Tuesday, 22 April 2025
สะพานแขวน

ครบรอบ 85 ปี ‘Golden Gate Bridge’ สะพานแขวนสีส้มแห่งนคร San Francisco

วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt ทำพิธีกดปุ่มทางไกลเปิดใช้สะพาน Gate Bridge ในนคร San Francisco อย่างเป็นทางการจากกรุง Washington D.C. โดยสะพาน Golden Gate ถูกจัดให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางวิศวกรรมของโลกยุคปัจจุบัน ด้วยเคยครองสถิติสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลกมาก่อน (ปัจจุบันสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก คือ สะพาน Akashi-Kaikyo อยู่ที่ญี่ปุ่น) โดยมีระยะทาง 2.7 กิโลเมตร สูง 223.5 เมตร 

สะพาน Golden Gate ทอดข้ามอ่าว San Francisco บริเวณช่องแคบ Golden Gate ทางตอนเหนือของนคร San Francisco กับ เทศมณฑล Marin มลรัฐ California ในตอนก่อนสะพานจะถูกสร้างขึ้น เส้นทางสั้น ๆ ที่ใช้งานได้จริงเพียงเส้นทางเดียวระหว่างนคร San Francisco กับ เทศมณฑล Marin (ในปัจจุบัน) คือ โดยสารเรือ Ferry ข้ามอ่าว San Francisco โดยบริษัท Sausalito Land and Ferry ซึ่งบริษัทนี้เปิดตัวในปี พ.ศ. 2410 ในที่สุดก็กลายเป็นบริษัท Golden Gate Ferry ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัทรถไฟสายแปซิฟิกใต้ เรือ Ferry ข้ามฟากของบริษัทรถไฟสายแปซิฟิกใต้ทำกำไรมหาศาลและมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ โดย เรือ Ferry ที่ข้ามฟากระหว่างท่าเรือ Hyde Street Pier ในนคร San Francisco กับท่าเรือ Sausalito Ferry Terminal ในเทศมณฑล Marin ใช้เวลาราว 20 นาที และราคาค่าบริการอยู่ที่คันละ  1.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ในสมัยนั้น) 

ท่าเรือ Sausalito Ferry Terminal ในเทศมณฑล Marin ก่อนที่จะมีสะพาน Golden Gate

ด้วยเหตุนคร San Francisco เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาที่ยังคงไม่มีการเชื่อมโยงถาวรกับชุมชนรอบอ่าว และต้องใช้บริการโดยสารเรือ ferry ข้ามฟากเป็นหลัก จึงทำให้อัตราการเจริญเติบโตของเมืองต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราการเจริญเติบโตของเมืองใหญ่ในสหรัฐฯ 

แต่ในยุคนั้นบรรดาผู้เชี่ยวชาญหลายคนต่างให้ความเห็นว่า เทคโนโลยีขณะนั้นคงไม่สามารถสร้างสะพานข้ามช่องแคบยาว 6,700 ฟุต (2,000 เมตร) ได้ เพราะมีอ่าว San Francisco มีกระแสน้ำที่หมุนวนอย่างแรง ความลึกของน้ำบริเวณใจกลางช่องแคบอยู่ที่ 372 ฟุต (113 ม.) และลมพัดแรงจัดมากอยู่บ่อย ๆ ครั้ง จึงเป็นเหตุให้ผู้เชี่ยวชาญสรุปว่า ลมที่พัดแรงจัด อีกทั้งหมอกลงหนักจะเป็นอุปสรรคขัดขวางการก่อสร้างและการใช้งานสะพาน 

แม้ว่าแนวคิดของเรื่องสะพานทอดข้ามช่องแคบ Golden Gate จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในที่สุดข้อเสนอก็ถูกตีพิมพ์ใน San Francisco Bulletin ปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) โดยบทความของ James Wilkins วิศวกรของนคร San Francisco ซึ่งได้ทำการประเมินค่าใช้จ่ายในการสร้างไว้ที่ 100 ล้านดอลลาร์ (ราว 2.5 พันล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน) แล้วก็ยังไม่สามารถทำได้ในขณะนั้น 

แต่ Joseph Strauss ซึ่งเป็นวิศวกรและกวี ผู้มีความทะยานอยาก ซึ่งเคยทำวิทยานิพนธ์เรื่องการออกแบบสะพานรถไฟยาว 55 ไมล์ (89 กม.) ข้ามช่องแคบ Bering และในขณะนั้น Strauss ได้สร้างสะพานแขวนเสร็จสมบูรณ์แล้วราว 400 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสะพานในสหรัฐฯ และไม่มีอะไรที่เขาจะสนใจมากไปกว่าโครงการสร้างสะพานใหม่เพื่อข้ามช่องแคบ Golden Gate ภาพร่างสะพานเริ่มต้นของ Strauss ประกอบด้วยคานแขนขนาดใหญ่ในแต่ละด้านของช่องแคบ ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยส่วนกันสะเทือนกลาง โดย Strauss สัญญาไว้ว่า จะสามารถสร้างได้ด้วยงบประมาณ 17 ล้านดอลลาร์ (เทียบเท่ากับ 423 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน)


Joseph Strauss

หลังจากนั้นด้วยมติในสภานิติบัญญัติแห่งมลรัฐ California อนุมัติให้มีการสร้างสะพานและทางหลวงด้วยงบประมาณ 35 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 530 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน) เพราะมีความมั่นใจว่า Strauss จะมีการปรับเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และยอมรับข้อมูลต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญโครงการที่ปรึกษาหลาย ๆ คนว่า การสร้างสะพานแขวนถือเป็นแนวทางที่น่าจะประสบความสำเร็จและสามารถใช้งานจริงได้มากที่สุด การก่อสร้างต้องใช้เวลามากกว่าหนึ่งทศวรรษเพราะโครงการก่อสร้างสะพานนี้ต้องเผชิญกับการต่อต้าน รวมถึงการฟ้องร้องดำเนินคดีจากผู้ที่คัดค้านและเสียผลประโยชน์มากมาย 

อีกทั้งกระทรวงสงครามของสหรัฐฯ เองก็เกรงว่า สะพานนี้จะกลายเป็นอุปสรรคต่อการสัญจรทางเรือ กองทัพเรือสหรัฐฯ กลัวว่า การชนสะพานของเรือหรือการก่อวินาศกรรมอาจเป็นปิดกั้นทางเข้าท่าเรือหลักแห่งใดแห่งหนึ่ง ส่วนสหภาพแรงงานเรียกร้องให้มีการรับประกันว่า คนงานในท้องถิ่นจะได้เข้าทำงานในการก่อสร้างโครงการนี้

นอกจากนั้น บริษัทรถไฟสายแปซิฟิกใต้ หนึ่งในผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ทรงอิทธิพลที่สุดในมลรัฐ California คัดค้านการสร้างสะพานนี้เพราะจะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจเรือ Ferry ข้ามฟาก และได้ยื่นฟ้องคัดค้านโครงการนี้ ซึ่งนำไปสู่การคว่ำบาตรการใช้บริการเรือข้ามฟาก


 Leon Moisseiff วิศวกรผู้ออกแบบและสร้างสะพาน Manhattan ในมหานคร New York

ในที่สุด Strauss ก็ได้เป็นทั้งหัวหน้าวิศวกรที่รับผิดชอบการออกแบบโดยรวมและการก่อสร้างสะพาน แต่เนื่องจากเขามีความเข้าใจหรือประสบการณ์น้อยในการออกแบบระบบกันสะเทือนด้วยสายเคเบิล ความรับผิดชอบในด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จึงตกอยู่ที่ผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ 

ข้อเสนอจากการออกแบบเบื้องต้นของ Strauss (ช่วงเสาเข็มคู่สองช่วงที่เชื่อมโยงกันด้วยระบบกันสะเทือนส่วนกลาง) ไม่เป็นที่ยอมรับอันเนื่องมาจากมุมมองที่สามารถมองเห็นนั้นดูไม่สวยสง่า ทำให้การออกแบบช่วงล่างที่สวยงามขั้นสุดท้ายเกิดขึ้นโดย Leon Moisseiff วิศวกรผู้ออกแบบและสร้างสะพาน Manhattan ในมหานคร New York 
 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top