Wednesday, 3 July 2024
เขื่อนภูมิพล

วันนี้ เมื่อ 58 ปีก่อน ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ทรงเปิดเขื่อนภูมิพลอย่างเป็นทางการ

โครงการสร้างเขื่อนภูมิพล เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2496 โดยในระยะแรกนี้ใช้ชื่อว่า "เขื่อนยันฮี" ถือเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งและเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ แห่งแรกของประเทศไทยเลยทีเดียว ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระปรมาภิไธยให้ใช้เป็นชื่อเขื่อนนี้ว่า "เขื่อนภูมิพล"

ลักษณะของเขื่อนเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์ และใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลกในขณะนั้น สร้างปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง 154 เมตร ยาว 486 เมตรความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด 13,462  ล้านลูกบาศก์เมตร

‘ภูมิใจไทย’ ผุดไอเดีย ‘ผันน้ำยวม’ เติมน้ำให้เขื่อนภูมิพล ช่วยเกษตรกรสู้ภัยแล้ง ลั่น!! ‘ภท.’ ยืนเคียงข้างเกษตรกรไทย

(25 ก.พ. 66) นายวีระกร คำประกอบ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.นครสวรรค์ พรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันภัยแล้งของพรรคภูมิใจไทยว่า จากการศึกษาพบว่า ลุ่มน้ำเจ้าพระยาต้องการน้ำ 18,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อปี แบ่งเป็น

3,500 ล้าน ลบ.ม.สำหรับขับไล่น้ำเค็ม และรักษาระบบนิเวศเพื่อไม่ให้น้ำเค็มเข้าใน กทม. หรืออาจจะขึ้นไปถึงพระนครศรีอยุธยาได้, 2,500 ล้าน ลบ.ม. สำหรับผลิตน้ำประปา

3,000 ล้าน ลบ.ม.สำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมอาหารที่ใช้ปริมาณน้ำค่อนข้างมาก

1,000 ล้าน ลบ.ม.สำหรับการปศุสัตว์

ที่กล่าวไปรวมกัน 10,000 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี และยังมีส่วนของภาคการเกษตร ชาวนา ชาวไร่ ที่ต้องการน้ำอีกประมาณปีละ 8,000 ล้าน ลบ.ม.

“เพราะฉะนั้น ปีหนึ่ง เราต้องใช้น้ำ 18,000 ล้าน ลบ.ม. แต่ในช่วงหลาย 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เฉลี่ยประมาณปีละ 4,000 ล้าน ลบ.ม. และในช่วงที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาขาดแคลนน้ำถึง 8,000 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี ทำให้เกิดภาวะภัยแล้ง คำถามมีว่า จะเอาน้ำที่ไหนมาช่วยเหลือพี่น้องชาวนาชาวไร่” นายวีระกร ระบุ

นายวีระกร ซึ่งเป็นอดีตรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวต่อว่า พรรคภูมิใจไทย จึงได้เสนอทางออก โดยการผันน้ำจากลำน้ำยวม ที่มีต้นน้ำ อยู่ที่ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน และไหลลงใต้ไปลงแม่น้ำเมยแล้วออกนอกประเทศ ไปยังแม่น้ำสาละวิน ที่ไหลไปเข้าประเทศเมียนมา โดยแทนที่เราจะปล่อยน้ำออกไปนอกประเทศ เราก็ปิดประตูน้ำที่ปากแม่น้ำยวม และตั้งสถานีสูบน้ำข้ามภูเขาสูงประมาณ 160 เมตร เพื่อไหลลงน้ำแม่งูด อ.ฮอด จ.เชียงใหม่

นายวีระกร อธิบายต่อว่า เพื่อให้น้ำไหลลงเขื่อนภูมิพล จ.ตาก ซึ่งปัจจุบันเขื่อนภูมิพลสามารถกักเก็บน้ำ ได้ 13,500 ล้าน ลบ.ม. แต่ตลอดระยะเวลาที่เกิดเอลนีโญ ช่วงปี 2555-2563 มีน้ำเฉลี่ยอยู่ไม่เกิน 5,000 ล้าน ลบ.ม. เพราะฉะนั้น เขื่อนภูมิพล ยังมีพื้นที่สามารถกักเก็บน้ำได้อีกประมาณ 8,500 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี เมื่อเราปิดไม่ให้น้ำยวมไหลออกไปนอกประเทศ แล้วสูบน้ำมายังเขื่อนภูมิพล โดยน้ำยวมจะสามารถสูบข้ามเขามาได้ประมาณปีละ 2,000 กว่าล้าน ลบ.ม.

นายวีระกร กล่าวอีกว่า ปริมาณน้ำ 2,000 กว่าล้าน ลบ.ม.จากแม่น้ำยวมก็ถือว่า ยังไม่เพียงพอ และอาจจะต้องมีเฟส 2 โดยการต่อท่อจากแม่น้ำสาละวิน บริเวณชายแดน จ.แม่ฮ่องสอน เอามาลงประตูน้ำที่ปิดตรงปากแม่น้ำยวม เมื่อเป็นเช่นนี้ ในอนาคต เราก็จะมีน้ำยวมมาช่วยให้กับพี่น้องประชาชนในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ขาดแคลนน้ำประมาณปีละ 4,000-8,000 ล้าน ลบ.ม. ได้อย่างเพียงพอ โดยเราจะสูบน้ำเฉพาะในหน้าฝน ซึ่งเป็นช่วงที่พี่น้องในพื้นที่ลุ่มน้ำยวมเดือดร้อนจากน้ำท่วม แต่ในหน้าแล้งเราจะไม่แตะต้องเลย

“เป็นการผันน้ำ เพื่อเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนภูมิพล และเป็นการเติมน้ำต้นทุนให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวนากว่า 27 จังหวัด ในลุ่มน้ำภาคกลางทั้งหมด ที่จะเป็นนโยบายหลักของพรรคภูมิใจไทย ในการทำให้พี่น้องชาวนา ชาวไร่ ได้มีน้ำเพียงพอในการทำการเกษตร นี่คือ คำสัญญาของพรรคภูมิใจไทย ที่ขอยืนเคียงข้างพี่น้องเกษตรกรไทย” นายวีระกร ระบุ


ที่มา : https://www.naewna.com/politic/713530

17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ทรงเปิด ‘เขื่อนภูมิพล’ อย่างเป็นทางการ

วันนี้ เมื่อ 59 ปีก่อน ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ทรงเปิดเขื่อนภูมิพลอย่างเป็นทางการ

โครงการสร้างเขื่อนภูมิพล เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2496 โดยในระยะแรกนี้ใช้ชื่อว่า "เขื่อนยันฮี" ถือเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งและเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ แห่งแรกของประเทศไทยเลยทีเดียว ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระปรมาภิไธยให้ใช้เป็นชื่อเขื่อนนี้ว่า "เขื่อนภูมิพล"

ลักษณะของเขื่อนเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์ และใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลกในขณะนั้น สร้างปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง 154 เมตร ยาว 486 เมตรความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด 13,462  ล้านลูกบาศก์เมตร

ในหลวง ร.9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2504 การก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วย งานก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า และอาคารโรงไฟฟ้า และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมและ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ตามลำดับ

ในหลวง ร.9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 จากนั้นมาก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงการผลิตกระแสไฟฟ้าเรื่อยมา ๆ และให้ประโยชน์ในด้านชลประทานแก่พื้นที่ถึง 10 ล้านไร่ ต่อปี 

อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนสามารถจุน้ำได้ 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื้อที่ผิวน้ำประมาณ 300 ตารางกิโลเมตร ความยาวของลำน้ำจากเขื่อนถึงอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทาง 207 กิโลเมตร นอกจากประโยชน์ทางด้านพลังงานไฟฟ้าและชลประทานแล้ว เขื่อนภูมิพลยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทยอีกด้วย สิ้นค่าก่อสร้างในขณะนั้น 2,500 ล้านบาท

17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ‘ในหลวง ร.9’ เสด็จฯ เปิด ‘เขื่อนภูมิพล’ เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกในประเทศไทย

‘เขื่อนภูมิพล’ เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งขนาดใหญ่ สร้างปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เดิมเรียก ‘เขื่อนยันฮี’ ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อน และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2504 โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า อาคารโรงไฟฟ้า และองค์ประกอบต่าง ๆ

ทั้งนี้ เขื่อนภูมิพล ถือเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกในประเทศไทย รองรับน้ำได้สูงสุด 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งนอกจากจะใช้ระบายไปเพื่อการเกษตร อุปโภคบริโภค ตลอดจนคมนาคมขนส่งแล้ว ยังใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า 

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 นอกจากจะช่วยหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตรกว่า 10 ล้านไร่ ส่งเสริมอาชีพประมงเป็นมูลค่ากว่า 400 ล้านบาทต่อปี ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 64,000 ล้านหน่วย ยังเป็นเขื่อนที่ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัย และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้แก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย

'เขื่อนของพ่อ' เพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชนชาวไทย เติมชีวิต เป็นมิตรเกษตร เขตป้องอุทกภัย โอกาสใหม่การท่องเที่ยว

‘เขื่อนภูมิพล’ ถือกำเนิดเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นมีแนวคิดที่จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามได้อนุมัติการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2496 แรกเริ่มใช้ชื่อว่า 'เขื่อนยันฮี' (ยันฮีชื่อของตำบลยันฮี อันเป็นที่ตั้งของเขื่อนภูมิพล) 

การเวนคืนได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2499 และเริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2500 โดยว่าจ้างบริษัทผู้รับเหมาจากสหรัฐฯ และบริษัทอื่น ๆ จาก 14 ประเทศร่วมเป็นที่ปรึกษา 

ในปี พ.ศ. 2500 รัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระปรมาภิไธย ‘พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร’ มาเป็นชื่อ ‘เขื่อนภูมิพล’ และได้เสด็จไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2504 การก่อสร้างแล้วเสร็จและทำรัฐพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 

‘เขื่อนภูมิพล’ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์กั้นแม่น้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตรูปโค้ง รัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง 154 เมตร ยาว 486 เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร 

เมื่อแรกก่อสร้างเสร็จถือเป็นเขื่อนรูปโค้งที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ขณะที่ปัจจุบัน ‘เขื่อนภูมิพล’ ยังคงเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สูงที่สุดในประเทศไทยและ ASEAN และอยู่ในอันดับที่ 8 ของโลก

เขื่อนแห่งนี้ ใช้เงินในการก่อสร้างทั้งสิ้นราว 2,250 ล้านบาท โดยเกือบครึ่งหนึ่ง (66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เป็นเงินกู้จากธนาคารโลก

พร้อมกันนี้ ในปี พ.ศ. 2500 มีการตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นมาดูแลการก่อสร้างและบริหารโครงการนี้ในชื่อว่า 'การไฟฟ้ายันฮี' 

ในระยะแรกเขื่อนแห่งนี้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2 เครื่อง (รวม 70,000 กิโลวัตต์) จากที่สามารถติดตั้งได้ 8 เครื่อง ต่อมาได้มีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 3-6 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์ และเครื่องที่ 7 กำลังผลิต 115,000 กิโลวัตต์ 

ต่อมาปี พ.ศ. 2511 'การไฟฟ้ายันฮี' ได้ถูกควบรวมกับรัฐวิสาหกิจ 'การลิกไนต์' และ 'การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ' กลายเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จนถึงทุกวันนี้

นอกจากนี้ และในปี พ.ศ. 2534 กฟผ. ได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 8 แบบสูบกลับ ขนาดกำลังผลิต 171,000 กิโลวัตต์ จึงต้องสร้างเขื่อนแม่ปิงตอนล่างปิดกั้นลำน้ำปิง อยู่ห่างจากเขื่อนภูมิพลลงมาทางท้ายน้ำ 5 กิโลเมตร เพื่อใช้อ่างเก็บน้ำเป็นอ่างล่าง โดยถูกออกแบบให้มีบานประตูระบายน้ำเปิดปิดสำหรับใช้กักเก็บน้ำแล้วสูบกลับไปใช้ผลิตไฟฟ้าอีกครั้ง สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือน มกราคม 2539 ทำให้โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ‘เขื่อนภูมิพล’ มีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าติดตั้งทั้งสิ้น 779.2 เมกกะวัตต์ และสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 1,062 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง จนทุกวันนี้

นอกจากเป็นเขื่อนที่ผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำแล้ว ‘เขื่อนภูมิพล’ ยังมีคุณูปการต่อประเทศไทยอีกมากมาย ด้วยความจุในการกักเก็บน้ำ 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปริมาณน้ำที่ระบายออกไปจากเขื่อนจะถูกนำไปใช้ประโยชน์มากมายหลายด้าน เช่น...

- ด้านการเกษตร ทำหน้าที่ในการทดและส่งน้ำในลุ่มน้ำปิง ฤดูฝนได้ 1,500,000 ไร่ ฤดูแล้งได้อีก 500,000 ไร่ ส่งน้ำไปช่วยพื้นที่ในโครงการเจ้าพระยาใหญ่สำหรับเพาะปลูกในฤดูแล้งได้อีก 2,000,000 ไร่ ตลอดจนถึงการสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่จังหวัดตากและกำแพงเพชรถึง 7.5 ล้านไร่

- ใช้สำหรับการอุปโภคและบริโภคของพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งที่อยู่เหนือและใต้เขี่อน 
- เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำ เมื่อได้ทำการขุดลอกและตกแต่งแม่น้ำปิงบางตอนสำเร็จแล้ว จะ
- สามารถใช้เป็นทางคมนาคมจากเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ไปจนถึงอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ได้ตลอดปี

- เป็นแหล่งท่องเที่ยว บริเวณโดยรอบเขื่อนมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติหลากหลายเส้นทาง และ
- บริการล่องแพชมความสวยงามของทัศนียภาพของตัวเขื่อนและแก่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง
- เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดที่สำคัญของประเทศ

- ช่วยป้องกันน้ำเค็มสำหรับการผลิตน้ำประปาในเขต กทม. นนทบุรี ปทุมธานี และนครปฐม
- บรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง รวมถึงในเขตทุ่งเจ้าพระยา ในช่วงฤดูฝน

ปัจจุบันนี้ในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะ สาธารณรัฐประชาชนจีนก็ยังคงมีการสร้างเขื่อนอเนกประสงค์โดยเน้นในเรื่องของการผลิตกระแสไฟฟ้า เก็บกักน้ำ และป้องกันอุทกภัยอยู่ 

แต่สำหรับประเทศไทย ด้วยกระแสต่อต้านการสร้างเขื่อนจาก NGO ที่เป็นกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทำให้แนวคิดในการสร้างเขื่อนใหม่ ๆ ในประเทศไทยถูกคัดค้านอย่างรุนแรงเรื่อยมา จนต่อไปในอนาคตข้างหน้าคงเป็นการยากมาก ๆ ที่จะมีการสร้างเขื่อนขึ้นในประเทศไทยได้อีก และคนไทยคงไม่มีโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากเขื่อนอเนกประสงค์เช่นนี้อีก แม้ว่าสังคมไทยจะได้รับอรรถประโยชน์โภคผลเกิดขึ้นจาก 60 ปีของ ‘เขื่อนภูมิพล’ มาแล้วมากมายก็ตาม 

"…ข้าพเจ้าเห็นพ้องกับรัฐบาลว่า โครงการอเนกประสงค์โครงการแรกของประเทศไทยนี้ เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาเศรษฐกิจก้าวใหม่ให้ไพศาลออกไป ปัจจุบันน้ำเป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงชีวิต และน้ำกับไฟฟ้าส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของชีวิต เมื่อพลเมืองเพิ่มมากและเร็ว ก็ต้องเพิ่มน้ำและไฟฟ้าให้ทันความต้องการของพลเมือง…" พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเปิดเขื่อนภูมิพล 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top