Sunday, 20 April 2025
สงครามโลก

'ดร.สุวินัย' วิเคราะห์ ผลพวงหลังสงครามยูเครน แบ่งสองขั้วชัด - สงครามโลก - อาเซียนกระทบ

ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Suvinai Pornavalai ว่า... 

อ่านหมากสงครามยูเครน

(1) เป้าหมายของสงครามยูเครนของรัสเซียในครั้งนี้ คือการบังคับให้เปลี่ยนระบอบปกครอง (regime change)

(2) สิ่งที่จะตามมาหลังสงครามยูเครนซึ่งคาดว่าจะไม่ยืดเยื้อ คือการกลับมาของ "สงครามเย็นใหม่" ที่โลกแบ่งเป็นสองขั้วอำนาจอย่างชัดเจนอีกครั้ง 

นี่คือการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ครั้งสำคัญ ในรูปของการ "ดีสรัป" (disrupt) หรือ การทำลายระบอบโลกหลังยุคสงครามเย็น 

(3) ถ้าดูจากบทเรียนของสงครามโลกครั้งที่สอง สิ่งที่จะตามมาน่าจะเป็น The Great Depression ที่จะนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สามที่เป็นทั้ง Hybrid War และ The Great Reset

9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 วันทลาย ‘กำแพงเบอร์ลิน’ สัญลักษณ์แห่งการสิ้นสุดยุคสงครามเย็น

วันนี้ เมื่อ 33 ปีก่อน รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเยอรมันตะวันออกเริ่มทะลายกำแพงเบอร์ลิน หลังสหภาพโซเวียตใช้ปิดกั้นเป็นเวลานานถึง 28 ปี

ย้อนกลับไปเมื่อปี 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เยอรมนีในฐานะผู้แพ้สงครามถูกแบ่งประเทศออกเป็น 4 ส่วนภายใต้การควบคุมของ 4 ประเทศผู้ชนะคือ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และสหภาพโซเวียต หรือรัสเซียในปัจจุบัน

ต่อมา อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และสหภาพโซเวียต ได้เกิดความแตกแยกทางอุดมการณ์ความคิด ทำให้ อังกฤษ สหรัฐ และฝรั่งเศสที่มีอุดมการณ์เสรีนิยมมาอยู่ฝั่งเดียวกัน และสหภาพโซเวียตที่มีอุดมการณ์คอมมิวนิสต์อยู่อีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ต่อมาเกิดเป็นจุดเริ่มต้นสงครามเย็น เป็นผลให้มีการขีดเส้นแบ่งเยอรมนีออกเป็นสองส่วน คือ เยอรมันตะวันออกภายใต้อำนาจของโซเวียต และเยอรมันตะวันตกภายใต้อำนาจ 3 ประเทศ

เรื่องเหลือเชื่อ ‘Tsutomu Yamaguchi’ ผู้รอดชีวิตถึง ๒ ครั้งจากระเบิดปรมาณู เมื่อครั้งสหรัฐฯ ถล่มญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2

Tsutomu Yamaguchi ชายผู้รอดจากระเบิดปรมาณูถึงสองครั้งสองครา

โลกใบนี้มีการใช้ระเบิดปรมาณูในการทำสงครามเพียงสองครั้งคือ ช่วงตอนปลายของสงครามโลกครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1945 โดยกองทัพสัมพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูใส่ประเทศญี่ปุ่นถึงสองลูก ได้แก่ Little Boy และ Fat Man

เหตุการณ์ในนั้นครั้งถือเป็นการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ไปจำนวนมาก และส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนไม่น้อย แต่ในเหตุการณ์ร้ายแรงเช่นนี้ ยังมีเรื่องราวปาฏิหาริย์เกิดขึ้นได้เช่นกัน

ลูกระบิดปรมาณู Little Boy น้ำหนัก 4.4 ตัน
 
‘Tsutomu Yamaguchi’ เป็นมนุษย์ที่อยู่ในรัศมีของระเบิดปรมาณูแล้วรอดชีวิตจากการระเบิดของระเบิดปรมาณูครั้งแรก (ลูกระบิดปรมาณูลูกดังกล่าวชื่อว่า Little Boy ถูกทิ้งจากเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-29 ที่ชื่อว่า Enola Gay ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว ๙๐,๐๐๐-๑๔๖,๐๐๐ คน) ที่เมืองฮิโรชิมาเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 

แม้ว่าตัว Yamaguchi จะถูกแรงอัดของระเบิดจนหมุนคว้างกลางอากาศราวกับถูกพายุทอร์นาโดพัดจนตกลงไปในคูน้ำ แต่หลังจากรับการรักษาและพักฟื้นอย่างรวดเร็ว เขาก็ตัดสินใจกระโดดขึ้นรถไฟกลับไปยังเมืองนางาซากิ และมาถึงในเวลาที่มีการทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่สอง (Fat Man ถูกทิ้งจากเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-29 ที่ชื่อว่า Bockscar ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีกราว ๓๙,๐๐๐-๘๐,๐๐๐ คน) พอดี แต่เขาก็รอดชีวิตมาได้อีกครั้งหนึ่ง


ลูกระบิดปรมาณู Fat Man น้ำหนัก 4.67 ตัน

Tsutomu Yamaguchi (山口彊, Yamaguchi Tsutomu) (16 มีนาคม ค.ศ. 1916 - 4 มกราคม ค.ศ. 2010) เป็นวิศวกรชาวญี่ปุ่นและเป็นผู้รอดชีวิตจากการทิ้งระเบิดปรมาณูสองครั้งทั้งที่เมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง 

แม้ว่าจะมีประชาชนอย่างน้อย ๗๐ คนที่ได้รอดชีวิตจากการทิ้งระเบิดทั้งสองครั้ง แต่เขาเป็นเพียงคนเดียวที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลญี่ปุ่นว่า เป็นผู้ที่รอดชีวิตจากการระเบิดของระเบิดปรมาณูทั้งสองครั้ง


 
Yamaguchi เกิดและอาศัยอยู่ที่เมืองนางาซากิ เข้าร่วมงานกับ Mitsubishi Heavy Industries ในช่วงทศวรรษที่ 1930 และทำงานเป็นช่างเขียนแบบซึ่งออกแบบเรือบรรทุกน้ำมัน 

ระหว่างสงครามเขาก็ยังอาศัยอยู่ในเมืองนางาซากิ แต่ได้เดินทางไปยังเมืองฮิโรชิมาเพื่อทำธุรกิจให้กับบริษัท Mitsubishi Heavy Industries ซึ่งเป็นนายจ้างของเขา เมื่อเมืองฮิโรชิมาถูกทิ้งระเบิดเมื่อเวลา 8.15 น. ของวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เขาได้รับบาดเจ็บ แต่ตัดสินใจเดินกลับมาที่เมืองนางาซากิในวันรุ่งขึ้น และแม้ว่าจะมีบาดแผลเต็มตัว แต่เขาก็กลับไปทำงานในวันที่ 9 สิงหาคม วันที่มีการทิ้งระเบิดปรมาณูเป็นครั้งที่สอง 

เช้าวันนั้น ขณะที่เจ้านายของเขาบอกว่าเขา "บ้า" หลังจากที่เขาบรรยายว่า ระเบิดปรมาณูลูกหนึ่งสามารถทำลายเมืองได้อย่างไร ระเบิดปรมาณูที่ทิ้งยังเมืองนางาซากิก็จุดชนวน ในปี ค.ศ. 1957 เขาได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘Hibakusha’ (ผู้ได้รับผลกระทบจากระเบิดปรมาณู) ของเหตุระเบิดที่เมืองนางาซากิ 

แต่จนกระทั่งวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 2009 รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้รับรองอย่างเป็นทางการว่า เขาอยู่ในเมืองฮิโรชิมาเมื่อสามวันก่อนการระเบิดที่เมืองนางาซากิด้วย เขาจึงเป็นบุคคลที่รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูทั้งสองครั้งสองครา เขาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 2010 ขณะอายุได้ ๙๓ ปี


 Yamaguchi กล่าวว่า เขา "ไม่เคยคิดว่า ญี่ปุ่นควรจะเริ่มสงคราม"

กลุ่มควันรูปดอกเห็ดจากการระเบิดของระเบิดปรมาณูสูงกว่า 20,000 ฟิต ซ้ายเมืองฮิโรชิมา ขวาเมืองนางาซากิ

ระว่างสงครามโลกครั้งที่สอง Yamaguchi อาศัยและทำงานในเมืองนางาซากิ แต่ในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1945 เขาต้องเดินทางไปทำงานที่เมืองฮิโรชิมาเป็นเวลาสามเดือน ในวันที่ 6 สิงหาคม เขาเตรียมจะออกจากเมืองพร้อมกับเพื่อนร่วมงานสองคน Akira Iwanaga และ Kuniyoshi Sato และกำลังเดินทางไปสถานีรถไฟเมื่อเขานึกขึ้นได้ว่าลืม Hanko (ตราประทับประจำตัวแบบที่ใช้กันทั่วไปในญี่ปุ่น) จึงเดินทางกลับไปยังที่ทำงานของเขาเพื่อนำติดตัว ในเวลา 8.15 น. ขณะเขากำลังเดินไปที่ท่าเทียบเรือ เมื่อเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-29 ของอเมริกา Enola Gay ได้ทิ้งระเบิดปรมาณู Little Boy ลงใกล้กับใจกลางเมือง ซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง 3 กิโลเมตร 

Yamaguchi จำได้ว่าเห็นเครื่องบินทิ้งระเบิดและปล่อยร่มชูชีพขนาดเล็ก ๒ ร่ม ก่อนที่จะมีแสงวาบขนาดใหญ่บนท้องฟ้า และตัวเขาก็ถูกพัดปลิวไป

การระเบิดทำให้แก้วหูของเขาแตก ทำให้เขาตาบอดชั่วคราว และทิ้งรังสีที่รุนแรงไว้บนด้านซ้ายของลำตัวครึ่งบน หลังจากกลับมาได้สติเขารีบคลานไปที่ที่กำบัง และหลังจากพักผ่อนแล้ว เขาก็ออกเดินตามหาเพื่อนร่วมงานของเขา โชคดีที่พวกเขารอดชีวิตมาได้และอยู่ด้วยกันทั้งคืนในที่หลบภัยทางอากาศก่อนที่จะเดินทางกลับเมืองนางาซากิในวันรุ่งขึ้น

เปิดหลักการพื้นฐานของ ‘สหพันธรัฐรัสเซีย’ ว่าด้วยการป้องปราม ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ฉบับใหม่

ถือว่าโลกได้ขยับเข้าใกล้สงครามโลกครั้งที่ 3 อีกครั้งเมื่อประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียได้ลงนามในกฤษฎีกาเมื่อวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ.2024 ที่ผ่านมา เพื่อรับรองหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์ฉบับปรับปรุงของประเทศ ซึ่งมีชื่อว่า ‘หลักการพื้นฐานของนโยบายรัฐของสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยการป้องปรามด้วยนิวเคลียร์’ (the Basic Principles of State Policy of the Russian Federation on Nuclear Deterrence) สาเหตุที่ทางรัสเซียจำเป็นต้องอัปเดตเอกสารหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์นี้ ทางเครมลินอธิบายว่าเนื่องจาก ‘สถานการณ์ปัจจุบัน’ เกี่ยวกับปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครนและการเผชิญหน้าที่รุนแรงระหว่างรัสเซียและตะวันตก โดยคำนึงถึงการตัดสินใจของ เจ้าหน้าที่รัฐบาลในสหรัฐอเมริกาตัดสินใจให้ยูเครนใช้อาวุธซึ่งเป็นอาวุธที่ผลิตในอเมริกาเพื่อต่อต้านสหพันธรัฐรัสเซีย นี่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของสถานการณ์ใหม่ทั่วประเทศของเรา และทำให้จำเป็นต้องปรับปรุงแนวคิดนี้” 

โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ.2024 สื่ออเมริกันรายงานว่าประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ “อนุญาต” ให้ยูเครนยิงขีปนาวุธ ATACMS ของอเมริกาลึกเข้าไปในดินแดนรัสเซีย ซึ่งต่อมานายไบรอัน นิโคลส์ (Brian Nichols) ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการซีกโลกตะวันตก ได้ออกมายืนยันข้อมูลนี้ เมื่อวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ.2024 กระทรวงกลาโหมรัสเซียรายงานว่ากองทัพยูเครนทำการโจมตีด้วยขีปนาวุธ ATACMS จำนวน 6 ลูกต่อสถานที่ทางทหารแห่งหนึ่งในภูมิภาคเบรียนสค์ ซึ่งห้าลูกถูกยิงตก หนึ่งลูกได้รับความเสียหายจากทีมต่อสู้ของระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 และระบบขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศแพนซีร์ จากเหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลให้นายดมิทรี เปซคอฟ (Dmitry Peskov) โฆษกเครมลินเรียกร้องให้ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียลงนามในหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์ที่ได้รับการปรับปรุงซึ่งเป็น "เอกสารที่สำคัญอย่างยิ่ง" ในเวลาที่เหมาะสม เขากล่าวว่าการป้องปรามด้วยอาวุธนิวเคลียร์มีจุดมุ่งหมาย “เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่อาจเป็นปฏิปักษ์จะเข้าใจถึงการตอบโต้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในกรณีที่มีการรุกรานสหพันธรัฐรัสเซียและ/หรือพันธมิตรของรัสเซีย”

ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์ของรัสเซียที่ได้รับการปรับปรุงนี้ยังคงเหมือนเดิม ซึ่งเกี่ยวข้องกับพื้นฐานของรัฐของสหพันธรัฐรัสเซียในด้านการป้องปรามด้วยนิวเคลียร์แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับกฤษฎีกาปี ค.ศ.2020 โดยรัสเซีย “ถือว่าอาวุธนิวเคลียร์เป็นวิธีการป้องปราม การใช้อาวุธดังกล่าวเป็นมาตรการที่รุนแรงและบังคับ และกำลังใช้ความพยายามที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อลดภัยคุกคามทางนิวเคลียร์และป้องกันความรุนแรงของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่อาจกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง ความขัดแย้งทางการทหาร รวมถึงความขัดแย้งทางนิวเคลียร์ด้วย” ในปีค.ศ. 2020 ทางการรัสเซียพิจารณาอาวุธนิวเคลียร์ “เป็นเพียงวิธีการป้องปรามเท่านั้น” เช่นเดียวกับในปีค.ศ. 2020 “การรับประกันการป้องปรามศัตรูที่อาจเกิดขึ้นจากการรุกรานรัสเซียและ (หรือ) พันธมิตร” ถือเป็น “หนึ่งในลำดับความสำคัญสูงสุดของรัฐบาล” จะต้องได้รับการรับรองโดย “กำลังทหารทั้งหมดของสหพันธรัฐรัสเซียรวมถึงอาวุธนิวเคลียร์” ในเวลาเดียวกัน ทั้งเอกสารเก่าและเอกสารใหม่กล่าวว่า "นโยบายของรัฐในด้านการป้องปรามด้วยนิวเคลียร์มีลักษณะเป็นการป้องกัน" 

ก่อนหน้าที่ผมจะกล่าวถึงหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์ของรัสเซียฉบับใหม่ผมขอเล่าถึงความเป็นมาของหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์ของรัสเซียว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร โดยตั้งแต่สมัยสหภาพโซเวียตรัสเซียมีหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์มาแล้ว 5 ฉบับด้วยกัน โดยในสมัยสหภาพโซเวียตไม่มีหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์สาธารณะ ยกเว้นเอกสาร "เกี่ยวกับหลักคำสอนทางทหารของรัฐในสนธิสัญญาวอร์ซอ" ที่นำมาใช้ในปี ค.ศ. 1987 ซึ่งรับรองว่าพวกเขา "จะไม่ใช่คนแรกที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์" ผมขอเรียกเอกสารฉบับนี้ว่าหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์ของรัสเซียฉบับที่ 1  

ต่อมาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ.1993 ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซินได้ลงนามในกฤษฎีกา "ในบทบัญญัติหลักของหลักคำสอนทางทหารของสหพันธรัฐรัสเซีย" แต่ไม่มีการเผยแพร่เนื้อหาของบทบัญญัติดังกล่าว ถือว่าเอกสารฉบับนี้เป็นฉบับที่ 2  

ถัดมาเมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ.2000 ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ได้อนุมัติหลักคำสอนทางทหารสาธารณะฉบับแรกของสหพันธรัฐรัสเซีย โดยระบุว่ารัสเซียขอสงวนสิทธิ์ในการใช้การโจมตีด้วยนิวเคลียร์เพื่อตอบโต้การใช้อาวุธทำลายล้างสูงต่อรัสเซียและ/หรือพันธมิตร เช่นเดียวกับ “เพื่อตอบสนองต่อการโจมตีขนาดใหญ่โดยใช้อาวุธธรรมดาในสถานการณ์ที่วิกฤตต่อความมั่นคงของชาติ ” ในปีเดียวกันนั้นมีการนำ "นโยบายพื้นฐานของรัฐในด้านการป้องปรามนิวเคลียร์" ซึ่งมีผลบังคับใช้จนถึงปี ค.ศ.2010 ฉบับนี้ผมให้เป็นฉบับที่ 3 

ต่อมาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 ประธานาธิบดีดมิทรี เมดเวเดฟ อนุมัติหลักคำสอนทางทหารใหม่ของสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งรวมถึงประโยคเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อตอบสนองต่อ "การรุกรานต่อสหพันธรัฐรัสเซียโดยใช้อาวุธธรรมดา เมื่อรัฐดำรงอยู่จริงตกอยู่ในความเสี่ยง” ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 4 ต่อมาประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูตินได้ปรับปรุงหลักคำสอนทางทหารในปี ค.ศ. 2014 แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลักการเกี่ยวกับการใช้อาวุธนิวเคลียร์
.
เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2020 ประธานาธิบดีดวลาดิมีร์ ปูตินได้ลงนามในกฤษฎีกา “เกี่ยวกับพื้นฐานของนโยบายของรัฐในด้านการป้องปรามด้วยนิวเคลียร์” เอกสารระบุเหตุผลอีกสองประการที่ทำให้รัสเซียใช้กองกำลังนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ ได้แก่ การโจมตีด้วยขีปนาวุธและผลกระทบต่อสิ่งอำนวยความสะดวกที่ 'สำคัญอย่างยิ่ง' ซึ่ง "จะนำไปสู่การหยุดชะงักในการดำเนินการตอบโต้ของกองกำลังนิวเคลียร์" ซึ่งผมถือว่าเป็นฉบับที่ 5 

เอกสารหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์ฉบับใหม่ที่ประธานาธิบดีดวลาดิมีร์ ปูตินเพิ่งลงนามไปเมื่อวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ.2024 มีทั้งหมดด้วยกันทั้งสิ้น 4 หมวด 26 มาตรา สรุปถึงเงื่อนไขการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ภัยคุกคามที่ถือว่าร้ายแรงเพียงพอสำหรับการใช้งาน ลำดับการเปิดใช้งานแผนการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ผู้มีอำนาจตัดสินใจ การดำเนินการเพื่อรักษากองกำลังนิวเคลียร์ให้พร้อมในการรบ และนโยบายสำหรับ 'การป้องปรามด้วยนิวเคลียร์'—แผนสำหรับป้องกันการโจมตีด้วยนิวเคลียร์โดยรับรองว่า “การรุกรานทางนิวเคลียร์ใดๆ จะส่งผลให้เกิดการตอบโต้อย่างร้ายแรง” ทั้งนี้ผมขอสรุปประเด็นต่าง ๆ ให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้

เงื่อนไขการใช้อาวุธนิวเคลียร์

ในหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์ครั้งก่อนหลักคำสอนระบุว่าการใช้อาวุธนิวเคลียร์จะถูกกระตุ้นโดยการรุกรานที่คุกคามการดำรงอยู่ของรัฐ อย่างไรก็ตาม เวอร์ชันอัปเดตให้ความชัดเจนมากขึ้น โดยระบุว่ารัสเซียอาจใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อตอบโต้การรุกรานที่คุกคามอธิปไตยของรัสเซียและ/หรือบูรณภาพแห่งดินแดนโดยตรง

หลักคำสอนที่ได้รับการปรับปรุงได้กำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจนสำหรับการใช้อาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงสถานการณ์ที่การรุกรานจากประเทศที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ได้รับการสนับสนุนจากรัฐนิวเคลียร์ นี่จะถือเป็นการโจมตีร่วมกัน และแม้แต่อาวุธทั่วไปที่เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่ออธิปไตยของรัสเซียก็อาจกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางนิวเคลียร์จากรัสเซียเช่นกัน

โดยรัสเซียได้เน้นไปที่เบลารุสพันธมิตรของตนเป็นพิเศษ ซึ่งการรุกรานใด ๆ ต่อเบลารุสก็ถือเป็นการโจมตีรัสเซีย ซึ่งก็จะถูกตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ด้วย

เอกสารดังกล่าวยังเน้นย้ำถึงภัยคุกคามทางทหารต่อรัสเซียที่อาจเกิดขึ้น เช่น ระบบต่อต้านขีปนาวุธ การสะสมกำลังทหารใกล้ชายแดนรัสเซีย และอาวุธนิวเคลียร์ที่ประจำการอยู่ในรัฐที่ไม่ใช่นิวเคลียร์

ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดคำว่า ‘ศัตรูที่มีศักยภาพ’ ซึ่งครอบคลุมรัฐหรือพันธมิตรทางทหารที่มองว่ารัสเซียเป็นภัยคุกคามและมีอำนาจทางทหารที่สำคัญ 

การป้องปรามด้วยอาวุธนิวเคลียร์

รัสเซียดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่องโดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกัน ‘รัฐที่ไม่เป็นมิตร’ และพันธมิตรทางทหารจากการโจมตีและการกระทำที่ไม่เป็นมิตรในช่วงเวลาสงบ ระดับภัยคุกคามที่เพิ่มสูงขึ้น และในช่วงสงคราม ขึ้นอยู่กับศักยภาพในการใช้อาวุธนิวเคลียร์

การป้องปรามรวมถึงการจัดตั้งและรักษากองกำลังนิวเคลียร์ที่ทันสมัยซึ่งสามารถส่ง “ความเสียหายที่รับประกันว่าไม่อาจยอมรับได้” ให้กับฝ่ายตรงข้าม ควบคู่ไปกับการทำให้แน่ใจว่าพวกเขาทั้งหมดไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความพร้อมของมอสโก และตัดสินใจที่จะมีส่วนร่วมกับพวกเขาหากจำเป็น

หากผู้รุกรานโจมตีรัสเซียหรือพันธมิตร พวกเขาจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการตอบโต้ ตามหลักคำสอนดังกล่าว

การป้องปรามด้วยนิวเคลียร์มุ่งเป้าไปที่รัฐและพันธมิตรทางทหารที่มองว่ารัสเซียเป็นภัยคุกคาม รวมถึงการจัดหาทรัพยากรหรือดินแดนสำหรับการรุกราน

การรุกรานโดยรัฐที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐนิวเคลียร์จะถือเป็นการโจมตีร่วมกัน ในขณะที่การรุกรานของกลุ่มพันธมิตรทางทหารใดๆ จะถูกมองว่าเป็นการกระทำร่วมกันของกลุ่มนี้ 

ภัยคุกคาม

รายการภัยคุกคามทางทหารที่รัสเซียจะตอบโต้ด้วยการป้องปรามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ประกอบด้วยอันตรายหลัก 10 ประการ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาเอกสารฉบับปีค.ศ.2020 ที่มี 6 ประการ โดยที่น่าสังเกตมากที่สุดคือการมีอยู่ของศัตรูที่อาจติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์หรืออาวุธทำลายล้างสูงอื่นๆ

นอกจากนี้ยังรวมถึงการติดตั้งระบบขั้นสูง เช่น การป้องกันขีปนาวุธร่อนระยะกลางและระยะสั้น (medium- and short-range cruise missile) ขีปนาวุธนำวิถี ระยะกลางและระยะสั้น (medium- and short-range ballistic missiles) อาวุธที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ที่มีความแม่นยำสูง (high-precision non-nuclear) และอาวุธความเร็วเหนือเสียง (hypersonic weapon) และการโจมตีด้วยโดรน

การสะสมกำลังของต่างชาติ รวมถึงวิธีการจัดส่งนิวเคลียร์หรือโครงสร้างพื้นฐานทางทหารที่เกี่ยวข้อง ใกล้กับชายแดนรัสเซียก็ถูกกำหนดให้เป็นภัยคุกคามที่สำคัญเช่นกัน

นอกจากนี้ การติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธ, ระบบต่อต้านดาวเทียม, และอาวุธนิวเคลียร์ในดินแดนของรัฐที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ถูกมองว่าเป็นอันตราย

รวมไปถึงการขยายพันธมิตรทางทหารและแนวทางโครงสร้างพื้นฐานไปยังชายแดนรัสเซียถือเป็นภัยคุกคามที่ชัดเจน ควบคู่ไปกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น เช่น การแยกดินแดน การทำลายสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นอันตราย การซ้อมรบขนาดใหญ่ใกล้ชายแดน และการแพร่กระจายของอาวุธทำลายล้างสูงอย่างไม่มีการตรวจสอบ

การตัดสินใจใช้อาวุธนิวเคลียร์

การตัดสินใจในการใช้อาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซียนั้นสามารถพิจารณาได้จากเงื่อนไขหลายประการ รวมถึงการยิงขีปนาวุธใส่รัสเซียหรือพันธมิตร การใช้อาวุธทำลายล้างสูงต่อรัสเซียหรือดินแดนพันธมิตร และการโจมตีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญของรัฐหรือทางทหาร ที่จะขัดขวางการตอบสนองทางนิวเคลียร์ 

นอกจากนี้ยังรวมถึงการรุกรานตามแบบแผนที่คุกคามอธิปไตยต่อรัสเซียหรือเบลารุส เช่นเดียวกับการโจมตีด้วยเครื่องบินขนาดใหญ่และขีปนาวุธข้ามพรมแดนรัสเซีย ถือเป็นเกณฑ์หนึ่งในการเปิดใช้งานการตอบสนองทางนิวเคลียร์

ประธานาธิบดีรัสเซียเป็นผู้ทำการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการใช้นิวเคลียร์ นอกจากนี้เขายังอาจแจ้งให้ประเทศอื่นๆ หรือหน่วยงานระหว่างประเทศทราบเกี่ยวกับความพร้อมหรือการใช้อาวุธนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นจริง

เซอร์เกย์ มาร์คอฟ (Sergey Markov) อดีตที่ปรึกษาของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินกล่าวว่าหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์ของรัสเซียฉบับใหม่นี้ “ทำให้เงื่อนไขการใช้นิวเคลียร์ของรัสเซียเท่าเทียมกันกับสหรัฐฯ” เนื่องจากเกณฑ์การใช้อาวุธนิวเคลียร์ในประเทศตะวันตกต่ำกว่าในรัสเซีย โดยหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ อนุญาตให้ใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อปกป้องพันธมิตรของตน ซึ่งจนถึงขณะนี้รัสเซียยังไม่ได้พิจารณาการใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อปกป้องพันธมิตรของตน โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินได้ประกาศการเปลี่ยนแปลงหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์ครั้งแรกในการปราศรัยของเขาเมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2024 ในการประชุมป้องปรามด้วยนิวเคลียร์โดยอ้างถึง “ภูมิทัศน์ทางการทหารและการเมืองที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว” 

ซึ่งนายเซอร์เกร์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศรัสเซียออกมาแสดงความเห็นว่าชาติตะวันตกจะศึกษาหลักคำสอนทางนิวเคลียร์ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ของรัสเซียอย่างรอบคอบ ในขณะที่นายดมิมิทรี เมดเวเดฟ รองประธานสภาความมั่นคงรัสเซียได้ออกมาเตือนว่าชาติตะวันตกจะรับฟังสัญญาณจากมอสโกอย่างจริงจังและได้โพสต์ลงในช่อง Telegram ของเขาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างการตัดสินใจโจมตีขีปนาวุธของชาติตะวันตกที่ลึกเข้าไปในรัสเซียกับหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์ฉบับใหม่ “การใช้ขีปนาวุธพันธมิตร (NATO) ในลักษณะนี้สามารถเข้าข่ายเป็นการโจมตีโดยกลุ่มประเทศในรัสเซียได้แล้ว ในกรณีนี้ มีสิทธิ์ที่จะโจมตีกลับด้วยอาวุธทำลายล้างสูงต่อเคียฟและฐานปฏิบัติการหลักของ NATO ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดก็ตาม และนี่คือสงครามโลกครั้งที่สามแล้ว

ซึ่งเราต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดว่าหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์ของรัสเซียฉบับใหม่นี้จะทำให้ฉากทัศน์สงครามระหว่างรัสเซียยูเครนจบลงหรือขยายความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับพันธมิตรนาโตต่อไปในอนาคต

‘สารตะกั่ว’ คร่าชีวิตมนุษย์มหาศาลมากกว่าสงครามโลกทั้ง 2 ครั้งรวมกัน

30 ปีก่อน น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในยานพาหนะไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ เรือยนต์ และเครื่องบิน ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในล้วนแล้วแต่มีส่วนผสมของ ‘สารตะกั่ว’ ซึ่งเป็นสารเคมีประเภทโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องของการคร่าชีวิตมนุษย์ที่เกิดขึ้นด้วยความไม่รู้จนกลายเป็นความสมัครใจของประชาชนพลโลกทั้งหลาย การที่รถยนต์ซึ่งใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในซึ่งทำงานด้วยการระเบิดหรือเผาไหม้ส่วนผสมของเชื้อเพลิง โดยทั่วไปคือน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศที่เกิดขึ้นภายในเครื่องยนต์ แล้วเกิด Oxidizing กระทั่งมีการขยายตัวจนแตกตัวภายในห้องเผาไหม้ ทำให้แรงระเบิดจากการเผาไหม้จะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ซึ่งเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในได้พลังงานจากการระเบิดดังกล่าวมาใช้ขับเคลื่อนตัวรถยนต์ แต่ในช่วงทศวรรษที่ 1920 เมื่ออุตสาหกรรมรถยนต์เฟื่องฟู รถยนต์กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งอนาคตแห่งความก้าวหน้าและความเป็นอิสระ แต่เครื่องยนต์ในยุคนั้นกลับมีปัญหาอย่างหนึ่งเกิดขึ้น นั่นก็คือเครื่องยนต์มักจะเดินสะดุดจนมีอาการน็อคบ่อย ๆ เมื่อเกิดปัญหานี้ขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงทำให้เครื่องยนต์สึกหร่อเร็วขึ้น ประหยัดน้ำมันน้อยลง และทำให้ผู้ขับขี่รู้สึกรำคาญ

ในปี 1921 Thomas Midgley Jr. นักเคมีของบริษัท General Motors ค้นพบว่า การเติม ‘สารตะกั่ว’ (Tetraethyl Lead) ลงในน้ำมันเบนซินสามารถช่วยในเรื่องของการลดการสึกหรอ โดยเฉพาะบริเวณบ่าวาล์ว ช่วยเพิ่มออกเทน และที่สำคัญคือ เป็น 'สารป้องกันการน็อค' ช่วยลดปัญหาการชิงจุดระเบิดหรือ Knocking GM ทำให้แก้ไขปัญหาเครื่องยนต์น็อคได้ ช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานราบรื่นขึ้น ประหยัดน้ำมันมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพของรถยนต์โดยเฉพาะสมรรถนะของเครื่องยนต์ ความก้าวหน้าครั้งนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นการปฏิวัติวงการรถยนต์ในขณะนั้นเลยทีเดียว แต่สารตะกั่วกลับกลายเป็นมลพิษโดยเฉพาะกับเด็ก ๆ การใช้สารตะกั่วในน้ำมันเบนซินทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์เป็นอย่างมาก ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 เริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์จากน้ำมันเบนซินผสม ‘สารตะกั่ว’ เนื่องจากไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ความกังวลเหล่านี้จึงลดลงไปอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งในปี 1969 มีการศึกษาทางคลินิกครั้งแรกซึ่งแสดงให้เห็นว่า สารตะกั่วมีผลกระทบทางลบต่อมนุษย์อย่างมาก จากนั้น หลักฐานที่เกี่ยวกับขอบเขตของการได้รับพิษจาก ‘สารตะกั่ว’ และความเชื่อมโยงกับประสิทธิภาพทางปัญญาที่ไม่ดีในเด็กก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพิษจากสารตะกั่วในเด็กได้สรุปไว้ว่า “แนวคิดในการเติมสารตะกั่วลงในน้ำมันเบนซินใช้เวลาเพียง 2 ปี แต่ต้องใช้เวลาถึง 60 ปีในการเลิกเติมสารตะกั่วในน้ำมันเบนซิน” 

เพื่อตอบสนองต่อปัญหานี้ ในช่วงทศวรรษปี 1970 หลายประเทศจึงเริ่มเลิกใช้น้ำมันเบนซินผสมตะกั่ว ตัวอย่างเช่น สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาได้ออกแนวปฏิบัติเพื่อลดปริมาณตะกั่วในปี 1983 แต่กว่าที่ญี่ปุ่นจะได้เป็นประเทศแรกที่ห้ามใช้สารตะกั่วทั้งหมดก็ต้องรอจนถึงปี 1986 ซึ่งเป็นเวลาหกทศวรรษหลังจากที่ได้มีการเติมสารตะกั่วในน้ำมันเบนซิน และในปี 2021 สามทศวรรษครึ่งต่อมา แอลจีเรียได้กลายเป็นประเทศสุดท้ายที่ห้ามใช้สารตะกั่วในน้ำมันเบนซิน ดังนั้น ปัจจุบันทุกประเทศบนโลกใบนี้ได้เลิกใช้น้ำมันเบนซินที่มีสารตะกั่วหมดแล้ว ตลอดระยะเวลาการใช้น้ำมันเบนซินที่เติม ‘สารตะกั่ว’ แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เลือกที่จะเพิกเฉยทั้ง ๆ ที่สารตะกั่วเป็นสารพิษต่อระบบประสาทตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา การใช้น้ำมันเบนซินผสมสารตะกั่วอย่างแพร่หลายส่งผลให้มีการปล่อยไอตะกั่วจำนวนมหาศาลสู่ชั้นบรรยากาศ เด็ก ๆ เป็นกลุ่มที่เปราะบางเป็นพิเศษ โดยเด็ก ๆ หลายล้านคนต้องทนทุกข์ทรมานจากความบกพร่องทางสติปัญญา ความล่าช้าในการพัฒนา และปัญหาด้านพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัส ‘สารตะกั่ว’ คนหลายชั่วอายุคนได้สูดดมควันพิษจากสารตะกั่วเข้าไปโดยไม่รู้ตัว

ปัญหาการตกค้างของมลพิษจากสารตะกั่วเป็นปัญหาที่สะสมเรื้อรังยาวนาน ตัวอย่างเช่น สหราชอาณาจักรได้เลิกการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ที่เติม ‘สารตะกั่ว’ อันเป็นแหล่งที่มาหลักของสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมช่วงศตวรรษที่ 20 ตั้งแต่ปี 1999 แล้ว แต่การค้นพบในบทความวิจัย ‘Strong evidence for the continued contribution of lead deposited during the 20th century to the atmospheric environment in London of today‘ พบว่า แม้ผ่านมาแล้วเกินกว่า 20 ปี ยังคงมีอนุภาคของสารตะกั่วในอดีตหลงเหลืออยู่ในอากาศของมหานครลอนดอนจนถึงปัจจุบัน สำหรับประเทศไทยได้ยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซินชนิดที่มีสารตะกั่วทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 1996 (พ.ศ. 2539) เป็นต้นมา 

แม้ว่าจะมีการยกเลิกการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ที่เติมสารตะกั่วแล้วก็ตาม แต่ยังโลกก็ยังคงเผชิญพิษภัยจาก ‘สารตะกั่ว’ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ทุกปี จะมีผู้เสียชีวิตจากพิษของ ‘สารตะกั่ว’ ประมาณ 1 ล้านคน และล้มป่วยอีกหลายล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็ก การสัมผัสกับตะกั่วแม้ในระดับต่ำจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตลอดชีวิต รวมทั้งโรคโลหิตจาง ความดันโลหิตสูง พิษต่อภูมิคุ้มกัน และความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ ผลกระทบต่อระบบประสาทและพฤติกรรมจากตะกั่วอาจไม่สามารถกลับคืนสู่สภาวะปกติได้ องค์การอนามัยโลกได้แนะนำว่า ควรระบุแหล่งที่มาของการสัมผัสตะกั่ว และดำเนินการเพื่อลดและยุติการสัมผัสสำหรับบุคคลที่มีระดับตะกั่วในเลือดมากกว่า 5ug/dl ไม่มีระดับการสัมผัสสารตะกั่วที่ปลอดภัยจึงเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพของเด็ก องค์การยูนิเซฟประมาณการว่า เด็ก 1 ใน 3 คน หรือประมาณ 800 ล้านคนทั่วโลก มีระดับสารตะกั่วในเลือดอยู่ที่ 5 µg/dl ขึ้นไป และจำเป็นต้องดำเนินการทั่วโลกทันทีเพื่อแก้ไขปัญหานี้ 

สารตะกั่วเป็นพิษต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายหลายระบบ รวมถึงระบบประสาทส่วนกลางและสมอง ระบบสืบพันธุ์ ไต ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประมาณการว่า ความพิการทางสติปัญญาที่ไม่ทราบสาเหตุร้อยละ 30 โรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 4.6 และโรคไตเรื้อรังร้อยละ 3 เกิดจากการรับสารตะกั่วเข้าไปในร่างกาย โดยมีแหล่งรับสารตะกั่วจำนวนมากในสถานประกอบการอุตสาหกรรม เช่น การทำเหมืองและการหลอมโลหะ การรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์และแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด ระบบประปา และกระสุนปืน และในสถานที่ที่อาจทำให้เด็กและวัยรุ่นได้รับสารตะกั่วได้โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ การสัมผัสสารตะกั่วยังสามารถเกิดขึ้นได้ในสถานที่ที่ไม่ใช่อุตสาหกรรม เช่น สีตะกั่วที่พบได้ใน บ้าน โรงเรียน โรงพยาบาล และสนามเด็กเล่น เด็ก ๆ อาจกลืนเอาเศษและฝุ่นจากของเล่นหรือพื้นผิวที่เคลือบตะกั่ว หรือสัมผัสสารตะกั่วผ่านเซรามิกเคลือบตะกั่ว ยาแผนโบราณและเครื่องสำอางบางชนิด แหล่งการสัมผัสสารตะกั่วที่สำคัญ ได้แก่ การปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมจากการรีไซเคิลแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดและจากการทำเหมืองและหลอมตะกั่วที่ควบคุมได้ไม่ดี การใช้สารรักษาแบบดั้งเดิมที่มี ‘สารตะกั่ว’ เคลือบเซรามิกที่มีสารตะกั่วที่ใช้ในภาชนะบรรจุอาหาร ท่อน้ำที่มีสารตะกั่วและส่วนประกอบอื่น ๆ ที่มีสารตะกั่วในระบบจ่ายน้ำ และสีที่มี ‘สารตะกั่ว’ องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า สารตะกั่วเป็นสารเคมี 1 ใน 10 ชนิดที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพสาธารณะ ซึ่งประเทศสมาชิกจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อปกป้องสุขภาพของคนงาน เด็ก และสตรีวัยเจริญพันธุ์ และได้เรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ห้ามใช้สีที่มี ‘สารตะกั่ว’ ให้มีการระบุและกำจัดแหล่งที่มาของสารตะกั่วทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารตะกั่วในทางที่ผิด และป้องกันการรับพิษจาก ‘สารตะกั่ว’ 

สำหรับประเทศไทย มีการดำเนินงานการเฝ้าระวังสารตะกั่วอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเด็ก ๆ ในพื้นที่เสี่ยง เช่น พื้นที่ภาคกลางดำเนินงานในกลุ่มเด็กพื้นที่คลิตี้ จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มอาชีพหล่อพระพุทธรูป จังหวัดสมุทรสาคร พื้นที่จังหวัดระยอง ดำเนินงานในศูนย์เด็กเล็ก พื้นที่ภาคเหนือ การปนเปื้อนตะกั่วจากหม้อแบตเตอรี่ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในกลุ่มประกอบอาชีพคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทำรางน้ำฝน หรือพื้นที่ภาคใต้ในกลุ่มเด็กเล็กที่ผู้ปกครองประกอบอาชีพมาดอวน เป็นต้น โดยมีการเก็บตะกั่วบนพื้นผิวในบ้าน เจาะเลือดเด็กเพื่อเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ซึ่งลักษณะการดำเนินงานเป็นการดำเนินงานเชิงรุก ซึ่งสำนักงานป้องกันควบคุมโรค (สคร.) ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และหน่วยบริการสุขภาพภายใต้กระทรวงสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ได้เข้าไปดำเนินการ ทำให้พบว่า มีเด็กในวัย 0-5 ปีราว 29% สัมผัสปัจจัยเสี่ยง ‘สารตะกั่ว’ โดยส่วนใหญ่การสัมผัสจากแหล่งภายนอกบ้าน

ปัจจัยหลักในการรับสัมผัสสารตะกั่วของเด็ก ๆ ในสิ่งแวดล้อมเกิดจากการที่นำอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับตะกั่วเข้ามาใกล้ตัวเด็ก ๆ การที่ทำงานของผู้ใกล้ชิดเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตะกั่วโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการรับสัมผัสตะกั่ว เช่น การไม่เปลี่ยนชุดทำงาน อาบน้ำเมื่อเลิกงาน การเก็บสิ่งของที่ปนเปื้อนตะกั่วในที่พักอาศัย และอีกปัจจัยสำคัญ คือ พฤติกรรมของเด็กที่เสี่ยงต่อการรับสัมผัสตะกั่ว เช่น การชอบดูดนิ้ว จับสิ่งของเข้าปาก ไม่ล้างมือ ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวทำให้ตะกั่วเข้าสู่ร่างกายได้โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ดังนั้นจึงต้องมีการให้ความรู้ในการป้องกันและลดการรับสัมผัสตะกั่วเข้าสู่ร่างกายสำหรับประชาชนทั่วไป ผู้ปกครอง ครู/ครูพี่เลี้ยง และการจัดอบรมหลักสูตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และการลดการรับสัมผัสตะกั่วของเด็ก ๆ ในสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กเล็ก เน้นการทำงานเชิงรุกเพื่อจัดการไม่ให้ตะกั่วที่อยู่รอบตัวเข้าสู่ร่างกายของเด็ก ๆ ได้อีกต่อไป

ย้อนอดีต ‘เยอรมัน’ จากผู้แพ้สงคราม สู่ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ อันดับหนึ่งของยุโรป ครั้งหนึ่งเคยประสบปัญหาเศรษฐกิจ ค่าเงินมาร์คไร้มูลค่ายิ่งกว่าสกุลเงินของ ‘ซิมบับเว’

(8 มี.ค. 68) เพจ ‘ซิริอุส เป็นชื่อของดวงดาว’ ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า ...

รู้หรือไม่? เยอรมันประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันหนึ่งของยุโรป และ อันดับสามของโลก ครั้งหนึ่งเคยประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรงส่งผลให้ค่าเงินมาร์คไร้มูลค่ายิ่งกว่าสกุลเงินของซิมบับเว และเวเนซุเอลา ในปัจจุบัน

หลังพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่1 ในปี ค.ศ. 1923 เยอรมันประสบปัญหาเงินเฟ้อที่รุนแรงที่สุดครั้งนึงของโลก ถึงขั้นที่ประชาชนต้องขนเงินเป็นแสนๆ ล้านมาร์ค ใส่ตะกร้าเพื่อไปจ่ายตลาด

เมื่อสงครามโลกครั้งที่1 สิ้นสุดลง อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเยอรมัน(ดอยช์มาร์ค)อยู่ที่ราวๆ 1เหรียญสหรัฐ = 4มาร์ค และดิ่งลงไปแตะที่ 1เหรียญสหรัฐ = 4.2 ล้านล้านมาร์ค ในปี 1923 ..... ล้านสองครั้งนะครับ

ทำให้เยอรมันต้องพิมพ์ธนบัตรที่มีมูลค่าหน้าธนบัตรสูงลิบ ฉบับละเป็นร้อยเป็นพันล้านมาร์คเข้าสู่ระบบให้ประชาชนใช้จ่ายแทนธนบัตรเดิมที่ไร้มูลค่าลงเรื่อยๆ

ในช่วงวิกฤติ ปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงมาก ทำให้ราคาสินค้าต่างๆ พุ่งขึ้นไม่หยุดปรับราคากันตลอดเวลา เงินที่พอจะซื้อขนมปังได้ในตอนเช้า อาจไม่พอซื้อในตอนบ่าย ทำให้ห้างร้านต่างๆ แน่นไปด้วยผู้คนที่เข้าคิวรอซื้อของ และยังทำให้สินค้าอื่นๆ เช่นบุหรี่ ฯลฯ ถูกใช้เป็นของแลกเปลี่ยนแทนเงินที่ไร้เสถียรภาพจนแทบจะไม่เหลือมูลค่า ไร้มูลค่าถึงขนาดที่ ปชช.นำธนบัตรมาเผาแทนฟืน เพราะไม้ฟืนยังมีมูลค่ามากกว่าธนบัตร

วิกฤติเงินเฟ้ออย่างรุนแรงในครั้งนี้ทำให้เงินเก็บทั้งชีวิตของหลายคนมีค่าพอซื้อไข่ได้แค่แผงเดียว หรือ ขนมปังแถวเดียว ซึ่งในช่วงพีคขนมปังแถวนึงมีราคาสูงถึง 200,000,000,000 มาร์ค (สองแสนล้านมาร์ค) ในการซื้อ-ขาย หลายแห่งจึงใช้วิธีชั่งน้ำหนักกองธนบัตรเอา เพราะไม่มีเวลามานั่งนับ

ส่วนชนชั้นกลางที่กินเงินเดือน แม้จะมีความพยายามขึ้นเงินเดือนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แต่ราคาสินค้าที่พุ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลา จะมีราคาสูงกว่าเงินเดือนที่ออกเดือนละครั้งสองครั้งอยู่เสมอ

สาเหตุของวิกฤติเงินเฟ้อที่รุนแรงของเยอรมันมาจาก หลังสงครามโลกครั้งที่1 ยุโรปและสหรัฐต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง แต่เยอรมันในฐานะผู้แพ้สงครามฯหนักกว่าใคร เพราะนอกจากต้องแบกหนี้ที่เกิดจากสงครามแล้ว ยังต้องแบกค่าปฏิกรรมสงครามจากสนธิสัญญาแวร์ซาย เท่ากับว่าผลผลิตต่างๆของประเทศส่วนนึงจะกลายเป็นค่าปฏิกรรมสงครามไปแบบเปล่าๆ

สถานการณ์ของเยอรมันที่กำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้ออยู่แล้ว ต้องย่ำแย่ลงไปอีกเมื่อไม่สามารถจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามในรอบปี 1922

ทำให้ฝรั่งเศสและเบลเยี่ยมส่งกองทัพเข้ายึด Ruhr valley ที่เป็นเขตอุตสาหกรรมหลักของเยอรมัน เพื่อยึดสินค้าที่เยอรมันผลิตได้เป็นค่าปฏิกรรมสงคราม เพราะไม่เชื่อว่าเยอรมันไม่มีจ่าย แต่ตั้งใจเบี้ยวมากกว่า

เยอรมันตอบโต้ด้วยการประกาศชักจูงให้คนงานทั้งหมดหยุดงาน โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินเดือนให้ ซึ่งการจ่ายเงินเดือนนี้ก็เป็นการพิมพ์เงินออกมาจ่ายเอาดื้อๆโดยไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง ซ้ำเติมวิกฤติเงินเฟ้อที่สาหัสอยู่แล้วให้หนักขึ้นไปอีก

ฝรั่งเศสตอบโต้อย่างรุนแรงด้วยการยิงคนงานในโรงงานผลิตเหล็ก และ เนรเทศคนที่ไม่ยอมรับคำสั่งจากฝรั่งเศสออกจาก Ruhr valley

เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 132 คน ถูกเนรเทศกว่า 1.5 แสนคน ส่งผลให้เศรษฐกิจของเยอรมันที่ร่อแร่อยู่แล้วดับสนิท อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นอย่างรุนแรงตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

ความวุ่นวายของเยอรมันหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่1 ได้ส่งผลให้บุรุษผู้หนึ่งปรากฏตัวขึ้นมาอาสานำพาเยอรมันฝ่าวิกฤติที่กำลังเผชิญอยู่ และชื่อของเค้าจะเป็นที่รู้จักและจดจำไปอีกนาน

*****หมายเหตุ*****
จริงๆ แล้ว สหรัฐไม่เห็นด้วยและได้ทักท้วงในการเรียกเก็บค่าปฏิกรรมสงครามจากเยอรมันมากขนาดนั้น เพราะนอกจากจะก่อความเดือดร้อนให้ประชาชนทั่วไปแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังอีกด้วย แต่ฝรั่งเศสดึงดันต้องให้เยอรมันจ่ายให้ได้ รวมๆ แล้วๆ เยอรมันต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามมูลค่าเทียบเท่าทองคำ 1แสนตัน และเพิ่งจ่ายหมดไปเมื่อปี 2010 หรือเกือบร้อยปีหลังสงครามโลกครั้งที่1 สิ้นสุดลง

การยึดอาณานิคมของเยอรมันและการเรียกเก็บค่าปฏิกรรมสงครามโหดแสนโหด ก็เพื่อกดเยอรมันไม่ให้ฟื้นตัวได้อีก อันอาจเป็นการคุกคามฝรั่งเศสในอนาคต
...... ภูมิศาสตร์ด้านชายแดนตะวันออกของฝรั่งเศสที่ติดกับเยอรมัน ป้องกันยากแต่ง่ายสำหรับเยอรมันที่จะรุกเข้ามา เป็นการอธิบายว่าทำไมฝรั่งเศสจึงต้องสร้างแนวป้องกันบริเวณนั้นที่เรียกว่า 'Maginot Line' ในเวลาต่อมา

อีกปัจจัยหนึ่งก็เชื่อว่าเป็นเพราะ ฝรั่งเศสเจ็บใจมาตั้งแต่สงคราม ฝรั่งเศส-ปรัสเซีย/Franco-Prussian War ปี ค.ศ.1870 ที่ไปแพ้ปรัสเซียอย่างน่าอับอาย เสียดินแดนไปบางส่วน แถมเหล่ารัฐเยอรมันยังไปใช้ Hall of Mirrors ที่พระราชวังแวร์ซาย สัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสในการประกาศรวมชาติสถาปนาจักรวรรดิเยอรมัน (ปรัสเซียคือชื่อประเทศที่เป็นแกนกลางของรัฐเยอรมันก่อนรวมชาติ)

ต่อมาก็ปรากฏว่า สหรัฐคาดการณ์ถูก ว่าจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนและสร้างปัญหาตามมา เพราะอีกไม่นานฮิตเลอร์ได้ปรากฏตัวออกมาท่ามกลางความวุ่นวาย ความไม่พอใจ และ ความสิ้นหวังของชาวเยอรมัน

เพราะสถานการณ์ที่ย่ำแย่ของเยอรมันในตอนนั้น พอฮิตเลอร์ปรากฏตัวออกมาชูนโยบาย 'ชักดาบ' ฯลฯ ประกอบกับการเป็นนักปราศรัยที่เก่งมาก (public speaker) เลยได้รับความนิยม ได้รับการตอบรับจากประชาชนจำนวนมาก
..... แล้วก็เป็นฮิตเลอร์ที่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของเยอรมันได้สำเร็จ นำเยอรมันกลับขึ้นไปเป็นหนึ่งในมหาอำนาจยุโรปได้ในเวลาเพียง 6 ปี

ความสำเร็จของฮิตเลอร์ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ ส่วนคนที่รู้ก็ไม่ค่อยอยากพูดถึง และ ผลพวงที่ตามมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง (ทั้งนี้ ความสำเร็จและผลงานของฮิตเลอร์ที่มีต่อเยอรมันไม่สามารถนำไปหักล้างสิ่งเลวร้ายที่ฮิตเลอร์ได้ทำลงไปเช่นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฯลฯ)

ในช่วงพีค อัตราว่างงานในเยอรมันถึงกับติดลบ ต้องนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะที่ยุโรปและสหรัฐกำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง (the great depression) เป็นการกู้คืนศักดิ์ศรี และความเป็นอยู่ของชาวเยอรมันที่สูญเสียไปหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้สำเร็จ (ในส่วนอัตราว่างงาน ฮิตเลอร์มีเทคนิคในการตบแต่งตัวเลขอัตราว่างงานโดยเอาคนว่างงาน อันธพาล ฯลฯ เข้ากองทัพ สนับสนุนให้ผู้หญิงแต่งงานมีลูก อยู่บ้านเลี้ยงลูก ฯลฯ )

ฮิตเลอร์เป็นมังสวิรัติและรักสัตว์ บางคนก็เชื่อว่าเป็นเพราะเค้ารักสัตว์เลยกลายมาเป็นมังสวิรัติ เยอรมันภายใต้การนำของฮิตเลอร์ได้ออกกฎหมายคุ้มครองสัตว์ตั้งแต่ช่วงแรกๆที่ครองอำนาจในปี ค.ศ.1933 ซึ่งเป็นชาติแรกๆ ในยุโรป ตามหลังเพียงไอร์แลนด์และอังกฤษ แต่เยอรมันมีเนื้อหาที่เข้มงวด ครอบคลุมมากกว่า เช่น กำหนดให้เจ้าของที่ปล่อยปละละเลยสัตว์เลี้ยงมีความผิดทางกฎหมาย, ห้ามทำร้ายสัตว์หรือทำให้สัตว์ตกอยู่ในอันตราย, ห้ามขุนสัตว์ให้อ้วน (เพื่อนำมาฆ่าเป็นอาหาร) ฯลฯ

เป็นยุคที่วงการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ยา และ นวัตกรรมต่างๆ เฟื่องฟู ก้าวหน้ามาก เพราะรัฐบาลสนับสนุนทุนการวิจัยพัฒนา และ ด้านอื่นๆอย่างจริงจัง เต็มที่

โอลิมปิคที่เยอรมันเป็นเจ้าภาพในปี ค.ศ.1936 เป็นโอลิมปิคครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดสด

เป็นยุคที่มีการริเริ่มจัดระบบสวัสดิการสังคม การรักษาพยาบาล การคลอดบุตร การลาคลอด ดูแลสิทธิสตรี ต่อต้านสื่อลามก ฯลฯ

นโยบายสนับสนุนด้านความบันเทิงให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็น โอเปร่า หนัง โรงละคร ฯลฯ ทำให้ประชาชนทุกส่วนเข้าถึงได้ แทนที่เดิมทีจำกัดไว้สำหรับชนชั้นสูงเพราะมีราคาสูงเกินสำหรับคนทั่วไป

โครงการถนนออโต้บาห์น และ รถราคาถูกสำหรับทุกครอบครัว อันเป็นที่มาของรถโฟล์คสวาเกน (โฟล์คเต่า) โครงการรณรงค์ต่อต้านบุหรี่ ซึ่งเป็นอะไรที่ล้ำมากในสมัยเมื่อ 80+ ปีก่อน ฯลฯ ...... ลุงหนวดจิ๋วแกเกลียดบุหรี่

Walther Funk ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจคนสำคัญของฮิตเลอร์เคยคาดการณ์ไว้แล้วว่า ยุโรปจะต้องรวมกันเข้าเป็นเขตเศรษฐกิจเดียวเหมือนอียูในปัจจุบัน หากเยอรมันชนะสงคราม องค์กรที่เหมือนกับอียูก็น่าจะถูกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยนั้น

เพราะความสำเร็จในด้านต่างๆ ของเยอรมันภายใต้การนำของฮิตเลอร์ซึ่งเกิดที่ออสเตรีย เมื่อกองทัพเยอรมันที่มีฮิตเอลร์ร่วมด้วย เดินทัพเข้าออสเตรียประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน เลยไม่มีการต่อต้าน แถมประชาชนยังออกมาต้อนรับ มอบดอกไม้ให้ทหารเยอรมันอีกด้วย

ผลพวงจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้อังกฤษ และ ฝรั่งเศสอ่อนแอลงมาก จนต้องยอมปล่อยอาณานิคมของตนในหลายๆ แห่งทั่วโลก (หลายแห่งก็ปล่อยไม่จริง อย่างกลุ่มประเทศแอฟริกาตะวันตก-กลาง อดีตอาณานิคมของฝรั่งเศส)

ส่งผลให้โซเวียตฯกลายเป็นมหาอำนาจทัดเทียมกับสหรัฐในเวลาต่อมา ก่อนที่จะล่มสลายในช่วงยุคปี 1990
..... และยังทำให้ชาวยิวมีประเทศเป็นของตัวเองเป็นครั้งแรกในรอบกว่าสองพันห้าร้อยปี จากการขีดพื้นที่บางส่วนของอาหรับปาเลสไตน์ใส่พานให้
(ถ้าจะว่ากันถึงเชื้อสายยิว ชาวปาเลสไตน์มีเชื้อชายยิวเข้มข้นกว่ายิวอิสราเอลที่อพยพมาจากยุโรป เพราะชาวปาเลสไตน์ก็สืบเชื้อสายมาจากยิวแล้วอยู่กันที่นั่นมาตลอดไม่ได้ไปไหน แต่ภายหลังเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่น ...... เป็นเรื่องตลกร้ายที่กลุ่มคนที่มีเชื้อสายยิวเข้มข้นน้อยกว่าพยายามก่อตั้งรัฐยิว โดยรุกล้ำยึดครอง ผลักดัน 'เข่นฆ่า' กลุ่มคนที่มีเชื้อสายยิวเข้นข้นกว่าออกไปจากพื้นที่ตรงนั้น)

การพิจารณาคดีที่เนิร์นแบร์ค (Nuremberg trials) ยังเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้เหล่าผู้นำฯที่ก่อสงคราม ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฯลฯ ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำโดยการถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดีฯ และ ข้ออ้างที่ว่า ทำตามคำสั่ง ไม่สามารถใช้ลบล้างความผิดได้
..... หากฮิตเลอร์ไม่ก่อสงคราม บางทีโลกอาจจะจดจำเค้าในอีกแบบหนึ่ง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top