Sunday, 20 April 2025
สงครามการค้า

‘พงษ์ภาณุ’ ชี้สงครามการค้า ‘สหรัฐฯ - จีน’ พาอุตฯ หลัก แห่ย้ายฐานการผลิต ชี้!! ‘อินโดฯ - เวียดนาม’ ที่มั่นใหม่ แนะ!! ‘ไทย’ เร่งคว้าโอกาสก่อนตกขบวน

สงครามการค้า 'จีน-สหรัฐฯ' ระเบียบโลกสั่นคลอน โลกาภิวัฒน์ถดถอย อินโดนีเซียและเวียดนามได้ประโยชน์เต็มๆ จากนโยบายต่างประเทศที่ชาญฉลาด แล้วไทยจะยืนอยู่ตรงไหน???

(30 เม.ย.66) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และอดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง ได้ให้มุมมองต่อเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาคอาเซียน ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00- 08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 66 โดยระบุว่า...

จากสงครามการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก สหรัฐอเมริกา และจีน ซึ่งสหรัฐฯ มองว่า จีน จะก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญทั้งในด้านเทคโนโลยีและการทหาร เพราะฉะนั้น ทางสหรัฐฯ จึงได้แบนสินค้าจากจีน ด้วยการอ้างเหตุผลสารพัด ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จนถึงปัจจุบัน แม้จะเปลี่ยนผู้นำคนใหม่แล้ว สถานการณ์ก็ยังคงเหมือนเดิม 

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่การแบนสินค้าจากจีนเท่านั้น แต่ในช่วงที่ผ่านมา แบรนด์สินค้าจากฝั่งสหรัฐฯ ที่เคยมีฐานการผลิตใหญ่อยู่ในประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็น แอปเปิล ไนกี้ และอีกหลายแบรนด์ ก็ได้เริ่มทยอยย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน เพราะมองว่า ฐานการผลิตในจีนเริ่มไม่มีความมั่นคง ไม่มีความปลอดภัย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีระบบการปกครองที่เป็นเผด็จการ ธุรกิจในประเทศถูกควบคุมโดยรัฐบาลกลาง มีความสุ่มเสี่ยงมากขึ้น

แน่นอนว่า หากแบรน์ใหญ่ ๆ เหล่านี้ เลือกฐานการผลิตประเทศใด ย่อมสร้างรายได้ และสร้างงานให้กับประเทศนั้น ๆ ได้อย่างมหาศาล ซึ่งจะเห็นได้ว่า หลาย ๆ ประเทศในอาเซียนต่างพยายามนำเสนอจุดแข็งของประเทศเพื่อดึงดูเม็ดเงินการลงทุนจากแบรนด์สินค้าเหล่านั้น

นายพงษ์ภาณุ ระบุว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มองว่ามีอยู่ 2 ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่จะได้รับผลประโยชน์อย่างสูงมากกว่าชาติอื่น ๆ นั่นก็คือ อินโดนีเซีย และเวียดนาม 

เหตุที่มองเช่นนั้น เพราะว่า ประธานาธิบดี โจโค วิโดโด หรือ โจโควี ของอินโดนีเซีย ที่เป็นผู้นำประเทศมา 10 ปี และกำลังจะครบเทอมในปีหน้า เป็นคนที่วางตำแหน่งประเทศอินโดนีเซียได้ยอดเยี่ยมมาก...

ข้อแรก วางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เปิดเสรีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเต็มที่

ข้อสอง เป็นประเทศที่มีนโยบายการต่างประเทศที่เป็นอิสระ ที่สำคัญตัวผู้นำประเทศยังสามารถคุยได้กับทุกฝ่าย นับเป็นผู้นำประเทศเพียงไม่กี่คนที่ได้พบปะพูดคุยกับผู้นำถึง 4 ประเทศ ประกอบด้วย โจ ไบเดน, สีจิ้นผิง, วลาดีมีร์ ปูติน และ โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ในปีที่ผ่านมา น่าจะเป็นคนเดียวที่มีโอกาสพบผู้นำ 4 คนภายในปีเดียว สะท้อนให้เห็นว่า ผู้นำประเทศอินโดนีเซียคนนี้ ได้รับการยอมรับมากเพียงใด

เสือปืนไว!! ‘รัฐบาลไทย’ ปรับบทบาทประเทศในเวทีโลก ขานรับประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ‘อินเดีย-จีน’ ใต้ผู้นำยุคที่ 3

ทีมข่าว THE STATES TIMES ได้พูดคุยกับ อ.พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ ที่มาร่วมพูดคุยในรายการ Easy Econ ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM 93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES ในหัวข้อ ‘อินเดียและจีน กับประโยชน์ทางเศรษฐกิจของไทย’ เมื่อวันที่ 21 เม.ย.67 ดังนี้…

อินเดียและจีนเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจของโลกที่ประเทศไทยจะต้องให้ความสนใจเพื่อตักตวงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แต่ทั้งสองประเทศก็มีแนวนโยบายและพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

อินเดีย ซึ่งมีการเลือกตั้งในวันที่ 19 เมษายนนี้ และมีผู้มีสิทธิออกเสียงเกือบ 1,000 ล้านคน ถือเป็นการเลือกตั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ยังผลให้ Narendra Modi กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3 อันจะสามารถสานต่อนโยบายเศรษฐกิจเดิม ซึ่งจะนำพาความสำเร็จให้แก่อินเดียได้กลายเป็นยักษ์ใหญ่อันดับ 5 ของโลก ภายใต้นโยบายเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมหาศาล รวมถึงการต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศและการเป็นมิตรกับธุรกิจภายใต้ Modi

ในขณะที่จีนภายใต้ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ซึ่งเข้าสู่วาระที่ 3 เช่นกันนั้น กลับมีนโยบายที่ค่อนข้างจะตรงกันข้าม กล่าวคือ ความแข็งกร้าวและการไม่ยอมรับระเบียบที่กำหนดโดยโลกตะวันตก การแทรกแซงและความไม่เป็นมิตรกับธุรกิจเอกชน การปล่อยปละละเลยให้เกิดฟองสบู่ในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จนฟองสบู่แตกกลายเป็นปัญหาหนี้สินในปัจจุบัน

แน่นอนว่า Supply Chain ของโลกกำลังย้ายถิ่นฐานกันขนานใหญ่ ภูมิภาคที่จะได้รับอานิสงส์สูงสุดคงไม่พ้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และวันนี้ประเทศไทยก็ไม่ได้เป็นแค่จุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวจีนประสงค์จะมาเที่ยวเท่านั้น แต่ประเทศไทยได้เป็นจุดหมายปลายทางด้านการลงทุนที่กำลังได้รับความสนใจสูงสุดจากนักธุรกิจจีนอีกด้วย 

สังเกตได้ว่าการลงทุนจากจีนกำลังหลั่งไหลเข้าไทยในทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ EV และแบตเตอรี อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน เป็นต้น และในอนาคตอันใกล้ ก็เป็นไปได้สูงที่จีนจะเข้ามาลงทุนในโครงการแลนด์บริดจ์ และอุตสาหกรรมบริการ โดยเฉพาะสถานบันเทิงครบวงจรที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย จึงเป็นหน้าที่รัฐบาลที่จะต้องเตรียมรับมือกับธุรกิจจีนที่กำลังถาโถมเข้ามา เพราะการลงทุนจีนจะมีรูปแบบและลักษณะแตกต่างจากการลงทุนของญี่ปุ่นและชาติตะวันตก

ดังนั้น ภายใต้เครื่องชี้วัดหลายประการที่เริ่มบ่งบอกถึงความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในโลกนั้น อาจกลายเป็นโอกาสทองทางเศรษฐกิจของไทย และก็ถือเป็นข่าวดีที่ตลอด 6-7 เดือนที่ผ่านมานี้ รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน กำลังปรับเปลี่ยนบทบาทประเทศไทยในเวทีโลก เพื่ออ้าแขนรับโอกาสทางเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นนี้แล้วด้วย

‘ดร.อักษรศรี’ เผย 'จีน' สั่งตรวจสอบเนื้อหมูยุโรปทุ่มตลาดจีนหรือไม่?

(18 มิ.ย.67) รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจจีน จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์เนื้อหากรณี 'จีนสั่งสอบเนื้อหมูยุโรปทุ่มตลาดในจีน'  จีนใช้พลังซื้อเป็นอาวุธ และโอกาสจะเกิดสงครามการค้าระหว่างจีน-สหภาพยุโรปหรือไม่ โดยระบุว่า...

เรื่องหมู ๆ แต่ไม่หมูสำหรับยุโรปแล้ว จีนสั่งสอบเนื้อหมูยุโรปทุ่มตลาดในจีน โดยใช้พลังซื้อจีนเป็นอาวุธ  ปีที่แล้ว 2023 จีนนำเข้าเนื้อหมูกว่า 2.2 แสนล้านบาท!! จีนเป็นประเทศที่กินหมูมากที่สุดในโลก และนำเข้าจำนวนมาก

(https://www.reuters.com/markets/commodities/china-opens-anti-dumping-probe-into-imported-pork-by-products-eu-2024-06-17/)

ที่ผ่านมา สหภาพยุโรปประกาศเก็บภาษี จะเล่นงานรถยนต์ EV จีน ก็เลยต้องโดนเอาคืนบ้างนะ โอกาสจะเกิดสงครามการค้าหรือไม่

ทั้งสหรัฐและสหภาพยุโรปเก็บภาษีรถยนต์ EV จีน แต่สหภาพยุโรปจะโดนจีนเอาคืนก่อน เพราะสหภาพยุโรปจะเก็บภาษี EV จีนในเดือนกรกฎาคมนี้ (ส่วนสหรัฐฯ แม้ประกาศก่อน แต่ยังไม่ขึ้นภาษีกับรถยนต์ EV ของจีนในทันที) 

เดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ สหภาพยุโรปจะเรียกเก็บภาษีรถยนต์ EV จีนเพิ่มเติมจากอัตราเดิมสูงถึงร้อยละ 38.1

คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศเมื่อวันพุธที่ 12 มิถุนายน 2024 ว่าอัตราภาษีชั่วคราวใหม่จะถูกนำมาใช้เพิ่มเติมจากภาษีปัจจุบันที่ร้อยละ 10

คณะกรรมาธิการกล่าวว่า รถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในจีนได้รับประโยชน์จากการอุดหนุนที่ไม่เป็นธรรม "ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความเสียหายทางเศรษฐกิจ" ของผู้ผลิตในสหภาพยุโรป

นอกจากนั้นยังระบุว่า มาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม เว้นแต่การหารือกับจีนจะนำไปสู่ ‘แนวทางแก้ไขที่มีประสิทธิผล’

ภาษีเพิ่มเติมยังครอบคลุมถึงผู้ผลิตจากชาติตะวันตกในจีนด้วย

วังวน!! Trade War สงครามการค้าที่ไม่มีใครชนะ ศึกวัดพลังที่ลุกลามไปทั่วโลกจาก 2 บิ๊กมหาอำนาจ

'สงครามการค้า' เป็นความขัดแย้งหรือการต่อสู้กันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นจากการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งต้องการที่จะคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศของตัวเอง ตอบโต้การกระทำที่ไม่เป็นธรรมของประเทศคู่ค้า รวมไปถึงความต้องการที่จะกีดกันทางการค้า โดยการกีดกันนี้มักจะใช้มาตรการทางภาษี (Tariff), การจำกัดปริมาณการนำเข้า (Quota) เป็นเครื่องมือ ซึ่งถ้าในกรณีที่รุนแรงก็อาจจะนำไปสู่สงครามการลดการค้าระหว่างประเทศได้ค่ะ

ตัวอย่างของสงครามทางการค้าที่โด่งดังมากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้น สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่ทั้งสองประเทศนับเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลกทั้ง 2 ประเทศ โดยสงครามการค้าเกิดขึ้นมาในสมัยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในปี 2018 ค่ะ 

ตอนนั้นสหรัฐฯ ขาดดุลการค้าถึง 6 แสนล้านเหรียญ โดยขาดดุลหลักๆ ให้กับประเทศจีนค่ะ ทรัมป์เลยต้องการที่จะลดการขาดดุลทางการค้ารวมถึงต้องการจำกัดการถ่ายโอนเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ไปที่บริษัทจีน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่เขาเคยได้หาเสียงไว้ นั่นคือ 'Make America Great Again' แถมในตอนนั้นเองสหรัฐฯ ยังกังวลถึงนโยบายของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่อยากให้ประเทศจีนกลายเป็นฐานการผลิตโลกภายใต้นโยบาย 'Made in China 2025' และนโยบาย 'อี่ไต้อี่ลู่' หรือ 'One Belt, One Road' ที่เป็นนโยบายการฟื้นฟูเส้นทางสายไหมที่จะเชื่อมโยงทวีปเอเชีย, ยุโรปและแอฟริกาเข้าด้วยกันค่ะ 

โดยสหรัฐฯ เริ่มต้นเก็บภาษีการนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจากจีน และจีนก็โต้กลับด้วยการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นมูลค่าถึง 3 พันล้านดอลลาร์ และสหรัฐฯ ก็ตอบโต้กลับด้วยการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจีนกว่า 800 รายการเป็นมูลค่าสูงถึง 3.4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งทั้งสหรัฐฯ และจีนเองก็ต่างตอบโต้กันอย่างดุเดือดค่ะ

การตอบโต้ของทั้งสองประเทศดำเนินไปอย่างเข้มข้นและรุนแรง จนมาผ่อนคลายชั่วคราวในช่วงปี 2020 และพอเข้าปีที่ 2022 รูปแบบ Trade War ก็ได้เปลี่ยนไปจากเดิมคือ กลายเป็นสงครามการค้าที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวกลางหรือที่เราเรียกว่า Tech War แทน สงครามการค้า 

Tech War ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน สหรัฐฯ ห้ามส่งออกชิป Nvidia ไปยังจีน เพื่อให้จีนเข้าไม่ถึงชิปที่ทันสมัย และยังไม่รวมถึงการประกาศขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่ารวมกว่า 18,000 ล้านดอลลาร์ที่จะมีผลบังคับใช้ในปีนี้ โดยในรอบนี้จะมีการขึ้นภาษีทั้งในรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ และกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ด้วยค่ะ 

แต่นอนว่า สงครามการค้าที่รุนแรงและยื้อเยื้อนี้ ส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลก รวมทั้งลามไปยังประเทศอื่น ๆ อย่างเช่นประเทศแถบยุโรปที่เริ่มหันมาเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ EV จากจีน หลังจากที่พวกเขาเองก็ประสบปัญหาการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันให้กับรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน ทำให้จีนเองต้องตอบโต้ด้วยการเริ่มตรวจสอบการทุ่มตลาดเนื้อหมูจาก EU กลับ

ส่วนในไทยเองแม้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกอาจจะอ่อนแอลงไป แต่ไทยก็อาจจะได้ประโยชน์ในเรื่องสงครามการค้าจากการย้ายฐานการผลิตมายังไทย และการส่งออกสินค้าไปทั้งสหรัฐฯ และจีนได้มากขึ้นในบางสินค้าอย่าง เช่น การส่งออกสินค้าเกษตรไปจีน และการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปยังสหรัฐฯ ค่ะ 

‘ดร.อาร์ม’ ชี้ ยุคโลกาภิวัตน์ไม่หวนกลับมาแล้ว นี่คือโจทย์ใหม่ของไทยบนการเมืองโลก

เมื่อวานนี้ (9 ก.ย. 67) สำนักข่าว TNN ได้มีการจัดสัมมนาในหัวข้อ ‘ปลดล็อกกับดัก: การปรับจุดยืนไทย ในโลกที่แบ่งขั้ว’ ซึ่งการจัดงานสัมมนาที่ได้มีการเชิญนักวิชาการไทยจากหลากหลายสาขาและภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ประเทศไทยควรมีการดำเนินนโยบายอย่างไรเพื่อสร้างความเข้มแข็งและให้ผลประโยชน์กับเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติได้

โดย ‘ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร’ ผ.อ. ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความคิดเห็นว่า ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ทั่วโลกอยู่ในช่วงโลกาภิวัตน์ หรือ โลกที่ไร้พรมแดน ทว่าไม่กี่ปีมานี้ โลกเหมือนจะเข้าสู่ Deglobalization และกำลังถูกตอกฝาโลงด้วยสงครามที่เกิดขึ้นทั่วโลก และประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่กำลังได้รับผลกระทบ Supply Chain ที่กำลังปั่นป่วนอยู่ในขณะนี้ 

“ก็จริง ๆ แล้วเนี่ย สมัยก่อนพูดกันนะครับว่าเป็นเทรนด์ของโลกว่าเป็นยุคที่ไม่มีสงคราม ยุคของความซิงลี้ ผู้คนค้าขาย ผู้คนที่เรียกกันว่า… เป็นมิตรต่อกันและกัน แต่ตั้งแต่สงครามการค้าของทรัมป์ตั้งแต่ปี 2017 ตามมาด้วยวิกฤตโควิด 19 ซึ่งทำให้เกิดความปั่นป่วนของ Supply Chain ทั่วโลก แล้วก็มา ‘ตอกฝาโลง’ โลกาภิวัตน์ด้วยสงครามยูเครน ซึ่งเราบอกว่าทำให้ความไม่ไว้วางใจระหว่างมหาอำนาจเนี่ยสูงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ตอนนี้ผมคิดว่าบรรดานักวิชาการในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลกต่างเห็นตรงกันว่าเป็นยุค Deglobalization คือเป็นยุคที่โลกาภิวัตน์ไม่หวนกลับมาแล้ว”

“แต่ว่าจริงๆ แล้ว หลายคนบอกว่า มันกำลังเกิดห่วงโซ่การค้าโลกแตกเป็น 2 ห่วงโซ่ ก็คือ ห่วงโซ่สหรัฐฯ เชื่อมโลก แล้วก็พยายามที่จะสกัดขัดขวางจีน และห่วงโซ่จีนเชื่อมโลก ซึ่งก็พยายามสกัดขัดขวางสหรัฐฯ อันนี้เลยเป็นโจทย์ใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะว่าในอดีต เราถามตลอดว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain อย่างไร แต่วันนี้ต้องพูดกันตามตรงนะครับว่า Global Supply Chain กำลังปั่นป่วนมากครับ”

อย่างไรก็ตาม ศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ยุคแห่งสงครามเย็น แต่เป็นยุคสงครามร้อนที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ทั่วโลก พร้อมกันนั้น ประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบมากมายต่อการขับเคี่ยวกันทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ ดังนั้นงานสัมมนาครั้งนี้จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสร้างจุดยืนที่เป็นประโยชน์ท่ามกลางความร้อนระอุของโลกยุคนี้

‘สุรัชนี’ ชี้ ควรยึดประโยชน์ของไทยเป็นที่ตั้ง แนะ ไทยสามารถร่วมมือกับประเทศอื่นนอกจากมหาอำนาจ

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักข่าว TNN ได้มีการจัดสัมมนาในหัวข้อ ‘ปลดล็อกกับดัก: การปรับจุดยืนไทย ในโลกที่แบ่งขั้ว’ ซึ่งการจัดงานสัมมนาที่ได้มีการเชิญนักวิชาการไทยจากหลากหลายสาขาและภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ประเทศไทยควรมีการดำเนินนโยบายอย่างไรเพื่อสร้างความเข้มแข็งและให้ผลประโยชน์กับเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติได้

‘ผศ.ดร. สุรัชนี ศรีใย’ นักวิจัยอาคันตุกะ สถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ยูซุฟ อิสฮัค ประเทศสิงคโปร์ และเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ได้รับเชิญไปสัมมนางานดังกล่าว มีความเห็นว่า ประเทศไทยจะต้องตอบตนเองให้ได้ก่อนว่าต้องการผลประโยชน์ของชาติแบบใด นโยบายแบบใด ที่น่าจะสามารถให้ประโยชน์กับทุกคนในประเทศส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่เพียงเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น และยังเสริมว่า ประเทศไทยสามารถทำงานร่วมกับประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศมหาอำนาจที่กำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นตลาดอื่นๆ ทางเศรษฐกิจได้ เช่น อาเซียนและประเทศในกลุ่ม EU เป็นต้น 

“คิดว่าไทยต้องเริ่มจากการ Identify ความต้องการของตนเองก่อนว่าผลประโยชน์ของชาติไทยมันคืออะไร ซึ่งอันนี้ขีดเส้นใต้เยอะมากว่าหมายถึง ‘ผลประโยชน์ของคนไทย’ ส่วนใหญ่นะคะว่า การที่ประเทศจะบริหารความสัมพันธ์ระหว่างไทยเองกับประเทศที่เป็นมหาอำนาจนี้น่ะค่ะ มันจะส่งผลประโยชน์ต่อคนไทยยังไง เมื่อไปจากจุดนั้นแล้ว เราก็จะสามารถนึกได้นอกกรอบว่า เราจะสามารถบริหารความสัมพันธ์เหล่านี้ยังไงได้บ้างนะคะ นี่คือจุดเริ่มต้นสำคัญที่เราจะต้องเริ่มก่อน หลังจากนั้นเราก็จะสามารถที่จะเลือกได้ว่า เราจะไปสู่ผลประโยชน์เหล่านั้นเนี่ย โดยการที่จะทำงานร่วมกับมหาอำนาจไหน? หรือเราไม่จำเป็นต้องทำงานร่วมกับมหาอำนาจอย่างเดียวค่ะ เราสามารถที่จะนึกถึงตัวละครอื่นๆ อย่างเช่น ทำงานผ่านกรอบอาเซียน ทำงานร่วมกับ EU ก็ได้ หรือแม้กระทั่งกับประเทศอื่นๆ ที่กำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นตลาดอื่นๆ ที่ไทยจะสามารถ Explore ได้ค่ะ” 

อย่างไรก็ตาม ศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ยุคแห่งสงครามเย็น แต่เป็นยุคสงครามร้อนที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ทั่วโลก พร้อมกันนั้น ประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบมากมายต่อการขับเคี่ยวกันทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ ดังนั้นงานสัมมนาครั้งนี้จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสร้างจุดยืนที่เป็นประโยชน์ท่ามกลางความร้อนระอุของโลกยุคนี้

'ดุลยภาค' ชี้ โลกกำลังเข้าสู่การแบ่งขั้วมหาอำนาจที่ชัดเจน ย้ำ!! ประเทศไทยควรวางตัวเป็นกลางอย่างสร้างสรรค์

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักข่าว TNN ได้มีการจัดสัมมนาในหัวข้อ ‘ปลดล็อกกับดัก: การปรับจุดยืนไทย ในโลกที่แบ่งขั้ว’ ซึ่งการจัดงานสัมมนาที่ได้มีการเชิญนักวิชาการไทยจากหลากหลายสาขาและภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ประเทศไทยควรมีการดำเนินนโยบายอย่างไรเพื่อสร้างความเข้มแข็งและให้ผลประโยชน์กับเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติได้

‘รศ.ดร. ดุลยภาค ปรีชารัชช’ จาก สถาบันเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ได้เข้าร่วมสัมมนาดังกล่าว ได้มีความคิดเห็นว่า ประเทศไทยเหมาะที่จะดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยการเป็นกลางอย่างยืดหยุ่นและสร้างสรรค์มากกว่า และเน้นยึดหลักความถูกต้องและกฎกติการะหว่างประเทศเป็นตัวนำ พร้อมกับเลือกดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นการถาวร อย่างเช่น ประเทศไทยโยกเข้าหาสหรัฐอเมริกาในเรื่องการทหาร และ โยกเข้าหาจีนในเรื่องของการค้าและเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องปิดกั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากจนเกินไป รวมไปถึงขณะเดียวกันก็ให้ประเทศไทยหันมาเสริมสร้างแกนนอก ซึ่งหมายถึง การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจนอกประเทศไทยด้วย

“ผมคิดว่าเราน่าจะดำเนินนโยบายเป็นกลางแบบยืดหยุ่น นั่นก็คือ เราไม่ประกาศว่าเราฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เนื่องจากยังไม่ได้มีแรงบีบคั้นทางยุทธศาสตร์อย่างรุนแรงที่ถึงขนาดประเทศไทยต้องเลือกข้างนะครับ เพราะฉะนั้นเราน่าจะยึดประเด็น ยึดความถูกต้อง ยึดกฎกติกา บรรทัดฐานระหว่างประเทศเป็นตัวนำ มหาอำนาจชาติใดทำเหมาะไม่เหมา จะต้องมีการประณามหรือยังไง แล้วก็ปฏิบัติไปตามความเหมาะสมบนหลักการแบบนี้ แต่ในขณะเดียวกันในบางครั้ง ในบางประเด็น เราอาจจะต้องโยกเข้าหาสหรัฐฯ หรือจีนบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะฝักใฝ่ประเทศเหล่านั้นเป็นการถาวร ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องของการซ้อมรบ พันธมิตรทางทหาร พันธมิตรทางยุทธศาสตร์ กำลังทหารของสหรัฐอเมริกายังมีความสำคัญอยู่ เพราะฉะนั้น ไทยก็น่าจะเอนเข้าหาสหรัฐฯ หรือว่าระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพอากาศ เครื่องบินรบต่าง ๆ เราก็ต้องเน้นสหรัฐอเมริกา แล้วก็จีนก็เข้ามาตาม จีนอยากจะถ่วงดุลกับสหรัฐฯ ก็เข้ามาบริหารความสัมพันธ์ดู แต่ในมิติของการค้าชายแดน ในมิติของการลงทุน การท่องเที่ยวต่างๆ เนี่ย อิทธิพลจีนน่าจะมีอยู่สูงกว่าอย่างชัดเจน เราก็ต้องโยกเข้าหาจีนไปโดยปริยาย แต่เราก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะปิดโอกาสนี้สำหรับสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอื่นๆ เพราะฉะนั้นผมคิดว่า ความเป็นกลางแบบยืดหยุ่น แบบสร้างสรรค์น่าจะเหมาะสมกับไทยนะครับ”

“แล้วอีกเรื่องหนึ่งก็คิดว่า ประเทศไทยน่าจะเสริมสร้างแกนนอก เสริมสร้างแกนนอกก็คือ ให้เราไปมองดูพื้นที่นอกประเทศไทยว่า ส่วนไหนจะเป็นอิทธิพล เขตไหนเป็นอิทธิพลของเรา เหนือ, ใต้, ออก, ตก อย่างนี้ เช่น พื้นที่รัฐฉานของพม่า พื้นที่บรรจบทางทะเลระหว่าง ไทย, พม่า, อินเดีย, อินโดนีเซีย อะไรอย่างนี้เป็นต้น เป็นพื้นที่ที่เราจะต้องทำ Power Projection นะครับ ทำการสำแดงอำนาจ หรือเพิ่มปฏิบัติการทางเศรษฐกิจหรือมิติต่าง ๆ ให้มากขึ้น” 

อย่างไรก็ตาม ศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ยุคแห่งสงครามเย็น แต่เป็นยุคสงครามร้อนที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ทั่วโลก พร้อมกันนั้น ประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบมากมายต่อการขับเคี่ยวกันทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ ดังนั้นงานสัมมนาครั้งนี้จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสร้างจุดยืนที่เป็นประโยชน์ท่ามกลางความร้อนระอุของโลกยุคนี้

‘TSMC’ ผู้ผลิตชิปรายยักษ์ตัดสัมพันธ์ลูกค้า ฝ่าฝืนกฎ หลังพบแอบส่งชิปให้ ‘Huawei’

(25 ต.ค. 67) บริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Co. หรือ TSMC ค้นพบในเดือนนี้ว่าชิปที่ผลิตให้กับลูกค้ารายหนึ่งนั้นไปลงเอยที่ Huawei Technologies ซึ่งอาจเป็นการฝ่าฝืนมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ที่มุ่งหมายจะตัดเส้นทางการผลิตเทคโนโลยีไปยังบริษัทสัญชาติจีน

TSMC ได้ระงับการจัดส่งให้กับลูกค้ารายดังกล่าวในช่วงกลางเดือนตุลาคม หลังจากที่บริษัทได้ตระหนักว่าเซมิคอนดักเตอร์ที่ผลิตขึ้นสำหรับบริษัทดังกล่าวได้เข้าไปอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ Huawei บุคคลผู้มีความรู้โดยตรงในเรื่องนี้กล่าว หลังจากนั้น ผู้ผลิตชิปรายดังกล่าวได้แจ้งให้รัฐบาลสหรัฐฯ และไต้หวันทราบแล้ว และกำลังสืบสวนเรื่องนี้อย่างละเอียดถี่ถ้วนยิ่งขึ้น โดยบุคคลผู้นี้ขอไม่เปิดเผยชื่อเนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่ละเอียดอ่อน

ยังไม่ชัดเจนว่าลูกค้าของ TSMC ดำเนินการในนามของ Huawei หรือไม่ หรือบริษัทตั้งอยู่ที่ใด แต่เหตุการณ์นี้ทำให้รายงานที่เผยแพร่ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา รวมทั้งจาก The Information เปิดเผยว่าวอชิงตันได้ติดต่อ TSMC เมื่อไม่นานนี้ว่าบริษัทได้ผลิตชิปให้กับบริษัทจีนที่อยู่ในบัญชีดำหรือไม่

การค้นพบของ TSMC ทำให้เกิดคำถามว่า Huawei ซึ่งถือเป็นความหวังสูงสุดของจีนในการก้าวขึ้นสู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ได้ชิปขั้นสูงมาได้อย่างไร บริษัทวิจัย TechInsights ค้นพบเมื่อไม่นานนี้ว่าเซิร์ฟเวอร์ปัญญาประดิษฐ์ล่าสุดของ Huawei มีโปรเซสเซอร์ที่ผลิตโดย TSMC ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านการผลิตที่สำคัญที่สุดของ Nvidia

Huawei อยู่ในรายชื่อคว่ำบาตรตั้งแต่ปี 2020 และถูกห้ามทำธุรกิจกับ TSMC และบริษัทผู้ผลิตชิปรายอื่นโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลสหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมา Huawei ได้พึ่งพา Semiconductor Manufacturing International Corp. ซึ่งเป็นพันธมิตรในพื้นที่ในการผลิตชิป ซึ่งรวมถึงชิปขนาด 7 นาโนเมตรที่เปิดตัวในเดือนสิงหาคมปีที่แล้วในสมาร์ทโฟนของ Huawei

แต่เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ได้ตั้งคำถามถึงความสามารถของ SMIC ในการผลิตชิปขนาด 7 นาโนเมตรในปริมาณมาก การที่ Huawei ใช้เอาต์พุตของ TSMC สำหรับชิป AI รุ่นล่าสุดอาจเป็นสัญญาณที่ตอกย้ำเรื่องราวดังกล่าว บริษัทผู้ผลิตชิปสัญชาติไต้หวันได้กล่าวว่าได้หยุดส่งสินค้าทั้งหมดให้กับ Huawei หลังจากวันที่ 15 กันยายน 2020 ซึ่งบริษัทได้ย้ำอีกครั้งเมื่อถูกถามเกี่ยวกับรายงานของ TechInsights

ตัวแทนของ TSMC ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าล่าสุด โฆษกของ Huawei ยังไม่มีความคิดเห็นใดๆ เมื่อได้รับการติดต่อ โฆษกของกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ กล่าวว่าสำนักงานอุตสาหกรรมและความปลอดภัยของหน่วยงาน "รับทราบถึงการรายงานที่กล่าวหาว่าอาจละเมิดการควบคุมการส่งออกของสหรัฐฯ"

"TSMC เป็นบริษัทที่เคารพกฎหมาย และเรามุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงการควบคุมการส่งออกที่เกี่ยวข้อง" บริษัทกล่าวในแถลงการณ์ทางอีเมลเมื่อวันอังคาร "เราได้สื่อสารกับกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ อย่างจริงจังเกี่ยวกับเรื่องในรายงาน เราไม่ทราบว่า TSMC ตกเป็นเป้าหมายของการสอบสวนใดๆ ในขณะนี้"

ในแถลงการณ์แยกกัน Huawei กล่าวเมื่อวันอังคารว่า "ไม่ได้ผลิตชิปใด ๆ ผ่าน TSMC หลังจากนำการแก้ไขที่กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ จัดทำขึ้นใน FDPR ซึ่งกำหนดเป้าหมายไปที่ Huawei ในปี 2020 มาใช้" FDPR อ้างถึงกฎสินค้าโดยตรงจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นข้อจำกัดการค้าของสหรัฐฯ

John Moolenaar สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรจีน กล่าวเมื่อวันพุธว่า รายงานเกี่ยวกับชิปที่ TSMC ผลิตในอุปกรณ์ของ Huawei "แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวอย่างร้ายแรงของนโยบายควบคุมการส่งออกของสหรัฐฯ" เขาเรียกร้องให้ "ทั้ง BIS และ TSMC ตอบกลับทันทีเกี่ยวกับขอบเขตและปริมาณของภัยพิบัติครั้งนี้"

ไต้หวันเคารพมาตรการควบคุมการส่งออกของสหรัฐฯ และจะแจ้งเรื่องนี้ให้ TSMC ทราบโดยสมบูรณ์ J.W. Kuo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจกล่าวกับนักข่าวเมื่อวันพุธ

เจ้าหน้าที่ BIS ได้พบกับผู้บริหารของ TSMC เมื่อกลางเดือนตุลาคมเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิป รวมถึงการที่ผู้จัดจำหน่ายบุคคลที่สามอาจให้เทคโนโลยีที่จำกัดการเข้าถึงจีนได้หรือไม่ ตามคำบอกเล่าของบุคคลอีกคนที่คุ้นเคยกับเรื่องนี้ ซึ่งอธิบายว่าการประชุมครั้งนั้นเป็นการร่วมมือกัน ไม่ชัดเจนว่าพวกเขาพูดถึงการค้นพบของลูกค้าหรือไม่

ตัวเร่งความเร็ว AI ซึ่งเป็นชิปที่ใช้ในการพัฒนาโมเดล AI ได้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณค่าในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

Nvidia ซึ่งตั้งอยู่ในซานตาคลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย ใช้ TSMC ในการผลิตเวอร์ชันที่เป็นผู้นำตลาด ซึ่งผลักดันยอดขายและมูลค่าของบริษัทในช่วงสองปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ จำกัดการส่งออกชิป Nvidia ที่ทันสมัยไปยังจีน และ Huawei กำลังเสนอตัวเร่งความเร็วเป็นทางเลือกในประเทศ

910 ของ Huawei ซึ่งเป็นรุ่นก่อน 910B เริ่มผลิตในปี 2019 ก่อนที่ 910B จะออกสู่ตลาด รัฐบาลสหรัฐฯ ขยายมาตรการคว่ำบาตรบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของจีน โดยในช่วงเวลาดังกล่าว Huawei ได้จัดเก็บชิ้นส่วนของ TSMC ไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้บริษัทสามารถใช้ชิป TSMC ขนาด 5 นาโนเมตร ซึ่งล้ำหน้าชิปขนาด 7 นาโนเมตรถึงเจเนอเรชันในแล็ปท็อปที่วางจำหน่ายเมื่อปลายปีที่แล้ว

ผู้นำโคลอมเบียถอย ยอมรับผู้อพยพกลับ หลังทรัมป์ขู่ลงดาบคว่ำบาตร-ขึ้นภาษี

(27 ม.ค. 68) ทำเนียบขาวเปิดเผยเมื่อค่ำวันอาทิตย์ที่ 26 มกราคมว่า โคลอมเบียได้ตกลงรับผู้อพยพที่เดินทางเข้าสหรัฐอเมริกาโดยผิดกฎหมายกลับประเทศโดยไม่มีข้อจำกัดใด ๆ โดยข้อตกลงนี้ยังระบุว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะไม่เรียกเก็บภาษี 25% จากโคลอมเบีย ตราบใดที่รัฐบาลโคลอมเบียปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว

คาโรไลน์ เลวิตต์ โฆษกทำเนียบขาวแถลงว่า "รัฐบาลโคลอมเบียได้ยอมรับเงื่อนไขทั้งหมดของประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งรวมถึงการรับผู้อพยพที่ถูกส่งกลับจากสหรัฐอย่างไม่จำกัด ไม่ว่าจะเดินทางด้วยเครื่องบินพาณิชย์หรือเครื่องบินทหาร โดยไม่มีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมหรือความล่าช้า"

เลวิตต์เสริมว่า มาตรการภาษีและการคว่ำบาตรต่าง ๆ ที่เคยเตรียมไว้จะถูกระงับไว้ก่อน ตราบใดที่โคลอมเบียยังคงปฏิบัติตามข้อตกลงนี้ อย่างไรก็ตาม มาตรการคว่ำบาตรด้านวีซ่าต่อเจ้าหน้าที่โคลอมเบีย รวมถึงการตรวจสอบศุลกากรที่เข้มงวดต่อสินค้าจากโคลอมเบีย จะยังคงมีผลจนกว่าการส่งตัวผู้ถูกเนรเทศชุดแรกสำเร็จ และเครื่องบินลำดังกล่าวเดินทางกลับถึงสหรัฐ

การบรรลุข้อตกลงนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์และประธานาธิบดีกุสตาโว เปโตร ของโคลอมเบีย มีการตอบโต้ทางการทูตเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวก่อนหน้านี้ โดยก่อนหน้านี้ นายเปโตร ได้สั่งระงับการลงจอดของเครื่องบินทหารสหรัฐ 2 ลำ ที่มีแผนขนส่งผู้อพยพชาวโคลอมเบียกลับประเทศ ซึ่งนำไปสู่คำขู่จากทรัมป์ว่าจะเพิ่มภาษีศุลกากร หากโคลอมเบียไม่ยอมรับเงื่อนไขนี้

จีนลุยยื่น WTO ฟ้องสหรัฐ อ้างไม่เป็นธรรม หลังขึ้นภาษี 10%

(4 ก.พ. 68) กระทรวงพาณิชย์ของจีนรายงานว่าจีนได้ยื่นเรื่องร้องเรียนกับกลไกแก้ไขข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก (WTO) กรณีสหรัฐฯ ตัดสินใจกำหนดการจัดเก็บภาษีศุลกากรเพิ่มเติมร้อยละ 10 กับสินค้านำเข้าจากจีน เพื่อคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ตามกฏหมายของจีน

โฆษกกระทรวงฯ แถลงข่าวว่ากรณีสหรัฐฯ กำหนดการจัดเก็บภาษีศุลกากรเพิ่มเติมจากสินค้าจีนได้ละเมิดกฎเกณฑ์ขององค์การฯ อย่างร้ายแรง โดยการกระทำเช่นนี้ถือเป็นแบบอย่างของลัทธิกระทำเพียงฝ่ายเดียวและลัทธิกีดกันทางการค้า

การกระทำของสหรัฐฯ บั่นทอนระบบการค้าพหุภาคีที่มีกฎเกณฑ์ บ่อนทำลายรากฐานความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าจีน-สหรัฐฯ และส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพความมั่นคงของห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกอย่างยิ่ง

สหรัฐฯ มุ่งเน้นลัทธิกระทำเพียงฝ่ายเดียวหรือเอกภาคีมากกว่าพหุภาคีซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก่อให้เกิดเสียงตำหนิติเตียนจากสมาชิกองค์การฯ ส่วนใหญ่ ซึ่งจีนคัดค้านการกระทำของสหรัฐฯ และกระตุ้นเตือนฝ่านสหรัฐฯ แก้ไขข้อผิดพลาดโดยทันที

จีนในฐานะผู้สนับสนุนและผู้มีส่วนส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีพร้อมทำงานร่วมกับสมาชิกองค์การฯ รายอื่นๆ เพื่อรับมือกับความท้าทายจากลัทธิกระทำเพียงฝ่ายเดียวและลัทธิกีดกันทางการค้าที่ส่งผลกระทบต่อระบบการค้าพหุภาคี และคุ้มครองการพัฒนาอันมีระเบียบและเสถียรภาพของการค้าระหว่างประเทศ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top