Tuesday, 22 April 2025
วิวัธน์_จิโรจน์กุล

ผู้กำกับ 2475 Dawn of Revolution แจงรอบที่ร้อยแปด แอนิเมชันนี้ไร้ทุนหนุน-ตั้งใจทำก่อนเกิดม็อบสามนิ้วเสียอีก

สื่อต่างประเทศรายหนึ่ง (ขอสงวนชื่อ) ได้มาสัมภาษณ์ คุณวิวัธน์ จิโรจน์กุล ผู้กำกับ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ โดยถามคำถามทั่วไปเกี่ยวกับ แอนิเมชัน และ ยังมีคำถามเกี่ยวกับการเมืองปัจจุบันเข้ามาด้วย

แต่เนื่องจากเวลาผ่านมากกว่า 50 วันแล้ว แต่บทสัมภาษณ์นั้นยังไม่ได้รับการเผยแพร่ ทางทีมงาน 2475 Dawn of Revolution จึงขอเรียบเรียงเนื้อหาการสัมภาษณ์ในวันนั้น มาเผยแพร่ในเพจ เพราะเป็นประเด็นที่น่าสนใจและคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อสังคมครับ

>> โดยคำถามที่เกี่ยวข้องกับแอนิเมชัน มีดังนี้

สื่อตปท. : งบประมาณที่ใช้ทำแอนิเมชันมาจากกองทัพใช่หรือไม่

ผกก.2475 ตอบ : แอนิเมชันนี้ไม่ได้งบประมาณจากกองทัพ ไม่ได้รับเงินสนับสนุนใด ๆ จากรัฐบาล แต่ไม่ปฏิเสธว่า บริษัทเรารับทำงานสารคดีให้ความรู้ และ งานสื่อการสอนให้กับกองทัพ ซึ่งเป็นงานคนละส่วนกับแอนิเมชัน ซึ่งตามที่สื่อฯบางรายได้นำมาเผยแพร่ ก็พบว่าตกปีละไม่ถึง 1 ล้านบาท และเป็นงานเล็ก ๆ TOR ละ 1 แสน - 4 แสน ไม่สามารถนำงบฯมาทำผลิตแอนิเมชันขนาดนี้ได้อยู่แล้ว และนอกจากนี้ บริษัทของเรายังรับทำเพลงโฆษณา ทำการตลาด ทำแบรนด์ดิ้ง ซึ่งเราก็เอาเงินส่วนตัว เงินระดมทุน และรายได้จากงานต่าง ๆ มาใช้ในการทำงาน แอนิเมชันเรื่องนี้ จึงมาจากเงินเอกชนคนไทยล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับหน่วยงานรัฐบาลใด ๆ ถ้ารัฐสนับสนุนจริง พวกผมคงไม่ต้องมาขายเสื้อ ขายหนังสือกันหรอกครับ

สื่อตปท. : การที่ม็อบเยาวชนออกมาเคลื่อนไหวเรื่องภารกิจคณะราษฎร ทำให้คุณตัดสินใจทำแอนิเมชันเรื่องนี้ใช่หรือไม่

ผกก.2475 ตอบ : เราคิดเรื่องนี้มาเป็นสิบปีแล้วครับ ตั้งแต่ผมยังไม่ได้มาทำบริษัทด้านโปรดักชันเลยด้วยซ้ำ แอนิเมชันเรื่องนี้เราเก็บข้อมูลมา 5 ปี แล้วใช้เวลาทำอีก 3 ปี มันต้องใช้เวลาไม่ใช่ว่าจู่ ๆ จะทำออกมาได้ ตอนทำเราก็ไม่รู้ด้วยว่าจะเสร็จเมื่อไหร่ เราคิดว่าทำไปเรื่อย ๆ เท่าที่ไหว ทำจนเงินหมดก็ต้องทำต่อ เพราะงานมันต้องทำให้เสร็จ จะล้มกลางทางไม่ได้

นั่นคือเราคิดมาก่อนที่จะเกิดม็อบพวกนี้เสียอีก แต่สิ่งที่ม็อบเขาขับเคลื่อน เช่น คุณไปจัดงานวันเกิดให้จอมพล ป. หน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เชิดชูเป็นวีรบุรุษประชาธิปไตย แต่อีกสักพัก คุณเพนกวินเอารูปจอมพล ป.มาเผา บอกว่าเชิญวิญญาณเผด็จการมาไล่เผด็จการ ผมก็ดูขำ ๆ นะ เด็กพวกนี้มันครีเอตดี แต่นี่แหละครับ มันยืนยันว่าการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนไทย

>> ต่อมาสื่อตปท.ได้ถามคำถามที่เกี่ยวกับการเมืองไทย

สื่อตปท. : ถามเรื่องกระแสความสนใจพรรคก้าวไกลของวัยรุ่น ที่ทำให้การเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปแล้ว

ผกก.2475 ตอบ : เปลี่ยนแปลงเหรอ ผมยังไม่เห็นว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงเลย พรรคก้าวไกลเองก็ไม่ได้ทำการเมืองใหม่ ถ้าพรรคก้าวไกลบอกว่าเป็นความหวังใหม่ กล้าชนทุกอย่าง แต่ทำไมจึงไม่ตรวจสอบรัฐบาลอย่างที่ควรจะเป็น แม้กระทั่งธนาธรเองก็บอกว่า ‘เพื่อไทยเป็นมิตร’ และบอกออกสื่อฯว่า จำเป็นต้องจับมือเพื่อไทยในครั้งหน้า เพราะเหตุนี้หรือเปล่า พรรคก้าวไกลจึงไม่คัดค้านเรื่องข้าว 10 ปี ยอมปล่อยผ่าน มองข้ามความเสียหายของประเทศ และผลกระทบต่อประชาชน เพื่อหวังผลประโยชน์ของในการร่วมรัฐบาลครั้งต่อไปใช่หรือไม่ ถ้าเป็นแบบนี้ คุณจะเรียกการเมืองใหม่ได้เหรอ ผมว่าไม่นะ

สื่อตปท. : คุณไม่อยากให้ก้าวไกลเป็นรัฐบาลใช่หรือไม่

ผกก.2475 ตอบ : ส่วนตัวผมอยากให้ก้าวไกลกับเพื่อไทยรวมรัฐบาลกันได้ด้วยซ้ำ ผมไม่มีปัญหาอะไร ถ้าพรรคก้าวไกลรวมเสียงข้างมากในสภาได้ ก็ต้องได้เป็นรัฐบาล เพราะ เสียงประชาชนส่วนใหญ่เลือกมาแบบนั้น แต่ผมก็รู้ว่า ‘พรรคเพื่อไทย’ เขามีทางเลือก ถ้าเขารวมกับก้าวไกล เขาก็เป็นผู้ตาม ได้แค่กระทรวงรอง ๆ แต่ถ้าเขาตั้งรัฐบาลเอง เขาก็จะเป็นผู้นำ และได้กระทรวงหลัก ๆ จริงไหมครับ และที่สำคัญ พรรคก้าวไกลเกือบได้เป็นรัฐบาลแล้วนะ เพราะพรรคภูมิใจไทยพร้อมจะยกมือให้ ขอแค่ถอยเรื่อง แก้ไข ม.112 นั่นคือ เงื่อนไข สว.จะไม่มีผลเลย เพราะเสียงคุณมากพอที่จะชนะในสภา

แต่ พรรคก้าวไกลกลับดึงดันที่จะแก้ไข ม.112 ทั้ง ๆ ที่คนที่เลือกก้าวไกล ไม่ได้มีคนเลือกเพราะนโยบาย ม.112 เท่านั้น แต่ยังมีนโยบายเงินเดือนผู้สูงอายุ นโยบายแรงงานอื่น ๆ เมื่อพรรคก้าวไกลบอกว่าจะไม่ทรยศอุดมการณ์ ไม่ล้มเลิกแก้ ม.112 ผมว่าไม่เมกเซนส์เท่าไหร่ เพราะการแก้ ม.112 เนี่ย ได้ประโยชน์กันไม่กี่คนเองนะครับ คือถ้าผมเป็นพิธา ผมจะบอกฐานเสียงว่า ‘การแก้ ม.112 เป็นอุปสรรคในการนำพานโยบายเพื่อประชาชนอื่น ๆ ไปทำให้เกิดผล ดังนั้น ผมจะขอถอยเรื่องแก้ ม.112 ไปก่อน เพื่อให้เราได้มีโอกาสในการบริหารบ้านเมือง เพราะยังมีปัญหาอีกหลายอย่างที่ประชาชนรอไม่ได้ ส่วนเรื่องความขัดแย้ง และนักโทษคดีการเมือง ผมขอให้คำมั่นว่า ผมจะหาทางใช้กลไกสภาในการเยียวยาแก้ไข’ เท่านี้คุณก็หล่อ ฐานเสียงเข้าใจได้ เพราะเขาต้องมองว่า อย่างน้อยได้อำนาจมาก่อน อย่างอื่นไว้ขับเคลื่อนทีหลังได้ แต่คุณเลือกที่จะไม่ยอมไง พอคุณไม่ยอม เพื่อไทยเขาก็อ้างความชอบธรรมที่จะตั้งรัฐบาลแข่งได้เลย

ทำให้ผมมองว่า จริง ๆ แล้วก้าวไกลไม่อยากเป็นรัฐบาลในตอนนี้รึเปล่า เลยออกมามุมนี้

สื่อตปท. : คุณคิดเห็นอย่างไรกับการยุบพรรคก้าวไกล

ผกก.2475 ตอบ : กฎหมายยุบพรรคมันมีอยู่มาก่อน ถ้าพรรคก้าวไกลคิดว่าไม่ผิดก็สู้คดีกันไป แต่พรรคก้าวไกลเขาบอกตลอดเวลาว่า เขาไม่กลัวโดนยุบ เพราะยิ่งยุบก็ยิ่งโต ฝ่ายพรรคเพื่อไทยเองก็เคยผ่านการโดนยุบมา 3 ครั้ง (ไทยรักไทย / พลังประชาชน / ไทยรักษาชาติ) ทุกวันนี้พรรคเพื่อไทยก็ยังอยู่ ตอนอนาคตใหม่โดนยุบ เขาก็ย้ายมาพรรคก้าวไกล ถ้าโดนยุบอีก ก็แค่ตั้งพรรคใหม่แล้วสู้กันต่อ ดังนั้นต่อให้ยุบไป ก็ทำลายอุดมการณ์ก้าวไกลไม่ได้

แต่สิ่งเดียวที่จะทำลายพรรคก้าวไกล ก็คือ การไม่รับฟังความเห็นต่าง ไม่เอาคนเห็นต่าง เพราะ ประชาธิปไตย คือพื้นที่ให้คนเห็นต่างมาหาทางออกร่วมกัน การดื้อรั้นเอาแต่ความคิดตัวเองไม่สนไม่ฟังคนอื่น แบบนั้นเป็นเผด็จการ ไม่ใช่ประชาธิปไตย

สื่อตปท. : คุณเห็นว่า มาตรา 112 มีปัญหาหรือไม่

ผกก.2475 ตอบ : คุณทราบไหมว่า เพราะเหตุการณ์ 6 ตุลา จึงจำเป็นต้องทำให้ มาตรา 112 แรงขึ้น ถ้าไม่มีกฎหมายนี้คุ้มครองไว้ ก็อาจจะทำให้คนไทยโกรธแค้นออกมาทำร้ายทำลายกันอีก และจริงๆ แล้ว มาตรา 112 ไม่ได้มีผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปเลย ไม่ได้เกี่ยวกับชีวิตประจำวันใดๆ เพราะมันคือกฎหมายที่คุ้มครองบุคคล ที่มีส่วนเชื่อมโยงกับความเป็นสถาบันหลักของชาติ ถ้าคุณวิจารณ์โดยสุจริต ไม่ได้ไปหมิ่นประมาทใส่ร้าย คุณก็ไม่มีความผิด อาจารย์มหาลัย วิจารณ์สถาบันฯ ตั้งเยอะแยะ ไม่เห็นจะโดนอะไร แต่ชอบชี้นำให้เด็ก ๆ ไปหมิ่นแทน ด้วยการให้ข้อมูลบิดเบือน ข้อมูลที่บอกไม่ครบ เพื่อให้เด็กหลงเชื่อไปในทิศทางที่ต้องการ ยืมปากเด็กให้ออกมาพูดในสาธารณะจนโดนคดี 112

คุณคิดว่าปัญหาของ ม.112 แท้จริงคืออะไรล่ะ คุณชอบบอกว่า กฎหมายมันมีปัญหา แต่ผมมองว่า ตัวปัญหาจริง ๆ คือคนที่สุมหัวกันหลอกเด็กเหล่านี้ รวมทั้งพวกที่หนีคดีอยู่เมืองนอก ที่ตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก กลุ่มแชท ปล่อยเฟกนิวส์สถาบันฯ พวกลี้ภัยอยู่เมืองนอกปั่นข่าวกันโดยไม่รับผิดชอบเพราะกฎหมายไทยไปไม่ถึง ส่วนเด็กที่หลงเชื่อก็นำเฟกนิวส์เหล่านี้ออกไปโพสต์ เอาไปพูดบนเวทีเพื่อโจมตีสถาบันฯ จนโดนคดีตาม ๆ กันไป ผมจึงขอถามกลับว่า คุณคิดว่าปัญหาคือ ตัวกฎหมาย หรือ คนที่เอาข้อมูลมาหลอกเด็กไปทำผิด 112 ที่ต้องรับผิดชอบ

สื่อตปท. : คุณคิดว่าบทลงโทษ 3-15 ปี ไม่รุนแรงไปหรือ?

ผกก.2475 ตอบ : ผมคิดว่ากำลังพอดี เพราะตามกฎหมายไทย ถ้าคุณผิดกระทงเดียว คุณรับสารภาพ สำนึกผิด ศาลจะลดโทษให้กึ่งหนึ่งคือ 1.5 ปี ซึ่งเมื่อโทษไม่ถึง 2 ปี ไม่เคยทำผิดมาก่อน คุณก็แค่รอลงอาญา ไม่ต้องติดคุก แต่ถ้าคุณทำผิดซ้ำ ๆ คุณก็รับโทษมากขึ้น

ตัวผมเองเห็นใจเด็ก ๆ ที่โดนคดี 112 ก็อยากจะหาหนทางเยียวยานะ แต่ กฎหมายมันมีอยู่ก่อน ถ้าคุณไม่ไปทำผิดซะเอง ม.112 ก็ทำอะไรคุณไม่ได้ แต่ผมเชื่อว่าเมืองไทยมีความประนีประนอมอยู่ ถ้าคุณยอมรับผิด สำนึกผิดจริง ๆ ประพฤติดี กลับตัวกลับใจ คุณก็มีโอกาสขออภัยโทษ คุณก็จะได้ออกมาเร็วขึ้น แต่ถ้าคุณไปทำผิดกฎหมายแต่บอกกฎหมายผิด ต้องยกเลิกกฎหมาย แบบนี้ผมไม่เห็นด้วย

สื่อตปท. : แล้วการที่แค่วิจารณ์แล้วต้องติดคุก มันเหมาะสมหรือไม่?

ผกก.2475 ตอบ : คุณเคยเห็นป้ายที่ใช้ถ้อยคำรุนแรง และปลุกระดมให้ล้มล้างสถาบันฯในม็อบหรือไม่ (สื่อตปท.ยอมรับว่ามี) นั่นคือผลของการหมิ่นประมาทใส่ร้ายสถาบันฯ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่พวกคุณเรียกว่า “แค่วิจารณ์” มีนักวิชาการมากมายที่วิจารณ์สถาบันตรงไปตรงมา แต่ก็ไม่โดน 112 แต่การที่เอาเรื่องเท็จไปปลุกปั่นให้เกลียดชังสถาบันฯ จนออกมาก่อม็อบชูป้ายล้มล้างสถาบันฯ คุณก็ต้องได้รับโทษ สมเหตุสมผลอยู่แล้ว

ดังนั้น เรื่องอะไรที่คุณฟังคนนั้นคนนี้มา คุณไม่มีหลักฐาน พิสูจน์ไม่ได้ ถ้าคุณไม่มั่นใจว่าจริงหรือเท็จ คุณก็แค่อย่าเอาไปพูด ไปโพสต์ แต่ถ้าคุณเอาไปเผยแพร่ต่อ จนเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น คุณก็ต้องรับผลของการกระทำนั้น จะมาบอกว่าไม่ผิดไม่ได้

สื่อตปท. : แล้วคุณคิดเห็นอย่างไร? ที่หลายฝ่ายมองว่า ม.112 ละเมิดสิทธิมนุษยชน

ผกก.2475 ตอบ : สิทธิมนุษยชน ควรปกป้องผู้ถูกกระทำ ไม่ใช่ปกป้องผู้กระทำผิด พวกคุณมองสถาบันกษัตริย์ ก็เป็นปุถุชนใช่หรือไม่ ถ้าคุณมองว่า ‘ทุกคนเป็นคนเหมือนกัน’ กษัตริย์ก็ต้องมีสิทธิมนุษยชนเช่นกัน ต้องได้รับการคุ้มครองจากการหมิ่นประมาทใส่ร้าย ไม่จริงหรือ แม้แต่คนธรรมดายังมีกฎหมายหมิ่นประมาทคุ้มครอง กษัตริย์ที่เป็นสถาบันความมั่นคงของประเทศ ก็จำเป็นต้องมี ยิ่งในตอนนี้ มีผู้ไม่หวังดีจากต่างประเทศคอยเผยแพร่ข่าวปลอมให้เด็ก ๆ หลงเชื่อ เพื่อให้ออกมาก่อม็อบต่อต้านสถาบันฯ จนเกิดความวุ่นวาย ทำให้ ม.112 เป็นสิ่งจำเป็นด้วยซ้ำ
สื่อตปท. : แล้ว มุมมองประชาธิปไตยของคุณเป็นอย่างไร?

ผกก.2475 ตอบ : ประชาธิปไตยคือพื้นที่ที่คนหลากหลายความคิด เข้ามาหาทางออกด้วยกัน จะเอาแต่ใจกันอย่างเดียวไม่ได้ เหมือนบทสรุปช่วงท้ายของแอนิเมชันที่เรายกพระราชดำรัสของ ร.๗ มา ว่าทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน อย่าเอาตัวเองเป็นใหญ่ ต้องลืมความขัดแย้งเพื่อชาติ

และผมอยากให้ประชาชนทำตัวให้สมกับเป็นเจ้านายนักการเมือง เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง ต้องคอยจับตาดูนักการเมือง ไม่ว่าจะฝั่งไหน เพราะนักการเมืองคือคนที่ต้องทำงานรับใช้ประชาชน ถ้านักการเมืองที่เราเลือกมาทำไม่ดี เราก็ต้องคัดค้าน ไม่ใช่ว่าเห็นด้วยไปเสียทุกเรื่อง ทุกวันนี้ นักการเมืองที่ชอบ ทำอะไรผิด คนก็พร้อมจะแบก พร้อมจะแก้ตัวให้ แบบนี้ นักการเมืองเลยได้ใจ ไม่ต้องเกรงใจประชาชน เพราะประชาชนคอยแบกตลอดเวลา

***** หมายเหตุ *****
ขอสงวนชื่อสื่อฯ เพราะเราต้องการนำเสนอแค่ประเด็นคำถาม
ไม่ต้องการให้วิจารณ์ไปถึงสำนักข่าวนั้น

>> พื้นที่ขายของ
 เปิดพรีออเดอร์ 
หนังสือการ์ตูน ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ

โอนเงินสั่งจองได้ที่
ธนาคารกสิกรไทย
ชื่อบัญชี บจก.นาคราพิวัฒน์
เลขที่บัญชี 1518061840

>> สั่งจองหนังสือ โดยส่งข้อมูลตามแบบฟอร์มได้ที่
https://forms.gle/Ls647MmQh39qmXYD8

** หากจองผ่าน Form ไม่ได้ ให้ติดต่อทาง inbox เพจนะครับ **

 การระดมทุนเพื่อการบริจาค 
*** บริจาคเป็นยอดเงิน ไม่มีขั้นต่ำ ***
เพื่อสมทบทุนในการผลิตหนังสือส่งมอบให้สถานศึกษา

โดยท่านสามารถร่วม ‘บริจาคเงิน’ ได้ที่
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ชื่อบัญชี บจก.นาคราพิวัฒน์
เลขที่บัญชี 2651412698

โดยแจ้งยอดเงิน และหลักฐานการโอนได้ที่
https://forms.gle/CHNEPq6TpJ9aLnnBA

ทีมงานจะนำยอดเงินบริจาคไปสมทบทุนในการผลิตหนังสือ เพื่อนำไปบริจาคให้สถานศึกษา และ ห้องสมุดต่าง ๆ ต่อไป

รายละเอียดเพิ่มเติม
http://2475animation.com/?p=23

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
Facebook : 2475 Dawn of Revolution
Email : [email protected]

รู้จัก ‘วิวัธน์ จิโรจน์กุล’ ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน ‘2475 Dawn of Revolution’ หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา ‘มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น’

ถือเป็นอีกหนึ่งงานเสวนาที่ห้ามพลาด!! กับ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' ในวันอังคารที่ 6 สิงหาคมนี้ ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

โดยงานนี้ ได้รับเชิญผู้ร่วมเสวนาผู้ทรงเกียรติหลายท่าน ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ซัง-วิวัธน์ จิโรจน์กุล ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน 2475 Dawn of Revolution หรือ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ซึ่งเป็นผู้สนใจในประวัติศาสตร์ไทยในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และมุ่งมั่นคืนความเป็นธรรมให้ในหลวงรัชกาลที่ 7 โดยใช้วิธีบอกเล่าผ่านภาพยนตร์แอนิเมชัน เพื่อสื่อสารให้คนไทยรู้ว่าในหลวง ร.7 สู้เต็มที่ และพยายามจะทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองในไทยเกิดขึ้นอย่างราบรื่นที่สุด

โดยคุณ วิวัธน์ จิโรจน์กุล เคยได้ให้สัมภาษณ์ถึงจุดเริ่มต้นการทำภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนี้ไว้ว่า…

“แอนิเมชันเรื่องนี้ใช้เวลาสร้างนานถึง 3 ปี มีทีมงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดประมาณ 30-40 คน มีทั้งคนที่เข้ามาแล้วก็ออกไป จุดเริ่มต้นมาจากคนกลุ่มเล็ก ๆ แล้วจึงหาทีมงานเพิ่มในภายหลัง หลายคนเป็น ‘ตัวจี๊ด’ พร้อมปะทะโต้เถียงบนโลกโซเชียล แต่ตนก็ได้บอกไปว่า ‘ตีกันไป-มา’ แบบนั้นไม่ได้ประโยชน์ มาทำความจริงป้อนให้เป็นความรู้จะดีกว่า…

“ซึ่งขั้นตอนที่ยากที่สุดในการทำงานภาพยนตร์เรื่องนี้คือการหาหลักฐานข้อมูล แล้วถึงจะหยิบประเด็นจากหลาย ๆ มุมมอง เพื่อหาว่ามุมมองต่าง ๆ มองเรื่องนี้ที่เป็นเรื่องเดียวกันคือเรื่องอะไร เราถึงหยิบพวกนี้มาเล่า”

และแม้จะเลือกการนำเสนอกึ่ง ๆ จะเป็นนิยาย (Fiction) แต่ข้อมูลที่นำเสนอมาจากบันทึกจริงในประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าโดยบุคคลต่าง ๆ ที่อยู่ในช่วงเวลานั้นซึ่งรวมถึงของฝ่ายคณะราษฎรผู้ก่อการด้วย ทั้งนี้ เมื่อรวบรวมข้อมูลมาได้แล้วก็ต้องมาเลือกอีกว่าจากข้อมูลจำนวนมากจะนำเสนออย่างไรให้พอดีกับเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงได้โดยสอดคล้องกับเป้าหมายหลักคือให้เข้าใจบทบาทของรัชกาลที่ 7 ที่พยายามประคับประคองสถานการณ์ในยุคเปลี่ยนผ่านให้ไปรอด

เช่น รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ร่างโดยคณะราษฎรหลายคนที่ร่วมก่อการก็ไม่ได้อ่าน แต่รัชกาลที่ 7 ท่านอ่านและแนะนำให้ไปแก้ไขมาใหม่ นอกจากนั้นยังมีความขัดแย้งภายในกลุ่มคณะราษฎร ระหว่างหลวงประดิษฐ์มนูธรรมกับพระยาทรงสุรเดช ซึ่งเข้าใจได้ว่าหลวงประดิษฐ์ฯ หรือนายปรีดี มีความเป็นนักวิชาการแนวคิดหัวก้าวหน้า ณ ช่วงเวลานั้น แต่ยอมรับว่ายังมีรายละเอียดอีกมากที่ไม่ได้ใส่เข้าไป 

วิวัธน์ จิโรจน์กุล ยังได้กล่าวถึงประเด็นดรามาเกี่ยวกับงบประมาณในการทำภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนี้ด้วยว่า…

“ตอนแรกไม่รู้นะว่างบประมาณในการสร้างภาพยนตร์มันต้องใช้เท่าไรต่อเรื่องหนึ่ง แล้วเป็นเรื่องพีเรียด (Period - เนื้อเรื่องแนวย้อนยุคอิงประวัติศาสตร์) ต้องย้อนอดีต หาสถานที่ พร็อพ ขนาดวาด (รูป) แต่เมื่อริเริ่มโปรเจกต์แล้ว ก็เริ่มวางแผนการสร้าง ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่า หากเป็นภาพยนตร์ที่ใช้นักแสดง ทุนสร้างอาจอยู่ที่ประมาณ 15-20 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย อีกทั้งทุนประมาณนี้คงจะเป็นเพียงภาพยนตร์ที่ถ่ายทำด้วยฉากเขียว (Green Screen) แล้วใส่กราฟิกเป็นฉากหลังเข้าไป ผลงานที่ออกมาก็อาจไม่น่าดู หรือหากจะทำแอนิเมชันแบบ 3 มิติ เท่าที่ไปสอบถามราคามา พบว่าต้องใช้งบประมาณสูงถึง 100 ล้านบาท จึงมาสรุปที่การทำเป็นแอนิเมชัน 2 มิติ แต่ก็ยังไม่ได้เริ่มทำในทันที เพราะสอบถามราคาแล้วต้องใช้งบประมาณ 30 ล้านบาทซึ่งเวลานั้นยังมีทุนไม่พอ…

“ดังนั้นเพื่อที่จะให้แอนิเมชัน 2475 Dawn of Revolution เกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาให้ได้ จึงใช้วิธีสร้างทีมนักวาดขึ้นมา สามารถทำรูปแบบเฟรมต่อเฟรม ออกแบบตัวละครและฉากทั้งหมด แล้วจึงนำเค้าโครงที่ร่างไว้นี้ไปให้สตูดิโอทำ ซึ่งพบว่าลดต้นทุนลงได้มาก แต่เมื่อเห็นผลงานแล้วก็ยังไม่ถูกใจ ท้ายที่สุดทีมงานจึงเลือกที่จะลงมือทำกันเองทั้งหมด โดยไปหาคนที่ชำนาญเรื่อง In Between หรือการเชื่อมต่อภาพแต่ละเฟรมให้ดูเหมือนตัวละครขยับเขยื้อนได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแอนิเมชันมีความยาว 2 ชั่วโมง ต้องใช้รายละเอียดมากในขณะที่มีทีมงานน้อย…

“ใช้แรงงานเยอะแต่มีคนน้อย ดังนั้นจะเห็นว่าบางเฟรมเราก็จะใช้ซ้ำ ๆ บางเฟรมเราก็จะใช้ 3D มาผสม เพราะ 3D เราสามารถทำแล้ว Render ทีเดียว มันก็จะเป็นภาพขยับต่อเนื่อง ในฉากที่ทหารเยอะ ๆ เน้นใช้ 3D เข้ามาช่วย มันจะเป็นสื่อผสมหลาย ๆ อย่าง ใช้ Motion Graphic บ้าง ใช้ 3D ใช้ 2D ความรู้สึกผมเหมือนเป็นเชฟที่เห็นของเหลือในตู้เย็น สุดท้ายปรุงอย่างไรก็ได้ ออกมาให้มันเล่าเรื่อง 2 ชั่วโมงนี้จบอย่างที่เราต้องการ พอมันจบเสร็จปุ๊บ ก็รู้สึกโล่ง ตอนนั้นคือโล่ง เหมือนยกภูเขาออกจากอก มันเสร็จแล้ว แค่นั้นผมพอใจแล้ว หลังจากนั้นผมไม่สนใจแล้วคนดูจะรู้สึกอย่างไร…

“แอนิเมชันเรื่องหนึ่งใช้ทุนสร้างเป็นหลักสิบล้านบาท เป็นทุนของผมแล้ว 5 ล้านบาท แม้จะเป็นหนี้ก็ตาม เพื่อทำโปรเจกต์แอนิเมชัน 2475 Dawn of Revolution ผมต้องไปหยิบยืมเงินจากญาติสนิทมิตรสหายมาเพื่อทำให้สำเร็จ และในวันที่ผลงานแล้วเสร็จก็ถือว่าสำเร็จแล้ว เพราะได้ทำในสิ่งที่ต้องการมาตลอด…สำหรับผมวันนี้ถือว่าถึงตายก็ไม่เสียชาติเกิดแล้ว จะเป็นหนี้หรือล้มละลายก็ไม่เป็นไร  เพราะต่อให้ล้มละลายต้องปิดบริษัท ผมก็ยังไม่ตาย ไปทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ได้ ผมเพียงอยากให้ผลงานนี้ทำเสร็จสมบูรณ์”

“อย่างที่ผมบอก ไม่ว่าจะแลกด้วยอะไรผมต้องทำให้มันเสร็จ ดังนั้น ผมต้องบอกเลยว่าผมแลกไปเยอะมาก ดังนั้นการที่มากล่าวหาว่าผมได้รับงบประมาณจากกองทัพ หรือมีเงินจากส่วนไหน ๆ มาช่วยซัปพอร์ตโปรเจกต์นี้ ผมถือว่าดูถูกผมมากเลย ดังนั้นผมก็เลยมองว่าวิธีการทำแบบนี้ผมอาจจำเป็นต้องใช้กฎหมาย แต่ถ้าเกิดคุณมาด่าว่าบิดเบือน หรือด่าว่าแอนิเมชันห่วย-กาก ผมไม่กังวลอะไร ไม่ว่าอะไร คุณวิจารณ์ได้ แต่ถ้าเกิดคุณมาด้อยค่าความตั้งใจมุ่งมั่นของทีมงาน หรือเครดิตของคนที่ตั้งใจทุ่มเทเพื่องานนี้ ผมแค่ไม่ยอมเรื่องนี้เรื่องเดียว” วิวัธน์ กล่าว

นอกจากนี้ วิวัธน์ จิโรจน์กุล ยังได้เผยถึงกระแสและผลตอบรับหลังเผยแพร่ภาพยนตร์แอนิเมชันแล้วว่า… “ตั้งเป้าไว้ว่ามียอดรับชมประมาณหลักหมื่นวิวก็สูงแล้ว และแม้จะไม่ได้ตั้งเป้าว่าอยากได้ยอดวิวเท่านั้นเท่านี้ แต่ทุกครั้งที่ยอดวิวขึ้น คนที่สนับสนุนแอนิเมชันเรื่องนี้ก็ดีใจและตื่นเต้นไปกับทีมผู้สร้างด้วย ผมก็จะคอยรายงานยอดเป็นระยะ ๆ โดยมีหนึ่งในทีมงานมาช่วยวาดรูปประกอบทุก ๆ ครั้งที่ยอดเพิ่มครบ 1 แสนวิว…”

“สำหรับผมยอดวิวไม่สำคัญเท่าการที่มีคนเข้ามาดูแล้วรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น” วิวัธน์ กล่าว

ส่วนประเด็นที่มีคนถามเข้ามามากมายว่า ทำไมไม่นำภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนี้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์เหมือนภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ วิวัธน์ จิโรจน์กุล ได้ตอบประเด็นนี้ไว้ว่า… 

“ประเด็นแรกเวลาทำหนังเสร็จ ถ้าเกิดจะเอาไปฉายตามโปรแกรมทั่วไปปกติ จะต้องผ่านกองเซ็นเซอร์ก่อน จัดเรตหนัง อนุญาตเรียบร้อยแล้วถึงจะฉายโรงได้ แต่ผมก็ประเมินแล้ว ผมเข้ากองเซ็นเซอร์ผมโดนหั่นเหี้ยนแน่เลย ประเด็นที่ผมกังวลที่สุดคือเราอาจจะโดนตัดฉากรัชกาลที่ 7 ออก กลัวว่าจะกระทบ เพราะผมบอกว่าเรื่องนี้ การเล่าเรื่อง 2475 ถ้าเราไม่เล่าในมุมของสถาบัน เรื่องนี้ไม่มีทางเล่าจบ ดังนั้นผมเลยคิดว่าผมแค่ฉายปฐมทัศน์แล้วผมฉายออนไลน์ให้ดูฟรี มันไม่จำเป็นต้องผ่านกองเซ็นเซอร์ เราสามารถทำได้…

“เหมือนเราทำสารคดี (Documentary) สักอันหนึ่ง แต่เป็นการเล่าในรูปแบบแอนิเมชัน และเปิดฉายให้ดูฟรีเพื่อให้ความรู้ ผมเลยมองแค่มุมนั้น ผมไม่ได้คิดว่าจะต้องเปิดฉาย ‘หาเงิน’ อะไร เราเชิญพวกพี่ ๆ ไปดู (รอบปฐมทัศน์ในโรงภาพยนตร์) คนที่เป็น Royalist คนที่รักสถาบันเข้าไปดู ผมอยากทดสอบด้วยว่าเราเล่าในมุมนี้รับไหวไหม? รับได้ไหมที่นำในหลวงรัชกาลที่ 7 มาเป็นคาแร็กเตอร์”

วิวัธน์ จิโรจน์กุล ได้ยืนยันทิ้งท้ายไว้ว่า “ความตั้งใจของการสร้างแอนิเมชัน 2475 Dawn of Revolution ไม่ใช่เพื่อทำร้ายหรือทำลายใคร แต่เพื่อทำประวัติศาสตร์ให้ชัดเจนและเป็นประวัติศาสตร์ที่เป็นธรรมต่อทุกคน”

สำหรับงานเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' จะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 6 สิงหาคมนี้ เวลา 10.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พร้อมรับชม '2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ Dawn of Revolution' ในเวลา 13.30 - 16.40 ณ สถานที่เดียวกัน

📌 สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถลงทะเบียนสำรองที่นั่งเข้าร่วมกิจกรรมฟังเสวนาและชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ได้ที่: https://docs.google.com/forms/d/1utXQT68NCUZks5YYcILGBQ91B76zILkSoQ7srQ2ymoc/viewform?ts=66a737cb&edit_requested=true

‘ผู้กำกับ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ ชี้!! ประวัติศาสตร์ไทยช่วง 2475 ขาดหาย ‘ในหลวง ร.7’ ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญและสละราชสมบัติ แต่ไม่เคยปรากฏในหนังสือเรียนไทย

เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 67 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้จัดกิจกรรมเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' และรับชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำหรับการเสวนาในหัวข้อ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' นั้น หนึ่งในวิทยากรที่ขึ้นบรรยายได้แก่ นายวิวัธน์ จิโรจน์กุล ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน ‘2475 Dawn of Revolution รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ ได้พูดถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินการสร้างภาพยนตร์ดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันด้านประวัติศาสตร์ และยังแก้ไขความเข้าใจผิดให้กับบุคคลในประวัติศาสตร์ รวมถึงความพยายามที่จะถ่ายทอดข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2475 ที่ผ่านการศึกษาและค้นคว้าแจกแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและบิดเบือน

โดยบางช่วงบางตอน นายวิวัธน์ได้กล่าวว่า “ประวัติศาสตร์ไทย มีช่วงที่ขาดหายไป โดยเฉพาะในช่วงปี 2475 หลังจากเหตุการณ์ปฏิวัติ และในหลวง รัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญและสละราชสมบัติ ซึ่งประวัติศาสตร์หลังจากนี้หายไปและไม่ปรากฏในหนังสือเรียนเลย”

‘ผู้กำกับ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ เผยเหตุผลที่ไม่มีหนังเกี่ยวกับ 2475 เพราะหากเล่าตรงไปตรงมา จะมีคนเจ็บและเดือดร้อน

เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 67 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้จัดกิจกรรมเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' และรับชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำหรับการเสวนาในหัวข้อ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' นั้น หนึ่งในวิทยากรที่ขึ้นบรรยายได้แก่ นายวิวัธน์ จิโรจน์กุล ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน ‘2475 Dawn of Revolution รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ ได้พูดถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินการสร้างภาพยนตร์ดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันด้านประวัติศาสตร์ และยังแก้ไขความเข้าใจผิดให้กับบุคคลในประวัติศาสตร์ รวมถึงความพยายามที่จะถ่ายทอดข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2475 ที่ผ่านการศึกษาและค้นคว้าแจกแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและบิดเบือน

โดยบางช่วงบางตอน นายวิวัธน์ได้กล่าวว่า “ที่ผ่านมา ไม่เคยมีการสร้างหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์ 2475 เลย เพราะถ้าเล่าเรื่องราวแบบตรงไปตรงมาเกินไป จะทำให้มีคนเจ็บ และเดือดร้อน”

‘ผู้กำกับ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ ชี้!! เหตุการณ์ 2475 ถูกหยิบมาเป็นเครื่องมือยุยงปลุกปั่นให้คนผิดใจกัน

เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 67 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้จัดกิจกรรมเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' และรับชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำหรับการเสวนาในหัวข้อ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' นั้น หนึ่งในวิทยากรที่ขึ้นบรรยายได้แก่ นายวิวัธน์ จิโรจน์กุล ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน ‘2475 Dawn of Revolution รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ ได้พูดถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินการสร้างภาพยนตร์ดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันด้านประวัติศาสตร์ และยังแก้ไขความเข้าใจผิดให้กับบุคคลในประวัติศาสตร์ รวมถึงความพยายามที่จะถ่ายทอดข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2475 ที่ผ่านการศึกษาและค้นคว้าแจกแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและบิดเบือน

โดยบางช่วงบางตอน นายวิวัธน์ได้กล่าวว่า “ทุกวันนี้เหตุการณ์ 2475 ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ทำให้คนแตกแยกกัน ต่างคนต่างเล่าในมุมที่แตกต่าง และนำมาปลุกปั่นทำให้คนตีกัน จากเหตุเพราะความเห็นต่าง”

‘ผู้กำกับ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ เผยสิ่งที่อยาก ในการทำภาพยนตร์คือการรวมข้อมูลที่สมบูรณ์ชัดเจนครบทุกด้าน

เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 67 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้จัดกิจกรรมเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' และรับชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำหรับการเสวนาในหัวข้อ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' นั้น หนึ่งในวิทยากรที่ขึ้นบรรยายได้แก่ นายวิวัธน์ จิโรจน์กุล ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน ‘2475 Dawn of Revolution รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ ได้พูดถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินการสร้างภาพยนตร์ดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันด้านประวัติศาสตร์ และยังแก้ไขความเข้าใจผิดให้กับบุคคลในประวัติศาสตร์ รวมถึงความพยายามที่จะถ่ายทอดข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2475 ที่ผ่านการศึกษาและค้นคว้าแจกแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและบิดเบือน

โดยบางช่วงบางตอน นายวิวัธน์ได้กล่าวว่า “หัวใจสำคัญของการทำหนังอิงประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องงบประมาณ แต่อยู่ที่การเก็บรวบรวมข้อมูลที่สมบูรณ์ชัดเจนครบทุกด้าน เพราะต้องยอมรับว่า…เหตุการณ์ 2475 มีการตัดต่อ ดัดแปลง และบิดเบือนข้อมูลหลายอย่างมาก”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top