Tuesday, 22 April 2025
เหยียดผิว

ตะกอนสองสีในหัวใจ เหยียดผิวในถิ่นมะกัน ความเกลียดชังจากคนขาว ที่ซ่อนไว้ใต้คำสวยหรูอย่าง 'สิทธิอันเท่าเทียม'

เรื่องของการเหยียดสีผิวนั้นเป็นเรื่องสาหัสมากในประเทศสหรัฐอเมริกายุคก่อน และถึงแม้ในปัจจุบันจะดูเหมือนว่าการเหยียดผิวนั้นเบาบางลง แต่บอกได้เลยว่าการเหยียดผิวระหว่างคนขาวและคนดำยังคงดำรงอยู่ในอเมริกา เพียงแต่ซ่อนไว้ภายใต้หน้าฉากอันสวยหรูของคำว่า 'สิทธิอันเท่าเทียม'

องค์กรลับที่ตั้งขึ้นเพื่อทำลายล้างคนผิวดำและผิวสีอื่นที่ไม่ใช่คนขาวคือ องค์กร 'คู คลักซ์ แคลน’ อำนาจของคู คลักซ์ แคลนแข็งแกร่งช่วงระหว่างปี คศ.1865-1870 มีกองกำลังอันเกรียงไกร สามารถกำราบคนดำในรัฐนอร์ทแคโรไลน่า, เทนเนสซี และจอร์เจียอยู่หมัด   

สมัยประธานธิบดี ยูลิซิส เอส. แกรนต์ มีการประกาศว่า คู คลักซ์ แคลน เป็นกลุ่มผู้ก่อการร้ายนอกกฎหมาย ถือเป็นอันตรายต่อระบอบการปกครอง จึงมีการกวาดล้างกลุ่มเอียงขวาจัดอย่างจริงจังช่วงปี ค.ศ. 1868-1870 จนทําให้กลุ่มสลายตัวชั่วระยะหนึ่ง

ปลายศตวรรษที่ 19 เริ่มมีคนผิวสีอย่างเม็กซิกันและเอเซียอพยพเข้ามาอาศัยในอเมริกามากขึ้น จึงทำให้องค์กรนี้กลับมาอีกครั้ง แต่คราวนี้ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่คนผิวดำแต่เพียงอย่างเดียวแล้ว แต่คราวนี้เหมารวมเอาคนยิว คนเม็กซิกัน คนเอเซียและฝรั่งผิวขาวด้วยกันเองแต่นับถือคริสต์นิกายโรมันคาทอลิคด้วย

ปีค.ศ. 1915 ที่แอตแลนต้า บาทหลวงของศาสนาคริสต์ วิลเลียม เจ. ซิมมอนส์ อ้างว่าได้ยินเสียงพระเจ้าในความฝันให้ฟื้นฟู คู คลักซ์ แคลน ขึ้นอีกครั้ง ซิมมอนส์ซึ่งเดิมมีแนวคิดนิยมคนผิวขาวอยู่แล้วจึงรวบรวมคน 34 คนประกาศการก่อตั้ง คู คลักซ์ แคลน ขึ้นใหม่ 

อยากจะเรียกการกลับมาขององค์กรนี้ว่ารุ่นพิมพ์นิยม เพราะคู คลักซ์ แคลน ที่ฟื้นตัวขึ้นมาใหม่นี้ ได้รับการตอบรับอย่างดีจากคนผิวขาวอย่างถึงขนาดจนประกาศอย่างหน้าชื่นตาบานว่า การเป็นชาวแคลนนั้นถือว่าเป็นความภาคภูมิใจของครอบครัวชาวอเมริกันเลยทีเดียว สมาชิกก็ไม่ใช่กระจอกงอกง่อยเป็นคนขาวจนๆ คลั่งชาติอย่างพวกระดับล่าง แต่ประกอบด้วยนักธุรกิจผู้ร่ำรวย และมีนักกฎหมายระดับสูงอีกมากมาย

ในปี คศ.1922 เฉพาะที่เท็กซัสก็มีคดีทำร้ายร่างกายกว่า 100 คดีที่เกี่ยวข้องกับ คู คลักซ์ แคลน และในปี คศ.1923 เกิดคดีรุมทำร้ายที่โอกลาโฮม่าที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนี้ 

ความกร่างของคู คลักซ์ แคลน ดูได้จากการส่งจดหมายขู่และไล่ที่ไปยังบ้านของคนผิวดำและคนผิวขาวซึ่งสนับสนุนคนผิวดำ เมื่อไม่ได้รับการปฏิบัติตามก็จะเข้ารุมทำร้าย 

นอกจากนี้ยังมีการเผาบ้าน บ้างก็ตัดแขนขา บ้างก็เอายางรถยนต์ห้อยคอผู้เคราะห์ร้ายแล้วจุดไฟ บ้างก็จับมัดไปวางให้รถไฟทับ บ้างก็จับแขวนคอ บางครั้งสมาชิก คู คลักซ์ แคลน จะมีการเผาไม้กางเขนบริเวณเชิงเขาหรือบริเวณใกล้บ้านของเหยื่อ ที่เรียกว่า Cross Burning เพื่อเป็นการเเสดงอํานาจและการข่มขู่เหยื่อ สรุปเลยคือพวกนี้สรรหาสารพัดวิธีในการทารุณกรรมนั่นเอง

ประมาณปี 1950 เด็กผิวขาวและเด็กผิวดำที่เรียนโรงเรียนเดียวกัน เวลานั่งรถโรงเรียน เด็กผิวดำจะต้องสละที่นั่งด้านหน้าให้เด็กผิวขาวนั่งก่อน ส่วนเด็กผิวดำจะต้องนั่งเบาะหลังเท่านั้น บนรถเมล์ คนผิวดำจะต้องลุกให้คนผิวขาวนั่งก่อน ไม่เช่นนั้นถือว่าผิดกฎหมาย หรือในร้านอาหารก็จะมีการแยกที่นั่ง หรือบางร้านไม่ต้อนรับคนผิวดำ ในโรงภาพยนตร์แยกไม่ให้คนสองสีผิวปะปนกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้รวมไปถึงการใช้ห้องน้ำสาธารณะ การดื่มน้ำจากก๊อกน้ำสาธารณะไปจนถึงมหาวิทยาลัย    

หนีห่าว!! อ้าว!! นึกว่าทักทาย ที่แท้!! ‘เหยียดผิว’ ‘ฝรั่ง’ รุ่นใหม่ ใช้ด้อยค่า ‘เอเชีย’ ในโลกออนไลน์

(20 เม.ย. 68) นายนิธิพัฒน์ พันธุ์ธุมจินดา นักธุรกิจ ฟาร์มปลาสวยงาม โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Nitipat Bhandhumachinda ว่า …

เมื่อวานนั่งถกกับลูกสาว ว่า"หนีห่าว"เป็นการเหยียดตรงไหน

เพราะผมเองก็มองว่า ตนเองเวลาไปต่างประเทศเช่นไปเยอรมัน ก็พูดคำว่า "Good Morning" กับฝรั่งมังค่าเสมอ ไม่เคยพูดว่า "Guten Morgen" ก็ไม่เห็นมีใครเขาว่าอะไร

ลูกสาวก็อธิบายให้ผมเข้าใจว่า การใช้คำว่า"หนีห่าว" ในปัจจุบันนั้น ชาวต่างชาติหลายๆคนจะใช้ ในนัยยะที่ซ่อนความเหยียดผิว ซึ่งคนรุ่นเดียวกับลูกสาวผมจะเจอบ่อยๆในสังคมออนไลน์

มันจะไม่ใช่การทักทายธรรมดา แต่เป็นการจงใจเหยียดแบบเหมารวมที่มีรากฐานมาจากแนวความคิดแบบ Sinophobia ที่ไม่ชอบคนจีน หรือวัฒนธรรมและค่านิยมแบบคนจีน แล้วก็ลามไปสู่คนเอเชียโดยรวม ที่ฝรั่งอาจมองว่าหน้าตาก็คล้ายๆกัน

ซึ่งสำหรับผมก็เป็นความรู้ใหม่ เพราะคนสมัยนี้เขาจะไม่เหมือนสมัยผมเด็กๆที่อยากจะเหยียดก็เหยียดกันตรงๆ เช่นผมเดินอยู่บนถนนในนิวยอร์คช่วงปี พศ. ๒๕๒๔ มีฝรั่งตะโกนมาทางผมว่า "Chink" แล้วเอานิ้มจิ้มตาตัวเองพร้อมกับหัวเราะขำขัน ก็ต้องกลับบ้านมาถามคำแปล แล้วก็เลยรู้ว่าโดนเหยียด

มาสมัยนี้การเหยียดกันตรงๆมันทำไม่ได้แล้ว แต่ก็อาจมีบางคนที่ยังมีจิตสำนึกที่อยากจะเหยียดใครต่อใครเพื่อลดปมด้อยของตน ก็อาจหาแนวทางอื่นมาเหยียดกันแบบซ่อนเร้นเช่นนี้เป็นต้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการพูดคำว่า"หนีห่าว"กับคนไทย หรือคนเอเชียไหนๆที่ไม่ใช่คนจีน สำหรับผมแล้วก็ต้องมองบริบทโดยรวม เพราะหลายๆครั้งชาวต่างชาตินั้นๆ อาจพูดทักทายเป็นปรกติโดยไม่ได้คิดจะดูถูกอะไรใดๆ ก็เป็นไปได้ด้วยเช่นกัน

กรณีน้องทรายนั้น ผมไม่ได้เคยร่วมกิจกรรม หรือร่วมงานอะไรใดๆด้วย จึงไม่สามารถให้ความเห็นอะไรใดๆได้มากนัก แต่เท่าที่มองจากภายนอกนั้น น้องเขาก็มีจิตสำนึกที่รักธรรมชาติ และมีความชัดเจนเชิงอุดมคติ

แต่ผมเองก็ให้ความเป็นธรรมกับองค์กรและบุคลากรทุกๆคนของกรมอุทยานฯ ที่ต่างก็มุ่งมั่นทำงาน ทำหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ แต่อาจไม่สามารถประสานการทำงานกับน้องทรายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จะด้วยเหตุผลอะไรใดๆก็ตาม

ส่วนเรื่องการเหยียดนั้น สมัยปัจจุบันที่ทำงานกับลูกค้าซึ่งทุกคนเป็นชาวต่างชาตินั้น หากมีใครถามว่าเคยโดนเหยียดอะไรบ้างไหม
ก็ตอบได้ตรงๆว่าไม่เคยเลย

เพราะเวลาผมทำอะไรผิดพลาด ลูกค้าเขาไม่ต้องหานัยยะมาเหยียดอะไรใดๆให้เสียเวลา
ด่าผมตรงๆเลย ง่ายกว่าเยอะนะครับ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top