Thursday, 8 May 2025
อหิวาตกโรค

‘อหิวาตกโรค’ โรคระบาดที่อันตรายถึงชีวิต! | TIME TO KNOW EP.10

ผวาหนัก! สาธาฯ เตือนต้องระวัง ‘อหิวาตกโรค’ โรคระบาดจากเชื้อแบคทีเรียกลับมาแล้ว!

อย่ารับประทานที่ไม่สะอาด กึ่งสุกกึ่งดิบ เพราะภัยอันตรายที่คนส่วนใหญ่มองข้ามนี้

เสียงอันตรายถึงชีวิต! 

 

ดำเนินรายการโดย วสันต์ มนต์ประเสริฐ Content Manager THE STATES TIMES

 

พบกับแขกรับเชิญสุดพิเศษ ดร.โอ นิตินันท์ พันทวี

นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการพิเศษ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 

 

รับชม TIME TO KNOW ตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyLeCUW3J3YQWxrNs4ZAeXBp 

 

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST

TikTok: THE STATES TIME PODCAST

เมียนมาแจกวัคซีน 2 ล้านโดส รับมืออหิวาตกโรคระบาด

(25 ธ.ค. 67) กระทรวงสาธารณสุขเมียนมาเปิดเผยเมื่อวันอังคารที่ 24 ธันวาคมว่า ได้แจกจ่ายวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคชนิดรับประทานให้ประชาชนแล้วกว่า 2 ล้านโดส ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา  

รายงานจากสำนักข่าวซินหัวระบุว่า การระบาดของอหิวาตกโรคในภูมิภาคย่างกุ้งเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทำให้กระทรวงสาธารณสุขของเมียนมาต้องแจ้งสถานการณ์ต่อองค์การอนามัยโลก (WHO) และเพิ่มความพยายามในการควบคุมการแพร่ระบาด  

กระบวนการแจกจ่ายวัคซีนเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน โดยกระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของอหิวาตกโรคอย่างใกล้ชิดในภูมิภาคและรัฐต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ให้ลุกลาม

WHO ประกาศภาวะฉุกเฉิน 'อหิวาตกโรค' หลังพบผู้ป่วยพุ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี"

(30 ธ.ค. 67) องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ "อหิวาตกโรค" เป็น "ภาวะฉุกเฉินครั้งใหญ่" หลังจากพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก และอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้พุ่งสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี

นางมาร์กาเร็ต แฮร์ริส โฆษกองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า การระบาดในครั้งนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องดำเนินการโดยด่วน ทั้งการรณรงค์ฉีดวัคซีนและการปรับปรุงระบบน้ำและสุขอนามัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมการระบาด

แม้ว่าจะมีความคืบหน้าในการควบคุมโรคอหิวาตกโรคในหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่จำนวนผู้ป่วยกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2022 โดยมี 44 ประเทศรายงานพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 25% จาก 35 ประเทศในปี 2021 และแนวโน้มการระบาดยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึงปี 2023 ขณะที่อัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้สูงขึ้นอย่างมาก

โดยซูดานใต้กำลังเผชิญกับการระบาดที่รุนแรงที่สุดในศูนย์พักพิงผู้ลี้ภัยบริเวณเมืองเร็งค์ ซึ่งเป็นจุดรับผู้อพยพจากความขัดแย้งในซูดาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในซูดานอาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นที่มีสุขาภิบาลไม่เพียงพอ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ WHO และรัฐบาลซูดานใต้เร่งแจกจ่ายวัคซีนในพื้นที่กรุงจูบาและบริเวณใกล้เคียง แต่แฮร์ริสระบุว่า การฉีดวัคซีนเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ

แฮร์ริสเน้นย้ำว่า การแก้ปัญหาอหิวาตกโรคอย่างยั่งยืนต้องมุ่งไปที่การจัดหาน้ำสะอาดและแยกน้ำดื่มออกจากพื้นที่สุขา “วัคซีนเป็นเพียงเครื่องมือช่วยบรรเทาโรค แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการทำให้น้ำสะอาดเข้าถึงได้และแยกน้ำสะอาดจากพื้นที่ที่ใช้เป็นห้องน้ำ” เธอกล่าว พร้อมเรียกร้องให้มีการดำเนินการที่รวดเร็วเพื่อหยุดการแพร่เชื้อจากคนสู่คน

นางแฮร์ริสให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีทีจีเอ็นของจีนว่า การกลับมาระบาดอีกครั้งของอหิวาตกโรคเกิดจากทรัพยากรที่มีจำกัด โดยเฉพาะในเรื่องของระบบน้ำและสุขาภิบาลที่ไม่เพียงพอในหลายประเทศ ซึ่งทำให้โรคนี้กลายเป็นภาวะฉุกเฉินระดับโลก ในเดือนมกราคม 2566 องค์การอนามัยโลกได้จัดประเภทการระบาดของโรคนี้เป็นภาวะฉุกเฉินระดับ 3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด

นางแฮร์ริสกล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าการฉีดวัคซีนจะช่วยควบคุมการแพร่ระบาดได้ แต่ยังไม่เพียงพอ และต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อให้มั่นใจว่า ระบบน้ำและสุขอนามัยในแต่ละประเทศจะปลอดภัยและสามารถหยุดการแพร่ระบาดได้

อหิวาตกโรคเป็นโรคติดเชื้อในลำไส้เฉียบพลันที่เกิดจากแบคทีเรีย "ไวบริโอ โคเลอแร" (Vibrio cholerae) ซึ่งแพร่กระจายผ่านอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระ แม้ว่าโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและการรักษาสุขอนามัยที่เหมาะสม แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจถึงแก่ชีวิตได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง

สำหรับสถานการณ์ป่วยโรคอหิวาต์ บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ล่าสุดในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พบว่าฝั่งเมียนมาเสียชีวิตแล้ว 3 ราย โดยผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนในเมียวดีและโรงพยาบาลบ้านโก๊กโก๋ จำนวนผู้ป่วยสะสมในพื้นที่ดังกล่าวมีประมาณ 450 คน ส่วนที่หมู่บ้านส่วยโก๊กโก่ หรือเขตอิทธิพลจีนเทาในจังหวัดเมียวดี ซึ่งตรงข้ามกับตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด และบ้านวังผา อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ได้รับการประสานจากสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก พบผู้ป่วยอหิวาตกโรคจำนวน 3 ราย ใน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนถุงทอง 1 ราย ชุมชนร่วมแรง 1 ราย และชุมชนมณีไพสณ์ 1 ราย ซึ่งทั้งหมดอยู่ในเขตเทศบาลนครแม่สอด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top