Wednesday, 23 April 2025
อุตสาหกรรมชิป

‘ผู้เชี่ยวชาญตลาดทุนฯ’ ยกดีล มาเลเซีย – ARM สุดคุ้ม หลังอัดฉีดเงินลงทุน 250 ล้านเหรียญ หนุนสู่ผู้นำอุตสาหกรรมชิป

นายณัฐ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานธุรกิจระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ และกรรมการผู้จัดการร่วม บริษัท เซ็ทเทรด ดอท คอม จำกัด โพสต์เฟซบุ๊ก Nat Luengnaruemitchai ว่า มาเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับดีลของมาเลเซียกับ ARM ให้ฟังกันสั้นๆ 

ก่อนอื่นเลย มาเลเซียเนี่ยเค้าไม่ได้เพิ่งเริ่มให้ความสำคัญกับธุรกิจชิปนะครับ 

ในปี 1972 Intel ได้เปิดโรงงานชิปแห่งแรกในเมืองปีนัง มีการจ้างพนักงานกว่าพันคน และภายในปี 1975 โรงงานแห่งนี้มีกำลังผลิตส่งให้กับ Intel มากกว่าครึ่งเลยทีเดียว

หลังจากนั้น AMD, Hitachi และ HP รวมถึงบริษัทเซมิคอนดักเตอร์อื่นๆ รวมๆ แล้วมากถึง 14 บริษัทก็ได้มาเปิดโรงงานในมาเลเซีย เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียมองการณ์ไกล และให้เปิดการค้าเสรี ทำให้การส่งออกนำเข้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับการยกเว้นภาษี 

และในปี 2023 ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์อีกรายได้ลงทุนกว่าห้าพันล้านเหรียญสหรัฐในการขยายโรงงานผลิตชิปในเมือง Kulim 

ส่วน Foxconn ก็ประกาศจะสร้างโรงงานผลิตชิปด้วยเช่นกัน

ในขณะนี้ มาเลเซียมีกำลังการผลิตชิปรวมกัน 13% ของโลกเลยทีเดียว

ดังนั้น การตกรถไฟของไทยไม่ใช่เรื่องใหญ่เลยแต่อย่างไร เราตกมานานแล้ว และจะตกต่อไปด้วย

แต่สำหรับการบรรลุข้อตกลงกับ Arm Holdings ในครั้งนี้ ถือว่าน่าสนใจมาก เพราะทางมาเลเซีย เซ็นสัญญากับ Arm Holdings ในสามเรื่องด้วยกัน 

1. ตกลงให้มีการอบรมวิศวกร 10,000 ในเรื่องของการออกแบบวงจร
2. บริษัทบางส่วนในมาเลเซียจะได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงเทคโนโลยีของ Arm ซึ่งมีทั้งหมด 7 ส่วนด้วยกัน ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า จะทำให้เกิดรายได้จากบริษัทเหล่านี้ 1.5 - 2 พันล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว
3. ตกลงที่จะให้ Arm Holdings เปิดสำนักงานสาขาในมาเลเซีย เป็นแห่งแรกในอาเซียน

ซึ่งทั้งหมดนี้ น่าจะคุ้มสุดคุ้ม เมื่อเทียบกับเงินที่รัฐบาลมาเลเซียตกลงที่จะจ่ายให้กับ Arm Holdings ในระยะเวลา 10 ปี ที่ 250 ล้านเหรียญสหรัฐ

เกาหลีใต้ อัดฉีด 34,000 ล้านดอลลาร์ เสริมแกร่งอุตสาหกรรมชิปและยานยนต์สู่ระดับโลก

(7 มี.ค. 68) สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศจัดตั้งกองทุนมูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.17 พันล้านบาท) เพื่อสนับสนุน อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นสองภาคส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

นายกรัฐมนตรีฮัน ด็อกซู เปิดเผยว่า กองทุนนี้จะใช้เพื่อ กระตุ้นการลงทุน วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง โดยเฉพาะในภาคเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เกาหลีใต้เผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากจีนและสหรัฐฯ ในอุตสาหกรรมชิป รวมถึงแรงกดดันจากการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดในอุตสาหกรรมยานยนต์ รัฐบาลจึงเดินหน้าผลักดันให้ ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ และ เอสเค ไฮนิกซ์ ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการเซมิคอนดักเตอร์ของประเทศ เพิ่มการลงทุน และขยายขีดความสามารถทางเทคโนโลยี

นอกจากนี้ กองทุนดังกล่าวยังครอบคลุมไปถึง การพัฒนาระบบซัพพลายเชน และการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ

การประกาศครั้งนี้ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของเกาหลีใต้ในการรักษาความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในเวทีโลก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top