Tuesday, 22 April 2025
เศรษฐีจีน

8 ความสำเร็จ สะท้อนพฤติกรรมมุ่งมั่นแบบจีน 'ก่อนเขาจะรวย' ทำตัวกันแบบไหน? 

คนไทยจำนวนมากยังมีค่านิยม “เจ้าคนนายคน” อยากรวยง่าย รวยเร็ว มีชีวิตหรูหรา แต่ไม่ทำชีวิตให้ไปถึงจุดนั้น ต่างกับอุปนิสัย และพฤติกรรมตอน “ก่อนจะรวย” ของคนจีน ข้อความจาก 'นายพงศ์พรหม ยามะรัต' ที่ได้โพสต์ลงเฟซบุ๊ก และยังกล่าวต่ออีกว่า... 

เกือบๆ 5 ปีก่อน ผมบอกว่า mi หรือ Xiaomi (เสี่ยวมี่) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีมาก และวันนึงจะมาครองตลาดไทย

มีแต่คนหัวเราะเยาะผม!! 

หลายๆ คนพูดเยาะเย้ยว่า “เสี่ยวเอ้อราคาถูกๆ นั่นหนะเหรอ?”

ผมพูดเสมอว่าจีนเจริญได้เพราะขยัน หมั่นศึกษา หมั่นพัฒนา “ตนเอง”

แต่ไทยเรามักจะติดกับตัวเองในการ “วิจารณ์คนอื่น” ไปเรื่อย แต่ไม่พัฒนาตัวเอง ไม่ลงมือทำ

จนผมได้พบกับรองประธาน Xiaomi ตัวเป็นๆ ตั้งแต่พูดคุย จนถึงทานข้าว ผมพบวัฒนธรรม... 

“ขยันเพื่อทำสินค้าให้ดีที่สุดเพื่อลูกค้า” 

ผมมั่นใจเลยว่าเขาจะครองโลก!! 

คนจีนมีความอยากรวยเหมือนคนไทย

แต่สิ่งที่ต่างกันคืออุปนิสัย และพฤติกรรมตอน “ก่อนจะรวย”

นิสัย “ก่อนจะรวย” นี่แหละครับ ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในไทย

คนจีนไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่า หรือรุ่นใหม่ ก่อนจะรวยนั้นมีนิสัยคล้ายๆ กันหลายอย่าง ดังนี้... 

1.) ประหยัด แต่ไม่ขี้เหนียวในการพัฒนาตัวเอง

2.) จัดการการเงินดี มี 10 บาท ใช้ 2 บาท 

ชื่นชอบของแบรนด์เนม แต่ไม่ซื้อของแบรนด์เนมมาแข่งกัน เพราะมองว่าต้องประสบความสำเร็จซะก่อน 

เด็ก Startup ในจีนที่ผมรู้จักเยอะมาก จะไม่กิน Starbucks ก่อนจะรวยเด็ดขาด พวกเค้าจะเลือกทานกาแฟดีของท้องถิ่นที่ราคาไม่ต้องแพง แล้วเก็บเงินเพื่อลงทุนในการพัฒนาตัวเอง หรือหุ้น หรือลงทุนกิจการในอนาคต

3.) ใครซื้อของแบรนด์เนม เห่อซื้อรถราคาแพง โดยยังไม่ประสบความสำเร็จในการทำกิจการ จะไม่ได้รับการยอมรับ

4.) สังคมจีนให้ความสำคัญกับความสำเร็จที่จับต้องได้ ไม่ใช่เขียนอะไรสวยๆ พูดดูดีๆ ขับรถแพงๆ แต่ต้องเปิดร้านบะหมี่ที่อร่อยจริง มีลูกค้ามาต่อคิว ไปจนถึงทำ Startup คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

5.) สังคมจีนไม่ยึดติด และฝันอยู่กับความสำเร็จในอดีตหรือปัจจุบัน

คนจีนคิดได้!! เริ่มอายที่จะใช้สินค้าหรู และอยู่กับสิ่งที่จำเป็น ผลพวงจากเศรษฐกิจติดขัด รัฐไล่ขจัดคอนเทนต์บูชาเงิน

(20 ก.ค.67) รายงานข่าวระบุว่า เทรนด์ ‘Luxury Shame’ หรือ ‘อายที่จะใช้สินค้าหรู’ กำลังขยายตัวขึ้นในหมู่ ‘เศรษฐีจีน’ ผู้คนนิยมซื้อสินค้าที่เน้นคุณภาพ เรียบง่าย และหรูหราอย่างเงียบ ๆ แทน ซึ่งเทรนด์นี้กำลังทำให้พฤติกรรมบริโภคแบรนด์เนมเปลี่ยนไปจากเดิม

แม้เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว แต่ดูเหมือนว่า ‘สินค้าแบรนด์เนม’ ยังคงเปล่งประกายความมั่งคั่ง จนเป็นแรงส่งให้ ‘เบอร์นาร์ด อาร์โนลต์’ เจ้าของอาณาจักร LVMH แบรนด์เนมหรูที่ใหญ่ที่สุดในโลก กลายเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 3 ของโลก

อย่างไรก็ตาม มีเทรนด์ใหม่สวนกระแส และอาจกระทบต่อการเติบโตของสินค้ากลุ่มนี้ กำลังก่อตัวขึ้นใน ‘จีน’ นั่นคือ ‘เทรนด์ละอายที่จะใช้สินค้าหรู’ โดยเหล่าเศรษฐีจีนเริ่มระมัดระวังการแสดงออกถึงความร่ำรวยอย่างโจ่งแจ้ง

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า ปรากฏการณ์นี้สืบเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจจีนที่ซบเซา รายได้หดหาย หนุ่มสาวจีนตกงานจำนวนมาก อีกทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็อ่อนแอลง

ดิเรก เติ้ง (Derek Deng) หุ้นส่วนระดับอาวุโสของ Bain and Company บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจระดับโลกให้ความเห็นว่า “ก็ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐีจีนไม่เต็มใจที่จะใช้จ่ายกับสินค้าหรู จริงๆ แล้ว แบรนด์ชั้นนำบางแบรนด์ยังคงมีผลประกอบการที่แข็งแกร่งมากในจีน เพียงแต่ผู้คนระมัดระวังการบริโภคเพื่อแสดงฐานะทางสังคมมากขึ้น”

ด้านคลอเดีย ดี อาร์ปิซิโอ (Claudia D'Arpizio) หัวหน้าด้านแฟชั่นและสินค้าหรูของ Bain & Company กล่าวว่า “ลูกค้าผู้มีฐานะร่ำรวย กลัวที่จะถูกมองว่าโอ้อวดมากเกินไป”

คลอเดียเสริมต่อ “เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘Luxury Shame’ หรือ ‘ความละอายที่จะใช้สินค้าหรู’ คล้ายกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในสหรัฐช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008-2009 แม้ว่าคนเหล่านี้สามารถจ่ายกับสินค้าเหล่านี้ได้ แต่ก็มีความเต็มใจที่จะซื้อน้อยลง เพื่อไม่ให้ถูกมองว่าเป็นการซื้อหรือสวมใส่สินค้าราคาแพงจริง ๆ”

เธอเสริมว่า แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ผู้บริโภคชาวจีนกำลังหันไปสู่สไตล์ ‘ความหรูหราอย่างเงียบ ๆ’ เป็นสินค้าหรูที่ใช้ลงทุนได้ และมีความ ‘เรียบง่ายกว่า’ และ ‘เห็นได้น้อยกว่า’ มากขึ้น ซึ่งบ่งบอกถึงรสนิยมที่แท้จริงได้ โดยไม่ต้องตะโกนโฆษณา

📌รัฐบาลปราบพวกอวดรวย

ปรากฏการณ์ลด ‘การอวดรวย’ ของชาวจีน นอกจากมีสาเหตุจากปัจจัยเศรษฐกิจแล้ว ยังได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางการเมืองของประเทศด้วย เพราะรัฐบาลจีนกำลังรณรงค์แนวคิด ‘ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน’ (Common Prosperity) ให้สังคมมีความเท่าเทียมมากขึ้น และ ‘ต่อต้าน’ วัฒนธรรมการบูชาเงินทองทุกประเภท

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จีนได้เริ่มต้นรณรงค์กวาดล้างการ ‘อวดรวย’ บนโลกออนไลน์ และได้ทำการแบนอินฟลูเอนเซอร์บางรายออกจากโซเชียลมีเดียของจีน เนื่องจากพวกเขามักใช้พื้นที่ในการแสดงวิถีชีวิตที่หรูหราเกินงาม

ด้วยเหตุนี้ บรรดาโซเชียลมีเดียจีนจึงปฏิบัติตามระเบียบใหม่นี้ เพื่อแบนคอนเทนต์อวดรวย โดย Douyin หรือติ๊กต๊อกจีนกล่าวว่า ได้ลบข้อความจำนวน 4,701 ข้อความ และบัญชีผู้ใช้ 11 บัญชี ส่วน Xiaohongshu กล่าวว่าได้ลบโพสต์ ‘ผิดกฎหมาย’ จำนวน 4,273 โพสต์ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา และปิดบัญชีผู้ใช้ 383 บัญชี และ Weibo กล่าวว่าได้ลบเนื้อหามากกว่า 1,100 โพสต์

ดี อาร์ปิซิโอกล่าวว่า “เรื่องนี้เชื่อมโยงกับท่าทีของรัฐบาลจีนเป็นอย่างมาก แคมเปญความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันได้สร้างผลกระทบทางจิตวิทยาต่อชาวจีน เนื่องจากเหล่าผู้มั่งคั่งบางส่วนวิตก จนตัดสินใจขนความมั่งคั่งออกนอกประเทศ”

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวจีน ‘มีความพิถีพิถัน’ มากขึ้น หลายคนตัดสินใจซื้อสินค้าจากคุณภาพหรือคุณค่าที่แบรนด์มอบให้ ‘มากกว่า’ มองเพียงชื่อแบรนด์อย่างเดียว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top