Thursday, 24 April 2025
แก้ไขปัญหา

สตูล ร่วมบูรณาการกว่า 20 หน่วยงาน ลงพื้นที่ตรวจสอบ ข้อเท็จจริงและหาแนวทางร่วมกัน ในการแก้ไขปัญหากรณีพิพาท เรื่องการปิดกั้นเส้นทางบนพื้นที่เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล

ที่ห้องประชุม ที่ทำการอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล มอบหมายให้ นายชาตรี ณ ถลาง ปลัดจังหวัดสตูล พร้อมด้วย นายธนพัฒน์  เด่นบูรณะ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสตูล หัวหน้าส่วนราชการ ฝ่ายปกครอง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมบูรณาการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา กรณี ข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับชาวเล บนพื้นที่เกาะหลีเป๊ะ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยมีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ร่วมให้ข้อมูลก่อนเดินลงพื้นที่

จากนั้นคณะได้ลงพื้นที่ไปยังชุมชนของชาวเลอูรักลาโว้ย และบริเวณพื้นที่ใกล้โรงเรียนบ้านเกาะหลีเป๊ะ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ที่ได้มีการร้องเรียนว่ามีการทำรั้วเหล็กปิดถนน บนเส้นทางที่ชาวบ้านบนเกาะใช้สัญจรไปมาอยู่เป็นประจำ ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก โดยชาวบ้านได้มีการตั้งเต๊น และแสดงข้อความคัดค้านเชิงสัญลักษณ์ บนนถนนในชุมชน

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ร่วมประชุมคณะกรรมการบริหาร ศรชล. นำเสนอแนวทางบูรณาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) แบบยั่งยืน

วันนี้ (10 มี.ค.66) พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง (ศพดส.ตร.) ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ครั้งที่ 1/2566 ณ โรงแรมดุสิตธานี พัทยา จ.ชลบุรี โดยมี พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผบ.ทร. เป็นประธานการประชุม และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมประกอบด้วย กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ในการประชุมครั้งนี้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ได้นำเสนอเกี่ยวกับการดำเนินการปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมายในหลายมิติ ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมายกับเรือประมงพาณิชย์จำนวน 27 ลำ ที่ลักลอบทำประมงในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จ.สตูล ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างการดำเนินการสอบสวน และการตรวจสอบกรณีเรือประมงที่ใช้อวนล้อมจับปลากะตักจำนวน 52 ลำ ซึ่งการดำเนินการจำเป็นจะต้องบูรณาการร่วมกับ ศรชล และกองทัพเรือ ในการใช้เครื่องมือพิเศษและกำลังพลเข้าดำเนินการตามกฎหมาย รวมไปถึงการดำเนินการล่าสุด กรณีตรวจพบเรือประมงสัญชาติเกาหลีชื่อ Sun Flower 7 ขนปลาทูน่าจำนวน 4,000 ตัน มาขึ้นท่าเพื่อส่งให้โรงงานปลากระป๋อง ซึ่งมีพฤติการณ์ในการทำประมงผิดกฎหมายโดยการเก็บทุ่นลอยน้ำสำหรับเป็นแพล่อปลาในพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิก ในการดูแลของคณะกรรมาธิการประมงแปซิฟิกตะวันตกและแปซิฟิกกลาง (WCPFC) โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งทางการไทยได้แสดงออกอย่างชัดเจนในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย โดยการไม่อนุญาตให้นำปลาที่ได้จากการทำประมงผิดกฎหมายเข้ามาในราชอาณาจักร และได้ผลักดันเรือออกจากน่านน้ำไป ซึ่งในเรื่องนี้ จำเป็นจะต้องมีการกำหนดมาตรการในระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาการรับสินค้าสัตว์น้ำที่ได้มาจากการทำประมงผิดกฎหมาย โดยคำนึงถึงภาพลักษณ์ของประเทศ และผลกระทบต่อธุรกิจการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำของประเทศไทยต่อไป

'พล.ต.ท.สำราญฯ' ลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มอบแนวทางการปฏิบัติ เน้นหลักการ 'เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา' ในการแก้ไขปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ในทุกด้านของ ศปก.ตร.สน. และลดความสูญเสียของบุคลากรในทุกรูปแบบ

พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร./ผบ ศปก.ตร.สน. ลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตรวจเยี่ยมศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) เมื่อวันที่ 3 - 5 ม.ค.2567 โดยมี พล.ต.ท.ปิยะวัฒน์ เฉลิมศรี ผบช.ภ.9/รอง ผบ.ศปก.ตร.สน. พร้อมด้วย พล.ต.ต.กฤษฎา แก้วจันดี , พล.ต.ต.นิตินัย หลังยาหน่าย , พล.ต.ต.อาชาน จันทร์ศิริ รอง ผบช.ภ.9/รอง ผบ.ศปก.ตร.สน. , พล.ต.ต.พิทักษ์ อุทัยธรรม รอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร./รอง ผบ.ศปก.ตร. , พล.ต.ต.รุ่งโรจน์ ฐากูรปุณยสิริ รอง ผบช.ตชด./รอง ผบ.ศปก.ตร.สน. และ พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. ร่วมตรวจเยี่ยม ทั้งนี้ พล.ต.ท.สำราญ ฯ พร้อมคณะ ได้เข้าพบ พล.ท.ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 / ผอ.กอ.รมน.ภาค 4  ณ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า (ค่ายสิรินธร) หารือกับแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่าง กอ.รมน.ภาค 4 กับ ศปก.ตร.สน. เพื่อให้เกิดความสงบสุขในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 

จากนั้น พล.ต.ท.สำราญ ฯ และคณะ ได้ตรวจเยี่ยม ศปก.ตร.สน. หารือการปฏิบัติงานส่วนต่าง ๆ ซึ่ง พล.ต.ท.ปิยะวัฒน์ เฉลิมศรี ผบช.ภ.9/รอง ผบ.ศปก.ตร.สน.ได้รายงานสถานการณ์ต่างๆ ดังนี้  การเตรียมการด้านกฎหมาย โดยจะมีการประชุม คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน (กบฉ.) ครั้งที่ 1/67 ในวันจันทร์ที่ 8 ม.ค.67 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมวิจิตรวาทการ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. ได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.สำราญ ฯ เป็นผู้แทนในนามสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

นอกจากนี้ ได้รายงานถึงสถานภาพกำลังพล อาวุธ ยุทโธปกรณ์ ตลอดจน อาคารที่ทำหารที่พักอาศัย ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาปรับปรุงและแก้ไข จากการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยที่ผ่านมา ในด้าน การปฏิบัติการและสนับสนุนได้รายงานสมรรถนะและขีดความสามารถ การปฏิบัติของหน่วยในการรวบรวม วิเคราะห์ และนำไปใช้ ของข้อมูลบุคคล ยานพาหนะ สถานที่ อุปกรณ์ ในการก่อเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่  พร้อมสาธิตการยิงปืนระดับชำนาญการของชุดปฏิบัติการพิเศษ “แดนไทย 54” ณ ศูนย์ฝึกทางยุทธวิธี กก.สส.ศปก.ตร.สน.(บูเก๊ะคละ) เพื่อเป็นแนวทางในการทบทวนยุทธวิธี ให้กับกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ในภาพรวมต่อไป

นอกจากนี้ พล.ต.ท.สำราญ ฯ ได้เดินทางไปพื้นที่ ภ.จว.ยะลา , ภ.จว.นราธิวาส และ ภ.จว.ปัตตานี โดยตรวจเยี่ยมฐานปฏิบัติการ มว.ฉก.นปพ.ยะลา 1 (ปรามะ) จ.ยะลา ซึ่ง พล.ต.ต.เสกสันต์ ชูรังสฤษฏ์ ผบก.ภ.จว.ยะลา รายงานบรรยายสรุปผลการปฏิบัติ ปัญหาข้อขัดข้อง และข้อเสนอในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วย , ภ.จว.นราธิวาส ตรวจการปฏิบัติของฐานปฏิบัติการ นปพ.นราธิวาส 13 (บาเจาะ) และตรวจการปฏิบัติของ สภ.ศรีสาคร โดยมี พล.ต.ต.ไมตรี สันตยากุล ผบก.ภ.จว.นราธิวาส รายงานบรรยายสรุป ผลการปฏิบัติ ปัญหาข้อขัดข้อง และข้อเสนอในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วย , ส่วน ภ.จว.ปัตตานี มี พล.ต.ต.สันทัด เชื้อพุฒตาล ผบก.ภ.จว.ปัตตานี รายงานบรรยายสรุป ผลการปฏิบัติ ปัญหาข้อขัดข้อง ข้อเสนอในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วย และตรวจการปฏิบัติของ สภ.นาประดู่

พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ ตร./ผบ ตร.ศปก.ตร.สน. เปิดเผยว่า ได้มอบแนวทางการปฏิบัติ พร้อมกำชับให้ใช้ทุกมาตรการเพื่อป้องกันการถูกโจมตีฐานที่ตั้ง ที่พัก ลดความสูญเสียในทุกรูปแบบ สืบสวนก่อนเกิดเหตุ ด้วยการเก็บข้อมูลบุคคล ยานพาหนะ และปราบปรามอย่างต่อเนื่อง ด้วยยุทธวิธีที่เหมาะสม ซึ่งทุกประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะ จะมีการพิจารณาหารือส่วนที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอ ผบ ตร. เพื่ออนุมัติแนวทางการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top