Tuesday, 22 April 2025
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

18 สิงหาคม ของทุกปี วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เทิดพระเกียรติ ในหลวงรัชกาลที่ 4

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของไทย ถูกกำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี โดยเป็นวันที่้มีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย 

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 เมษายน ปี 2525 ให้เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"  พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 

ที่มาของการกำหนดวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เกิดขึ้นเนื่องจากในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ (รัชกาลที่ 5) ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา ได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ ตำบลบ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผลการคำนวณของพระองค์ หลังจากที่ทรงใช้กล้องโทรทรรศน์คำนวณการเกิดสุริยุปราคาครั้งแรกได้อย่างแม่นยำ ล่วงหน้า 2 ปี

18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ น้อมรำลึกถึง ร.4 ‘พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย’

18 สิงหาคม ‘วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ’ หนึ่งในวันที่มีความสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ไทย รำลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2411 ที่บ้านหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์

ในวันที่ 18 สิงหาคม ของทุก ๆ ปี ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งในวันสำคัญของวงการวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และการศึกษาของไทย เนื่องจากตรงกับวันที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เสร็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ ต.หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังพระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาไว้อย่างแม่นยำ ล่วงหน้า 2 ปี ด้วยพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์ของพระองค์ จึงได้มีการถวายพระราชสมัญญานามให้ทรงเป็น ‘พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย’

และด้วยพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์นี้ คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็น ‘วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ’ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งสำคัญทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าว และเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเป็น ‘พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย’ ไปพร้อมกัน

สำหรับความเป็นมาเสร็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ (รัชกาลที่ 5) ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา ได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ ตำบลบ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่18 สิงหาคม พ.ศ. 2411

ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผลการคำนวณของพระองค์ หลังจากที่ทรงใช้กล้องโทรทรรศน์คำนวณการเกิดสุริยุปราคาครั้งแรกได้อย่างแม่นยำ ล่วงหน้า 2 ปี ซึ่งพระองค์คำนวณไว้ว่า สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึงเมืองชุมพร และโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ พร้อมกับเชิญคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ ซึ่งเมื่อถึงวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่ทรงพยากรณ์ไว้ทุกประการ ไม่คลาดเคลื่อนแม้แต่วินาทีเดียว

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์

18 สิงหาคม ของทุกปี กำหนดให้เป็น ‘วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ’ น้อมรำลึก ‘ในหลวง ร.4’ พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

ในวันที่ 18 สิงหาคม ของทุก ๆ ปี ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งในวันสำคัญของวงการวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และการศึกษาของไทย เนื่องจากตรงกับวันที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ ต.หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังพระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาไว้อย่างแม่นยำ ล่วงหน้า 2 ปี ด้วยพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์ของพระองค์ จึงได้มีการถวายพระราชสมัญญานามให้ทรงเป็น ‘พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย’ และด้วยพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์นี้ คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็น ‘วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ’

เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งสำคัญทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าว และเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเป็น ‘พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย’ ไปพร้อมกัน

สำหรับความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ (รัชกาลที่ 5) ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา ได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ ตำบลบ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411

ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผลการคำนวณของพระองค์ หลังจากที่ทรงใช้กล้องโทรทรรศน์คำนวณการเกิดสุริยุปราคาครั้งแรกได้อย่างแม่นยำ ล่วงหน้า 2 ปี ซึ่งพระองค์คำนวณไว้ว่า สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณเกาะจาน ขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึงเมืองชุมพร และโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ พร้อมกับเชิญคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ ซึ่งเมื่อถึงวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่ทรงพยากรณ์ไว้ทุกประการ ไม่คลาดเคลื่อนแม้แต่วินาทีเดียว

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์

'ผศ.ดร.เพิ่มศักดิ์' รำลึกถึง ‘พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’ ผู้ปฏิรูปการปกครองสู่ความทันสมัยครั้งสำคัญของชาติไทย

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ออกบทความในหัวข้อ ความคิดก้าวหน้า (Progressive) ในสมัยพระจอมเกล้าฯ มีเนื้อความ ดังนี้...

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี ถือเป็น ‘วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ’ เพื่อรำลึกถึงที่การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแสดงพระปรีชาสามารถด้านดาราศาสตร์เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวตะวันตก หลังพระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาไว้อย่างแม่นยำ พร้อมกับเชิญคณะนักวิทยาศาสตร์ชาวตะวันตกร่วมเป็นสักขีพยาน ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ ต.หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์

ไม่เพียงแต่ทางด้านวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ในด้านขององค์ความรู้ทางการเมือง ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ความเห็นของปัญญาชนในสังคมไทยนั้นแบ่งออกเป็นสองขั้ว ฝ่ายหนึ่งคือฝ่ายอนุรักษ์นิยม ที่ไม่เชื่อว่าชาติตะวันตกจะก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจและตัวแสดงสำคัญในการเมืองโลกและการเมืองไทย ที่มักจะนำโดยฝ่ายขุนนาง ในเอกสารของเฮนรี เบอร์นี่ มีการบันทึกว่าเจ้าพระยาพระคลังของไทยนั้นแสดงความกังขากับแสนยานุภาพของอังกฤษในการที่จะยึดครองพม่า โดยเบอร์นี่ย์ได้มีการบันทึกว่า...

"ท่านพระคลังดูเหมือนจะไม่เชื่อข่าวเกี่ยวกับชัยชนะของกองทัพอังกฤษ ซึ่งท่านคิดว่าคงเป็นชัยชนะชั่วคราว และท่านเห็นว่าการที่กองทัพเราหวังจะเข้ายึดครองอังวะ (Ava) หรือจะเอาชนะพวกพม่าให้ได้นั้นเป็นความคิดเพ้อฝันมากกว่า"

ในขณะที่ฝ่ายก้าวหน้าของสังคมไทยนั้น นำโดยสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะพระปรีชาญาณและการวางรากฐานทางความคิดตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชดำรัสของพระองค์ที่ว่า...

 "...การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่งให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีเขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่ดีควรจะเรียนร่ำเอาไว้ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว..." 

นั่นแสดงให้เห็นถึงการตระหนักถึงความเข้าใจในภูมิทัศน์ทางการเมืองโลกและภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงไป ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความหัวก้าวหน้าที่ทันโลกของพระองค์ ทำให้พระองค์ทรงศึกษาภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตกแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยพระองค์เอง สั่งซื้อตำหรับตำราจากต่างประเทศ และศึกษาจากพระสหายชาวตะวันตกที่มีความรอบรู้ ในพระนิพนธ์ เรื่อง ความทรงจำ ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงบันทึกถึงความก้าวหน้าของพระราชบิดาของพระองค์ท่านในช่วงเวลาดังกล่าวเอาไว้ว่า...

"...ตั้งแต่จีนรบแพ้อังกฤษ ต้องทำหนังสือสัญญายอมให้อังกฤษกับฝรั่งต่างชาติเข้ามีอำนาจในเมืองจีนเมื่อ พ.ศ. 2385 เวลานั้นไทยโดยมากยังเชื่อตามคำพวกจีนกล่าวว่า แพ้สงครามด้วยไม่ทันเตรียมตัว...แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระดำริเห็นว่า ถึงคราวโลกยวิสัยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยฝรั่งมามีอำนาจขึ้นทางตะวันออกนี้ และประเทศสยามอาจจะมีการเกี่ยวข้องกับฝรั่งยิ่งขึ้นในวันหน้า จึงเริ่มทรงศึกษาภาษาอังกฤษ"

พระปรีชาสามารถในการหยั่งถึงอนาคตของโลกที่จะเปลี่ยนแปลงไป ทำให้พระองค์เตรียมส่งเสริมให้พระราชโอรสและธิดาของพระองค์ ศึกษาภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก จนนำไปสู่การปฏิรูปการปกครองสู่ความทันสมัยครั้งสำคัญของชาติไทยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช พระราชโอรสของพระองค์

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 4 (พระนคร : คุรุสภา, 2504),
กรมศิลปากร, เอกสารเฮนรี่ เบอร์นีย์ เล่ม 1 แปลโดย สาวิตรี สุวรรณสถิตย์ (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2551)
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ความทรงจำ (พระนคร: ศิลปาบรรณาคาร, 2516)


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top