Wednesday, 23 April 2025
สถาบันทิวา

'อลงกรณ์' พอใจ 'เอฟเคไอไอบิสซิเนส ฟอรั่ม' ประสบความสำเร็จเชื่อมโยงธุรกิจไทย-เกาหลี บรรลุข้อตกลงจับคู่ธุรกิจการลงทุนกิจการเทคโนโลยีชีวภาพ-สุขภาพ-สิ่งแวดล้อมพร้อมขยายความร่วมมือกับโกลบอลESG

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานเอฟเคไอไอ ไทยแลนด์( FKII Thailand)เปิดเผยวันนี้ภายหลังเป็นประธานเปิดงาน FKII Global Business Forum : THAI - KOREA COLLABORATION และบรรยายพิเศษเรื่อง อนาคตความร่วมมือระหว่างประเทศไทย-เกาหลี (Thailand - Korea Collaboration Outlook)ซึ่งจัดร่วมกับสถาบันทิวา โดย นายชยดิฐ หุตานุวัตรและการบรรยายพิเศษเรื่องการขับเคลื่อนความร่วมมือทางเศรษฐกิจของเกาหลีในเอเซีย (Korea-Asia Economic Cooperation)โดย อดีตรัฐมนตรี ดร.ลี นัมคี ( Dr. Lee Nam Kee ) ประธานสมาคมโคเอก้า( Korea-Asia Economic Cooperation Association : KOAECA) ณ สวนเสียงไผ่ สถาบันทิวา ทาวน์อินทาวน์

งานดังกล่าว เปิดโอกาสให้ ผู้ประกอบการเกาหลีในนามสมาชิก KOAECA ได้นำเสนอ Profile ของบริษัทและสิ่งที่ต้องการในการเชื่อมโยงธุรกิจกับไทย และแนะนำผู้ประกอบการไทยโดย คุณชนานนท์ นรภูมิพิภัชน์ CEO บริษัท ทิวา แคปิตอลคอนซัลแทนซี่ จำกัด อีกทั้งมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเกาหลีและไทย 4 ฉบับ ได้แก่ 1) N-Biotek กับ TVA Capital Consultancy Ltd. 2) KNJ Engineering & Health กับ EnvitechLtd. 3) Mealbon Inc. กับ Neo Venture Solutions Ltd. และ 4) Global ESG Association กับ TVA Instituteโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเช่น

ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานคณะที่ปรึกษาเอฟเคไอไอ. ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันสร้างชาติ รศ.ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล รองประธานเอฟเคไอไอ. นายสุปรีย์ ทองเพชร ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี) ดร.กนก อภิรดี อดีตผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย นายปรพล อดิเรกสาร อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ศจ.ดร.ฐาปนา บุญหล้า ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษเรื่อง โอกาสการลงทุนในประเทศไทย(Investment Opportunity in Thailand)โดย นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และได้รับเกียรติจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย ได้ส่งคุณคิมมินเฮ (Ms. Kim Minhye) ที่ปรึกษาด้านพาณิชย์ (Commercial Attache) มาร่วมงาน

FKII Thailand (Field for Knowledge Integration and Innovation) เป็นองค์กรความร่วมมือเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้และนวัตกรรม ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (Non- Profit Organization) ในรูปของวิสาหกิจเพื่อสังคม 100% โดยมี คุณอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเป็นประธานคณะกรรมการและมี คุณชยดิฐ หุตานุวัชร์ ผู้บริหารสถาบันทิวา เป็นผู้อำนวยการ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคีภาคส่วนต่าง ๆ ทางด้านการพัฒนาโดยองค์ความรู้ นวัตกรรมและเชื่อมโยงการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ FKII Thailand มีพันธกิจมุ่งเน้นจะสร้างเศรษฐกิจนวัตกรรม (Innovation Economy)

ติดตาม FKII Thailand
FB: FKIIThailand https://shorturl.at/87OHy
LineOA: FKIIThailand https://lin.ee/BgPCPvd
 
FKII Thailand มุ่งมั่นสร้างสรรค์ ความร่วมมือ ร่วมทุน ร่วมค้า ระหว่างประเทศ

เอฟเคไอไอ.ร่วม 'ท็อป-จิรายุส' เปิดเวทีตอบโจทย์อนาคตประเทศไทย เสนอรัฐเร่งเดินหน้าความตกลงดิจิทัลอาเซียนดึงเม็ดเงินลงทุนกว่า 60 ล้านล้านบาท มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต สร้างฐานวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี เสริมทักษะเอไอ ยึดแนวทาง Green-ESG

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ ไทยแลนด์( FKII Thailand) เปิดเผยวันนี้ว่า สถาบันเอฟเคไอไอ.ได้จัดกิจกรรมการสนทนาวาระประเทศไทย ( FKII NATIONAL DIALOGUE )เพื่อนำประเด็นที่เป็นความท้าทายและโอกาสในปัจจุบันและอนาคตมาวิเคราะห์เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับประเทศในหัวข้อ 'อนาคตปัญหาประเทศไทย' โดยจัดร่วมกับสถาบันทิวา มีผู้ร่วมการสนทนาแลกเปลี่ยน(Dialogue) ได้แก่ รศ.ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล รองประธานเอฟเคไอไอ.

นายชยดิฐ หุตานุวัชร์ ประธานสถาบันทิวา และ นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (ท็อป-จิรายุส) ดำเนินรายการโดย นางสาวนวรัตน์ สัมพันธ์ศรี หัวหน้าคณะทำงานคณะกรรมการขับเคลื่อนเอฟเคไอไอ.ทั้งนี้ รศ.ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ณ สวนเสียงไผ่ สถาบันทิวา ทาวน์อินทาวน์ กรุงเทพมหานคร

ในกิจกรรมการสนทนาดังกล่าว 'ท็อป-จิรายุส' ได้แบ่งปันประสบการณ์ในการเข้าร่วมสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum; WEF) ณ เมืองดาวอส ซึ่งมีผู้นำประเทศต่างๆ ทั่วโลก และนักธุรกิจที่มีมูลค่าตลาดสูงกว่า 5 Billion USD รวมกันประมาณ 3,000 คน ซึ่งในประเทศไทยผู้ที่ได้เข้าร่วมก็จะบริษัทใหญ่ ๆ ได้แก่ CP, ThaiBev, PTT,SCG, KBank เป็นต้น ซึ่งใน WEF มีการพูดถึงเรื่อง ESG หรือ Environment, Social, และ Governance ที่เป็นกระแสของโลกในอนาคตที่จะมีผลบังคับใช้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า (2030) ซึ่งทุกๆ กิจการโดยเฉพาะ SMEs ต้องทราบและเริ่มปรับตัวตั้งแต่วันนี้ เนื่องจากจะทำให้ไม่สามารถขายสินค้าให้กับลูกค้าเดิม ๆ ได้อีกต่อไป เพราะกระบวนการการผลิตที่ไม่สามารถแจกแจงปริมาณการปล่อยคาร์บอนหรือมีส่วนร่วมในการทำลายสภาพแวดล้อมของโลก นอกจากนี้ สถาบันการเงินก็จะไม่ยินดีปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจที่มีส่วนร่วมในการทำลายสภาพแวดล้อมของโลกตลอดทั้งซัพพลายเชนเช่นเดียวกัน ปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจของผู้ที่ไม่ปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจตามเทรนด์โลก

แนวทางการปรับตัวของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเล็ก ๆ ได้แก่ การรวมกลุ่มทางภูมิศาสตร์และการค้า (Regionalization) เพื่อเพิ่มขนาดของเศรษฐกิจและประชากร (จาก 67 ล้านคน เป็น 600 ล้านคน) ซึ่งในภูมิภาค ASEAN กำลังอยู่ในขั้นตอนการจัดทำ DEFA (2025) หรือ Digital Economy Framework Agreement ซึ่งหากบรรลุข้อตกลงนี้ได้ประมาณ 60% จะสามารถดึงเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้กว่า 2 Trillion USD ดังนั้น ประเทศใดมีความพร้อมมากกว่าก็มีโอกาสที่จะดึงเม็ดเงินลงทุนดังกล่าวได้มากกว่ากัน นอกจากนี้ ยังเป็น ASEAN Single Window, Free Flow for People และ Regional Money

อุตสาหกรรมแห่งอนาคต จะไม่มีอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันอีกต่อไป เนื่องจากหยุดเติบโตแล้ว และเน้นแข่งขันด้านราคา (Red Ocean) ในอนาคตจะขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (S&T) Deep Tech, Digital Infrastructure บนอุตสาหกรรม Frontier Technology ได้แก่ AI, Big Data, IoT, Block Chain, 3D Printing ฯลฯ

ผลกระทบต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อประกาศใช้ Net Zero ในปี 2030
-กองทุนต่าง ๆ จะไม่สามารถเข้าไปถือหุ้นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ Green ไม่ได้ ดังนั้น บริษัทและ Supplier ทั้งหมดต้อง Green ทั้งประบวนการ
-บริษัทที่ไม่ปรับตัวเข้าสู่ Green จะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ เนื่องจากธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อให้บริษัทที่ไม่ Green
-บริษัทในตลาดหลักทรัพย์เดิมเป็น SET กับ MAI แต่ในอนาคตจะเป็น ESG กับ Non-ESG

เทคโนโลยี AI จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น คนต้องมีความสามารถในการสื่อสาร (Prompt) กับ AI ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด (Ask the right Question) ดังนั้น จำเป็นที่จะต้อง Up-Skill / Re-Skill ในรูปแบบ Open Education Platform ตามความสะดวกของผู้เรียน

เรื่องการศึกษา เสนอว่าให้มีกระบวนการ Build Character ให้กับนักเรียน ทั้งนี้ เนื่องจากคนไทยมีความ Creativity สูงอยู่แล้ว จึงควรส่งเสริมให้พัฒนาขึ้น นอกจากนี้ ควรส่งเสริมด้าน Soft Skill (การสื่อสาร การเข้าร่วมกิจกรรม) และผลักดันเรื่อง Blue Ocean Competition.

สำหรับสถาบันเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์ (FKII Thailand: Field for Knowledge Integration and Innovation) เป็นองค์กรวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ทำหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศรวมทั้งเป็นตัวกลางเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานวิจัยกับภาคเอกชนภาครัฐทั้งในและต่างประเทศทางด้านนวัตกรรมและองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพใหม่ของประเทศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ของโลกปัจจุบันและอนาคต

ติดตาม FKII Thailand
FB: FKIIThailand https://shorturl.at/87OHy
LineOA: FKIIThailand https://lin.ee/BgPCPvd


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top