Tuesday, 22 April 2025
เผาป่า

เชียงใหม่ - ‘นิพนธ์’ กำชับทุกหน่วยงาน! บูรณาการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าอย่างใกล้ชิด พร้อมแนะ! ให้ทำความเข้าใจ กับประชาชน ในการเลิกพฤติกรรมการเผา เชื่อว่าจะทำให้การแก้ไขปัญหาประสบความสำเร็จ

ที่ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันจังหวัดเชียงใหม่ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า โดยมีนายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ หัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมประชุม

นายนิพนธ์ กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหาหมอกควันไฟป่า เป็นอย่างมาก โดยได้ออกข้อกำหนด มาตรการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา และกระทรวงมหาดไทยในฐานะหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ ก็จะต้องบูรณาการทุกภาคส่วนในพื้นที่ในการแก้ปัญหา สั่งการ ควบคุมและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดในพื้นจังหวัดเชียงใหม่ และให้กำหนดรายละเอียดการแบ่งพื้นที่ ผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะบูรณาการหน่วยงานแก้ไขปัญหาร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

พร้อมเน้นย้ำนายอำเภอ ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน ให้มีการเฝ้าระวัง ออกลาดตระเวน และเตรียมความพร้อมในการเข้าไปดับไฟ หากเกิดไฟไหม้ป่าขึ้นในพื้นที่ เพื่อลดจุดความร้อน และแก้ปัญหาหมอกควันไฟป่าที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และที่สำคัญจะต้องทำความเข้าใจและขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน ในการ งด หรือ เลิก การเผา ถ้าพี่น้องประชาชนเข้าใจและเลิกพฤติกรรมดังกล่าว เชื่อว่าจะทำให้การการแก้ไขปัญหาประสบความสำเร็จ

 

‘พิธา’ ชู นโยบาย ‘เกษตรก้าวหน้า’ แก้ปัญหาเผาป่า ตัดต้นตอ PM 2.5 ใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนวิถีเกษตรกรรม

(30 มี.ค. 66) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ‘Pita Limjaroenrat – พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ เรื่องวิธีแก้ปัญหาไฟป่า โดยข้อความระบุว่า…

ดับจุดแดง PM2.5 ด้วยนโยบาย ‘เกษตรก้าวหน้า’

หลังจากที่ผมได้เสนอต้นตอปัญหา PM2.5 ที่เกิดจากการขยายพื้นที่ทางการเกษตรในต่างประเทศ มีคำถามเข้ามาจำนวนมาก ว่า “ถ้าไม่เผา เรามีทางเลือกอะไร”

การลบจุดแดงที่เกิดจากการเผาในภาคเกษตรจากแผนที่ มองภาพให้ใหญ่กว่านั้นคือประเทศไทยต้องเปลี่ยนจากเกษตรที่พึ่งพาการเผา เป็นภาคเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีที่มีการลงทุนมากขึ้น ใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีเข้มข้นขึ้น และสร้างอุตสาหกรรมแปรรูปวัสดุเศษเหลือจากการเกษตร ให้เปลี่ยนจากขยะที่ต้องเผาทิ้งไปสร้างมูลค่า

1.) เปลี่ยนเกษตรแบบเผา เป็นเกษตรที่ใช้เครื่องจักร
สิ่งที่รัฐบาลทำได้ทันทีคือไปคุยกับธุรกิจเครื่องจักรทางการเกษตร และทำโครงการร่วมกัน เพื่อให้เกษตรกรสามารถ ซื้อเครื่องจักรในการเก็บเกี่ยว (อ้อย) และเตรียมดิน (ข้าว และข้าวโพด) โดยขอรับสินเชื่อที่ดอกเบี้ย 0% พร้อมการดูแลหลังการขาย สำหรับกลุ่มเกษตรกร/ สหกรณ์/ ผู้ประกอบการในชุมชนที่ให้บริการเกษตรกรในพื้นที่จำนวนมาก รัฐบาลสามารถให้เงินสนับสนุนอีกทางสูงสุด 25% เพื่อเร่งให้ภาคเกษตรไทยในพื้นที่ต่างๆ ให้ใช้เครื่องจักรกลมากยิ่งขึ้น นอกจากจะช่วยลดการเผาแล้ว ยังเป็นการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ของภาคเกษตรกรรมของประเทศในระยะยาว

นี่คือความสัมพันธ์ที่ควรจะเป็นระหว่างรัฐบาลและกลุ่มทุน พรรคก้าวไกลเราไม่ได้มองกลุ่มทุนเป็นศัตรูในทุกเรื่อง แต่ในเรื่องที่ต้องทำงานร่วมกันแล้วเกิดผลดีกับประเทศเราต้องสนับสนุนให้กลุ่มทุนสร้างการแข่งขันให้กับประชาชนคนตัวเล็ก แต่ในเรื่องที่กลุ่มทุนทำธุรกิจอย่างไม่รับผิดชอบจนเกิดผลกระทบกับประชาชน รัฐบาลก็ต้องกล้าจัดการอย่างถูกต้องเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ พรรคก้าวไกลยังสนับสนุนให้เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ สามารถเปลี่ยนมาเป็นการปลูกไม้ยืนต้น ที่มีความหลากหลายและมีมูลค่าได้ โดยสามารถเลือกที่ใช้เพื่อการปลดหนี้ หรือการรับเป็นรายได้ประจำเป็นรายเดือนด้วย ซึ่งจะเป็นการลดการเผาวัสดุการเกษตรในระยะยาว

2.) เปลี่ยนขยะที่ต้องเผา เป็นเงินในกระเป๋าเกษตรกร
อีกอุตสาหกรรมที่เราจำเป็นต้องทำให้เกิดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรคืออุตสาหกรรมแปรรูปเศษวัสดุการเกษตร (by-product) ทั้งฟางข้าว ใบอ้อย และต้นข้าวโพด ซึ่งไม่ใช่แค่การลดการเผา แต่เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุดและทำให้ผลผลิตจากการเกษตรสร้างเงินในกระเป๋าประชาชนมากที่สุดอีกด้วย

พรรคก้าวไกลมีนโยบาย สนับสนุนงบประมาณผ่านผู้ประกอบการ/ผู้รวบรวมรับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตร ทั้งฟางข้าว ใบอ้อย และต้นข้าวโพด ให้สามารถรับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตรเหล่านี้ในอัตรา 1,000 บาท/ตัน เพื่อมาใช้ประโยชน์ (เช่น อาหารสัตว์ ปุ๋ยอินทรีย์) และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ (เช่น ภาชนะบรรจุ) เกษตรกรสามารถได้รับการสนับสนุนโดยการขายให้กับผู้รวบรวมรายใดก็ได้

3.) ทุนสร้างตัว 100,000-1,000,000 ล้านบาท สร้างผู้ประกอบการแปรรูปวัสดุการเกษตร
นอกจากการรับประกันราคาฝั่งเกษตรกรแล้ว ผู้ประกอบการที่นำเศษวัสดุทางการเกษตรไปแปรรูป และ/หรือไปใช้ประโยชน์ก็เป็นภาคเศรษฐกิจที่ประเทศไทยต้องส่งเสริมให้เกิดขึ้นเพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจที่จะลดการเผาในระยะยาว

ถ้าพรรคก้าวไกลได้เป็นรัฐบาลหรือบริหารกระทรวงเกษตรฯ เราจะมีนโยบายจัดสรรเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย+ทุนตั้งตัว 100,000 บาท/ราย เพื่อก่อตั้งธุรกิจ และทุนสร้างตัว 1,000,000 บาท/ราย เพื่อขยายกิจการให้ยั่งยืนในระยะยาว

4.) ฟรี! รับรองมาตรฐาน GAP-GMP-เกษตรอินทรีย์ ส่งสินค้าเกษตรคุณภาพดีไปทั่วโลก
เนื่องจากเกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ยังไม่เข้าถึงการเข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร โดยเฉพาะสินค้าประเภทพืชไร่และข้าว ซึ่งทำให้ไม่สามารถขายสินค้าเกษตรได้ราคาส่งออกต่างประเทศได้ เราจึงมีนโยบาย ‘รับรองมาตรฐาน GAP-GMP-เกษตรอินทรีย์ฟรี! ส่งสินค้าเกษตรคุณภาพดีไปทั่วโลก’

เมื่อเกษตรกรดำเนินการโดยปลอดการเผา และการดำเนินการอื่นๆ ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (หรือ GAP) เกษตรกรจะสามารถขอรับมาตรฐาน GAP และ/หรือมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ฟรี! โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นเวลา 2 ปี

5.) เลิกงบไฟป่าไม่โปร่งใส ให้งบตรงไปที่ท้องถิ่นและประชาชน
สุดท้าย การลบจุดแดง PM2.5 อย่างยั่งยืน เราต้องแก้ปัญหาไฟป่า ถามว่าทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาไฟป่าได้อย่างยั่งยืนกันแน่?

‘ทส.-กษ.’ รวมพลังแก้ปัญหาฝุ่นเชิงรุก เฝ้าระวัง 10 ป่าอนุรักษ์-ป่าสงวนฯ จับตาพื้นที่เกษตรเผาไหม้ซ้ำชาก พร้อมหนุนใช้เทคโนโลยีแจ้งเตือน ปชช.

(2 พ.ย. 66) น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการหารือกับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อร่วมมือและกำหนดแนวทางแก้ปัญหา โดยในภาคเกษตรจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะช่วยลดฝุ่น PM 2.5 ซึ่งจากการหารือได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายหลักแบบมุ่งเป้า ได้แก่ 10 ป่าอนุรักษ์ 10 ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่เกษตรที่ไฟไหม้ซ้ำชาก จะลดป่าเผาไหม้ และพื้นที่เกษตรเผาไหม้ลงร้อยละ 50 พื้นที่ ส่วนเป้าหมายรองเป็นพื้นที่อื่นๆ ที่ต้องลดการเผาไหม้ และควบคุม

น.ส.เกณิกา กล่าวว่า รัฐบาลได้กำหนดแนวทางบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่เกษตร จัดทำข้อมูลเกษตรกรและจำนวนพื้นที่ กำหนดเงื่อนไขการเผา และประกาศให้รับรู้ ใช้ระบบ BurnCheck ประมวลผล พร้อมทั้งส่งเสริมเกษตรปลอดการเผา โดยเฉพาะในพื้นที่ไร่อ้อย และพื้นที่นาข้าว การบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้การเกษตร ในพื้นที่เกษตรรอบโรงไฟฟ้า ชีวมวลในรัศมี 50 กิโลเมตร การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม

พล.ต.อ.พัชรวาท เข้าใจเกษตรกร หากจำเป็นต้องเผา ให้ขออนุญาตฝ่ายปกครอง หรือ ‘อปท.’ ก่อน ฝ่ายปกครอง หรือ ‘อปท.’ อนุญาตเผาตามหลักเกณฑ์ที่ตกลงกัน และกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ประมวลผล ผ่านระบบ BumCheck จัดตั้งชุดปฏิบัติการประจำพื้นที่ (ระดับอำเภอ) เฝ้าระวัง ออกตรวจป้องปราม ระงับ ยับยั้ง แจ้งเหตุ และระดมสรรพกำลัง เฝ้าระวัง ป้องกันการลักลอบเผา

พร้อมกันนี้ จะให้มีการนำระบบการรับรองผลผลิตทางเกษตรแบบไม่เผา (GAP PM2s Free) มาใช้เป็นเครื่องมือปรับเปลี่ยนระบบการปลูกพืช และการเปลี่ยนพืชที่มีการเผาให้ปลอดการเผา ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่สูงอ้อย ข้าว กำหนดเงื่อนไขเรื่องการห้ามเผากับมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ ของภาครัฐ

“ในส่วนของการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ฤดูฝนกำลังจะหมดไป โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีปัญหารุนแรงด้านมลพิษฝุ่นมาโดยตลอด ค่าฝุ่น PM 2.5 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

ทั้งนี้ กระทรวงทรัพากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เตรียมความพร้อมปฏิบัติการเชิงรุก มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศทั่วประเทศ และมีระบบแจ้งเตือนข้อมูลไปยังประชาชน โดยนับจากวันนี้ไป ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ในการให้ข้อมูลสถานการณ์ฝุ่นแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง” น.ส.เกณิกา กล่าว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top