต่อสถาบัน เรียก 'คนเนรคุณ' ยังน้อยไป อยู่ไปก็รกปฐพี 

ชำแหละ!! ข้อเรียกร้องต่างด้าวในระดับเปลี่ยน Bangkok ให้เป็น New Yangon City ถาม? 'คนไทย-ชาติไทย' ได้ประโยชน์อะไร? แล้วต่างด้าวหรือไทยกลุ่มไหนเรียกร้อง?

เมื่อวานเครือข่ายปฏิรูปการโยกย้ายถิ่นฐาน ยื่นจดหมายเปิดผนึกแก่ 'นายกรัฐมนตรี' โดยมีเนื้อหาใจความว่า...

ด้วยเครือข่าย ซึ่งประกอบไปด้วยภาคประชาสังคม ภาควิชาการ สื่อมวลชน ชุมชนผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐาน ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในด้านการบริหารจัดการการโยกย้ายถิ่นฐาน ผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยในประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายแก่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เพื่อโปรดพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่จะแถลงต่อรัฐสภาในโอกาสที่คณะรัฐมนตรีจะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน บนพื้นฐานของมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน ความมั่นคงของมนุษย์และความมั่นคงของชาติ ความต้องการด้านเศรษฐกิจและแนวโน้มด้านประชากรในอนาคตของไทย ตลอดจนการมุ่งสร้างสันติภาพในภูมิภาคอาเซียน ทั้งหมดสามระยะ ดังนี้...

>> 1. ระยะเร่งด่วน ให้รัฐบาลพิจารณากำหนดนโยบายด้านการบริหารจัดการกลุ่มผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ลี้ภัยจากสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศเมียนมา ซึ่งเข้ามาในประเทศไทยแล้ว โดยมีการดำเนินการ ดังนี้...

1.1 ให้คณะรัฐมนตรีเร่งพิจารณาใช้อำนาจตามมาตรา 17 ของพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 กำหนดสถานะผู้อพยพลี้ภัยที่อยู่ในไทย ผู้อพยพลี้ภัยจากเมียนมา ผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ และเร่งกำหนดสถานะให้แก่เด็กกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้เอื้อต่อการเข้าถึงสิทธิด้านการศึกษา สาธารณสุข และการทำงานได้ ตลอดจนพิจารณาปรับเกณฑ์และกลไกเพื่อการมีสัญชาติไทยของเด็กที่เกิดในไทย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการลดลงของประชากรไทยในสังคมผู้สูงอายุและความต้องการแรงงานของไทย

1.2 ขอให้รัฐบาลได้จัดตั้งกลไกเพื่อคุ้มครอง ส่งเสริม และติดตามการเข้าถึงสิทธิของเด็ก ผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง ตามที่ประเทศไทยได้ยื่นตราสารถอนข้อสงวนของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) ข้อ 22 แล้ว เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2567

1.3 ให้ยุติการกักขังโดยไม่มีกำหนดเวลาต่อผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยทุกกลุ่ม รวมทั้งกำหนดมาตรการทางเลือกแทนการกักขังให้แก่ผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ลี้ภัยชาวอุยกูรย์มากกว่า 40 คนซึ่งถูกกักตัวอยู่ในสถานกักตัวคนต่างด้าวมาเป็นเวลานาน 10 ปี และชาวโรฮีนจาจากประเทศเมียนมา

1.4 ขอให้รัฐบาลมีแนวปฏิบัติของการประเมินความเสี่ยงภัยในการส่งกลับคนต่างชาติอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมทั้งยุติการส่งตัวผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565

1.5 เร่งรัดการเปิดจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ รวมทั้งการต่ออายุใบอนุญาตทำงานของแรงงานข้ามชาติที่ใบอนุญาตทำงานจะสิ้นสุดการอนุญาตในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ตามมติคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว โดยเน้นการดำเนินการในประเทศไทย เพื่อป้องกันผลกระทบและอันตรายจากมาตรการการเกณฑ์ทหารของรัฐบาลเมียนมา รวมทั้งผลกระทบจากการสู้รบในพื้นที่ชายแดน ซึ่งจะมีแรงงานข้ามชาติจากเมียนมาที่จะต้องดำเนินการมากถึงสองล้านคน อันจะเป็นผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและผู้ประกอบการชาวไทย

1.6 เร่งรัดหน่วยงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างและการมีส่วนร่วมภายในศูนย์สั่งการชายแดนในระดับชาติ จังหวัด และอำเภอ การพิจารณาอนุญาตเปิดจุดผ่อนปรนเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม การสนับสนุนเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งการสร้างความมั่นคงทางสุขภาพบริเวณชายแดน

1.7 เร่งรัดหน่วยงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่ได้ดำเนินการตามแนวนโยบายและกฎหมาย โดยบูรณาการการบริหารจัดการผู้อพยพหนีภัยเข้ามาในประเทศไทยกลุ่มต่าง ๆ ดำเนินการคัดกรองและจัดทำทะเบียนประวัติผู้ลี้ภัย ทบทวนและปรับปรุงแนวทางปฏิบัติกรณีมีผู้อพยพหนีภัยเข้ามาในประเทศ ตลอดจนให้คำมั่นสัญญาในการไม่จับกุม กักขัง และดำเนินการปกป้องคุ้มครองเด็กผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานและเด็กผู้ลี้ภัยที่อายุต่ำกว่า 18 ปี และครอบครัว

>> 2. ระยะกลาง ให้รัฐบาลพิจารณากำหนดนโยบายด้านการบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนเพื่อรองรับกับแนวโน้มของสถานการณ์ในอนาคต โดยมีการดำเนินการ ดังนี้...

2.1 พิจารณาจัดตั้งกลไกความร่วมมือระหว่างสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และกองทัพไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการชายแดนและผู้ที่หนีภัยความไม่สงบจากประเทศเมียนมาเข้ามาในประเทศไทย รวมถึงลดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

2.2 กำหนดให้ภาคประชาสังคมและองค์กรระหว่างประเทศเข้าไปมีส่วนร่วมในกลไกความร่วมมือระหว่างชุมชนชายแดน (Township Border Committee: TBC) บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในพื้นที่ชายแดน เพื่อสร้างเสถียรภาพ สันติภาพ และการแก้ไขปัญหาข้ามชาติต่าง ๆ

2.3 ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการ (SOP) กรณีบุคคลชาวเมียนมาเดินทางเข้าไทยตามแนวชายแดน อันเนื่องมาจากการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมา โดยยึดหลักการไม่ผลักดันส่งกลับไปสู่ภัยอันตรายต่อชีวิต (non-refoulement) อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่น ๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 รวมทั้งข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยผู้ลี้ภัย (GCR) ข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และปกติ (GCM) ตลอดจนคำมั่นสัญญาที่ประเทศไทยได้ให้ไว้

2.4 พิจารณาศึกษาการจัดทำร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ลี้ภัยหรือบุคคลที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางอันเนื่องจากภัยประหัตประหาร แทนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562

2.5 พิจารณาจัดทำมาตรการเพื่อยุติการสร้างความเกลียดชังและทัศนคติในด้านลบของสังคมไทยต่อชุมชนผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยในประเทศไทย และให้มีมาตรการส่งเสริมทัศนคติที่ดีของสังคมไทยและส่งเสริมความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนของชุมชน ผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยในประเทศไทย

>> 3️. ระยะยาว ให้รัฐบาลพิจารณากำหนดนโยบายด้านการบริหารจัดการการโยกย้ายถิ่นฐาน โดยมีการดำเนินการ ดังนี้...

3.1 พิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) เพื่อให้ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติสามารถเข้าถึงสถานะบุคคลและทะเบียนราษฎร และสถานะการอยู่อาศัย ตลอดจนการคุ้มครองได้

3.2 พิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยกำหนดสิทธิและมาตรการคุ้มครองกลุ่มเปราะบาง รวมทั้งปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายลำดับรองให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยยึดหลักการไม่ผลักดันส่งกลับไปสู่ภัยอันตรายต่อชีวิต (non-refoulement) การยุติการกักขังเพื่อรอการส่งกลับอย่างไม่มีกำหนด สิทธิในการอยู่ร่วมกันในครอบครัว (family reunification) และการปกป้องคุ้มครองกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้หญิง เด็ก ผู้ป่วย ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และแรงงานข้ามชาติที่ถูกละเมิดสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่น

3.3 พิจารณาศึกษาการจัดทำร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

3.4 พิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2561 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) และระเบียบเกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตาม เพื่อปรับปรุงกระบวนการขออนุญาตทำงาน การรับรองสิทธิการทำงานของบุคคล และการคุ้มครองแรงงานของกลุ่มผู้อพยพย้ายถิ่น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งสำหรับผู้อพยพลี้ภัยจากเมียนมา

3.5 พิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ให้เอื้อต่อการทำประกอบอาชีพที่สุจริตสำหรับคนที่ไม่มีสัญชาติไทย

3.6 พิจารณาจัดตั้ง 'หน่วยงานระดับกรมกิจการคนเข้าเมือง' เพื่อให้การบริหารจัดการประชากรผู้โยกย้ายถิ่นฐานและการจัดการคนเข้าเมืองเป็นระบบและมีเอกภาพ รวมถึงการให้ความคุ้มครองการทำทะเบียนราษฎร และการผสมผสานระหว่างกันในสังคมไทย

3.7 รัฐบาลควรมีบทบาทนำในการสร้างสันติภาพแก่ภูมิภาคผ่านกลไกของกลุ่มประเทศอาเซียน การมีบทบาทในการเจรจาหยุดยิงเพื่อเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และพิจารณาทบทวนการสนับสนุนรัฐบาลทหารเมียนมาทั้งในด้านธุรกิจและด้านอื่น ๆ

ประเด็นที่เรียกร้องมาทั้งหมดนี้ ขอให้รัฐบาลคำนึงถึงสิ่งที่ เอย่า จะกล่าวต่อไปนี้นะคะ...

1. การรับคนต่างชาติเหล่านี้เข้ามา ประเทศไทยได้ประโยชน์อะไรบ้าง คนเหล่านี้ได้เสียภาษีเงินได้ให้แก่เราหรือไม่ รวมถึงคนไทยได้ประโยชน์อะไรจากคนเหล่านี้ที่เข้ามา

2. พิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ให้เอื้อต่อการทำประกอบอาชีพที่สุจริตสำหรับคนที่ไม่มีสัญชาติไทย จะเป็นการเปิดช่องทางในการแย่งงานคนไทยหรือไม่ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ หลายอาชีพก็มีต่างด้าวเข้ามาแย่งอาชีพคนไทยอยู่แล้ว หากท่านนายกลงพื้นที่ไปที่มหาชัยจะพบว่าคนไทยส่วนใหญ่เริ่มย้ายถิ่นฐานออกจากมหาชัยไปหมดแล้วเพราะเขาถูกแย่งงาน แย่งอาชีพ ทำให้ประกอบอาชีพในมหาชัยไม่ได้อีกต่อไปเนื่องจากคนต่างด้าวเข้ามาและทำงานที่คนไทยทำด้วยค่าแรงที่ถูกกว่า

3. การสู้รบเป็นปัญหาในประเทศเมียนมามามากกว่า 70 ปีซึ่งไทยก็รับภาระตรงนี้มาตลอด แม้จะมีการตรวจตราอย่างเข้มแข็งแต่ก็ไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจุบันลูกหลานคนเหล่านั้นออกมาตั้งมูลนิธิ สมาคมช่วยเหลือคนของตัวเองโดยใช้ไทยเป็นฐานปฏิบัติการ ถามว่าคนไทย และชาติไทยได้ประโยชน์อะไรจากจุดนี้

4. ปัจจุบันทางการไทยพยายามที่จะให้สัญชาติแก่กลุ่มชาติพันธุ์แต่ปรากฏข่าวของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยตามชายแดนได้ใช้ช่องว่างทางกฎหมายเพื่อให้ตนเองได้ 2 สัญชาติเพื่อหาประโยชน์จากการเป็นประชาชนชาวไทยด้วยเช่นกัน และส่วนใหญ่คนเหล่านี้นำพาปัญหาเข้ามาสู่ประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นการค้าอาวุธสงคราม แก๊งมิจฉาชีพ Call Center รวมถึงการค้ายาเสพติดและการค้าบริการทางเพศ  

5. หากดูประวัติศาสตร์จาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถามว่าจะเป็นเช่นใดหาก 3-4 อำเภอชายแดนไทยถูกกลุ่มชาติพันธุ์ยึดโดยไม่สื่อสารภาษาไทยอีกต่อไป สุดท้ายคนไทยในบริเวณดังกล่าวจะถูกกดดันจากสภาพแวดล้อมให้ออกจากพื้นที่เอง ถามว่าสุดท้ายจะถูกนำไปสู่ปัญหาการขอแบ่งแยกดินแดนหรือไม่ในอนาคต

6. หนึ่งในกฎบัตรอาเซียนคือการไม่ก้าวก่ายกิจการภายในของกันและกัน ถามว่าหากไทยยอมรับการเรียกร้องดังกล่าวนี้ ไทยยังปฏิบัติเป็นไปตามกฎบัตรอาเซียนอยู่หรือไม่

7. การที่พวกคุณพยายามผลักดันคนเหล่านี้ให้ถูกต้องเพื่อจะเป็นการฟอกขาวเพื่อให้คนเหล่านี้หรือลูกหลานได้มีสัญชาติไทยในอนาคตเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองบางกลุ่มที่สนับสนุนคุณอยู่เบื้องหลังใช่หรือไม่

บางที เอย่า ก็แปลกใจเหมือนกันว่า คนเหล่านี้เป็นคนไทยหรือเปล่าที่พยายามเข้ามาเรียกร้องให้ไทยเสียประโยชน์ โดยอ้างแค่คำว่ามนุษยธรรม   

เอย่า ว่าประเทศไทยเรานั้น เป็นประเทศที่เปิดกว้างมาก กว้างขนาดให้คนต่างด้าวมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาไทยขั้นต่ำตามระบบได้ ให้โอกาสให้บัตรของพวกเขาเหล่านี้ขอสัญชาติได้ด้วยเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ แล้วถามกลับว่าเราได้ประโยชน์อะไรจากคนกลุ่มนี้บ้าง เราได้รับภาษีแผ่นดินเพิ่มขึ้นไหม เราได้รับความปลอดภัยเพิ่มขึ้นไหม เราได้รับความสะดวกสบายเพิ่มขึ้นไหม  

คำถามเหล่านี้หากรัฐบาลไทยจะรับข้อเรียกร้อง ก็ต้องยอมรับผลที่ตามมาให้ได้  

อยุธยาไม่มีวันพ่าย หากไม่ถูกคนไทยทรยศบ้านเมือง ฉันใดก็ฉันนั้น ประเทศไทยจากวันนี้จะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นกับผู้นำและคนไทย ณ วันนี้เช่นกัน

หวังว่าลูกหลานเราในวันข้างหน้า คงไม่ได้เรียก Bangkok ว่า New Yangon City นะ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top