Thursday, 15 May 2025
อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า

8 บิ๊กคอมพานีปักหมุดไทยฐานผลิตรถ EV หอบทุนแสนล้าน ดันไทยฮับ EV อาเซียน

(17 ต.ค. 65) จากเพจเฟซบุ๊ก Vaccine ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าของไทยที่กำลังจะกลายเป็น EV Hub ของโลก หลัง 8 บริษัทใหญ่ทั่วโลกร่วมลงทุนด้วยเงินกว่าแสนล้านบาท ไว้อย่างน่าสนใจว่า…

ประเทศไทยเนื้อหอม ยุครปภ.
8 บริษัทยักษ์ใหญ่ลงทุนโรงงานผลิตรถ EV

ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น EV Hub ของโลก...ในยุครปภ.
ด้วยเงินลงทุนกว่าแสนล้านจากบ.ยานยนต์ทั่วโลก
เพราะประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะเลิกจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในอย่างสิ้นเชิงภายในปี 2035 และสหประชาชาติก็เสนอร่างเลิกขายรถเครื่องยนต์สันดาปในปี 2040
ส่งผลให้รถ EV กลายเป็นหน้าใหม่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นความต้องการของโลก

ด้วยความทันเกมส์ของรัฐบาลไทย ก็ประกาศเป้าหมาย ปี 2573 ไทยจะผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งรถยนต์นั่งและรถกระบะทั้งสิ้น 725,000 คัน ประเภทรถจักรยานยนต์จะมีการผลิตทั้งสิ้น 675,000 คัน หรือมีสัดส่วน 30% ของการผลิตทั้งหมด 

และคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ตั้งเป้าการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2573 เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) พร้อมผลักดันไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกหรือศูนย์กลางของภูมิภาค (EV Hub)

วันนี้ 8 บริษัทยักษ์ใหญ่เลือกลงทุนในไทยเป็นฐานการผลิตรถ EV ลงทุนแล้ว 5 บริษัท คือ

1. Foxconn + Horizon plus 🇹🇼🇹🇭 
มูลค่าการลงทุน 1.04 billion USD ที่จ.ชลบุรี

2. Ford 🇺🇲
มูลค่าการลงทุน 1.02 billion USD ที่จ.ระยอง

3. BYD 🇨🇳
มูลค่าการลงทุน 522 million USD ที่จ.ระยอง

‘ซูเปอร์โพล’ เผยผลสำรวจ!! ความพึงพอใจปชช. ผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล ‘เอกนัฏ’ ได้คะแนนสูงสุด ทำอุตสาหกรรมขยายตัว แก้ปัญหากากสารพิษจากโรงงาน

(15 ธ.ค. 67) สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ประเมินผลงานกระทรวงสังคมและเศรษฐกิจ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,156ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 10 – 14 ธันวาคม พ.ศ.2567ที่ผ่านมา

เมื่อถามถึงรัฐมนตรีประจำกระทรวงด้านสังคมที่ประชาชนพึงพอใจ 3 อันดับแรก พบว่า กระทรวงมหาดไทยโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้คะแนนสูงสุดอันดับหนึ่ง เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน ได้ 7.52 คะแนน โดยมีผลงานด้านการจัดระเบียบสังคม ทลายแหล่งมั่วสุมตามสถานบันเทิง การแก้ไขปัญหายาเสพติด การเยียวยาปัญหาน้ำท่วม ภัยพิบัติ การพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยว เศรษฐกิจพอเพียง พึ่งพาตนเอง เศรษฐกิจสินค้าโอทอป (OTOP) และการพัฒนาท้องถิ่น สาธารณูปโภค น้ำ ไฟฟ้า ถนนหนทาง ที่ดินทำกิน สิ่งแวดล้อม พื้นที่สีเขียว ชีวิตความเป็นอยู่ทั่วไปของประชาชน การพัฒนาชุมชนและเมือง เป็นต้น 

รองลงมาอันดับที่ 2 คือ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ 7.41คะแนน โดยมีผลงานด้าน สิทธิประโยชน์ประกันสังคม การสนับสนุนให้ประชาชนมีงานทำ เพิ่มโอกาสการจ้างงานสำหรับประชาชน มีรายได้ มีความปลอดภัยในการทำงาน สวัสดิการสำหรับแรงงาน การดูแลผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน การฝึกอบรมในด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ สำหรับแรงงาน เป็นต้น

อันดับที่ 3 ได้แก่ นาย วราวุธ ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ 7.22 คะแนน โดยมีผลงานด้านการดูแลผู้สูงอายุในหลายด้านเช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพ การพัฒนาดูแลผู้สูงอายุศูนย์พักฟื้นและกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้สูงอายุ การให้ความรู้เพิ่มทักษะการเข้าถึงสิทธิและบริการต่าง ๆ การปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน การส่งเสริมรับรองสิทธิเด็ก การเยียวยาดูแลผู้ยากไร้ผู้ประสบภัยในชุมชนที่ขาดแคลน การพัฒนาที่อยู่อาศัย การแก้ปัญหาชุมชนแออัด เป็นต้น

เมื่อสอบถามถึงกระทรวงด้านเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ที่ประชาชนพึงพอใจ3 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม โดย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้คะแนนสูงสุดอันดับ 1 เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน ได้ 7.35 คะแนน โดยมีผลงานการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า การพัฒนาการนิคมอุตสาหกรรม ทำคนไทยมีอาชีพในนิคมพื้นที่ต่าง ๆ อุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ พลังงานทดแทนเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมสีเขียว การแก้ปัญหากากสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ พัฒนาอาชีพคนไทยในนิคมอุตสาหกรรม การสนับสนุนธุรกิจ SME และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมส่งออกสินค้าไทย เป็นต้น

อันดับที่ 2 ได้แก่ กระทรวงการคลัง โดย นายพิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ 7.24 คะแนน โดยมีผลงานโดดเด่นได้แก่ การแจกเงินดิจิทัลให้ประชาชนกระตุ้นเศรษฐกิจ การบริการของธนาคารออมสิน การส่งเสริมการลงทุน การกระจายรายได้ การยกเลิกการขึ้นภาษี การจัดการเงินทุนและสินทรัพย์ของรัฐ การบริการของธนาคารกรุงไทยกระตุ้นเศรษฐกิจกระจายรายได้ให้ประชาชนผ่านแอปพลิเคชันการเงินต่าง ๆ และการใช้เทคโนโลยีการเงินของกระทรวงการคลัง เป็นต้น

อันดับที่ 3 ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ได้ 7.01 คะแนน โดยมีผลงานด้านการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีค้าขายออนไลน์ การซื้อสินค้า การบริการเทคโนโลยีดิจิทัล อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การบริการของรัฐบาลดิจิทัล การสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Ai ในภาคธุรกิจ การแก้ปัญหามิจฉาชีพออนไลน์ แก๊งคอลเซนเตอร์ และความปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นต้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top