Friday, 28 June 2024
ศาลปกครองกลาง

'ศาลปกครองกลาง' สั่งจ่ายหนี้ บีทีเอส 1.2 หมื่นล้าน เบื้องต้น​ กทม.เตรียมยื่นอุทธรณ์

‘ศาลปกครองกลาง’​ มีคำสั่งพิพากษาให้ ‘กทม-เคที’ จ่ายหนี้ค่าเดินรถสายสีเขียว​ส่วนต่อขยาย โดยให้ชำระเงินภายใน 180 วัน​นับตั้งแต่คดีถึงที่สุด เบื้องต้น​ กทม.เตรียมยื่นอุทธรณ์

(7 ก.ย. 65) รายงานข่าวจากศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาในคดีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที กรณีผิดสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว) เพื่อขอให้ชำระค่าตอบแทนตามสัญญาดังกล่าว

โดยศาลปกครองกลาง​ มีคำสั่งพิพากษาให้กรุงเทพมหานครและกรุงเทพฯ ธนาคมร่วมกันจ่ายเงินในส่วนต่อขยายที่ 1​ ช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่-บางหว้า และช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ซึ่งค้างชำระหนี้มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม​ 2562​ - ​พฤษภาคม​ 2564 รวมดอกเบี้ย​  2,348 ล้านบาท

‘รฟม.’ ปลดล็อก ‘สายสีส้ม’ เดินหน้าคืนประโยชน์ให้ ปชช. หลังศาลฯ ยกฟ้องปมจัดประมูล ชี้!! ดำเนินการโดยชอบตาม กม.

(18 ส.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ภายหลังศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้องในคดีที่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ ‘บีทีเอสซี’ ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม กรณีออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ครั้งที่ 2 และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 โดยศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา ชี้ดำเนินการชอบโดยกฎหมาย

จากกรณีดังกล่าวส่งผลให้การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มล่าช้ากว่าแผนไปแล้วประมาณ 2 ปีเศษ และยังส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังแผนการเดินรถของรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ‘ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)’ ไปพร้อมๆ ด้วย เนื่องจากรฟม.ยังไม่สามารถหาผู้ประกอบการเดินรถได้ เพราะการหาผู้ประกอบการเดินรถทั้งเส้นทางถูกผูกรวมอยู่กับการหาผู้ร่วมลงทุนที่จะมาก่อสร้างโครงการฯ ส่วนตะวันตก

ทั้งนี้ รฟม.ได้ประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นกรณีเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกล่าช้าว่า ประเทศอาจจะเสียหายสูงถึง 4.3 หมื่นล้านบาท/ปี ประกอบด้วย

1.) ค่าดูแลรักษา (Care of Works) โครงสร้างงานโยธาส่วนตะวันออก 495 ล้านบาท/ปี
2.) ค่าเสียโอกาสเก็บค่าโดยสารจากรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก 1,764 ล้านบาท/ปี
3.) ค่าสูญเสียทางเศรษฐกิจ 40,644 ล้านบาท/ปี

สำหรับความคืบหน้าล่าสุด ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2566 พบว่าโครงการรถไฟฟ้าสีส้มส่วนตะวันออก ดำเนินการก่อสร้างงานงานโยธาแล้วเสร็จ 100% เหลือแต่เพียงการทดลองวิ่งและการประกาศเปิดใช้ที่ รฟม. จะประกาศในอนาคตนี้

ส่วนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก หากไม่มีเอกชนรายใดยื่นคัดค้านคำพิพากษา เพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าและการเสียโอกาสของประชาชนในการใช้ประโยชน์ รวมถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในการดูแลโครงสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันออก รฟม. จะเร่งรัดและผลักดันโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ตามขั้นตอนเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้องในคดีที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ ‘บีทีเอสซี’ ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณีออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 (ครั้งที่ 2) และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือน กรกฎาคม 2563 ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเหตุให้บีทีเอสซีเสียหาย

‘ศาลปกครองกลาง’ สั่งระงับซื้อไฟฟ้าพลังงานลม 1,500 MW หลังบริษัทย่อยกลุ่ม EA ร้องคำสั่ง กกพ. ไม่โปร่งใส-ยุติธรรม

(16 ต.ค. 66) ศาลปกครองมีคำสั่งระงับรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ในกลุ่มพลังงานลม ขนาด 1,500 เมกะวัตต์ เป็นการชั่วคราว หลังจากบริษัทย่อยของ EA ร้อง กกพ. ออกคำสั่งโดยอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่โปร่งใส และยุติธรรม  

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2566 บริษัท วินด์ ขอนแก่น 2 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ EA ในฐานะผู้ฟ้องคดี ได้ร้องคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เกี่ยวกับ การออกคำสั่งโดยอาจไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ไม่โปร่งใส และยุติธรรม ต่อศาลปกครองกลาง

โดยสาระสำคัญที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งทางการปกครองไว้เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษา ซึ่งศาลได้แถลงไว้ ดังนี้

“ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ยังไม่ได้แจ้งเหตุผลทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้แก่ผู้ฟ้องคดีทราบ โดยเฉพาะเกณฑ์การประเมินหรือการกำหนดคะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคด้านต่าง ๆ ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าตามระเบียบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2”

“ข้อเท็จจริงไม่มีการประกาศหรือกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินคะแนนความพร้อมทางเทคนิคด้านต่าง ๆ ให้ผู้อื่นขอผลิตไฟฟ้าทราบแต่อย่างใด อันทำให้เป็นการใช้ดุลพินิจของคณะอนุกรรมการคัดเลือกโดยแท้ซึ่งจะทำให้ขาดความโปร่งใสและเป็นธรรมแก่ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้า”

“ผู้ฟ้องคดีเองได้ขอทราบคะแนนการประเมินของคณะอนุกรรมการก็ไม่ได้รับการชี้แจงหรือ แจ้งผลใด จากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงมีปัญหาว่าการพิจารณาและการประเมินให้น้ำหนักคะแนนของคณะอนุกรรมการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เป็นการไม่ดำเนินการตามรูปแบบ ขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ ตามที่หลักเกณฑ์กำหนดกระบวนการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้า”

“เมื่อคณะอนุกรรมการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 กำหนดหลักเกณฑ์การให้น้ำหนักคะแนนความพร้อมทางเทคนิค แต่ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถตรวจสอบได้ จึงอาจมีการใช้ดุลพินิจ ตามอำเภอใจ โดยปราศจากหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและตรวจสอบได้”

“ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ก็ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการดังกล่าวเป็นผู้พิจารณาประเมินคะแนนความพร้อมทางเทคนิคในแต่ละด้านและยังให้คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวเป็นผู้พิจารณา คัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าเพื่อเสนอความเห็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 พิจารณาให้ความเห็นชอบด้วย อันมีสภาพร้ายแรงอันอาจจะทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางอีกด้วย”

จากกรณีดังกล่าว จึงทำให้ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งทุเลาการบังคับมติของ กกพ. ในการประชุมครั้งที่ 17/2566 (ครั้งที่ 845) เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 ที่พิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจำนวน 175 ราย เฉพาะในส่วนที่ไม่มีรายชื่อผู้ขอฟ้องคดีและทุเลาการบังคับตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่องรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ได้รับคัดเลือกตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี พ.ศ. 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 5 เมษายน 2566 สำหรับพลังงานลมจำนวน 22 ราย ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เป็นอย่างอื่นเนื่องจากการดำเนินการตามประกาศดังกล่าว ในเบื้องต้นน่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับ ความชอบด้วยกฎหมาย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top