Saturday, 3 May 2025
เบียร์ภัสรนันท์

‘เบียร์ เดอะวอยซ์’ โพสต์ให้กำลังใจตัวเอง บอกปล่อยทุกอย่างไป หลังถูกมือดีปล่อยภาพลับ ท่ามกลางแฟนๆ พร้อมซัพพอร์ตเต็มที่

(19 ก.ย.66) กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงในโลกโซเชียล สำหรับนักร้องสาวเสียงดี ‘เบียร์ เดอะวอยซ์’ หรือ ‘เบียร์ ภัสรนันท์’ หลังถูกผู้ไม่หวังดีปล่อยภาพลับหลุดว่อนเน็ต จนเจ้าตัวต้องตั้งทนายความขึ้นมาเพื่อเอาผิดกับคนที่ปล่อยภาพลับนั้น

ล่าสุด ‘เบียร์ เดอะวอยซ์’ ได้ออกมาเคลื่อนไหวผ่านอินสตาแกรม โดยเขียนข้อความเป็นการให้กำลังใจตัวเองด้วยการลงข้อความภาพที่เขียนว่า “let it all go see what stays” (ปล่อยทุกอย่างไป และดูว่าอะไรคงอยู่บ้าง)

งานนี้ก็มีแฟนคลับต่างเข้ามาให้กำลังใจสาวเบียร์กันอย่างล้นหลาม เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ความผิดของตัวเอง

‘อ.ตฤณห์’ วิเคราะห์!! ‘เบียร์ เดอะวอยซ์’ ไลฟ์อาบน้ำ ใช้ร่างกาย เป็นทุนทางสังคม ลั่น!! เตือนมาเป็นปีแล้ว ควรไปทำจิตบำบัด เจ้าตัวภูมิใจ!! ได้เงิน 1 แสน ใน 1 วัน

(1 พ.ค. 68) เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก สำหรับการไลฟ์สดโชว์เรือนร่างอาบน้ำ ของ 'เบียร์ เดอะวอยซ์' หรือ 'เบียร์ ภัสรนันท์ อัษฎมงคล' ที่ถึงแม้ไม่ได้เปลือยหมดจดก่อนที่วันนี้เจ้าตัวจะออกมาเผยอย่างภูมิใจว่ารู้สึกแฮปปี้เพราะตื่นเช้ามาพร้อมมีเงินเข้า 1 แสนใน 1 วัน บอกคอนเทนต์ที่ทำก็ไม่ได้สร้างความเกลียดชังให้ใคร

ล่าสุด 'อ.ตฤณห์ โพธิ์รักษา' นักอาชญาวิทยาเชิงจิตวิทยาและพฤติกรรมอาชญากร อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล ได้ออกมาวิเคราะห์เรื่องการไลฟ์อาบน้ำ โดยมีหลายประเด็นน่าสนใจ ระบุว่า …

Live อาบน้ำ!!
การใช้ร่างกายเป็น 'ทุนทางสังคม' (Social Capital)

1. บุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (Narcissistic Traits)
อยากเป็นจุดสนใจ : บุคคลอาจมีความต้องการให้ผู้อื่นสนใจหรือชื่นชมตนเองสูง
การใช้รูปร่างเป็นเครื่องมือ : มักใช้ร่างกายหรือภาพลักษณ์ทางเพศเพื่อแลกกับการได้รับการยอมรับ
ประเมินคุณค่าในตนเองจากสายตาคนอื่น : การได้รับยอดไลก์หรือคอมเมนต์อาจเป็นสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน

2. บุคลิกภาพแบบแสดงออกแรง (Histrionic Personality Traits)
ชอบเรียกร้องความสนใจอย่างสุดโต่ง : บุคคลแบบนี้มักแสดงพฤติกรรมที่เกินจริงหรือยั่วยวนเพื่อให้ได้รับความสนใจ
มีอารมณ์แปรปรวนเร็ว : และมักตัดสินใจโดยใช้อารมณ์มากกว่าตรรกะ
การแสดงตัวเองผ่านเพศ : อาจสื่อสารความต้องการควบคุมหรือมีอิทธิพลต่อผู้อื่นผ่านภาพลักษณ์ทางเพศ

3. การขาดขอบเขตระหว่าง ‘พื้นที่ส่วนตัว’ กับ ‘พื้นที่สาธารณะ’
“อาจสะท้อนถึง พัฒนาการทางจิตใจไม่สมบูรณ์ หรือ การไม่เห็นคุณค่าของความเป็นส่วนตัว”

4. แรงจูงใจทางเศรษฐกิจหรือสื่อสังคม
-ในบางกรณี อาจไม่เกี่ยวกับบุคลิกภาพโดยตรง แต่เกี่ยวกับ พฤติกรรมที่ได้รับแรงจูงใจจากรายได้หรือยอดผู้ติดตาม
-ถือเป็นการใช้ร่างกายเป็น 'ทุนทางสังคม' (Social Capital)

5. ทัศนคติแบบเสรีทางร่างกาย (Body Positivity หรือ Exhibitionist)
-บางคนอาจเชื่อว่าการแสดงออกเช่นนี้คือ 'สิทธิ' และ 'อิสระ' ในการแสดงออกของร่างกาย
-กรณีนี้อาจต้องวิเคราะห์ร่วมกับเจตนาเชิงอุดมการณ์ ไม่ใช่แค่พฤติกรรมทางเพศหรือ

คำเตือนเชิงจิตวิทยาและสังคม
-พฤติกรรมนี้อาจทำให้บุคคล ตกอยู่ในความเสี่ยง เช่น การคุกคามทางเพศ การถูกบูลลี่ หรือถูกเอารูปไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม
-อาจสะท้อนถึง ความขัดแย้งภายในจิตใจ หรือความเหงา ที่ถูกแสดงออกในลักษณะยั่วยวน

นอกจากนี้ อ.ตฤณห์ ได้แชร์ข่าวที่เคยวิเคราะห์ว่าเบียร์น่าเป็นห่วง เพราะไม่ได้รู้สึกผิด และอนาคตอาจเลวร้ายกว่านี้ พร้อมเขียนแคปชั่นว่า “เฮ้อ เตือนมาเป็นปีแล้วว่าควรไปทำจิตบำบัด”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top