Tuesday, 22 April 2025
อุตุนิยมวิทยา

‘จีน’ เผย ‘ท่องเที่ยวเชิงอุตุนิยมวิทยา’ เทรนด์ตลาดเกิดใหม่มาแรง ชู ‘การท่องเที่ยว-ภูมิอากาศ-ภูมิทัศน์-วัฒนธรรม’ ดึงเม็ดเงินเข้าประเทศ

(21 ธ.ค. 66) สำนักข่าวซินหัว, เจิ้งโจว รายงานจากสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศจีน ระบุว่า การท่องเที่ยวเชิงอุตุนิยมวิทยาในจีนเติบโตอย่างต่อเนื่องช่วงไม่กี่ปีมานี้ และจะรักษาแนวโน้มการเติบโตที่รวดเร็วในปีต่อๆ ไป จนเกิดเป็นตลาดการท่องเที่ยวเกิดใหม่

รายงานว่า ด้วยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอุตุนิยมวิทยาจากสถาบันฯ ที่เผยแพร่ในการประชุมการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศจีน ครั้งที่ 2 ระยะ 2 วัน เผยว่า การพัฒนาที่รวดเร็วของการท่องเที่ยวดังกล่าวในจีน มีปัจจัยหลักมาจากการแสวงหาประสบการณ์ด้านอุตุนิยมวิทยาอันเป็นเอกลักษณ์ที่เพิ่มขึ้นของประชาชน รวมถึงนวัตกรรมและการยกระดับอย่างต่อเนื่องของการท่องเที่ยว

รายงานที่เผยแพร่ในการประชุมฯ ซึ่งปิดฉากลงเมื่อวันพุธที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา ในมณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน คาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมบริการเชิงอุตุนิยมวิทยาของจีนจะมีมูลค่าสูงกว่า 3 แสนล้านหยวน (ราว 1.5 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2025

‘ชวีหย่า’ เลขาธิการสมาคมอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศจีน กล่าวว่า ดวงอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม พายุฝนฟ้าคะนองที่งดงาม ผืนฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว น้ำแข็งและหิมะ น้ำค้างแข็ง และป่าฝนล้วนเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงอุตุนิยมวิทยา

อนึ่ง ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงอุตุนิยมวิทยา แบ่งแบบกว้างออกเป็น 3 หมวดหมู่ ได้แก่

1.) ทรัพยากรภูมิทัศน์และสภาพอากาศ อาทิ เมฆ ฝน หิมะ แสงสว่าง และปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่พบได้ยาก

2.) ทรัพยากรภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม อาทิ การรักษาสุขภาพ ประสบการณ์ และวัตถุโบราณภูมิอากาศบรรพกาลที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ

3.) ทรัพยากรเชิงอุตุนิยมวิทยาแนวมนุษยนิยม อาทิ อุตุนิยมวิทยาและประวัติศาสตร์ ภูมิทัศน์ที่มนุษย์สร้างขึ้น ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น

'นนทบุรี' เตือน!! 30 ชุมชนนอกแนวป้องกันเสี่ยงน้ำท่วม อิทธิพล 'ฝนหนัก-น้ำเหนือ' แนะ!! เร่งยกของขึ้นที่สูง

เมื่อวานนี้ (3 ก.ย. 67) นายอภิชัย อร่ามศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ในฐานะผู้อำนวยการจังหวัด ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ในราชการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนนทบุรี ถึงหัวหน้าส่วนราชการหลายหน่วยและนายกเทศมนตรีหลายแห่ง และแจ้งให้พร้อมรับมือน้ำฝนและรับน้ำเหนือ และ 30 ชุมชนเสี่ยงถูกน้ำท่วม

โดยอ้างประกาศฉบับที่ 2 ของกรมอุตุนิยมวิทยา ลงวันที่ 2 กันยายน แจ้งว่า ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักถึงหนักมาก บางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์พายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงระหว่างวันที่ 3-9 กันยายน 2567

และกรมชลประทานได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ลงวันที่ 2 กันยายน 2567 แจ้งว่า จะมีการระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 1,400-1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน อีกประมาณ 0.25-1.40 เมตร และอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2567 เป็นต้นไป ประกอบกับจากการคาดการณ์ระดับน้ำทะเลหนุนสูง จากกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ น้ำทะเลหนุนสูงถึงวันที่ 5 กันยายน 2567 และระหว่างวันที่ 14-20 กันยายน 2567

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ และลดผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนนทบุรีจึงขอให้ถือปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

1.แจ้งเตือนประชาชนให้ติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งก่อสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรป้องกันผลิตผลทางการเกษตรที่อาจได้รับความเสียหาย และแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำให้ขนย้ายสิ่งของเพื่อลดความเสียหายจากกรณีเพิ่มการระบายน้ำ และน้ำทะเลหนุนสูง จากระดับน้ำปัจจุบันประมาณ 0.25-1.40 เมตร

2.หากมีแนวโน้มจะเกิดสถานการณ์ฝนฟ้าคะนองรุนแรงในพื้นที่ ให้เตรียมพร้อมทรัพยากร และแผนเผชิญเหตุ รวมถึงกำลังเจ้าหน้าที่ให้มีความพร้อมบรรเทาภัย อำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยตลอด 24 ชั่วโมง โดยประสานและบูรณาการหน่วยงานพลเรือน เครือข่ายอาสาสมัคร จิตอาสา ภาคเอกชนทุกภาคส่วนเข้าร่วมปฏิบัติงาน

3.หากเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ให้รายงานสถานการณ์ และการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนนทบุรีทราบทันที ทางหมายเลขโทรศัพท์ 0-2591-2471 สายด่วน 1784 หรือแจ้งผ่านแอพพลิเคชั่น Line ปภ.โดยดำเนินการเพิ่มเพื่อน Line ID : @๑๗๘๔DDPM ตลอด 24 ชั่วโมง

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนนทบุรี จึงขอให้ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชนที่ประกอบกิจการในแม่น้ำ เช่น งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร เป็นต้น รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำต่ำ 30 จุด ให้เฝ้าระวังและยกของขึ้นที่สูงและเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และหากมีแนวโน้มจะเกิดสถานการณ์สาธารณภัยในพื้นที่ ให้แจ้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร ประชาชนจิตอาสา หรือกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนนทบุรี ร่วมปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือประชาชนต่อไป

สำหรับชุมชนทั้ง 30 แห่ง ที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ นอกแนวป้องกันน้ำท่วม เสี่ยงได้รับผลกระทบ ประกอบด้วย

1.ชุมชนบริเวณวัดค้างคาว ม.4
2.ชุมชนริมน้ำท่าอิฐ ม.8
3.ชุมชนบริเวณมัสยิดท่าอิฐ ม.10
4.ชุมชนคลองบางภูมิ ม.5 ฝั่ง ต.คลองพระอุดม
5.ชุมชนบริเวณวัดไทรม้าเหนือ
6.ชุมชนบริเวณวัดไทรม้าใต้
7.ชุมชนวัดเฉลิมพระเกรียรติ
8.ชุมชนวัดอมฤต
9.ชุมชนบริเวณเกาะเกร็ด
10.ชุมชนบริเวณวัดแคนอก

11.ชุมชนวัดศาลารี
12.ชุมชนวัดค้างคาว ม.4
13.ชุมชนบริเวณวัดโพธิ์ทองบน
14.ชุมชนบริเวณวัดสลักเหนือ
15.ชุมชนวัดแจ้งศิริสัมพันธ์
16.ชุมชนบริเวณ หลัง รพ.พระนั่งเกล้า
17.ชุมชนบริเวณท่าน้ำนนทบุรี
18.ชุมชนบริเวณหมู่บ้านเทพประทาน
19.ชุมชนบริเวณวัดกู้
20.ชุมชนบริเวณวัดบ่อ

21.ชุมชนบริเวณวัดสนามเหนือ
22.ชุมชนวัดกลางเกร็ด
23.ชุมชนวัดแสงสิริธรรม
24.ชุมชนริมน้ำท่าอิฐ ม.4, ม.5, ม.6 และ ม.7
25.ชุมชนวัดตำหนักใต้
26.ชุมชนบริเวณวัดท่าบางสีทอง
27.ชุมชนบริเวณวัดชลอ
28.ชุมชนบริเวณวัดเกตุประยงค์เล็ก
29.ชุมชนบริเวณวัดพิกุลทอง
30.ชุมชนวัดใหญ่สว่างอารมณ์


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top