‘ดร.ไชยันต์’ โยนโจทย์ถึง ‘ดันแคน แมคคาร์โก’ กับแนวคิด 'เครือข่ายกษัตริย์' ขอคำอธิบายและการประยุกต์ใช้ หลัง ‘พอล แชมเบอร์’ - นักวิชาการไทย นำไปอ้างอิง
ศาสตราจารย์ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ต่อกรณี งานของ ดร พอล แชมเบอร์ และนักวิชาการไทยท่านอื่นๆที่ชอบใช้กรอบแนวคิดเรื่อง Network Monarchy (เครือข่ายกษัตริย์/NM) ในการวิเคราะห์การเมืองไทย
1. อยากให้ ศาสตราจารย์ Duncan McCargo (เจ้าของ NM). ช่วยอธิบายความหมายและการประยุกต์ใช้ กรอบแนวคิด Network Monarchy (NM)หน่อยครับ (ท่านอาจารย์ดันแคนอ่านภาษาไทยได้)
2 เพราะผมได้ไปอ่านบทความที่เขียนวิพากษ์ NM ของอาจารย์ดันแคนมา พบว่า
“แม้ว่าแนวคิด ‘เครือข่ายกษัตริย์’ ที่มีอิทธิพลของดันแคน แมคคาร์โกจะถูกอ้างถึงบ่อยครั้งในวรรณกรรมเกี่ยวกับการเมืองไทยในช่วงไม่นานมานี้
แต่ก็ยังมีการพัฒนาไม่เพียงพอ”
ด้วยเหตุนี้ แนวคิดนี้จึงถูกตั้งคำถามและท้าทายโดยนักวิชาการหลายคนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ในบทความ Pacific Affairs ของเขาในปี 2021 แมคคาร์โกได้โต้แย้งข้อโต้แย้งของนักวิชาการเหล่านี้หลายคนและปกป้องแนวคิดของเขา
อย่างไรก็ตาม การปกป้องของเขานั้นไม่น่าเชื่อถือ
เนื่องจากไม่ได้ขยายความถึงขอบเขต องค์ประกอบ และรูปแบบการดำเนินงานของเครือข่ายกษัตริย์ ทำให้ข้อบกพร่องของแนวคิดดั้งเดิมของเขายังไม่ได้รับการแก้ไข
ที่สำคัญที่สุด ตอนนี้แมคคาร์โกเน้นย้ำถึงคุณสมบัติ 'ที่คลุมเครือ' ของเครือข่ายกษัตริย์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เขาไม่ได้เน้นในตอนแรก เพื่อรองรับความผิดปกติเชิงประจักษ์ใหม่ๆ และโต้แย้งกับผู้วิจารณ์ของเขา การทำเช่นนี้ทำให้ข้อโต้แย้งของเขาไม่สามารถหักล้างได้
บทความนี้ใช้แนวคิดของ Robert Cribb เป็นพื้นฐาน เพื่ออธิบายว่าทำไมแนวคิดเครือข่ายกษัตริย์ซึ่งพัฒนาไม่เพียงพอจึงแพร่หลายไปทั่วในตอนแรก”
(ส่วนหนึ่งจาก Nishizaki, Yoshinori, “ ‘Ambitious’ Network Monarchy as Problematic Euphoric Couplet,” September 2023Pacific Affairs 96(3):553-568.)
ปล.
ท่านอาจารย์ดันแคนเพิ่งมาสัมภาษณ์ผมไม่นานมานี้ ผมเลยถามท่านว่า “อาจารย์คิดว่า อย่างตัวผมนี่ อยู่ใน Network Monarchy ไหมครับ และเพราะอะไร ?”
ท่านตอบครับ
อยากให้ผู้อ่านลองเดาว่า ท่านตอบอย่างไร
