Monday, 21 April 2025
สังคมคาร์บอนต่ำ

ปตท. ผนึก ‘ม.เชียงใหม่-ซีพีพี’ แปลงของเสียเป็นพลังงาน ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก พาไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

ปตท. ลงนาม MOU ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ บริษัท ซีพีพี ในโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

นายณรงค์ไชย ปัญญไพโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program : T-VER) กับ ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ คุณอานนท์ฤทธิ์ธาร ผู้อำนวยการสายงานปฏิบัติการ ผู้แทนจากบริษัท ซีพีพี จำกัด 

สำหรับการลงนามความร่วมมือดังกล่าว เป็นการต่อยอดจากการพัฒนาก๊าซไบโอมีเทนอัดจากน้ำเสียและของเสียโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ของ บริษัท ซีพีพี โดยการกักเก็บก๊าซมีเทนจากการบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซ NGV ในสถานีบริการ NGV ในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันได้ต่อยอดความร่วมมือ เพื่อขอการรับรองคาร์บอนเครดิต ในโครงการ T-VER ทั้งนี้เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศอย่างแข็งแรงและยั่งยืนตลอดไป

'อลงกรณ์' ชี้ 2565 จุดเปลี่ยนประเทศไทยสู่ยุคใหม่ ลดก๊าซเรือนกระจกต้นเหตุภาวะโลกร้อน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานมูลนิธิ Worldview Climate Foundation (WCF) บรรยายพิเศษ หัวข้อ 'ศักยภาพของโครงการบลู คาร์บอนในประเทศไทย' (Potential for blue carbon projects in Thailand) ในการประชุมนานาชาติจัดโดยมูลนิธิ Worldview International ที่กรุงเทพมหานครวันนี้ โดยแสดงวิสัยทัศน์อนาคตประเทศไทยในการเดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Nation) เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (Climate Change) ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gases:GHGs) อย่างจริงจังตามพันธกรณีที่นายกรัฐมนตรีของไทยประกาศเป้าหมายในการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์

CEO ปตท. ร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในเวทีสุดยอดผู้นำ เน้นย้ำเป้าหมายขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในหัวข้อ ‘Supportive Measures, Innovation and Technology’ ในการอบรมหลักสูตร Climate Action Leaders Forum รุ่นที่ 2 โดยเน้นย้ำความตั้งใจของกลุ่ม ปตท. ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 ให้เร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ รวมถึงยกระดับมาตรฐานการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล พร้อมสร้างคุณค่าต่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

‘อนุชา’ เผย ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเติบโต สะท้อนผลสำเร็จมาตรการของ รบ. ผลักดันไทยเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

(23 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม รับทราบและยินดีที่มียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ถึง 317,502 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.47 จากช่วงเดียวกันของปี 2565 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ถือเป็นพัฒนาการที่สำคัญของไทยในการเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำในอนาคต และเป็นผลสำเร็จจากการดำเนินมาตรการเชิงรุกของรัฐบาลที่สนับสนุนให้เกิดการผลิตและใช้ยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศมากขึ้น โดยยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า 3 ประเภท ในกลุ่มรถยนต์นั่ง ล่าสุดในเดือน ก.พ. มียอดจดทะเบียนสะสม 331,885 คัน ยอดจดทะเบียนสูงสุดคือรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV) รองลงมาได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in Hybrid Electric Vehicle: PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) 

ฝีมือ รปภ.คนเดิม!! รู้หรือไม่? ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมถึงร้อยละ 39.47

ภายหลังจาก ‘บิ๊กตู่’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เดินหน้าผลักดันมาตรการเชิงรุก เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตและใช้ยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง 

ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ถือเป็นพัฒนาการสำคัญของไทยในเชิงของเศรษฐกิจใหม่ด้านยานยนต์ ขณะเดียวกันก็ช่วยพาประเทศเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำในอนาคตอีกด้วย

ปตท. มอบใบประกาศฯ หลักสูตรพลังงานเพื่อชุมชน รุ่น 9 เพื่อเตรียมพร้อมชุมชนเข้าสู่ ‘สังคมคาร์บอนต่ำ’

เมื่อเร็ว ๆ นี้ - ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดและมอบประกาศนียบัตรผู้สำเร็จหลักสูตรพลังงานเพื่อชุมชน (พพช.) รุ่นที่ 9 พร้อมมอบรางวัลโครงงานเชิงปฏิบัติการดีเด่น และบรรยายพิเศษในหัวข้อ ‘พลังงานชุมชนกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน’ โดยมี นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ร่วมแสดงความยินดีและมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้สำเร็จหลักสูตรฯ จำนวน 58 คน ณ ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ 

ปตท. จัดทำหลักสูตรพลังงานเพื่อชุมชน เพื่อสร้างการพึ่งพาตนเองทางด้านพลังงานทดแทนให้แก่ชุมชน ตั้งแต่ปี 2558 โดยในปีนี้ได้เพิ่มเนื้อหาด้านนวัตกรรมพลังงานที่สามารถนำไปพัฒนาและใช้งานได้จริง เพิ่มเนื้อหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการมุ่งเข้าสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อเตรียมพร้อมชุมชนเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ปัจจุบันมีผู้ผ่านการอบรมจนจบหลักสูตรทั้งสิ้น ประมาณ 505 คน

'ไทย' เจ๋ง!! ดึง Carbon Watch เทคโนโลยี AI มาใช้ครั้งแรกในไทย-อาเซียน อีกขั้นพาไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดย 'อบก.-ไทยคม-มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง'

(14 ก.ค.67) ทีมข่าว THE STATES TIMES ได้พูดคุยกับ อ.พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ ในมุมของเรื่อง 'เงินบาทแข็ง' และอีกเรื่องสำคัญอย่าง 'Carbon Watch' โดย อ.พงษ์ภาณุ กล่าวว่า...

สัปดาห์ที่ผ่านมามีเรื่องน่าสนใจอยู่ 2 เรื่อง...

เรื่องแรก เงินบาทมีค่าแข็งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ภายหลังการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนของสหรัฐฯ ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ประกอบกับคำกล่าวของ Jerome Powell ประธาน Federal Reserve ในการรายงานภาวะเศรษฐกิจต่อสภา Congress ว่าการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงเป็นเวลานานสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและศักยภาพในการเจริญเติบโต ตลาดการเงินจึงคาดว่าจะต้องมีการลดดอกเบี้ยนโยบายอย่างแน่นอนภายในเดือนกันยายนนี้

กลับมาดูประเทศไทย ธปท. ยังคงดื้อรั้นไม่ยอมลดดอกเบี้ย ทั้ง ๆ ที่เงินเฟ้อของไทยที่ผ่านมาอยู่ใกล้ศูนย์หรือติดลบด้วยซ้ำ ความตึงตัวของนโยบายการเงินในประเทศเมื่อเทียบกับนโยบายการเงินทั่วโลกจึงเป็นสาเหตุหลักของการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยยังน่าเป็นห่วงอยู่ในขณะนี้ แนวโน้มค่าเงินบาทดังกล่าวย่อมเป็นการซ้ำเติมความอ่อนแอและหน่วงรั้งโอกาสการเติบโตของประเทศ

แต่เป็นที่น่ายินดีที่การพัฒนาการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในภาคป่าไม้ของไทยได้มีการยกระดับการพัฒนาโครงการสูงขึ้นอีกก้าวใหญ่ อบก. (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน หรือ TGO) ได้ร่วมมือกับ 'บริษัทไทยคม' และ 'มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง' นำวิธีการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) โดยเทคโนโลยี AI ที่เรียกว่า Carbon Watch มาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยและอาเซียน เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้การประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอนมีความถูกต้องแม่นยำ มีความรวดเร็ว และมีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำลง

ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำของไทย จำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้การพัฒนาโครงการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น Carbon Watch จึงเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่สมควรได้รับการชื่นชม เป็นความร่วมมืออย่างลงตัวระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาชน โดยการสนับสนุนของ อบก. และกลไกคาร์บอนเครดิต เราจึงเชื่อมั่นว่าจะมีเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ดี ๆ เช่นนี้เกิดขึ้นอีกมากมาย เพื่อขับเคลื่อนการเดินหน้าสู่ความยั่งยืนของไทย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top