Wednesday, 7 May 2025
หมดไฟ

‘เต้ย จรินทร์พร’ เกิดภาวะหมดไฟ กังวลกับชีวิตในวงการบันเทิง โชคดี!! มี ‘มาตาลดา’ ช่วยเยียวยาใจเอาไว้ ทำให้ฉุดดึงขึ้นมาได้

(9 ส.ค.66) โกยทั้งคำชมและเรตติ้งไม่หยุดจริงๆ สำหรับ ‘มาตาลดา’ ทางช่อง 3 เรียกว่าตั้งแต่ละครเริ่มออนแอร์จนตอนนี้ก็ดังพลุแตก ทุกสื่อโซเชียลต่างชื่นชมในคุณภาพของละครถึงขั้นเอ่ยปากว่า ‘มาตาลดา’ คือหมอรักษาหัวใจทุกคน แม้กระทั่งนางเอกของเรื่องอย่าง ‘เต้ย จรินทร์พร’ ที่ออกมายอมรับกับไทยรัฐทอล์ค ว่า…

มาตาลดาเองก็เป็นสิ่งที่เยียวยาหัวใจเธอเช่นกัน หลังช่วงที่ถ่ายทำมาตาลดานั้น เป็นช่วงสภาวะโควิด-19 ทำให้เต้ยเจอกับภาวะหมดไฟและไม่แน่นอนในชีวิต ห่วงกังวลกับชีวิตในวงการบันเทิงเพราะตนเป็นเสาหลักของบ้าน แต่ก็ได้วิธีคิดและการมองโลกของมาตาลดาเอามาปรับใช้กับชีวิตตัวเองทำให้ผ่านพ้นมาได้

วิกฤตคนหนุ่มสาวจีน ‘หมดไฟ-ไม่อดทน-ไร้ความพยายามสู้ชีวิต’ อ้าง!! แรงแข่งขันสูงในสังคม ผลักให้กลับมาเกาะพ่อแม่กิน

เมื่อไม่นานนี้ ได้มีผู้ใช้ติ๊กต็อกช่องหนึ่ง ชื่อ ‘daodiy’ ออกมาเล่าถึงสถานการณ์ในสังคมยุคปัจจุบัน ที่กำลังเกิดวิกฤตจากการที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ขาดความพยายามในการเอาตัวรอดในสังคม และหันมาพึ่งพาพ่อแม่มากขึ้น โดยเจ้าของช่องได้ระบุว่า…

ในปัจจุบัน กลุ่มคนรุ่นใหม่ในจีนที่ยังต้องพึ่งพาพ่อแม่อยู่ หรือที่เรียกกันว่า ‘เกาะพ่อแม่กิน’ มีจํานวนอัตรามากกว่า 270 ล้านคนทั่วประเทศ โดยคนกลุ่มนี้ ในภาษาจีนมีชื่อเรียกว่า ‘เขินเหล่าจู๋’ (啃老族) ซึ่งถ้าแปลเป็นตรงตัวจะหมายถึง ‘กลุ่มคนที่กัดกินผู้สูงอายุ’

กลุ่มคนที่กัดกินผู้สูงอายุเหล่านี้ กำลังมีจํานวนที่เพิ่มมากขึ้นในสังคมจีน และแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต ประเด็นสําคัญที่ทําให้คนกลุ่มนี้ มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ คือ

1.) ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนที่เป็นลูกคนเดียวของที่บ้าน โดยคนกลุ่มนี้จะได้รับการประคบประหงม ถูกดูแลอย่างดีจากคุณพ่อคุณแม่ ตั้งแต่เด็กจนโต โดยเฉพาะคนที่เกิดในช่วงปี 1985 ถึงประมาณ 1990 เป็นต้นไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว คนกลุ่มนี้มักจะเติบโตมาในครอบครัวที่มีอันจะกิน จึงทําให้พวกเขานั้นไม่มีความสามารถที่จะต่อสู้กับคนในสังคมได้มากนัก หรือก็คือ ‘ขาดทักษะในการเอาตัวรอด’ นั่นเอง เพราะว่าคนกลุ่มนี้นั้นพึ่งพาครอบครัวของเขามาตลอด

2.) การศึกษา ในระบบการศึกษาของจีนนั้นยังเน้นสอนแบบการ ‘ท่องจํา’ เป็นส่วนใหญ่ ทำให้เด็กจีนมีทักษะในการเอาตัวรอดในสังคมค่อนข้างน้อย เพราะฉะนั้น นักศึกษาที่เรียนจบไปส่วนใหญ่ มักจะเก่งแค่เรื่องของทฤษฎีและวิชาการ แต่ในด้านการปฏิบัติเมื่อต้องออกไปเจอสังคมภายนอก อาจจะทำให้เอาตัวรอดได้ยาก

3.) เศรษฐกิจของจีน สังคมในที่ทํางานส่วนใหญ่นั้นมักจะมีความกดดัน หรือการแข่งขันกันค่อนข้างสูงและรุนแรง ทําให้คนรุ่นใหม่หลายคนเกิดความเหนื่อยล้า จนยอมแพ้และลาออกจากงาน เพื่อกลับไปบ้านกับพ่อแม่ จนในที่สุดก็กลายเป็นกลุ่มคนที่เกาะพ่อแม่กินนั่นเอง

4.) ระบบในสังคมจีน ซึ่งยังเป็นระบบของที่มีการใช้ ‘ความสัมพันธ์’ (Relationship) หรือที่เรียกกันว่า ‘ระบบเส้นสาย’ ในสังคมค่อนข้างสูง ทำให้คนที่มีเส้นสายสามารถเข้าไปอยู่ในหน่วยงานดีๆ ได้ทํางานที่ดีๆ ส่วนคนที่ไม่ได้มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดีนัก หรือว่าที่บ้านไม่ได้มีเส้นสาย ก็ต้องไปต่อสู้ แก่นแย้งกับคนที่มีเส้นสาย ทําให้คนกลุ่มนี้ ขาดกำลังใจ เกิดความหมดอาลัยตายอยากกับชีวิต และสุดท้ายก็กลับไปอยู่บ้าน ทั้งหมดนี้ คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมจีน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงยิ่งขึ้นในอนาคต

แล้วที่ ‘ประเทศไทย’ ล่ะ… เป็นอย่างไรบ้าง?

หนุ่มอังกฤษหัวใจจีน เผยประสบการณ์ทำงานสุดหฤโหดในประเทศจีน เข้างาน 9 โมงเลิก 3 ทุ่ม 6 วัน ชี้ตัวการทำหนุ่ม-สาวหมดไฟทำงาน

(8 ต.ค. 67) แจ็ค ฟอร์สไดค์ หนุ่มอังกฤษวัย 28 ปีที่แจ้งเกิดอย่างไม่ได้ตั้งใจ ด้วยการแชร์ประสบการณ์ชั่วโมงการทำงานสุดโหดในจีน ที่เรียกว่าระบบ 996 (ทำงาน 9 โมงเช้า - 3 ทุ่ม 6 วันต่อสัปดาห์) ในบริษัทเกมส์ยักษ์ใหญ่ของจีน จนกลายเป็นไวรัลในสื่อโซเชียลจีน และมีชาวจีนเข้ามาแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก

แจ็ค ฟอร์สไดค์ หนุ่มอังกฤษหัวใจจีน จากเมืองยอร์กเชอร์ ผู้เรียนจบจาก University of Manchester โดยเลือกเรียนวิชาภาษาจีน และเคยมาเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ปักกิ่ง 1 ปีและตกหลุมรักเมืองจีนเข้าเต็มเปา จึงตัดสินใจ ย้ายข้ามทวีปมาหางานทำในประเทศจีน หลังจากเรียนจบ 

และได้งานใน NetEase หนึ่งในบริษัทเกมส์ยักษ์ใหญ่ของจีนในเมืองกวางโจวเมื่อปี 2022 ซึ่งในช่วงแรกเขาทำงานแปลภาษา ที่ไม่จำเป็นต้องทำงานล่วงเวลา ชีวิตการทำงานในจีนถือว่าสุขสบายราบรื่น จนกระทั่งเมื่อมกราคม 2024 เขาถูกย้ายมาอยู่ในแผนกออกแบบเกม ที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่วัฒนธรรมการทำงานแบบ 996 ไปโดยปริยาย

เนื่องจากแผนกที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกม จำเป็นต้องรับมือกับการแข่งขันสูง งานทุกชิ้นมีเส้นตายเพื่อออกงานบี้กับบริษัทคู่แข่ง ทุกคนในทีมล้วนทำงานหนักเพื่อส่งงานให้ทัน และบางครั้ง แจ็ค และเพื่อนในทีมต้องทำงานมากกว่า 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

"พวกเราเริ่มงานกันตอน 10 โมงเช้า ตั้งแต่เดือนเมษายน และเวลาเลิกงานตามมาตรฐานคือ 4 ทุ่ม บางวันทำงานหามรุ่งกันยันเที่ยงคืน วันเสาร์แทบไม่ใช่วันหยุดอีกต่อไป ผมเคยต้องมาทำงานวันเสาร์ติดกัน 3 สัปดาห์รวด" แจ็ค ฟอร์สไดค์ หนุ่มอังกฤษผู้ผ่านประสบการณ์ Culture Shock ของการทำงาน 996 กล่าวผ่านสื่อโซเชียลจีน และมียอดผู้ชมสูงถึง 265,000 วิว เลยทีเดียว 

เมื่อถูกถามว่า ทำไมถึงไม่มีใครร้องเรียนบริษัท หรือ ลองหางานใหม่ ไมค์ ตอบว่า ในช่วงเวลานั้นเราทุกคนคิดแต่เรื่องการทำงานเป็นทีม หากใครทำช้า งานก็จะส่งไม่ทัน และไม่มีใครอยากเป็นตัวถ่วงของทีม 

และตั้งแต่เขาย้ายมาแผนกใหม่ แจ็คก็เริ่มโพสต์ภาพที่สุดแสนเหน็ดเหนื่อยของของลงบน Xiaohongshu แอปพลิเคชันที่คล้าย Instagram เวอร์ชั่นจีน บางครั้งมีแคปชั่น ถามลอยๆว่า เขามาทำอะไรที่นี่? หรือตั้งคำถามเกี่ยวกับการงานล่วงเวลาโดยไม่ได้รับค่าจ้างเพิ่มจึงเป็นเรื่องปกติในจีน, หรือบ่นลอยๆว่า เหนื่อยชะมัด อยากออกแล้ว!!! ซึ่งโพสต์ล่าสุดของเขามีผู้เข้าชมเกิน 3 แสนวิว

แจ็ค ฟอร์สไดค์ ที่ตอนนี้กลายเป็นเน็ตไอดอลจำเป็น กล่าวว่า ที่ชาวเน็ตจีนเข้ามาติดตามสื่อโซเชียลของเขา เพราะแรงงานต่างชาติมักไม่ค่อยบอกเล่าเรื่องราวการทำงานในองค์กรจีน ผ่านสื่อโซเชียลของจีน แต่พอมีฝรั่งสักคน มาบ่นเรื่องเดียวกับที่หนุ่ม-สาวชาวจีนทั่วไปก็เจอ เขาจึงได้รับความเห็นใจ  และรู้สึกว่าเรื่องที่เขาแชร์  เป็นเหมือนปากเสียงแทนพวกเขา 

แต่ทว่า แจ็ค ฟอร์สไดค์ ก็แชร์ประสบการณ์ทำงานแบบ 996 ของเขาได้ไม่นาน ก็ถูกทาง NetEase เลิกจ้างไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งการออกมาพูดเกี่ยวกับการทำงานในองค์กรอาจเป็นส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะทางบริษัทต้นสังกัดมีแผนปรับโครงสร้าง ลดพนักงานอยู่แล้ว

แต่สิ่งที่แจ็ค ต้องเจอในวัฒนธรรมการทำงานแบบ 996 ไม่ได้ทำให้เขารักที่จะใช้ชีวิตในประเทศจีนน้อยลง หลังจากถูกเลิกจ้าง เขาย้ายไปอยู่ที่เมืองฮาร์บิน บ้านเกิดของภรรยาของเขา และยังคงเขียนบทความออนไลน์เกี่ยวกับการทำงานในระบบ 996 ที่จะส่งผลเสียต่อองค์กรจีนในระยะยาว เป็นสาเหตุที่หนุ่น-สาวจีนมีอันต้องหมดไฟทำงานก่อนวัยอันควร และสุดท้ายองค์กรก็จะสูญเสียทรัพยากรบุคคลไป เพราะเน้นที่ปริมาณผลงาน มากกว่าคุณภาพของการทำงาน

ส่วน แจ็ค ฟอร์สไดค์ เน็ตไอดอลจำเป็นวันนี้ ยังเข็ดขยาดกับการทำงานสไตล์ 996 อยู่ จึงขอเวลาทำใจ พักแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับการทำงานที่ผ่านมา   ก่อนไปลุยงานใหม่ในจีนต่อไป ไม่หนีกลับประเทศแน่นอน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top